ส่วนอุตสาหกรรม 3 สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 124.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor, Monolithic lC, Other lC และ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.95, 12.92, 26.37 และ 14.89 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก lC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วน HDD ผู้ผลิตบางรายขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกตู้เย็นไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีน ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 56.17 เมื่อเทียบช่วงเดียวของปีก่อน และการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 14,230.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น
ในไตรมาส 2/2560 คาดว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 1/2560 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1)มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 124.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มาจากเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า และสายไฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.36, 45.67, 14.72, 24.21, 16.34 และ 13.49 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
เนื่องจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยกเว้นจีนที่ปรับตัวลดลง และการส่งออกพัดลมไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวลดลง สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Other lC และ Printer ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.85 และ 0.87 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ Semiconductor, Monolithic lC และ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.63, 0.46 และ 2.34 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้อุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.20, 3.88, 6.18, 21.22, 9.09, 7.76, 19.06 และ 3.48 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกตู้เย็นไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีน ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 56.17 เมื่อเทียบช่วงเดียวของปีก่อน และการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง ในขณะที่เครื่องซักผ้าและสายไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.58 และ 12.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 1/2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor, Monolithic lC, Other lC และ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.95, 12.92, 26.37 และ 14.89 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก lC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยี ที่สูงขึ้น และส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น และ HDD ผู้ผลิตบางรายขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดย Semiconductor lndustry Association 1 (SlA) รายงานว่า การจำหน่าย Semiconductor ไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 92.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีนสหภาพยุโรป เอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.70, 21.9, 11.9, 11.1 และ 10.7 ตามลำดับ ในขณะที่เทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.40 โดยจีนและสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 และ 5.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยกเว้นสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.60, 0.90 และ 1.70 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม Gartner 2 รายงานว่า การจำหน่ายคอมพิวเตอร์ PC ทั่วโลกในไตรมาส 1/2560 มีการจำหน่าย อยู่ที่ 62.2 ล้านเครื่อง ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊คในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาวะการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาส 1/2560 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิตคอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า ตู้เย็น หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 159.25, 161.56, 36.77, 113.83, 229.25, 8.77, 8.89 และ 68.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยกเว้นเตาไมโครเวฟและกระติกน้ำร้อน ลดลงร้อยละ 50.38 และ 13.02 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ภาวะการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่ม ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิตคอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.67, 14.03, 7.84, 4.66, 197.58, 6.09 และ 91.38 ตามลำดับ ยกเว้นเตาไมโครเวฟ ตู้เย็น และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.84, 8.91 และ 29.15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 2)
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 14,230.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนในขณะที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดหลักที่ส่งออกทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3)
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 5,868.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.94, 5.45, 3.12 และ 0.29 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยกเว้นจีนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.44 สำหรับการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.15, 9.86, 5.58, 3.60 และ 0.05 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก1,285.48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.34, 14.45 และ 6.24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 14.37 และ 3.36 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่า 500.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 138.54, 130.71, 20.70 และ 17.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 4.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3) ตู้เย็นใช้ตามบ้านเรือน มีมูลค่าการส่งออก 377.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ลดลงถึงร้อยละ 56.17, 21.68, 15.14 และ 11.62 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 301.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 8,362.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 11.62, 10.27 และ 3.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.66 เนื่องจากตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.45, 15.35, 3.19 และ 0.42 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.44 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการส่งออก 3,333.74 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน ลดลงร้อยละ 12.85, 3.54, 1.21 และ 1.02 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่าการส่งออก 1,928.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.85, 18.35, 15.37, 6.88 และ 0.79 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3) เครื่องพิมพ์ เครื่องสำเนา และส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออก 597.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลงเกือบทั้งหมด ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 31.10, 12.55, 11.14 และ 9.58 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 11,740.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการนำเข้าในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 7.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 4)
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 1/2560 คิดเป็นมูลค่า 3,623.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 7.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าจากแหล่งนำเข้าหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 13.63, 11.50 และ 3.35 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่าการนำเข้า 453.40 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น จีน และ สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.74, 5.39, 2.57 และ 0.34 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่าการนำเข้า 359.06 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.91,11.58, 10.51 และ 2.55 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3) มอเตอร์ไฟฟ้า มีมูลค่าการนำเข้า 238.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.50, 11.01, 1.75 และ 1.36 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 8,116.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 2.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.06, 5.64 และ 0.71 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้านำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่า 2,581.87 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.85, 17.41, 12.35, 10.06 และ 8.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์ มีมูลค่า 1,195.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการนำเข้า 1,031.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน และสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 23.88, 10.33, 9.99 และ 0.51 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 124.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.20, 3.88, 6.18, 21.22, 9.09, 7.76, 19.06 และ 3.48 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกตู้เย็นไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีน ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 56.17 เมื่อเทียบช่วงเดียวของปีก่อน และการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง ในขณะที่เครื่องซักผ้าและสายไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.58 และ 12.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor, Monolithic lC, Other lC และ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.95, 12.92, 26.37 และ 14.89 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก lC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น และ HDD ผู้ผลิตบางรายขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1/2560 มีมูลค่า 14,230.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2/2560 คาดว่า การผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 เนื่องจากเครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้าสามารถขยายตัวได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลัก สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก lC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และ HDD มีผู้ผลิตบางรายขยายกำลังการผลิตและส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--