สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2560 (มกราคม - มีนาคม) พ.ศ. 2560 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 1, 2017 15:56 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ส่วนอุตสาหกรรม 1 สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

02-202-4367, 02-202-4372

  • อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เป็นการลดลงของตลาดส่งออกในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลางและใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศขยายตัวเนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่จากผู้ประกอบการหลายรายประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศรวมทั้งราคาสินค้าทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2560จาก FOURlN)
  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในปี 2560 (ม.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 7,247,905 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 5,539,766 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,708,139 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 หากพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 2,368,964 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ32.68ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก ส่วนสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 939,102 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.96ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก และญี่ปุ่นมีการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 761,130 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.50 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก
  • การจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกในช่วงเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 6,962,963 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ2.73 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 5,261,504 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์1,701,459คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 และ 6.58 ตามลำดับ หากพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ใน ช่วงเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 2,519,528 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.18 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก สหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 1,163,508 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.71ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก ญี่ปุ่นมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงแรกของปี 2560 จำนวน 401,650คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.77ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.) 2,368,964 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.39แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,071,538 คัน ลดลงร้อยละ 3.58 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 297,426 คัน ลดลงร้อยละ 2.03สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 2,519,528 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง2,218,215 คัน ลดลง ร้อยละ 0.47และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 301,313คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.) จำนวน 939,102 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 273,215 คัน ลดลงร้อยละ 11.22ส่วนการผลิตรถบรรทุก 665,887 คัน เพิ่มขึ้นร้อย9.71สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 1,163,508 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.84 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 411,489 คัน ลดลงร้อยละ 12.79 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 752,019คัน เพิ่มขึ้นมาร้อยละ 7.19
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.) จำนวน 761,130 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84แบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง 659,307 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 และการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ 101,823คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 401,650คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.90 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 343,424 คัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.39และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 58,226 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.06
อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 485,555 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 506,874 คัน ลดลงร้อยละ 4.21 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 199,979 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,186 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.34 และ 34.24 ตามลำดับ ส่วนการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 276,390 คัน ลดลงร้อยละ 11.40

สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 288,294 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.37ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 107,719คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.36 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 180,575 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.64 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ4.60และ 3.95ตามลำดับ ส่วนการผลิตรถยนต์เพื่อ การพาณิชย์อื่นๆลดลงร้อยละ 13.58

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 210,490 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์ 181,560คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.93โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 80,412คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 92,441 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 11,705คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.71, 13.57และ7.32ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 25,932คัน ลดลงร้อยละ 17.11เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่1 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.84โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.96 ส่วนการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ3.83, 14.05และ 2.62 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 284,301คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 307,760 คัน ลดลงร้อยละ 7.62 โดยมีมูลค่าการส่งออก 147,718.06 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 163,553.42 ล้านบาท ลดลงร้อยละ9.68หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณ การส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 1.21และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.44

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 มีมูลค่า2,436.06ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.92ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.77, 14.08 และ6.38 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.06 , 32.07และ 21.64 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560มีมูลค่า 1.53ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 60.45 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ กัวเตมาลากัมพูชาและนิวแคลีโดเนีย (ประเทศในทวีปโอเชียเนีย)คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.60, 19.81 และ 19.09ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79 ส่วนมูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 มีมูลค่า 1,872.58ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ40.43, 7.14 และ 5.61 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเวียดนามมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ29.30, 50.70และ 17.96 ตามลำดับ

การนำเข้า จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 164.48และ117.23ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 8.61และการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 51.27หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 21.09 และ 10.77 ตามลำดับ

แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560ได้แก่อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 26.17, 24.79และ 21.92 ตามลำดับโดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 435.09แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น และมาเลเซียลดลงร้อยละ 16.18 และ 2.62 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่สิงคโปร์ อินโดนีเซียและญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.48, 18.93 และ 15.50 ตามลำดับ โดย การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.92แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงคโปร์ และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 77.82และ 0.68 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1ของปี 2560 มีปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดส่งออกในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลางและใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศขยายตัวเนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่จากผู้ประกอบการหลายรายประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศรวมทั้งราคาสินค้าทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 50 0,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)มีจำนวน 515,200คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 461,350 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.67โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 379,356คันและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 135,844 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.26 และ7.46 ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.24โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ13.13และ 9.80ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 461,783คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 454,326คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ซีซี.24 คัน และรถจักรยานยนต์แบบ101-125 ซีซี.390,751 คัน ลดลงร้อยละ 63.44 และ 0.47 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ 126-150 ซีซี.40,626 คัน และรถจักรยานยนต์แบบมากกว่าหรือเท่ากับ 151 ซีซี.30,382คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35และ40.74 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.97โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ซีซี.ลดลงร้อยละ22.58 ส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ 101-125 ซีซี.รถจักรยานยนต์แบบ 126-150 ซีซี. และรถจักรยานยนต์แบบมากกว่าหรือเท่ากับ 151 ซีซี.เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.33 ,11.15 และ63.93 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)จำนวน 253,146คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 105,854 คัน และ CKD จำนวน 147,292 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 246,473คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 14,189.11ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 17,065.42ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.85 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 7.29หากคิดเป็นมูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.90

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560มีมูลค่า 412.47ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.27 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.23,18.77 และ 15.21ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.44 , 11.21 และ 67.48 ตามลำดับ

การนำเข้า จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ มูลค่า 50.63ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 40.14 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.13 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 35.17, 23.28และ 19.52 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 , 107.74 และ 15.92 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560การผลิตรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนโดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่2 ของปี 2560คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลจากการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการว่าในไตรมาสที่2 ปี 2560จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 480,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 80 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 49,990.53ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.10 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 9,020.19 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.04และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 8,010.90 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.44หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.05และ 3.98ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ลดลงร้อยละ 4.04

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.)มีมูลค่า 2,147.43ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ5.11ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่นอินโดนีเซีย และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.61, 8.92 และ 8.41 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 1.10 และ 10.21 ตามลำดับแต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.74

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)มีมูลค่า 715.25 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.83 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 339.59ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.13หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)ลดลงร้อยละ 16.94 ส่วนการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.74

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 175.77ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ22.64,11.93 และ 8.43 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 15.21 และ 5.78 ตามลำดับแต่การส่งออกไปเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.53

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,509.19ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับ ปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ5.99หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 11.01แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.60, 24.98 และ 6.80 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 3.20 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.41และ 25.92 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560(ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 131.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ7.83หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 26.43, 20.33 และ 10.89 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน ลดลงร้อยละ 3.91 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่นและเวียดนาม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.16และ 6.93 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการฯ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งให้กระทรวงอุตสาหกรรมติดตามและรายงานผลการดำเนินการในภาพรวมต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีมาตรการด้านต่างๆ ดังนี้

มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply)

1) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนของรถยนต์ รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า (การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เปิดให้ส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบห่วงโซ่อุปทาน ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ชิ้นส่วนรถไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกประกาศส่งเสริมการลงทุน)

2) กระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต) พิจารณาออกประกาศกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราพิเศษสำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติลงกึ่งหนึ่ง และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติ เหลือร้อยละ 2 โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องผ่านการอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และต้องผลิตรถยนต์ โดยใช้แบตเตอรี่ ที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป

3) กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) พิจารณาออกประกาศยกเว้นอากรนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป เพื่อทดลองตลาด ในปริมาณที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ ความเห็นชอบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

4) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมศุลกากร) และกระทรวงอุตสาหกรรม(สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม) ร่วมกันผลักดันให้มีการเปิดเจรจากับประเทศจีน เพื่อกำหนดอัตราอากรนำเข้าที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China FTA)

5) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พิจารณาผลักดันให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า การลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญ และการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economics Corridor Development : EEC) เพิ่มมากขึ้น

มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand)

1) สำนักงบประมาณพิจารณากำหนดให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ได้ โดยดำเนินการกำหนดบัญชีคุณลักษณะเฉพาะและบัญชีราคาของรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และเพิ่มเติมรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เข้าไปในบัญชีนวัตกรรมไทยและสิ่งประดิษฐ์ไทย โดยมีเป้าหมายให้รถยนต์นั่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ามีสัดส่วนการใช้ประมาณร้อยละ 20 ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดที่หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อ

2) กระทรวงคมนาคม (บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)) พิจารณาจัดทาแผนปฏิบัติงานในอนาคต (สัญญาเช่ารถยนต์) โดยเพิ่มการนำรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มาใช้เป็นรถยนต์บริการของสนามบิน (ลีมูซีน) ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น

3) กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาให้มีการนำรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มาใช้งานในพื้นที่ปลอดมลพิษ ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

4) กระทรวงพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถยนต์สี่ล้อรับจ้าง (แท็กซี่) มาปรับเปลี่ยนเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ ในลักษณะที่มีการดำเนินการเดียวกับรถยนต์สามล้อไฟฟ้ารับจ้าง (รถตุ๊กตุ๊ก)

5) กระทรวงวัฒนธรรม (กรมศิลปากร) พิจารณานำรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มาให้บริการในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยรวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ที่สำคัญ

การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน

1) กระทรวงพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กระทรวงคมนาคม (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร) การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกันศึกษาแผนการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่เป้าหมาย และถนนหลักที่เชื่อมต่อพื้นที่เป้าหมาย

2) กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เร่งดำเนินโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ รวมทั้งพิจารณาจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เพื่อรองรับการทดสอบรถยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าต่อไป

การจัดทำมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า

1) กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) พิจารณาดำเนินการจัดทำมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าให้ครบถ้วน ได้แก่ ระบบการประจุไฟฟ้าของรถไฟฟ้า ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง มิเตอร์กระแสตรงเพื่อใช้ในการจำหน่ายไฟฟ้า

การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว

ภายใต้เงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดให้ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วมาด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ภาครัฐยังขาดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการกำจัดซากแบตเตอรี่ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกำหนดแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน เพื่อรองรับปริมาณของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนี้

1) กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารและจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารและกำจัดซากแบตเตอรี่รถยนต์

2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ) พิจารณากำหนดผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ไว้ในพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และซากผลิตภัณฑ์อื่นๆ พ.ศ. ....

มาตรการด้านอื่นๆ

1) กระทรวงอุตสาหกรรม (สถาบันยานยนต์) ดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) โดยเน้นการพัฒนาระบบรับรองความสามารถบุคลากร เป็นระยะเวลา 5 ปีแบบต่อเนื่อง เพื่อให้มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพ สามารถรองรับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตได้(ที่มา : www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ