สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2
0 2202 4391
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เซรามิกเติบโตตามตลาดในช่วงฤดูกาลขายเช่นเดียวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และตุรกี
การผลิตเซรามิก ไตรมาส 1 ปี 2560 ในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่มีมากในช่วงฤดูกาลขาย โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.76 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.79 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.67 และ 1.13 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในภาพรวมยังไม่มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้วัสดุก่อสร้าง โดยพบว่าทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 9.97 และ 2.72 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก ทำให้การเปิดตัวโครงการใหม่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว อีกทั้งกำลังการซื้อของผู้บริโภคยังคงลดลงจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง (ดังตารางที่ 1)
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส 1 ปี 25 60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีปริมาณ 42.33 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.12 ตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.03 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 2.83 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 7.31 และ 26.95 ตามลำดับ ซึ่งยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยลดลง (ดังตารางที่ 2)
กลุ่มอาเซียนเป็นหลัก โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 1 ปี 2560 ในภาพรวมมีมูลค่า 201.23 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยัง ญี่ปุ่น ลาว สหรัฐอเมริกา ตุรกี และประเทศในล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.91 และ 6.07 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งลูกถ้วยไฟฟ้า สามารถขยายตัวได้ดี ในตลาดญี่ปุ่น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ ขยายตัวได้ดีในตลาดตุรกี และประเทศในกลุ่มอาเซียน
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 1 ปี 2560 ในภาพรวมมีมูลค่า 112.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 15.67 และ 7.10 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ (ดังตารางที่ 4)โดยประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่มาจาก ประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเยอรมัน
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาส 1 ปี 2560 ในภาพรวมกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เติบโตเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 1 ปี 2560 ในภาพรวมเพิ่มขึ้น โดยขยายตัวได้ดีในตลาดญี่ปุ่น ตุรกี และประเทศในกลุ่มอาเซียน ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 1 ปี 2560 ลดลงตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างลดลง นอกจากนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและค่าครองชีพที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายเซรามิกมีแนวโน้มลดลง สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 2 ปี 2560 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตลาดอาเซียน ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 2 ปี 2560 มีแนวโน้มลดลงซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--