ในไตรมาส 2 ปี 2560 เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวดีในหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อันเป็นผลมาจากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศการลงทุนของภาคเอกชนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ 52.3 USD/BarreI ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ 42.9 USD/BarreI สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาลดลง โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2560) อยู่ที่ 49.4 USD/BarreI เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งสูงกว่าระดับเพดานที่กำหนดไว้และสูงกว่าความต้องการใช้น้ำมันในระดับโลก
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 โดยปัจจัยที่ทำให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 คือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของภาคเกษตร ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตพืชผลสำคัญหลายชนิดปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน รวมถึงราคาสินค้าเกษตรโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าขณะที่ภาคนอกเกษตรชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการชะลอตัวของสาขาอุตสาหกรรม และก่อสร้าง สำหรับภาคบริการโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้านอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวสูงขึ้นรวมทั้งการขยายตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนตามการขยายตัวของการใช้จ่ายบริโภคสินค้าคงทน และรายจ่ายภาคบริการ สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกสินค้าและบริการตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักและการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 และปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 0.2 การที่ GDP สาขาอุตสาหกรรมชะลอตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2559 เนื่องจากการลดลงของการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และการหดตัวต่อเนื่องของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่หดตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง อย่างไรก็ตามอุตสากรรมเพื่อการส่งออกหลายรายการมีการปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 3.3-3.8 จากปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2
สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 2.21 และช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 13.08 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นที่เริ่มส่งผลให้การส่งออกและการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยการค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 2 มีมูลค่าทั้งสิ้น 111,261.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 57,090.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 54,172.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 นี้ อยู่ในสภาวะเกินดุลการค้า โดยมีมูลค่า 2,917.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทยการลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคมมีมูลค่ารวม 53,862.2 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนเมษายนมีมูลค่า 17,926.66 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคมมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 35,935.54 ล้านบาท เมื่อพิจารณาข้อมูลการลงทุนภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือนของในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 พบว่ามูลค่าการลงทุนรวมสุทธิ 8,439.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 166 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการลดการลงทุนมากกว่าการลงทุนเพิ่ม มูลค่า 18,403.38 ล้านบาท โดยการลงทุนรวมของภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน มีการลดการลงทุนมากกว่าการลงทุนเพิ่มมูลค่า 1,219.45 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 9,712.67 ล้านบาท
เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีประมาณ 1,707,444 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) หดตัวร้อยละ 29.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากแนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลกส่งผลให้ผู้ผลิตบางส่วนชะลอการผลิตลง เพื่อดูการปรับตัวของราคา และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว หดตัว ร้อยละ 41.31 เกิดจากภาวะตลาดก่อสร้างภายในประเทศชะลอตัวจากการลงทุนที่ลดลง ปัญหาแรงงานต่างด้าว ภาวะฤดูฝนที่มาเร็ว และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.75 และเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 ซึ่งสาเหตุที่การผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มเหล็กทรงแบน ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์
สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560 คาดการณ์ว่าความต้องการใช้เหล็กในประเทศ จะขยายตัวร้อยละ 3.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่ต้องติดตาม คือ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังน้ำท่วมในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจะส่งผลให้การใช้เหล็กเส้นในประเทศเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยคาดการณ์ว่าการผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น
ยานยนต์ ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560(เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์465,411 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 486,506 คัน ลดลงร้อยละ 4.34 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 191,870 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 264,074 คัน ลดลงร้อยละ 7.27 และ 2.51 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,467คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.50 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.15 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ลดลงร้อยละ 4.05 และ 4.46 ตามลำดับแต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06
สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาจากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คันโดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60 สำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2560 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 800,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07 และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ0.97
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 2/2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้อุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 4.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว เนื่องจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 5.67 ในขณะที่เครื่องซักผ้าและสายไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.72 และ 4.54 เนื่องจากการส่งออกเครื่องซักผ้าไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70.92 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 2/2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ Semiconductor, MonoIithic IC, Other IC และ HDD เนื่องจาก IC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3/2560 คาดว่า การผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.29 เนื่องจากเครื่องซักผ้าสามารถขยายตัวได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลักเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าจากการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก IC เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น
เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,849.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯและการนำเข้ารวม 4,077.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 และ10.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2560 โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกและการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 และ 18.99 ตามลำดับ เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเคมีภัณฑ์ทั้งการนำเข้าและส่งออก ประกอบกับทิศทางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นและความต้องการใช้เคมีภัณฑ์ของจีนและอาเซียนส่งผลให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศขยายตัวจากภาคการก่อสร้าง และการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปี 2560 ที่ผ่านมา
แนวโน้มปี 2560 คาดว่าสถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น เศรษฐกิจของยุโรป จีน และญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลต่อนำเข้าเคมีภัณฑ์ของประเทศไทยพลาสติก ภาวะอุตสาหกรรมพลาสติกครึ่งปีแรกของ ปี 2560 พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกภาพรวมลดลงร้อยละ 2.21 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าโดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น ส่วนดัชนีส่งสินค้าของอุตสาหกรรมพลาสติกภาพรวมลดลงร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559โดยลดลงจากการส่งสินค้าเกือบทุกประเภท ยกเว้นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ
แนวโน้มครึ่งปีหลังของ ปี 2560คาดว่า สถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมพลาสติกจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้นและมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสำคัญจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นแนวโน้มการปรับตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุน ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนภายในประเทศและ คาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความไม่ชัดเจนของนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ
ปิโตรเคมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ทั้งนี้ เกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นรวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในแถบตะวันออกกลางและภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนและจีนปรับตัวดีขึ้น
แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยทั้งปี 2560 คาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศอย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การปรับตัวของระดับราคาน้ำมันดิบ และการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค (Infrastructure) ขนาดใหญ่ของภาครัฐทำให้ความต้องการวัตถุดิบเม็ดพลาสติกมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดการขยายตัวตาม
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ สถานการณ์การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ไตรมาส 2 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษคราฟท์ เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกเยื่อกระดาษเพิ่มขึ้นตามความต้องการบรรจุภัณฑ์กระดาษเพื่อการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปของอุตสาหกรรมต่อเนื่องสำหรับกระดาษพิมพ์เขียนเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตหนังสือและสมุด สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ สำหรับเปิดภาคการศึกษาใหม่และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าการผลิตเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษคราฟท์ โดยเป็นการผลิตเพื่อทดแทนสินค้าในสต๊อกที่ใช้ในเทศกาลสำคัญช่วงต้นปี
สถานการณ์การผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ ไตรมาส 3 ปี 2560 คาดว่าจะหดตัวลงจากการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตที่มีค่อนข้างมากในไตรมาสที่ผ่านมาและคาดว่าคำสั่งซื้อในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีแนวโน้มลดลงในไตรมาส 3 สำหรับกระดาษพิมพ์เขียนและกระดาษคราฟท์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศสำหรับการส่งออก คาดว่าเยื่อกระดาษจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น โดยมีตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดค่อนข้างใหญ่ รองรับการส่งออกเยื่อกระดาษจากไทย ด้านการนำเข้าคาดว่าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจะนำเข้าเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศในขณะที่การกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษรวมถึงสิ่งพิมพ์จะนำเข้าลดลง โดยเฉพาะการนำเข้าสิ่งพิมพ์โฆษณาทางการค้าและหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม เนื่องจากสื่อดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
เซรามิก การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาส 2 ปี 2560 ในภาพรวมกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ลดลงเนื่องจาก ผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีการแข่งขันสูงกับสินค้านำเข้าจากประเทศจีน อีกทั้ง ไตรมาสนี้มีเทศกาลที่มีวันหยุดยาว รวมทั้งการเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้มีการนำวัสดุก่อสร้างไปใช้ลดลงส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องลดลงตามไปด้วยสำหรับการส่งออกและการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาส 2 ปี 2560 ในภาพรวมเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกโดยการส่งออกสามารถขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มอาเซียน
การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส 3 ปี 2560 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 3 ปี 2560 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตลาดอาเซียนและสหรัฐอเมริกาประกอบกับแนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก
ปูนซีเมนต์ปริมาณการผลิตปูนเม็ดในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ยังขยายตัวได้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากไทยมีการส่งออกปูนเม็ดไปยังตลาดบังคลาเทศมากขึ้นในส่วนของปูนซีเมนต์มีปริมาณการผลิตลดลงเนื่องจากภาคก่อสร้างในประเทศในส่วนของการก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐบาลมีความคืบหน้าน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์มีภาวะล้นตลาด การเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ประกอบกับไทยส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังเมียนมาได้น้อยลงค่อนข้างมากรวมถึงการส่งออกไปยังลาวและเวียดนามมีแนวโน้มลดลงด้วยในไตรมาสนี้ จึงส่งผลต่อปริมาณการผลิตของไทยลง
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 น่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้บ้างเหตุที่ยังไม่มีการขยายตัวมากนักเนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น สภาพตลาดยังชะลอตัวและมีการแข่งขันสูง อสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในภาวะล้นตลาดเนื่องมาจากปัญหาหลายประการโดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดมากขึ้น การเข้าสู่ฤดูฝนเต็มรูปแบบซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการก่อสร้างแล้วยังทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัดโดยเฉพาะทางภาคอีสานจึงน่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการชะลอตัวของการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ดี ก็ยังมีปัจจัยบวกอยู่เช่นกัน คือ ปริมาณการผลิตและจำหน่ายในภาพรวมอาจจะสามารถคลี่คลายได้เมื่อพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประชาชนก็จะต้องทำการซ่อมแซมบ้านเรือน และจากการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 รวม 2.9 ล้านล้านบาท เม็ดเงินก็จะมีการกระจายลงสู่ภาคส่วนต่างๆ ช่วยให้เสริมสร้างสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ และเงินสะพัดสู่ท้องถิ่น ซึ่งการลงทุนภาครัฐบาลในโครงการย่อยๆ จะได้รับประโยชน์ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัสดุก่อสร้างซึ่งรวมถึงปูนซีเมนต์ด้วยรวมถึงหากรัฐบาลทำการกระตุ้นตลาดโดยให้มีการเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้มีความคืบหน้าไปตามแผนงานก็อาจมีส่วนช่วยให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นได้แต่ก็จะยังโตในลักษณะชะลอตัวเช่นเดิม
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาส 2 ปี 2560 การผลิตกลุ่มสิ่งทอ ขยายตัวตามทิศทางการส่งออกไปยังตลาดหลักในอาเซียนที่ขยายตัว ประกอบกับผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์รายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิตในส่วนเส้นใยสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อเจาะตลาดต่างประเทศ สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่มภาพรวมขยายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักที่ขยายตัวจากความต้องการสินค้าในประเทศ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอลดลงโดยเป็นผลมาจากการผลิตผ้าทอเครื่องแต่งกายชั้นในสตรีและเด็กหญิง
ภาวะอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2560 คาดว่าภาพรวมการผลิต การจำหน่ายในประเทศในกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอจะชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวได้ตามความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดอาเซียนที่ยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยสำหรับการส่งออก กลุ่มเส้นใยสิ่งทอฯ และผ้าผืน คาดว่า จะขยายตัวได้ในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น จีน และ ญี่ปุ่น ที่ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัว สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะชะลอตัวในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามเครื่องนุ่งห่มของไทยยังสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ดี
ไม้และเครื่องเรือนการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 ชะลอตัวลงโดยภาพรวมตลาดยังคงหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีภาวะเศรษฐกิจปรับตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 เป็นไปตามทิศทางภาวะการผลิตเครื่องเรือนไม้ในประเทศ
การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน สำหรับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจในตลาดคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซาอุดีอาราเบีย อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกที่กดดันให้การส่งออกไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น นโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกาภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศของจีนที่ยังไม่คงที่ เนื่องจากปัญหาหนี้ภาคธุรกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในสหภาพยุโรป ความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลก ในส่วนของการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางเดียวกับการส่งออก ยา การผลิตยารักษาและป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2 ปี 2560เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากการผลิตยาน้ำ ยาฉีด และยาครีม เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังขยายตัวได้เช่นกันโดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนของการจำหน่ายยาเม็ด ยาฉีด และยาครีม ในส่วนของการส่งออกยาในไตรมาสที่ 2 ปี 2560เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากเวียดนามซึ่งเป็นตลาดส่งออกยาที่สำคัญที่สุดของไทยในไตรมาสนี้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยาจากไทยเพิ่มขึ้นโดยตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงเป็นประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 8 แห่ง (ยกเว้นบรูไน) รวมมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 65.64ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 75.34ของมูลค่าการส่งออกยาทั้งหมดของไทยสำหรับมูลค่าการนำเข้ายาในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหดตัวลงตามแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดยาในประเทศ
ปริมาณการผลิตยารักษาและป้องกันโรคในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 คาดว่าจะยังขยายตัวได้โดยคาดว่าตลาดยาทั้งในและต่างประเทศจะขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นช่วงที่โรงพยาบาลของรัฐซึ่งเป็นตลาดยาขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเร่งสั่งซื้อยาเพื่อให้ทันสิ้นปีงบประมาณสำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะในตลาดเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา เนื่องจากสินค้ายาของไทยได้รับความนิยมสูงในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยซึ่งยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศของตนไม่มากนักทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาจากต่างประเทศเป็นหลัก
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร/รถแทรกเตอร์ ยางในรถบรรทุก/รถโดยสารยางในรถจักรยานยนต์/จักรยาน และยางหล่อดอกเพิ่มขึ้นในขณะที่มีปริมาณการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง/รถกระบะและยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยานลดลง สำหรับถุงมือยาง/ถุงมือตรวจมีปริมาณการผลิตลดลง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่บางรายมีการปรับเปลี่ยนแผนการตลาด ทาให้มีการปรับลดปริมาณการผลิตลงในส่วนของการจำหน่ายในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น ยางนอกรถยนต์นั่ง/รถกระบะ ยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร/รถแทรกเตอร์ ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน และยางในรถบรรทุก/รถโดยสาร ลดลง ในขณะที่มีปริมาณการจำหน่ายยางในรถจักรยานยนต์/จักรยานและยางหล่อดอกเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ยางภาพรวมในประเทศที่ชะลอตัว
การผลิตยางรถยนต์และยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร/รถแทรกเตอร์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง/ถุงมือตรวจในประเทศคาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามความจำเป็นของภาคอุตสาหกรรมและการใช้ในทางการแพทย์ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และออสเตรเลีย ในส่วนของถุงมือยาง/ถุงมือตรวจ คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในผลิตภัณฑ์ถุงมือยางและถุงมือตรวจของไทย
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง การผลิตผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ที่ใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น เบาะรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.78 เป็นผลจากการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออก สำหรับการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก และการผลิตรองเท้าลดลงร้อยละ 18.55 และ 7.32 ตามลำดับ จากการที่ผู้ประกอบการเน้นการส่งสินค้าในสต๊อกทดแทนการผลิตทำให้ระดับสินค้าคงคลังลดลง ประกอบกับมีการชะลอตัวของอุปสงค์และคำสั่งซื้อจากทั้งภายในและต่างประเทศ
การผลิตหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกไตรมาส 3 ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคาดว่า จะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้าที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปัจจัยที่กระตุ้นการผลิต เช่น การขยายตัวเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยว การผลิตรองเท้านักเรียนเพื่อสต๊อกสินค้าไว้รองรับช่วงเปิดเทอม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การผลิตรองเท้ากลับมาดีขึ้นในขณะที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางอาจมีแนวโน้มการผลิตที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ สำหรับการส่งออก คาดว่า ทุกผลิตภัณฑ์ทั้งหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดเครื่องใช้สำหรับเดินทางและรองเท้าและชิ้นส่วนจะปรับตัวได้ส่วนหนึ่งจากการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มการลงทุนขยายการผลิตเพื่อการส่งออก อาจเป็นการกระตุ้นตลาด อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากความต้องการในตลาดคู่ค้าที่สำคัญลดลงและทิศทางค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าของไทย
อัญมณีและเครื่องประดับไตรมาส 2 ปี 2560 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเทียมชนิดต่าง ๆ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 10.03 และ 4.24 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการจำหน่าย ที่ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.10 และ 15.44 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อลดลง ด้านการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ลดลง ร้อยละ 3.34 และ 21.73 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ จากการส่งออกลดลง ทั้งในกลุ่มวัตถุดิบอัญมณีหลายรายการและกลุ่มเครื่องประดับ โดยเฉพาะในตลาดหลัก อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกาและเมื่อพิจารณาการส่งออกในภาพรวม พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลง ร้อยละ 25.67 และ 31.18 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ
แนวโน้มการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2560 คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งกลุ่มเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเทียมชนิดต่าง ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการผลิตเพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมที่นำออกจำหน่ายในช่วงที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2560 (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามยังคงมีผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด สำหรับแนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกทองคายังไม่ขึ้นรูปที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาทองคำในตลาดโลกเฉลี่ยที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ภาวะการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.34 และ 12.41 ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตน้ำตาลทราย อาหารสัตว์ ข้าว ธัญพืชและแป้ง ปศุสัตว์ ประมง และผักผลไม้ เพื่อรองรับความต้องการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMV ส่งผลดีต่อการผลิตและการส่งออกของไตรมาสที่ 2 ปี 2560
คาดการณ์การการผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 4.0 และ 5.3 ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตกลุ่มปศุสัตว์ ด้วยความต้องการบริโภคสินค้าไก่แปรรูป และไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้นำเข้าอย่างญี่ปุ่นและยุโรปที่ความต้องการสินค้าไทยเพิ่มขึ้นรวมถึงเกาหลีใต้และตลาดสิงคโปร์ได้เปิดนำเข้าไก่แช่เย็นแช่แข็งจากไทยเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศประสบปัญหาไข้หวัดนก และประเทศคู่แข่งประสบปัญหาด้านคุณภาพ กลุ่มข้าวธัญพืชและแป้ง โดยเฉพาะการส่งออกข้าวไทยคาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเพราะตลาดที่สำคัญในภูมิภาคแอฟริกาและเอเชียยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง ขณะที่ตลาดตะวันออกกลาง ทั้งอิหร่านและอิรัก ได้กลับเข้ามาซื้อข้าวจากไทยมากขึ้น ประกอบกับสินค้ากลุ่มสินค้าน้ำตาลที่การผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปริมาณน้ำตาลทรายดิบเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนเป็นผลดีจากช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวสภาพอากาศเหมาะสม ทำให้ค่าเฉลี่ยความหวานสูงขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานผลิตน้ำตาล อีกทั้งระดับราคาน้ำตาลตลาดส่งออกที่อิงกับราคาตลาดโลกในฤดูกาลหีบอ้อยปี 2559/60 (พ.ย.59-ต.ค.60) นั้นปรับตัวขึ้นกว่าร้อยละ 30 สูงสุดในรอบ 4 ปี
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--