ในไตรมาส 2 ปี 2560 เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวดีในหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อันเป็นผลมาจากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศการลงทุนของภาคเอกชนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ 52.3 USD/BarreI ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ 42.9 USD/BarreI สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาลดลง โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2560) อยู่ที่ 49.4 USD/BarreI เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งสูงกว่าระดับเพดานที่กำหนดไว้ และสูงกว่าความต้องการใช้น้ำมันในระดับโลก
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 25 60 ปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น การจ้างงานมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 2.8 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 118.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8
- ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560 1
- ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioiI.co.th / www.quandI.com
2 - ที่มา www.worIdbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 103.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.0
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 6.1 และการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 4.7
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 1.1 อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 อัตราการจ้างงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงินมติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ทั้งนี้ Fed ยังคงดูแลอัตราเงินเฟ้อเพื่อให้อยู่ในระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2560 ยังคงขยายตัวดี เนื่องจากการขยายตัวของมูลค่าการค้าปลีก และการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.7 เท่ากับไตรมาส 2 ปี 2559 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ10.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.2 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 112.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 101.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 6.9ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.1
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 4.4 และการนำเข้าของไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 14.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 6.7
3 - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 และอัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (PeopIe,s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4.35 อีกทั้งดำเนินนโยบายเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินผ่านการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations : OMO)
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวดี อันเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนในภาคก่อสร้าง การส่งออกขยายตัว อัตราการจ้างงานดีขึ้น และในไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 0.1 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัว ร้อยละ 6.1เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 43.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 101.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.5
การส่งออกและนำเข้า การส่งออก ไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 9.5 และการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 16.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 18.7
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.37 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.4 และอัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2
สถานการณ์ด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ -0.1 และดำเนินนโยบายผ่อนคลายสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 1 ปี 2560 ยังคงขยายตัวดี จากภาคการผลิต และการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และอัตราการจ้างงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และการบริโภคไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 110.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 108.0 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนและพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 110.6 และ 112.0 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 13.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 4.0 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 1.6 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 15.9 ส่วนการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 4.4 สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายนและพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 1.8 และขยายตัวร้อยละ 17.2 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.1 สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.6 อัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European CentraI Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 พร้อมทั้งยังคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจนถึงเดือนธันวาคม 2560
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 1 ปี 25 60 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.3 ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 จากการบริโภคของภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนในภาคก่อสร้างที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ขยายตัวสูงสุดนับจากไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 เศรษฐกิจ ฮ่องกงขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากการขยายตัวของการบริโภคของภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งการลงทุนในภาคก่อสร้างขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรหดตัว
6 - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560
- ที่มา www.censtatd.gov.hk www.hkeconomy.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 86.8 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.6
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 136,988 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 145,294 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.7 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 3.2 ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 8,306 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคของภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงลงทุนในภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง
7 - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคทั้งของภาครัฐและเอกชนรวมถึงการลงทุนในภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดี
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 110.8 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 110.3
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 147,198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.8 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งหดตัวร้อยละ 6.7 การส่งออกของเกาหลีใต้ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 นับตั้งแต่ปลายปี 2559 (หลังจากหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2558) จากการขยายตัวของการส่งออกไปตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.7 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 117,947 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.8 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 10.5 ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 29,251 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ และค่าขนส่ง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.7
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 หลังจากได้ทำการปรับลดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 1.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25) เนื่องจากเห็นว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนในการชำระหนี้
เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 2 ปี 2560 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการผลิต และภาคบริการที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการก่อสร้างหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาส 2 ปี 2560 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการผลิตที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากการขยายตัวของการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมชีวการแพทย์ รวมทั้งภาคการบริการที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ขณะที่ภาคการก่อสร้างหดตัว
- ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 111.8 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.4
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 90,992 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 5.8 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่า 79,108 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.2 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 8.3 ภาพรวมการค้า สิงคโปร์เกินดุลการค้า 11,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ติดลบร้อยละ 0.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากราคาอาหาร ราคาเสื้อผ้า ราคาเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมถึงราคาค่าขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1
เศรษฐกิจของอินโดนีเซียไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 อันเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน การส่งออกและการนำเข้า
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในไตรมาส 2 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 133.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 127.9 ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 136.2 และ 136.9 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 21.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 14.0 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 13.0 ทั้งนี้การส่งออกเดือนเมษายน 2560 ขยายตัว ร้อยละ 15.7 สำหรับการนำเข้าเดือนเมษายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.5
9 - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560
- ที่มา www.bi.go.id www.ceicdata.com
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ ร้อยละ 3.6 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดที่อยู่อาศัย อาหารและเครื่องดื่ม และค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2560 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 4.75 เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ
เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.6 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศและการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ในด้านการค้าระหว่างประเทศยังคงเกินดุล และเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 การบริโภคไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8
10 - อัตราการว่างงานของประเทศอินโดนีเซียรายงานผลในเดือนกุมภาพันธ์,สิงหาคม และธันวาคม (เดือนกุมภาพันธ์ รายงานผลในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560)
- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 130.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 125.3
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 14.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 11.5 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 20.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 14.0 ทั้งนี้ การส่งออกเดือนเมษายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 6.6 และการนำเข้าเดือนเมษายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.4
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ ร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากราคาค่าใช้จ่ายด้านคมนาคม ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าไฟฟ้า และค่าเชื้อเพลิงอัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 3.3
สถานการณ์ด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางมาเลเซียมีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight PoIicy Rate) ที่ร้อยละ 3.0 เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 1 ปี 2560 ยังคงขยายตัวอันเป็นผลมาจากการบริโภคของภาคครัวเรือน และไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 11
- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560
- ที่มา http://www.gov.ph/ http://www.bsp.gov.ph/ www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.4 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัว ร้อยละ 6.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 186.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 178.1
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 15.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 4.8 โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 33.8 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.2 อัตราว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 5.7
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืน ไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่มีทิศทางที่ดีขึ้น
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 1 ปี 2560 ชะลอตัว อันเป็นผลมาจากการบริโภคของภาคเอกชน และไตรมาส 2 ปี 2560 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 การบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 125.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ121.9 โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 117.6 และ 124.3 ตามลำดับ
12 - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2560
- ที่มา www.rbi.org.in www.mospi.gov.in http://www.statista.com www.ceicdata.com www.gtis.com/gta http://dbie.rbi.org.in/
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฮ่องกง การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 32.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 14.9 สำหรับตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 โดยเฉพาะหมวดอาหารและเครื่องดื่มมีการปรับลดราคา
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางอินเดียมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 6.00 ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2560 เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--