ส่วนอุตสาหกรรม 2 สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
1. สถานการณ์ปัจจุบัน
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีประมาณ 1,707,444 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) หดตัว ร้อยละ 29.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากแนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาเหล็กในตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตบางส่วนชะลอการผลิตลง เพื่อดูการปรับตัวของราคา และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว หดตัว ร้อยละ 41.31 เกิดจากภาวะตลาดก่อสร้างภายในประเทศชะลอตัวจากการลงทุนที่ลดลง ปัญหาแรงงานต่างด้าว ภาวะฤดูฝนที่มาเร็ว และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์สำหรับเหล็กทรงแบน มีการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.75 และเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 ซึ่งสาเหตุที่การผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มเหล็กทรงแบน ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มีประมาณ 3,399,476 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) หดตัวร้อยละ 19.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 29.31 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.03 ขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงร้อยละ 10.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่2ปี 2560 มีจำนวนประมาณ 4,226,064 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 25.12 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนโดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ลดลงคือ เหล็กทรงยาว ลดลงถึงร้อยละ 38.93 เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) ของรัฐที่ชะลอตัวลงอย่างไรก็ตามคาดว่าความต้องการใช้เหล็กทรงยาวจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการและคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563 มีมูลค่ารวม 1.7 แสนล้านบาท สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 14.12
ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มีจำนวนประมาณ 8,335,924 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 16.01เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีความต้องการใช้ ลดลงร้อยละ 31.22 และเหล็กทรงแบนมีความต้องการใช้ ลดลงร้อยละ 4.85
การนำเข้า- การส่งออก
มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีจำนวนประมาณ 1,954.57ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 27.01 เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง โดยแท่งเล็ก (biIIet)ลดลงร้อยละ 51.48 รองลงมาคือเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 43.72 ท่อเหล็กมีมูลค่าการนำเข้า ลดลงร้อยละ 23.62 โดยท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลงร้อยละ 31.76 รองลงมาคือท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ลดลงร้อยละ 11.38 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.49 แต่เหล็กทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.17 โดยเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.70 รองลงมาคือ เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.36 เหล็กทรงแบนมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.37 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.34 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58
มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มีจำนวนประมาณ 3,723.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.08 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด carbon steeI เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.94 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.90 สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 โดยเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.71 รายละเอียดตามตารางที่ 2
มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีจำนวนประมาณ 324.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,857.83 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศสำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.83 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 503.14 เหล็กแผ่นรีดเย็น ชนิด carbon steeI เพิ่มขึ้นร้อยละ 331.57 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกขยายตัว ร้อยละ 9.72 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 165.75 เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.00 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด carbon steeI เพิ่มขึ้นร้อยละ 183.93 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.09 สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.35 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.20
มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มีจำนวนประมาณ 620.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,487.86 เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.28เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.32 รายละเอียดตามตารางที่ 3
การผลิตเหล็กของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีปริมาณ 1,707,444 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 29.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีปริมาณ 4,226,064 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 25.12สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 มีมูลค่า1,954.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปและท่อเหล็ก ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีประมาณ 324.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.29 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด
การผลิตเหล็กของไทยในครึ่งแรกของปี 2560มีปริมาณ 3,399,476 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 19.27เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีปริมาณ 8,335,924 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 16.01 สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กในครึ่งแรกของปี2560มีมูลค่าประมาณ 3,723.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ8.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.09 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด carbon steeI เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.94 เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 โดยเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.71
สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560 คาดการณ์ว่าความต้องการใช้เหล็กในประเทศ จะขยายตัวร้อยละ 3.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่ต้องติดตาม คือ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังน้ำท่วมในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจะส่งผลให้การใช้เหล็กเส้นในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยคาดการณ์ว่าการผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--