สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2560 (เมษายน - มิถุนายน) พ.ศ. 2560 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 31, 2017 15:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ส่วนอุตสาหกรรม 1 สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

02-202-4367

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดส่งออกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ อย่างไรก็ดีตลาดในประเทศมีการขยายตัวเนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัวประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2560 จาก FOURIN)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 22,891,044 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.80 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 17,245,168 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,645,876 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.36 หากพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 7,132,546 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ31.16 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก ส่วนสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 3,028,640 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.23ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก และญี่ปุ่น มีการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 2,542,155 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.10 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั่วโลก

การจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)มีการจำหน่ายรถยนต์ 22,535,770 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ5.21 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 16,567,187 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,968,583 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.00 และ 8.74 ตามลำดับ หากพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 7,001,690 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.07ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก สหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 4,100,574 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.20 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก ญี่ปุ่นมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 จำนวน 1,577,749คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.00 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก

อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.) 7,132,546 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 6,106,990 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.25 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,025,556 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.22 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 7,001,690 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 5,947,249 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,054,441 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.59

อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)3,028,640 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.17 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง855,504 คัน ลดลงร้อยละ 15.74 ส่วนการผลิตรถบรรทุก 2,173,136 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 4,100,574 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.62 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 1,484,816 คัน ลดลงร้อยละ 12.40 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,615,758 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76

อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 (ม.ค.-มี.ค.)2,542,155 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.39 แบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง 2,200,834 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.99 และการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ 341,321 คัน ลดลงร้อยละ 2.87 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2560 มีจำนวน 1,577,749 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 1,340,511 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 237,238 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560(เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 465,411 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 486,506 คัน ลดลงร้อยละ 4.34 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 191,870 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 264,074 คัน ลดลงร้อยละ 7.27 และ 2.51 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,467 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.50 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.15 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ลดลงร้อยละ 4.05 และ 4.46 ตามลำดับแต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06

(การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เม.ย.-มิ.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 199,490 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 187,070 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.64โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 81,071 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 80,041 คันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,775 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV)27,603 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.87, 1.29, 3.30และ 4.47ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 5.23โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ0.82 และ 6.44 ตามลำดับแต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.41และ 7.95 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 252,105 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 287,063คัน ลดลงร้อยละ 12.18 โดยมีมูลค่าการส่งออก 135,841.51 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 176,086.76 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.66หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 11.32 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.04

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560มีมูลค่า4,926.24ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 13.95 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.97, 14.94และ 5.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียและฟิลิปปินส์มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.76และ 11.65 ตามลำดับแต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปเม็กซิโกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.21

มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า1.95ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ69.30 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ กัมพูชากัวเตมาลาและนิวแคลีโดเนียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 34.16, 20.91 และ 15.01ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปกัมพูชามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.57แต่การส่งออกรถแวนไปกัวเตมาลา และนิวแคลีโดเนียมีมูลค่าร้อยละ 0.00 และ 0.00 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า 3,410.59ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.86ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 39.17, 7.81และ 6.38ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.40, 32.79 และ 17.72 ตามลำดับ

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560(เม.ย.-มิ.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง คิดเป็นมูลค่า 231.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 19.48 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า117.79ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.14ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.70 และ 0.48 ตามลำดับ

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า395.91ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.29แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.64, 21.38 และ 20.21 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 6.65 และ 10.07 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.62

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า 235.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 28.57แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.76, 22.75 และ 14.90 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงคโปร์และญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 60.30 และ 20.17 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.99

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 มีปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดส่งออกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ อย่างไรก็ดี ตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัวประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาจากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60 สำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2560 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 800,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.) มีจำนวน 517,894 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 437,113 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 419,369 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.92ส่วนการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 98,525คัน ลดลงร้อยละ2.85 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.55 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 27.47

การจำหน่ายตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.) มีจำนวน 487,767 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 455,683 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.04 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ซีซี 24 คันลดลงร้อยละ 56.38 แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 101-125 ซีซี 412,841 คัน รถจักรยานยนต์ขนาด 126-150 ซีซี 41,874 คัน และรถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 151 ซีซี 33,028 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65, 12.08 และ 65.60 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ซีซีรถจักรยานยนต์ขนาด 101-125 ซีซีรถจักรยานยนต์ขนาด 126-150 ซีซี และรถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 151 ซีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ0.00, 5.65, 3.07 และ 8.71 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.) จำนวน 186,533 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 74,639 คัน และ CKD จำนวน 111,894 ชุด)เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 212,313 คัน ลดลงร้อยละ 12.14 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 11,514.70 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 10,470.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.97 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 26.31 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 18.85

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560มีมูลค่า 709.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.32 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.29, 17.05 และ 12.92 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.80, 24.53 และ 49.75 ตามลำดับ

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 56.77ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.94หากพิจารณาจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.13

มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า 107.40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.12 เมื่อพิจารณาแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่อินโดนีเซียญี่ปุ่น และเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 40.63, 21.89 และ 17.85 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.26 และ 60.46 ตามลำดับ แต่มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ 2.61

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 การผลิตรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศอย่างไรก็ดีตลาดส่งออกมีการชะลอตัว

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยจากการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 520,000 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 47,074.01 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07 ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 9,952.99 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 20.24 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 8,273.72ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 5.83 แต่มูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34 และ 3.28 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560มีมูลค่า 4,262.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.82 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.51,9.32 และ 8.43 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 และ 17.83 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซียลดลงร้อยละ 11.44

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.)มีมูลค่า 666.11 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.23 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 294.09 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 6.87 และ 13.40 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า 343.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชา เวียดนามและบราซิล คิดเป็นสัดส่วน การส่งออกร้อยละ21.51, 11.64 และ 8.72 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา ลดลงร้อยละ8.48 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนามและบราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.01 และ 76.03 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560(เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 2,788.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.40หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.12

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีมูลค่า 5,297.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.61, 25.37 และ 6.71 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 1.24 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีนและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.71 และ 9.76 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 129.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.64 หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 1.50

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560มีมูลค่า 260.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ6.28แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ24.44, 21.33 และ 11.15 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่นและเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 และ 23.89 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน ลดลงร้อยละ 3.27

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ