สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2560 (เมษายน - มิถุนายน) พ.ศ. 2560 (อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 1, 2017 14:53 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2

0 2202 4386

การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนไม้หดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนเนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศฟื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวค่อนข้างล่าช้าส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงวิตกกังวล ระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย เป็นผลให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศไม่ขยายตัวมากนักการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ในภาพรวมขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวได้ดีในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑขยายตัวได้ดีในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นเป็์ไม้แผ่นเป็นสำคัญในตลาดจีนสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าหลักเริ่มฟื้นตัว

การผลิต

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 มีปริมาณการผลิต 1.69 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 5.59 ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 3.05 ซึ่งมีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2560 (ดังตารางที่ 1) อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวค่อนข้างช้าผู้บริโภคยังคงมีปัญหาไม่ผ่านการขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เป็นผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตอย่างจำกัดซึ่งจะส่งผลให้ตลาดเครื่องเรือนสำหรับการตกแต่งที่พักอาศัยไม่ขยายตัวเท่าที่ควร

การตลาดและการจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ

การจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 มีปริมาณ 0.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน หดตัวเท่ากัน ร้อยละ 9.09 (ดังตารางที่ 2) เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับภาระค่าครองชีพ หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เป็นผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลงและเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากกว่าส่งผลให้อุปสงค์เครื่องเรือนไม้ชะลอตัวลง

การค้าระหว่างประเทศ

การส่งออก

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น 3) กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาราเบีย อิหร่าน

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 948.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.57 และ 12.29 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ในภาพรวมขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ดีในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นเป็นสำคัญ มีมูลค่า 679.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.68 ของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งหมดโดยผลิตภัณฑ์ที่สามารถขยายตัวได้ดี คือ ไม้แปรรูปไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ดในตลาดจีนเกาหลีใต้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาเซียน

การนำเข้า

การนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนสำหรับการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 126.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.77 ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.86 (ดังตารางที่ 4) โดยเป็นการนำเข้าไม้ซุงจากประเทศคองโกสหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ ไม้แปรรูปจากประเทศมาเลเซีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาไม้อัดและไม้วีเนียร์ จากประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม และนำเข้าผลิตภัณฑ์ แผ่นไม้อื่นๆ จากประเทศ จีน มาเลเซีย และเมียนมาร์

สรุปและแนวโน้ม
สรุป

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ไตรมาส 2 ปี 2560 ชะลอตัวลงโดยภาพรวมตลาดยังคงหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีภาวะเศรษฐกิจปรับตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 เป็นไปตามทิศทางภาวะการผลิตเครื่องเรือนไม้ในประเทศ

แนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนสำหรับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจในตลาดคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาราเบีย อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกที่กดดันให้การส่งออกไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น นโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกาภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศของจีนที่ยังไม่คงที่ เนื่องจากปัญหาหนี้ภาคธุรกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในสหภาพยุโรป ความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลก ในส่วนของการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางเดียวกับการส่งออก

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ