ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2560 และคาดการณ์เดือนตุลาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 27, 2017 14:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ปี 25 60 ดังปรากฏในภาพที่ 1 ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดเดือนกันยายน 2560 MPI ขยายตัวร้อยละ 4.2 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี 2560

เมื่อพิจารณาเป็นรายปี จะพบว่าสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ที่หดตัวหรือติดลบร้อยละ 3.76 ปี 2558 อัตราการหดตัวลดลงเหลือร้อยละ 0.04 และพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.6 ในปี 2559 และถ้าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังเป็นเช่นนี้ต่อไปคาดการณ์ว่า MPI ปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ดังปรากฏในภาพที่ 2

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนกันยายน 2560

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

  • การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบในเดือนกันยายน 2560 มีมูลค่า 1,400.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยาย ตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการนาเข้าเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ และเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ ที่ขยายตัว
  • การนำเข้า นำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ)ในเดือนกันยายน 2560 มีมูลค่า 6,721.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว

อัตราการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเทียบกับประเทศสำคัญในเอเชีย

  • การผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2 560 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับประเทศสำคัญในเอเชีย พบว่า ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดย ไต้หวันขยายตัวร้อยละ 5.4 จีนขยายตัวร้อยละ 6.6 และเวียดนามขยายตัวร้อยละ 17.4 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียขยายตัว เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

  • จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 461 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2560 ร้อยละ 23.92 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 (%YoY)
  • มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวในเดือนกันยายน 2560 มีมูลค่า รวม 23,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2560 ร้อยละ 87.24 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของ 2559 ร้อยละ 6.04 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2560 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานยนต์หรือส่วนประกอบของยานดังกล่าว (37 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน (31 โรงงาน)"

"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2560 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน โดยมีมูลคาการลงทุน 3,388 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำไม้วีเนียร์หรือไม้อัดทุกชนิด มีมูลค่าการลงทุน 2,813 ล้านบาท"
  • จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกันยายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 73 ราย ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2560 ร้อยละ 50.68 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.51 (%Y oY)
  • เงินทุนของการเลิกกิจการมีมูลค่ารวม 1,615 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2560 ร้อยละ 54.12 (%MoM ) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.38 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2560 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (6 โรงงาน) และอุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (6 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการบรรจุก๊าซ (5 โรงงาน)"

"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกันยายน 2560 คือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ เครื่องใช้เครื่องเรือน พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 307 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 182 ล้านบาท"

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกันยายน 2560

1. อุตสาหกรรมอาหาร
  • ภาวะการผลิต และมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นน อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการบิรโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารเดือนกันยายน 25 60 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 แบ่งเป็น

1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ สับปะรดกระป๋องปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 145.3 เพื่อรองรับวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับไก่ปรุงรส และกุ้งแช่แข็ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.0 และ 0.5 ตามลาดับ ได้รับผลดีจากการแก้ปัญหา IUU ของภาครัฐอย่างจริงจัง ประกอบกับนโยบายการส่งเสริมการทำ Compartment ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่ออุตสาหกรรม เป็นผลให้ต่างประเทศเพิ่มคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง

2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ น้ำมันปาล์มไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และอาหารสัตว์ (ไก่)การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.7 9.6 และ 3.4 ตามลาดับ เนื่องจากความต้องการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • การตลาดในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนกันยายน 256 0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น
  • ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนกันยายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น น้ำตาลทราย ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.7 19.0 9.5 7.7 และ 5.2 ตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้า

คาดว่าการผลิต และการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนตุลาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยบวกที่ทาให้การผลิตสินค้าสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มปศุสัตว์ (ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศคู่ค้า(ญี่ปุ่น ยุโรป และเกาหลีใต้) อีกทั้ง ประเทศคู่แข่งหลักอย่างบราซิลประสบปัญหาด้านความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ประกอบกับกลุ่มประมง (กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง) ที่ได้รับผลดีจากการแก้ปัญหาโรคตายด่วน และประเทศคู่แข่งประสบปัญหาผลผลิตลดลง อีกทั้ง สินค้าข้าว (ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ) ที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้น ผนวกกับเศรษฐกิจภายในประเทศมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง"

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต
  • การผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอลดลง ร้อยละ 1.2 โดยเป็นการลดลงของผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในส่วนเส้นใยสังเคราะห์ยังขยายตัวจากการผลิตเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิ เส้นใยคอลาเจน เส้นใยคอมโพสิต เพื่อรองรับการส่งออก ประกอบกับ BOI ได้อนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในกิจการเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งเป็น 1 ในอุตสาหกรรมศักยภาพตามนโยบายคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของรัฐบาล

+ ผ้าผืน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 เพื่อรองรับการส่งออกและการใช้สำหรับผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศในช่วงเดือนถัดไป

  • กลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 10.29 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นไปตามทิศทางการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ ที่ยังคงหดตัว
การจำหน่ายในประเทศ
  • กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 6.9 6.2 และ 14.6 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากช่วงนี้เป็นช่วงสุดท้ายที่ประชาชนยังใส่เสื้อผ้าสีดำ เพื่อเป็นการถวายอาลัยในหลวงรัชกาลที่9ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายเสื้อผ้าในช่วงเวลานี้
การส่งออก

+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.8 และ 6.9 ตามลำดับโดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัว ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งสินค้าที่ส่งออกเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษและผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งสินค้าดังกล่าวไทยยังคงมีศักยภาพในการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น

  • กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการส่งออก ลดลง ร้อยละ 2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยเสียเปรียบจากการถูกตัดสิทธิ์ GSP จากประเทศดังกล่าว
คาดการณ์แนวโน้มเดือนตุลาคม

+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ มีแนวโน้มขยายตัวจากการผลิตเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษ เพื่อรองรับการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม

  • การผลิตผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะชะลอตัว เนื่องจากการส่งออกสินค้าดังกล่าว ยังเผชิญความไม่แน่นอนในการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งไทยเสียเปรียบจากการถูกตัดสิทธ์ GSP อย่างไรก็ตาม การผลิตและส่งออกชุดชั้นในสตรียังคงขยายตัวได้ดี

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

  • การผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 190,272 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 7.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.94 (%Y oY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 77,592 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 14.16 (%MoM ) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.92 (%YoY) เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนเร่มฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ
  • การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 120,654คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 17.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.19 (%YoY) เนื่องจากการส่งออกรถกระบะ เพิ่มขึ้นในตลาดโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรปและอเมริกาเหนือ
" คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนตุลาคม ปี 2560 จะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2 559 เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์เพื่อรอรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวในงานมหกรรมรถยนต์ช่วงปลายปีแต่ทั้งนี้ยังมีการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในช่วงไตรมาส 3"
  • การผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน ปี 2 560 มีจำนวน 172,085 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 256 0 ร้อยละ 1.50 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 13.74 (%Yo Y) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์*ในเดือนกันยายนปี 2560 มียอดจาหน่ายจำนวน 151,353 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 0.18 (%MoM)แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ3.4 4 (%YoY)
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 29,914คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 1.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 55.41 (%Yo Y) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคมปี 2560 จะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปี 2559"

หมายเหตุ : * ข้อมูลการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2560 เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เนื่องจากเว็บไซต์แหล่งข้อมูลอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบ

4. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนเม็ด

  • การผลิตปูนเม็ดในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 3,654,994 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 5.23 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.39 (%YoY)
  • การจำหน่ายปูนเม็ดในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีปริมาณการจำหน่าย 40,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2 560 ร้อยละ 1 1.11 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 65.29 (%YoY)
  • การส่งออกปูนเม็ด ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 24 6,686 ตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคมปี 2560 ร้อยละ 53.21 (%M oM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.75 จากการชะลอการนาเข้าของบังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมา และลาว ซึ่งตลาดเมียนมาและลาวเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการไทยเข้าไปตั้งฐานการผลิตและมีผลผลิตออกมาตั้งแต่ต้นปี 2 560 แล้ว ส่วนตลาดส่งออกที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยฟิลิปปินส์เพิ่มปริมาณซื้อค่อนข้างมาก
  • คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมปูนเม็ดในเดือนตุลาคม ปี 2560 คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 3,287,244 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 7.34 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.63 (%YoY)
  • การจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนกันยายน ปี 2560 มียอดจำหน่ายจำนวน 2,807,759 ตัน แม้จะลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 4.39 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.32 (%YoY) ตามสภาพตลาดที่เริ่มฟื้นตัว
  • การส่งออกปูนซีเมนต์ในเดือนกันยายน ปี 2560 มีจำนวน 428,642 ตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2560 ร้อยละ 26.94 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.11 (%YoY) จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังบังคลาเทศ เมียนมา ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งเมียนมาและลาวปรับลดคำสั่งซื้อต่อเนื่องจากการที่มีผู้ประกอบการของไทยออกไปลงทุนตั้งฐานผลิตและเริ่มการผลิตแล้วตั้งแต่ต้นปี 2560
  • คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2560 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนเริ่มมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและปรับปรุงร้านค้าใหม่ในช่วงปลายฤดูฝนเพื่อให้ทันกับช่วงเทศกาลปีใหม่ และหากการเร่งดำเนินการในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาลมีความก้าวหน้ามากขึ้นจะกระตุ้นการก่อสร้างาคเอกชนให้เกิดขึ้น และจะเป็นปัจจัยบวกส่งเสริมให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวตามได้

5. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

  • การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 108.41 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเคืร่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงทั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่ง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลม ตู้เย็น และหม้อหุงข้าว โดยลดลงร้อยละ 31.89, 25.66, 12.17, 6 .17, 4.22 และ 23.86 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงในประเทศและประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวโดยมีมูลค่าการส่งออก 2,037.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.78 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสินค้าตู้เย็น และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นสินค้าหลักที่มีมูลค่าสูงปรับตัวลดลงร้อยละ 12.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในตลาดอาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 26.50, 25.41 และ 13.37 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
"คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2560 คงตัวอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังและการผลิตเพิ่มขึ้นของสายไฟฟ้าเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ"
  • การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยมีดัชนี ผลผลิตอยู่ที่ระดับ 112.11 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 .47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ Semiconduct or, MonoIithic IC, Other IC, HDD และ PCBA เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79 , 8.92, 1.20, 1 2.76 และ 10.8 1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก
  • การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,385.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และสหภาพยุโรป โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,302 .55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือวงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 772.74 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
"คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2560 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.18 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวส่งออกเพิ่มขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ IC ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น"
6. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • ดัชนีการผลิต ในเดือนกันยายนปี 2560 มีค่า 128.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.43 (เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.72 ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.04) เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.89 (เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.36โดยเป็นเหล็กเคลือบสังกะสีชนิดกัลวาไนซ์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์)ขณะที่เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 9.16 (เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลดลงร้อยละ 16.65)
  • การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนกันยายนปี 2560 มีปริมาณ 1.39 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณ 427,350 ตัน ลดลงร้อยละ 6.3 (เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลง ร้อยละ 1 6.1) ขณะที่เหล็กทรงแบน มีปริมาณ 965,416 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9)
  • การนำเข้า ในเดือนกันยายนปี 2560 มีปริมาณ 976,599 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณ 757,236 ตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (เหล็กแผ่นหนารดร้อน ชนิด Carbo n SteeIเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.3) ขณะที่เหล็กทรงยาว มีปริมาณ 21 9,363 ตัน ลดลงร้อยละ 6.1(เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิด StainIe ss SteeI และ Carbon SteeI ลดลงร้อยละ 86.6 และ 81.4 ตามลาดับ)
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2560 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.05 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 ขณะที่เหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 1.29 และเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 0.92 เนื่องจากสถานการณ์ก่อสร้างที่ทรงตัว"

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ