ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)ขยายตัวร้อยละ 3.96 ทำให้ใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2560 MPI ขยายตัวร้อยละ 1.4 และเมื่อพิจารณาแนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 คาดว่า MPI จะขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3/2560 ที่ร้อยละ 3.8 โดยเป็นผลมาจากหลายสาขาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวดีในไตรมาสที่ 4/2560 อาทิ ไฟฟ้า (คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักอาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีนและสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น)อิเล็กทรอนิกส์ (การส่งออกไปตลาดหลัก เพิ่มขึ้นและแนวโน้มในเรื่อง The Internet of things(IoT)) รถยนต์ (คาดการณ์การผลิตรถยนต์ไตรมาสที่ 4/2560อยู่ที่ประมาณ 470,000 คัน)ปิโตรเคมี (ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง) กระดาษ (จากเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียนกระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟท์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ)เซรามิค (จากคำสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง เพื่อไปปรับปรุงและตกแต่งร้านค้า หลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีฯ ในช่วงหลังเดือนตุลาคม ประกอบกับ มีการผลิตเพื่อรองรับ การส่งออกไปยังตลาด อาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา)สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (จากการผลิตเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษ เพื่อการส่งออกโดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในกลุ่มประเทศอาเซียน) ยา (ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายาของไทย) ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (ขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายางแปรรูปขั้นต้น และสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายางรถยนต์และถุงมือยางของไทย) รองเท้าและเครื่องหนัง (ผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้ามีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นด้านการผลิต เช่น ผู้ประกอบการรองเท้าและเครื่องหนังรายใหญ่ในประเทศขยายกำลังการผลิต การขยายตัวของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความนิยมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังExotic อาทิ หนังงู หนังปลากระเบน ของไทย)อุตสาหกรรมอาหาร (เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น และCLMVส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ประมง ผักผลไม้ น้ำตาล และธัญพืชและแป้ง ประกอบกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน) ทั้งนี้หากแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามการคาดการณ์ดังกล่าวข้างต้น คาดการณ์ว่า MPI ปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 2.0
- เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกโดย IMF ล่าสุดในเดือนตุลาคม 2560 จากเดิมร้อยละ 3.5 และร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.2 ตามลาดับ
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทยอยปรับตัวดีขึ้น สะท้อนกำลังซื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.60 ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง 2,259 คนทั่วประเทศ อยู่ที่ 75.0 เพิ่มจาก 74.5 ในเดือนส.ค.60 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ สาเหตุ มาจากผู้บริโภคมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้น ตามการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น การลงทุนของภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน รวมถึงเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคตน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น
- รายงาน Doing Business 2018 โดยธนาคารโลก ประเทศไทยได้รับการปรับขึ้นอันดับ Doing Businessขึ้น 20 อันดับ อยู่ที่อันดับ 26 จาก 46 ในปีที่ผ่านมา และเป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากสิงค์โปร์ (อันดับ 2)และมาเลเซีย (อันดับที่ 24) หลังพบว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากโดยมีการปฏิรูป 8 ด้าน จากทั้งหมด 10 ด้านนับเป็นจำนวนที่น่าบันทึกไว้สำหรับประเทศไทยที่สามารถทำได้ในเวลาเพียง 1 ปี เป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทยในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่มีการจัดทำรายงานของธนาคารโลก เป็นสัญญาณที่ดีต่อการลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความสะดวกในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ ประเทศไทยจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสะดวกในการประกอบธุรกิจมากที่สุดในปีที่ผ่านมา
- การลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของภาครัฐ ความสนใจของต่างชาติที่จะลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) แนวโน้มของตลาดผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย จีน และกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยได้ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล จะนำไปสู่ความต้องการการลงทุนในด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดจะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ
- สถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตรต่อเนื่องถึงภาคอุตสาหกรรมเกษตร
- สถานการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาสินค้าในตลาดโลก การเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญๆ และค่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญๆ ของโลก
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDPในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.7ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6
การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3
การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0
GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยเป็นผลมาจากการหดตัวของสาขาอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด
“เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออก ภาคการผลิต ยังคงขยายตัว อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและ อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ”
ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกที่ขยายตัวตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่ขยายตัวส่งผลให้ภาคการผลิตปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และอัตราการว่างงานของประเทศต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ประเทศต่าง ๆ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย
ด้านสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2560 อยู่ที่ 50.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ 43.3 สำหรับราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 54.15 ดอลล่าร์/บาร์เรล หลังจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียออกมาประกาศให้การสนับสนุนการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน ออกไปอีก 9 เดือนจนถึงสิ้นปี 2561จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในไตรมาสแรก ปี 2561
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ยังต้องติดตาม เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงปลายปี ผลการแต่งตั้งประธานเฟดคนใหม่ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีซึ่งปัจจัยต่าง ๆ อาจส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
“การผลิตของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 นี้ ขยายตัวร้อยละ 3.96 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี อาทิ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมกระดาษ”
ยานยนต์ ปริมาณการผลิตรถยนต์ขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบโอเชียเนีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือประกอบกับ ตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากการลงทุนจากภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ
เครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลง ทั้งเครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลมตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าวเป็นผลจากปริมาณความต้องการซื้อที่ลดลงในประเทศในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป
อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้ง Semiconductor, IC, HDD และ PCBAเป็นผลจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
พลาสติก ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า การส่งออก และการนำเข้า โดยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 7 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2560) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อของลูกค้า ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในภูมิภาคอาเซียน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก
เคมีภัณฑ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน จีนและสหรัฐที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัว
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟท์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วยปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องรวมถึงในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์
เซรามิค ขยายตัวดีขึ้น จากกำลังซื้อของตลาดระดับบนที่เน้นคุณภาพและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ในตลาดสหรัฐอเมริกาและอาเซียน โดยของชำร่วยเครื่องประดับ มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ในขณะที่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ปูนซีเมนต์ มีการผลิตและการจำหน่ายลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่มากนัก การส่งออกลดลงจากการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาและลาวโดยสามารถทำการผลิตในประเทศได้แล้ว
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาพรวมการผลิตและจำหน่ายสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยและผ้าผืนไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนามและญี่ปุ่น
ไม้และเครื่องเรือนไม้ การผลิตปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้การผลิตชะลอตัวลง ประกอบกับภาระค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา สำหรับมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ในตลาดจีนสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เป็นต้น
ยา ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลของรัฐที่ลดลง ในส่วนของการส่งออกยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 เพิ่มขึ้นไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวของการส่งออกโดยเฉพาะในตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา สำหรับตลาดในประเทศขยายตัวดีขึ้นในสินค้าถุงมือยาง แต่ชะลอตัวลงในสินค้ายางแปรรูปขั้นต้นและยางรถยนต์
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง การผลิตรองเท้ามีการขยายตัวติดต่อกันในช่วงระยะ 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรองเท้าหนังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 79.57 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และจีน
อัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการผลิตทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมของผู้ประกอบการ และการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงขึ้น จากมูลค่าการส่งออกพลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้นก
อาหาร ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่องกอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 112.30 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (108.98) ร้อยละ 3.05 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (108.02) ร้อยละ 3.96
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือน ของปี 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2559ร้อยละ 1.37 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ้เหล็กกล้าขั้นพื้นฐานเป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 108.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (105.21)ร้อยละ 3.51 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (103.79) ร้อยละ 4.93
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ การผลิตยานยนต์ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ การผลิตน้ำมันจากพืชน้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือน ของปี 2560 ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 0.96 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตยานยนต์และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 109.10 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (106.07) ร้อยละ 2.86 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (104.06) ร้อยละ 4.85
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตน้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือน ของปี 2560 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 1.87 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังขยายตัว ได้แก่ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ การผลิตยานยนต์ และการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.01 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 59.10) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (ร้อยละ 58.46)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และการกลั่นลำดับส่วนและการผสมสุรา รวมทั้งการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมัก เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ การผลิตยานยนต์และการกลั่นลำดับส่วนและการผสมสุรา รวมทั้งการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมัก เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือน ของปี 2560 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 61.22 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 (60.22) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้ กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 85.20 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (85.53) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (84.27) และดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 102.13 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (101.57)
ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อค่าดัชนี ได้แก่ คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ เพื่อการส่งมอบในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีและการบริโภคภายในประเทศมียอดขายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ แต่ผู้ประกอบการยังคงกังวลในด้านกำลังซื้อของภาคเกษตรและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนีการผลิตเหล็กไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องกลุ่มที่ใช้เหล็กทรงแบน เช่น ยานยนต์มีการผลิตเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับมีการผลิตลดลง นอกจากนี้อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กทรงยาวคืออุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตเหล็กในไตรมาสนี้ทรงตัว
การผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีดัชนีการผลิต 125.69 เพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 5.07 (%MoM) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.29 (%YoY) โดยเหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 4.41 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมและเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 43.70 และ 25.33 ตามลำดับ เนื่องจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีการผลิตลดลง และส่วนหนึ่งมีการนำเข้าจากต่างประเทศ รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดเย็นลดลงร้อยละ 4.75เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการผลิตลดลง
การจำหน่าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 4,157,817 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 0.6 (%MoM) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.75 (%YoY)โดยเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 6.11 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงคือ เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 14.32 เนื่องมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ชะลอตัว
การนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 12.20 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.84 (%YoY) โดยเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.17 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ดังนี้ เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด carbon steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.19 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.43
อุตสาหกรรมเหล็กในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560คาดว่าดัชนีการผลิตเหล็กจะอยู่ที่ 128 ลดลงร้อยละ 0.02 โดยเหล็กทรงยาวมีดัชนีการผลิต 137 ลดลงร้อยละ 8.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเร่งการผลิตในไตรมาสก่อนหน้านี้จึงทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังมีปริมาณสูง เหล็กทรงแบนมีดัชนีการผลิต 130 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.36 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่คาดการณ์ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณมีดัชนีการผลิต 136.27 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.38 เนื่องจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เหลือง และชมพู รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของภาครัฐในช่วงปลายปี
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ทั้งเครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าวเป็นผลจากปริมาณความต้องการซื้อที่ลดลงในประเทศ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า การนำเข้า 3,863.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวจากไตรมาสที่แล้วโดยมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 (%QoQ)แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.77 (%YoY)จากการนำเข้าในตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา และจีน เนื่องจากแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 6.74 เครื่องคอมเพรสเซอร์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 9.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 102.81 ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 18.79(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.71 (%YoY) โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟกระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 27.56, 14.14,5.75, 5.75, 0.88, 2.19 และ 18.05ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ลดลงในประเทศและประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงในขณะที่การผลิตเครื่องซักผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.66เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากคำสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก 5,956.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.43(%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.55 (%YoY)จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54, 7.13, 4.60 และ 3.14ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากเครื่องซักผ้ามีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.93โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาถึง ร้อยละ 74.35และแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.17 โดยเพิ่มจากในตลาดจีนถึงร้อยละ 147.50และสหรัฐอเมริการ้อยละ 55.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
“สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 จากการคาดการณ์โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าในไตรมาสที่ 4 จะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน”
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.85 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ทั้ง Semiconductor, IC, HDD และ PCBA เป็นผลจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า การนำเข้า 8,978.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.82 (%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.30 (%YoY)จากการนำเข้าในตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา และจีน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.42วงจรรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.01เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 110.39เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 5.69 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 2.85 (%YoY)โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor, HDD,PCBA และ ICเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.81, 10.33, 8.71และ3.44 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก 9,456.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.89 (%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.01 (%YoY)จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ19.28, 13.28,10.69, 8.34 และ 4.38 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93วงจรรวม(IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.77และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 111.16 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 599.18 และ 82.29 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
“สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 จากการคาดการณ์โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าในไตรมาสที่ 4 จะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.00เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน”
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบโอเชียเนีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือประกอบกับ ตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากการลงทุนจากภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ
การผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 526,778 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 13.19 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.98 (%YoY) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการผลิตรถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 210,735 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 5.64 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.16 (%YoY)โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถกระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การส่งออกรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีจำนวน 313,576 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 24.38(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.51 (%YoY) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกรถกระบะ 1 ตันและรถยนต์ PPV
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 2,409.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 14.26 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.55 (%YoY)โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 3,218.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 15.44 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตร มาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.58 (%YoY)โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 470,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกมีการชะลอตัว
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 513,158 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 0.91 (%QoQ)แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 10.87 (%YoY) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการผลิตรถจักรยานยนต์ประเภทเอนกประสงค์และสปอร์ต
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ*ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 444,353 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 8.90 (%QoQ)แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 0.97 (%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 182,642 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 2.09 (%QoQ)และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.07 (%YoY)
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า180.98 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 7.84 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.41 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 150.56 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 16.41 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.90 (%YoY) โดยตลาดนำ เข้าที่สำ คัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่นจีน และเวียดนาม
สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ ร้อยละ 15-20
มูลค่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 และช่วงเดียวกันของปี 2559 ทั้งนี้ เคมีภัณฑ์ส่วนมากส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน จีนและสหรัฐที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 แต่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ซึ่งสาเหตุเนื่องจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ทรงตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 และจะเพิ่มขึ้นตามกำลังซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2560
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีมูลค่า1,973.08 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560ร้อยละ6.72(%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ13.59 (%YoY)แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 1,083.85 ล้านเหรียญสหรัฐ และเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 889.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13 และ 10.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกเคมีภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ร้อยละ 32.76 เคมีภัณฑ์เครื่องสำอางร้อยละ 24.15 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดร้อยละ 13.31 นอกนั้นเป็นกลุ่มเคมีภัณฑ์อื่นๆรวมร้อยละ 29.78
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 3,789.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 2.90 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 2,282.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 1,507.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงร้อยละ 1.42 และ 5.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์สำคัญฯ ได้แก่ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ร้อยละ 25.20 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ร้อยละ 22.47และปุ๋ยเคมี ร้อยละ 13.10 นอกนั้นเป็นกลุ่มเคมีภัณฑ์อื่นๆ รวมร้อยละ 39.23
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 คาดว่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจยังมีทิศทางที่ดีจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ โดยภาครัฐให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนในสินค้าที่เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนการส่งออกของไทยขยายตัวได้ดีในกลุ่มตลาดประเทศอาเซียน รวมทั้งจีนและสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีปัจจัยเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเคมีภัณฑ์ ได้แก่ การแข่งขันด้านราคาของเคมีภัณฑ์และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปลายปี 2560
อุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า การส่งออก และการนำเข้า โดยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 7 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2560) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อของลูกค้า ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในภูมิภาคอาเซียน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก
ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ดัชนีผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากดัชนีผลผลิตของผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มและกระสอบพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 11.87 และ 3.02 ตามลำดับ เนื่องจากสามารถส่งออกสินค้ามากขึ้นและครอบคลุมหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ ส่วนดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากดัชนีการส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกคิดเป็นร้อยละ 7.48 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นและต้องส่งมอบสินค้า เพื่อรองรับเทศกาลในช่วงปลายปี
ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีปริมาณ 283,984.72 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 13.72 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.06 (%YoY) จากการส่งออกกลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (3916) เครื่องประกอบอาคาร(3925) และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923) ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการนำ เข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีปริมาณ 193,607.94 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 15.89 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 10.27 (%YoY) จากการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (3918) ของใช้ในครัวเรือน(3924) และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923)
“สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นและมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้น และการฟื้นตัวของกำลังซื้อภายในประเทศจากการที่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และคาดการณ์ว่าภาวการณ์ส่งออกจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 4 คาดว่าดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 และ 3.01 ตามลำดับ การส่งออกพลาสติกคาดว่ามีปริมาณ 276,413.23 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.77 จากไตรมาสก่อน และการนำเข้าคาดว่ามีปริมาณ 187,986.13 ตัน ลดลงร้อยละ 2.90 จากไตรมาสก่อน”
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ราคาแนฟทาของตลาดเอเชียปรับตัวในทิศทางขาขึ้นตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ต่อเนื่องไตรมาส 4 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะอยู่ในช่วงเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น เนื่องจากต้องมีการสต็อกวัตถุดิบไว้เพื่อรองรับการผลิตสินค้าในช่วงเทศกาล
มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 2,203.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 2.73 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 32.56 (%YoY)
มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 1,048.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 6.38 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 43.36 (%YoY)สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคต่างๆ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนและจีนปรับตัวดีขึ้น
ราคาสินค้า ราคาเอทิลีนและโพรพิลีนในตลาดเอเชียไตรมาส 3 ปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.55 และ 26.55 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 พบว่าราคาเอทิลีน ปรับตัวลดลงจากราคา 37.02 บาท/กิโลกรัม ส่วนโพรพิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคา 25.50 บาท/กิโลกรัม
ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ในไตรมาส 3 ปี 2560 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CFR)ของ LDPE, HDPE และ PP มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 41.54,38.14 และ 38.55 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 พบว่าราคาเฉลี่ยของ LDPE, HDPE และ PP ปรับตัวลดลงจากระดับราคา 41.89, 39.91 และ 38.32 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
“อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการคาดการณ์การขยายตัวของ GDP และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของระดับราคาน้ำมันดิบ ภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาค และภาวะเศรษฐกิจโลกการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมปลายทาง เป็นปัจจัยสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องติดตามอย่างใกล้ชิด”
ปริมาณการผลิตส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560ปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟท์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2559ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิต เพื่อสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วยปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องรวมถึงในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์
การผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์กระดาษแข็ง กระดาษคร๊าฟท์ และกระดาษลูกฟูก ร้อยละ 14.82 0.70 และ 1.87ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 และเพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟท์ ร้อยละ 3.09 9.90 และ 3.74 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วยปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้กับสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นด้วย
การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่3 ปี 2560 มีมูลค่า 492.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จากการส่งออกเยื่อกระดาษชนิดเยื่อไม้เคมีละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นไปยังประเทศคู่ค้าอย่างจีน และฟิลิปปินส์ ในส่วนกระดาษและผลิตภัณฑ์ ส่งออกเพิ่มขึ้นไปเกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ในขณะที่หนังสือและสิ่งพิมพ์ ลดลงจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ในประเภทสิ่งพิมพ์อื่นๆ รวมถึงภาพพิมพ์และภาพถ่าย
การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 675.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.47เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จากการนำเข้าเยื่อกระดาษกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่หนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง ร้อยละ 32.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 จากความนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิตอล
“สำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 การผลิตคาดว่าจะขยายตัวได้จากเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียนกระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟท์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ ในส่วนการส่งออก คาดว่า จะทรงตัวถึงชะลอตัวเล็กน้อย ยกเว้นเยื่อกระดาษ คาดว่า จะขยายตัวได้”
กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยด้วยการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในการสร้างมูลค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสินค้านโยบายดังกล่าวจึงเป็นโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nesdb.go.th)
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ขยายตัวดีขึ้น จากกำลังซื้อของตลาดระดับบนที่เน้นคุณภาพและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ในตลาดสหรัฐอเมริกาและอาเซียน โดยของชำร่วยเครื่องประดับ มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ในขณะที่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
การผลิต ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 34.99 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 9.17(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.78(%YoY) เนื่องจากยังคงมีสินค้าคงคลังสูง ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีปริมาณการผลิต 1. 87 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.17 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.01 ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 กระเบื้องบุพื้น บุผนังมีปริมาณการจำหน่าย 36.58 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 11.09 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.91 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีจำนวน 1.06 ล้านชิ้นลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 9.94 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.25 (%YoY)
การส่งออก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 การส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนังมีมูลค่า 25.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.16 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 1.04 จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังประเทศลาวและกัมพูชา ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 45.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.78 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.34 จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักรองจากสหรัฐอเมริกา
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 4 ของปี 2560 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากคำสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างเพื่อไปปรับปรุงและตกแต่งร้านค้า หลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีฯ ในช่วงหลังเดือนตุลาคม ประกอบกับ มีการผลิตเพื่อรองรับ การส่งออกไปยังตลาด อาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
การเข้าไปลงทุนพัฒนาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ มาตรการสนับสนุนด้านภาษี การอำนวยความสะดวกของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นฐานการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และขยายช่องทางตลาดใหม่ ๆ ให้เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนมีการผลิตและการจำหน่าย ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่มากนัก การส่งออกลดลงจากการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาและลาวโดยสามารถทำการผลิตในประเทศได้แล้ว
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีจำนวน 9,806,757 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560ร้อยละ 1.88 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 2.71 (%YoY) จากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมาตั้งแต่ปลายปี 2560 เป็นต้นมา
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 8,421,936.06 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 2.81 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.70(%YoY) จากการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารมีความเข้มงวดมากขึ้น ผลกระทบในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 การอยู่ในช่วงฤดูฝน
การส่งออก-นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ในไตรมาสที่ 3ปี 2560 มีมูลค่าจากการส่งออก 79.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 9.01(%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2560 และลดลงร้อยละ 12.53 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากการปรับลดคำสั่งซื้อของบังคลาเทศ รวมถึงการปรับลดคำสั่งซื้อจากเมียนมาและลาวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยออกไปตั้งฐานผลิตปูนซีเมนต์ในสองประเทศดังกล่าว ส่วนมูลค่าการนำเข้า 12.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ร้อยละ 10.72 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 728.68
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ร้อยละ 5.70 และ 3.30 ตามลำดับ จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่น่าจะมีความชัดเจนขึ้นซึ่งจะมีผลต่อการก่อสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ การหมดช่วงฤดูฝนและสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง ส่วนการมูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้น ร้อยละ 29.66 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น
รัฐบาลมีนโยบายเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และสนับสนุน “การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) ” ในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไตรมาสที่ 3 ปี 2560การผลิตเส้นใยสังเคราะห์ ขยายตัว จากการผลิตเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษเพื่อรองรับการส่งออก ประกอบกับ BOI อนุมัติการส่งเสริมการลงทุนกิจการเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษตามนโยบายคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของรัฐบาล ส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยและผ้าผืนไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น
การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ขยายตัวโดยมีดัชนีผลผลิต 94.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 และ 11.04 ดัชนีการส่งสินค้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.83 และ 24.42 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับเนื่องจากการขยายตัวของเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิ เส้นใยคอลาเจนเส้นใยคาร์บอน เส้นใย PLA เพื่อรองรับการส่งออก ประกอบกับ BOI ได้อนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในกิจการเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งเป็น1ในอุตสาหกรรมศักยภาพตามนโยบายคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของรัฐบาล อย่างไรก็ตามภาพรวมการผลิตและจำหน่ายสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจภายใน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,703.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.93 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หากพิจารณากลุ่มสิ่งทอ พบว่า ผลจากการปรับโครงสร้างการผลิตที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว ร้อยละ 8.05
โดยเฉพาะเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งสินค้าดังกล่าวไทยมีศักยภาพในการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น ในส่วนการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 2.66 โดยเฉพาะในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยเสียเปรียบจากการถูกตัดสิทธิ์ GSP อย่างไรก็ดี การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดอาเซียน ยังขยายตัวได้
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,174.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าด้าย เส้นใยและผ้าผืนจากสหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เพื่อเตรียมใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไตรมาสสุดท้าย
การผลิตกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์คาดว่า จะขยายตัวจากการผลิตเส้นใยที่มีสมบัติพิเศษ เพื่อการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม
การผลิตผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะชะลอตัว เนื่องจากต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งไทยถูกตัดสิทธ์ GSP ไปแล้วอย่างไรก็ตาม การผลิตและส่งออกชุดชั้นในสตรียังคงขยายตัวได้ดี
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า สามารถขยายตัวได้ โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ เส้นใยสังเคราะห์ ผ้าผืน และเคหะสิ่งทอ ไปยังตลาดญี่ปุ่น และจีน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในกลุ่มประเทศอาเซียน
รัฐบาลขยายเวลานโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็น 1 ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริมในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ตาก สระแก้ว สงขลาเชียงราย หนองคาย นครพนม และกาญจนบุรี
การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศไตรมาส 3 ปี 2560เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้การผลิตชะลอตัวลง ประกอบกับภาระค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงซบเซา สำหรับมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เป็นต้น
การผลิตเครื่องเรือนไม้ไตรมาส 3 ปี 2560 มีจำนวน 1.63 ล้านชิ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 4.68(%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.43(%YoY)เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้การผลิตชะลอตัวลง
การจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ ไตรมาส3ปี 2560 มีจำนวน 0.33 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 (%QoQ) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.94 (%YoY)เนื่องจากภาระค่าครองชีพและหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดระดับล่างยังคงซบเซา
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส3 ปี 2560 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,027.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขยายตัวร้อยละ 8.36(%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 17.08(%YoY) โดยการส่งออกแบ่งเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน 2)กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้3)กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นมีมูลค่าการส่งออก 249.10, 45.99และ 732.64ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ ไตรมาส 4 ของปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่าขยายตัวร้อยละ 15.97 และ 10.00(%YoY) ตามลำดับ สอดคล้องกับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 4 ของปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่า ขยายตัวร้อยละ 1.99 (%YoY) ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลของรัฐที่ลดลง ในส่วนของการส่งออกยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์
การผลิตยาไตรมาสที่ 3 ปี 2560มีจำนวน 10,452.69 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ0.14 และ 4.05ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อที่ลดลง
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 10,535.17 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.52ในขณะที่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.17ในภาพรวมการจำหน่ายยาของผู้ผลิตในประเทศปรับตัวลดลงจากการประกาศกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำ หนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมามีสาระสำคัญให้องค์การเภสัชกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการจัดหาและกระจายยาให้แก่โรงพยาบาลของรัฐ ทำให้โรงพยาบาลรัฐต้องชะลอการสั่งซื้อยาลง เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินการขององค์การเภสัชกรรม
การส่งออกยาไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 102.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.25 และ 17.87 ตามลำดับ จากการขยายตัวของตลาดเวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 410.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.77 และ 7.62 ตามลำดับ โดยส่วนมากเป็นการนำเข้ายาต้นแบบจากยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สำหรับการผลิตยาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560คาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายาของไทย
กระทรวงการคลังประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2560 ในขณะที่องค์การเภสัชกรรมยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ส่งผลให้โรงพยาบาลรัฐต้องชะลอการจัดซื้อยาลง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวของการส่งออกโดยเฉพาะในตลาดจีนและสหรัฐอเมริกาสำหรับตลาดในประเทศขยายตัวดีขึ้นในสินค้าถุงมือยาง แต่ชะลอตัวลงในสินค้ายางแปรรูปขั้นต้นและยางรถยนต์
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 326.35 พันตัน 8.07 ล้านเส้นและ 4,562.12 ล้านชิ้น ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.83 7.60และ 20.32 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.611.76และ 1.51 ตามลำดับ จากการขยายตัวของการส่งออก
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีจำนวน 35.09 พันตัน 5.34 ล้านเส้นและ 951.15ล้านชิ้น ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.69 4.09 และ 49.34 ตามลำดับและในส่วนของถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 105.84 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น ในขณะที่ยางแปรรูปขั้นต้นและยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 14.01 และ 2.19ตามลำดับ จากการที่ยางสังเคราะห์มีราคาต่ำลงและสถานการณ์ยางรถยนต์ในตลาดทดแทนยังชะลอตัว
การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 3 ปี 2560 มีมูลค่า 1,305.14 1,192.06 และ 275.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนยางรถยนต์และถุงมือยางมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62 และ 9.47 ตามลำดับ ในขณะที่ยางแปรรูปขั้นต้นมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 9.88 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.89 19.37 และ 7.58ตามลำดับ จากการขยายตัวของตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560คาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายางแปรรูปขั้นต้น และสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้ายางรถยนต์และถุงมือยางของไทย
การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ รวม6 โครงการ วงเงินงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th
ไตรมาส 3 ปี 2560การผลิตรองเท้ามีการขยายตัวติดต่อกันในช่วงระยะ 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรองเท้าหนังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79.57 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และจีน
การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากการขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการรายใหญ่
รองเท้ามีดัชนีผลผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.45 และ 5.78 ตามลำดับจากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ
การส่งออกมีมูลค่ารวม 415.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.07 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนและเครื่องใช้สำหรับเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 และ 1.08 ตามลำดับ จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ
การนำเข้ามีมูลค่ารวม 451.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87และ 13.16 ตามลำดับ จากการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตช่วงปลายปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.43
การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 4 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้าที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นด้านการผลิต เช่น ผู้ประกอบการรองเท้าและเครื่องหนังรายใหญ่ในประเทศขยายกำลังการผลิต การขยายตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความนิยมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังExotic อาทิ หนังงู หนังปลากระเบน ของไทย
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) มีมติสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยจะส่งเสริมให้ปี 2561 เป็นปีท่องเที่ยวแห่งชาติ ภายใต้แคมเปญ “ปีท่องเที่ยว วิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน 2561” หรือ “Amazing Thailand Tourism Year 2018” มีเป้าหมายคือ การมุ่งทำให้เกิดการเป็นเจ้าภาพที่ดี การกระตุ้นและรักษาตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ โดยจะผลักดันรายได้ของการท่องเที่ยวของไทยให้สูงขึ้น ซึ่งคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2561 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ประมาณร้อยละ 10 หรือมีรายได้รวมประมาณ3 ล้านล้านบาท ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวจะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการบริโภคสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นได้เป็นอย่างดี
การผลิตและการจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการผลิตทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมของผู้ประกอบการ และการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออก (ไม่รวมทองคำ)ขยายตัวสูงขึ้น จากมูลค่าการส่งออกพลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 8.96 (%QoQ) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตเพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมที่นำออกจำหน่ายในช่วงก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 30.44 (%YoY)เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อในตลาดหลักหลายแห่งลดลง
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.14 (%QoQ) โดยเฉพาะการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อสินค้าเครื่องประดับที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 3 ปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.44 (%QoQ) และร้อยละ 3.51 (%YoY)จากมูลค่าการส่งออกพลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาในภาพรวม พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 70.20 (%QoQ) และร้อยละ 25.51 (%YoY)ตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำในตลาดโลก
ไตรมาส 4 ปี 2560 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการช่วงเทศกาลสำคัญปลายปี สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่า จะขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหลายตลาด อาทิ จีน และญี่ปุ่น ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในภาพรวม คาดว่า จะขยายตัวเช่นกัน จากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้น
กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ออกใบรับรองมาตรฐานคุณภาพเครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ผ่านการตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย เพื่อยกระดับมาตรฐานเครื่องประดับไทยโดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินและทอง ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนงานหัตถศิลป์ไทย
ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 3 ปี 2560ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การผลิตอาหารไม่รวมน้ำตาล ไตรมาสที่ 3 ปี 2559มีปริมาณ4,609,395.07ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2ปี 2559 ร้อยละ 3.33 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 17.17 (%YoY) จากการเพิ่มการผลิตกลุ่มปศุสัตว์ ประมง ผลิตภัณฑ์นม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารสัตว์เพื่อรองรับความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การจำหน่ายอาหารไม่รวมน้ำ ตาลในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2559มีปริมาณ3,386,485.90 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ร้อยละ 7.03(%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.64(%YoY) จากการจำหน่ายกลุ่มปศุสัตว์ ประมง น้ำมันพืช ธัญพืชและแป้ง และอาหารสัตว์ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น
การส่งออกไตรมาสที่ 3 ปี 2559 มีมูลค่า7,492.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ร้อยละ 3.11 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 19.74(%YoY) จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญอาทิกลุ่มปศุสัตว์ ประมง ผักผลไม้ ข้าวและธัญ พืชและน้ำตาลเนื่องจากฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น รวมทั้ง CLMV
การนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 มีมูลค่า3,594.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ร้อยละ 6.12(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 2.18(%YoY) จากการปรับระดับราคาปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งการนำเข้ากากพืชน้ำมันและนมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อุตสาหกรรมนมและอาหารอื่นๆที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
“การผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น และ CLMVส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ ประมง ผักผลไม้ น้ำตาล และธัญพืชและแป้ง ประกอบกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน”
นโยบาย Super Cluster “การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมด้านอาหาร (Food Innopolis)”ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมการแปรรูปอาหารอย่างครบวงจร และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มขยายตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--