ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 3 ปี 2550 ชะลตัวอลง เป็นผลมาจากปัญหา Subprime Mortage Loans ของสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ขยายตัวลดลง เนื่องจากรายได้จากการส่งออกของกลุ่มฯ ยังขยายตัวชะลอลง อันเป็นผลจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในตลาดโลกลดลง การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวลดลง สำหรับเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างร้อนแรง เนื่องจากรายได้จากการส่งออก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูง GDP ไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.5
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 4.2) แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (ร้อยละ 5.0) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 คือ การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่ยังขยายตัวสูง รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลที่ยังคงขยายตัว แม้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 174.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (160.10) ร้อยละ 9.2 ส่วนดัชนีการส่งสินค้า(Shipment Index) ที่แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 6.7 อย่างไรก็ดีดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 แต่ทั้งนี้ดัชนีในเดือนกันยายน 2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน สิงหาคม 2550 (76.0) ไปอยู่ที่ 81.0
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 38,998.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 36,049.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 2,948.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม มีมูลค่ารวม 43,746.67 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 46.28 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 18,645.06 ล้านบาท และเดือนสิงหาคม 25,101.61 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 358 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 184,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 165.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 131 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 70,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 111 โครงการ เป็นเงินลงทุน 73,300 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 56,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีเงินลงทุน 46,700 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 31,600 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดส่งออกอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเก่าไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ และถูกตัดสิทธิ์ GSP ในตลาดหลักสหรัฐในปี 2550 นี้ สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เนื่องจากการขยายกำลังการผลิต HDD ของบางบริษัทเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD และ IC
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าลดลงร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงถึงร้อยละ 45.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังคงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิตต่อไป โดยอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จึงควรให้ความสำคัญในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนและวางแผนการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสภาวะของตลาดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ชะลอตัวลง ร้อยละ 5.75 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลงจากการที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ในขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 333,870 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.01, 8.72 และ 3.12 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 3 กับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.14 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.72 และ 6.85 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.14
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จะขยายตัว เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่าย บริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย อีกทั้งยังจะได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Expo 2007 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้
พลาสติก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของบางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกันอันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาลของประเทศคู่ค้าจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาวทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลง ถึงอย่างไรก็ตามรายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมรองเท้าตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนกันยายน 2550 มีมูลค่ารวม 737 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.24 ส่วนเครื่องใช้สำหรับเดินทางและอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3และ 13.2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และตลาดส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์หนัง คือ ฮ่องกง จีน และเวียดนาม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทย ภาวะการผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเพราะรองเท้ากีฬามียอดการส่งออกลดลง ทั้งนี้รองเท้ากีฬามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนรองเท้าแตะ, รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า มูลค่าการส่งออกลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาว อีกทั้งประเทศไทยไม่ชำนาญในด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่นของฤดูหนาว ทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลง แต่แนวโน้มของรองเท้าแตะ รองเท้าหนัง และรองเท้าอื่นๆในปีหน้าจะดีขึ้น เนื่องจากมีการเปิดตลาดในประเทศใหม่ๆ และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ
อาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.8 จากไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง และประมง ลดลงร้อยละ 45.6 6.2 และ 5.2 ตามลำดับ โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัย ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง
แนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ในตลาดต่างประเทศ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.55 และ 1.64 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น ไม้ยางพารา รวมทั้งราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน จะทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและในการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยคงอยู่ในช่วงขาลง ตลอดจนโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ ที่จะสร้างเพิ่มขึ้นจะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการของเครื่องเรือนมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากภาวะราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังคงผันผวนต่อไป
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.22 และ 33.96 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.91 และลดลงร้อยละ 30.11 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงที่เกษตรกรเริ่มกรีดยางอีกครั้งหลังจากหยุดช่วงกลางปี ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคายางพาราปรับตัวลงจากไตรมาสก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางชะลอการนำเข้า
ยางจากไทย และหันไปซื้อยางจาอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก สิ่งที่ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 147.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 12.5 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษเพิ่มขึ้น คือ การเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศจากการระบุวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการเลือกตั้งทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ นอกจากนี้จีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.1 ประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหา ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.8 ซึ่งยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก คือ ยาเม็ด เนื่องจาก ในไตรมาสนี้ผู้ผลิตได้ปรับรายการส่งเสริมการขาย โดยให้ความสำคัญกับยาเม็ด ส่งผลให้มี คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่า การผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ รวมถึงการนำเข้า และการส่งออกยา จะชะลอตัวจากไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยตามวัฏจักรของอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวดีในช่วงไตรมาสที่ 2 และที่ 3 และชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากผู้ผลิต รวมถึงผู้สั่งซื้อจะบริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในปลายปี
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 สอดคล้องกับการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่จะมาถึง ประกอบกับผู้ประกอบการมีแผนที่จะเพิ่มการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น จากผลของข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
แนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยง
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวมเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณก่อนปิดงบประมาณปี 2550 ของภาครัฐ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 6.36
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยังทรงตัว ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่สถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที โดยคาดว่าความต้องการใช้จะเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงต้นปี 2551 โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐน่าจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.25 และ 0.71 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออก และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.57 ในขณะที่การผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 1.51 กล่าวได้ว่าการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างในภาพรวมยังอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้เป็นช่วงที่ตลาดซบเซา ทำให้ความต้องการใช้เซรามิกในประเทศลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เริ่มมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลขาย
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อีกทั้งการจำหน่ายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.14 ด้านการส่งออกมีการขยายตัวอย่างสูงมากคือ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการที่ปัจจัยค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ตลอดปี 2550 เพื่อให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป และผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 2.7-10.0 ลงเหลือศูนย์ทันทีที่มีผลบังคับใช้ คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ทำให้ญี่ปุ่นจะเป็นช่องทางการทำตลาด โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยเงิน และทำด้วยทอง รวมทั้งอัญมณี จำพวกเพชร และพลอย ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยบางส่วนได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ได้มีการจัดงาน บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 40 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีกอันเนื่องมาจากคำสั่งซื้อที่ได้จากงาน ดังนั้นหากไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะทำให้ตลอดทั้งปี 2550 ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออกโดยรวมสูงประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าจะเป็นการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2549 ทีเดียว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 4.2) แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (ร้อยละ 5.0) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 คือ การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่ยังขยายตัวสูง รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลที่ยังคงขยายตัว แม้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 174.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (160.10) ร้อยละ 9.2 ส่วนดัชนีการส่งสินค้า(Shipment Index) ที่แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 6.7 อย่างไรก็ดีดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 แต่ทั้งนี้ดัชนีในเดือนกันยายน 2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน สิงหาคม 2550 (76.0) ไปอยู่ที่ 81.0
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 38,998.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 36,049.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 2,948.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม มีมูลค่ารวม 43,746.67 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 46.28 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 18,645.06 ล้านบาท และเดือนสิงหาคม 25,101.61 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 358 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 184,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 165.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 131 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 70,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 111 โครงการ เป็นเงินลงทุน 73,300 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 56,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีเงินลงทุน 46,700 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 31,600 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดส่งออกอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเก่าไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ และถูกตัดสิทธิ์ GSP ในตลาดหลักสหรัฐในปี 2550 นี้ สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เนื่องจากการขยายกำลังการผลิต HDD ของบางบริษัทเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD และ IC
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าลดลงร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงถึงร้อยละ 45.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังคงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิตต่อไป โดยอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จึงควรให้ความสำคัญในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนและวางแผนการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสภาวะของตลาดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ชะลอตัวลง ร้อยละ 5.75 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลงจากการที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ในขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 333,870 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.01, 8.72 และ 3.12 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 3 กับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.14 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.72 และ 6.85 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.14
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จะขยายตัว เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่าย บริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย อีกทั้งยังจะได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Expo 2007 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้
พลาสติก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของบางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกันอันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาลของประเทศคู่ค้าจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาวทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลง ถึงอย่างไรก็ตามรายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมรองเท้าตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนกันยายน 2550 มีมูลค่ารวม 737 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.24 ส่วนเครื่องใช้สำหรับเดินทางและอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3และ 13.2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และตลาดส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์หนัง คือ ฮ่องกง จีน และเวียดนาม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทย ภาวะการผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเพราะรองเท้ากีฬามียอดการส่งออกลดลง ทั้งนี้รองเท้ากีฬามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนรองเท้าแตะ, รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า มูลค่าการส่งออกลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาว อีกทั้งประเทศไทยไม่ชำนาญในด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่นของฤดูหนาว ทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลง แต่แนวโน้มของรองเท้าแตะ รองเท้าหนัง และรองเท้าอื่นๆในปีหน้าจะดีขึ้น เนื่องจากมีการเปิดตลาดในประเทศใหม่ๆ และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ
อาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.8 จากไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง และประมง ลดลงร้อยละ 45.6 6.2 และ 5.2 ตามลำดับ โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัย ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง
แนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ในตลาดต่างประเทศ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.55 และ 1.64 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น ไม้ยางพารา รวมทั้งราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน จะทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและในการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยคงอยู่ในช่วงขาลง ตลอดจนโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ ที่จะสร้างเพิ่มขึ้นจะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการของเครื่องเรือนมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากภาวะราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังคงผันผวนต่อไป
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.22 และ 33.96 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.91 และลดลงร้อยละ 30.11 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงที่เกษตรกรเริ่มกรีดยางอีกครั้งหลังจากหยุดช่วงกลางปี ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคายางพาราปรับตัวลงจากไตรมาสก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางชะลอการนำเข้า
ยางจากไทย และหันไปซื้อยางจาอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก สิ่งที่ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 147.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 12.5 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษเพิ่มขึ้น คือ การเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศจากการระบุวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการเลือกตั้งทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ นอกจากนี้จีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในช่วงเทศกาล คริสมาสต์และปีใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีปริมาณลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.1 ประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหา ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.8 ซึ่งยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก คือ ยาเม็ด เนื่องจาก ในไตรมาสนี้ผู้ผลิตได้ปรับรายการส่งเสริมการขาย โดยให้ความสำคัญกับยาเม็ด ส่งผลให้มี คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่า การผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ รวมถึงการนำเข้า และการส่งออกยา จะชะลอตัวจากไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยตามวัฏจักรของอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวดีในช่วงไตรมาสที่ 2 และที่ 3 และชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากผู้ผลิต รวมถึงผู้สั่งซื้อจะบริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในปลายปี
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 สอดคล้องกับการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่จะมาถึง ประกอบกับผู้ประกอบการมีแผนที่จะเพิ่มการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น จากผลของข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
แนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยง
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวมเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณก่อนปิดงบประมาณปี 2550 ของภาครัฐ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 6.36
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยังทรงตัว ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่สถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที โดยคาดว่าความต้องการใช้จะเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงต้นปี 2551 โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐน่าจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.25 และ 0.71 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออก และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.57 ในขณะที่การผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 1.51 กล่าวได้ว่าการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างในภาพรวมยังอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้เป็นช่วงที่ตลาดซบเซา ทำให้ความต้องการใช้เซรามิกในประเทศลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เริ่มมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลขาย
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อีกทั้งการจำหน่ายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.14 ด้านการส่งออกมีการขยายตัวอย่างสูงมากคือ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการที่ปัจจัยค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ตลอดปี 2550 เพื่อให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป และผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 2.7-10.0 ลงเหลือศูนย์ทันทีที่มีผลบังคับใช้ คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ทำให้ญี่ปุ่นจะเป็นช่องทางการทำตลาด โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยเงิน และทำด้วยทอง รวมทั้งอัญมณี จำพวกเพชร และพลอย ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยบางส่วนได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ได้มีการจัดงาน บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 40 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีกอันเนื่องมาจากคำสั่งซื้อที่ได้จากงาน ดังนั้นหากไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะทำให้ตลอดทั้งปี 2550 ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออกโดยรวมสูงประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าจะเป็นการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2549 ทีเดียว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-