ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 3 ปี 2550 ชะลตัวอลง เป็นผลมาจากปัญหา Subprime Mortage Loans ของสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ขยายตัวลดลง เนื่องจากรายได้จากการส่งออกของกลุ่มฯ ยังขยายตัวชะลอลง อันเป็นผลจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในตลาดโลกลดลง การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวลดลง
เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างร้อนแรง เนื่องจากรายได้จากการส่งออก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูง GDP ไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.5
สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ (ณ วันที่ 7 พย.2550) อยู่ที่ 98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และความวิตกกังวลปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐอาจมีไม่พอรองรับความต้องการในฤดูหนาว ขณะที่ OPEC ยังมีนโยบายควบคุมการผลิตน้ำมันดิบอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับสูง อีกทั้งกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขน้ำมันดิบสำรองต่ำกว่า 1.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการปลายปีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของอุปทานน้ำมันดิบเนื่องจากเหตุการณ์ในตุรกี และเม็กชิโกที่ต้องหยุดการผลิตจากสภาพอากาศเลวร้าย
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.4 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 2.99 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.69 และการส่งออกในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.37 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.37 เป็นผลมาจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวจากการลงทุนภาคที่อยู่อาศัย
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่ำกว่าไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 อันเนื่องมาจากการลดลงในสินค้าหมวดพลังงาน
อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 สูงกว่าไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคก่อสร้างและภาครัฐ ในขณะที่การจ้างงานภาคบริการยังคงเพิ่มขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 4.75 เหลือร้อยละ 4.50 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และบรรเทาปัญหาวิกฤตสินเชื่อและอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 11.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.6 เนื่องมาจากภาคการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าปลีกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศยังคงขยายตัวสูง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 5.6 อันเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น
การส่งออกในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.5
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.02 เป็นร้อยละ 7.29 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กันยายน 2550 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีก ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้ปรับเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ในจีนจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 13 เพื่อควบคุมการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และรายได้จากการส่งออกขยายตัวชะลอลง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2550 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.1 ซึ่งเท่ากับไตรมาส 1 ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 0
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันโดยในในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 0
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปขยายตัวชะลอลง โดย GDP ในไตรมาส 2 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 GDP อยู่ที่ร้อยละ 2.2 แต่ GDP ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 GDP อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ในกลุ่มยูโรโซนหลายประเทศขยายตัวชะลองลง เช่น เยอรมณี (เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจก่อสร้าง) ฝรั่งเศส (เนื่องจากการการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนขยายตัวชะลอลง) และสเปน (เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขยายตัวชะลอลง) นอกจากนี้ รายได้จากการส่งออกของกลุ่มฯ ยังขยายตัวชะลอลง อันเป็นผลจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในตลาดโลกลดลง การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3 ลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.4
ระดับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 3 ปี 2550 ร้อยละ 1.9 เท่ากับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน อยู่ที่ร้อยละ 1.8 1.7 และ 2.1 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมสูงขึ้นจากสองเดือนก่อนหน้าเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาอาหารที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลง
อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 แสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดแรงงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การจ้างงานขยายตัวดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.9
ค่าเงินยูโรในไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ 1.3676 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแข็งค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ 1.3484 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.0% (เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550) เนื่องจากเงินยูโรยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเกิดปัญหา Credit Crunch ในสหรัฐ อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนขยายตัวชะลอลง
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.6 โดยเร่งขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้การขยายตัวครึ่งปีแรกของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ซึ่งภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สูงกว่าร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการส่งออกที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ทางการปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.5 — 5.5 เป็นร้อยละ 5 — 6
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งปี 2549 ทั้งปีมีอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 โดยฐานะทางการคลังของรัฐบาลฮ่องกงแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีเงินคงคลัง (Fiscal Reserves) สูงราว 1 ใน 4 ของ GDP และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ด้านการส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มูลค่าการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ และอุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์ต่างๆ มีการส่งออกถึงร้อยละ 74 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จมีมูลค่าการส่งออกรวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลงจาก 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อน ทางด้านอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มส่งออกทั้งหมด 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อน อุตสาหกรรมสิ่งทอส่งออกมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออก 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกทั้งหมดในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.3 จากร้อยละ 8.5 ในเดือนกรกฎาคม โดย 9 เดือนแรกของปีส่งผลให้การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 9.6
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้จากการส่งออกและการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของภาคเอกชนขยายตัว ประกอบกับรัฐบาลบริหารจัดการด้านการคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้นและปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ยาวนานที่สุดในรอบ 15 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายของภาคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นบวกกับแรงหนุนจากการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท chips ของบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ และ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท LG อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวไปร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่า GDP ของประเทศเกาหลีใต้เติบโตขึ้นร้อยละ 5.1 จากปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เติบโตร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการกระจายสินค้าออกไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 โดยการเติบโตของเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุด
ทางด้านดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนเติบโตขึ้นร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 11.2 จากเดือนที่ผ่านมา โดยรวมทั้งไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ในเบื้องต้นขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.3 ทางด้านอุตสาหกรรม Heavy Chemical Industry ขยายตัวร้อยละ 10.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 13.9 ในปีก่อน ขณะที่อุตสาหกรรม Light Industry หดตัวลงที่ร้อยละ 3.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปีก่อน
ทางด้านธนาคารกลางของประเทศเกาหลีใต้ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Uncollateralized Overnight Rate ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.75 เป็นร้อยละ 5.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 2 ครั้งติดต่อกันในรอบปีนี้และสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2544 หลังจากปรับขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสภาพคล่องในระบบและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังคงเร่งตัวต่อเนื่อง รวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในระยะต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงการแข็งค่าของเงินวอนและความยุ่งยากในตลาดการเงินโลกที่เกิดจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะส่งผลให้ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไม่ช้านี้ โดยอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมต่อไปอีก 6 เดือนหรืออาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครึ่งแรกปีหน้า ขณะที่สินเชื่อทั่วโลกยังคงเติบโต จึงอาจทำให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันเงินวอนไม่ให้แข็งค่าเกินความเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาในระหว่างเดือน ต.ค. 48 ถึงเดือน ส.ค. ปีนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 7 ครั้งรวมร้อยละ 1.75 เพื่อป้องกันเงินเฟ้อและปริมาณเงินที่ขยายตัวอย่างมาก ขณะที่เงินวอนเกาหลีใต้เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สิ้นเดือนตุลาคมแข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 40 หลังจากที่ สหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือนที่แล้ว ในขณะที่ราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ด้านการส่งออก(มกราคม-กันยายน)ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 โดยเป็นการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เอเซียและแถบตะวันออกกลางถึงร้อยละ 12.8 ในช่วง 9 เดือนแรก ส่วนการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ในเดือนกันยายน ซึ่งการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.6 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนก็ยังลดลงจากร้อยละ 15.7 โดยการส่งออกยานยนต์ จอ LCD และเซมิคอนดัคเตอร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ขยายตัวได้ดีและมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปี โดยคาดว่ารายได้จากการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์การสื่อสารและจอ LCD ในขณะที่เกาหลีใต้ได้ประกาศระงับการนำเข้าสุกรและเนื้อสุกรจากสหราชอาณาจักรโดยไม่มีกำหนดในเดือนสิงหาคมหลังจากที่พบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ของเกาหลีใต้ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดเกินดุลการค้าลงจาก 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเห็นว่าความต้องการในประเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ยังคงมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยมีการขยายตัวของ GDP ร้อยละ 9.4 ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก ร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสแรก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ชีวภาพ (Biomedical) การต่อเรือและอากาศยาน ขณะที่ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 8.4 จากการเติบโตของภาคบริการทางการเงิน อันเป็นผลจากที่รัฐบาลสิงคโปร์มีการประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมายังภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการด้านการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการลงทุนจัดตั้งและขยาย Headquater จากสถาบันการเงินชั้นนำ อาทิ Citigroup Inc. และ Daiwa Securities Group Inc. ในสิงคโปร์ และเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจก่อสร้างขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 12 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปี 2550 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวราวร้อยละ 7-8 ใกล้เคียงกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปี 2549
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องมาจากการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อุตสาหกรรมการต่อเรือมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 45 ในขณะที่อุตสาหกรรมการต่อเครื่องบินขยายตัวที่ร้อยละ 22 เนื่องมาจากความต้องการทางด้านคมนาคมที่สูงขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและอุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์การแพทย์ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (NODX) เติบโตร้อยละ 2.2 ส่วนการส่งออกทั้งหมด(รวมน้ำมัน) มีการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 โดยประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งคือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และไทยเป็นอันดับ 9 โดยมีมูลค่าการค้ารวม 11,901.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 3.8 ของมูลค่าการค้ารวมของสิงคโปร์(ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกของสินค้าที่ยังคงขยายตัวดีมาจากสินค้าที่มิใช่อิเล็กทรอนิกส์ ใขขณะที่การส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 11 ซึ่งการส่งออกที่ลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกที่ลดลงของสินค้าประเภท Disk drives, Parts of PCs, ICs, Diodes and Transistors, Telecommunications Equipments, Electrical Power Machinery, Civil Engineering Equipment Parts และ Electrical Machinery ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 3/2550 ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
สิงคโปร์ได้ขยายการลงทุนไปยังเวียดนามมากขึ้น จากสถิติการลงทุนล่าสุด สิงคโปร์เข้าไปลงทุนในโครงการต่างๆ ในเวียดนามกว่า 500 โครงการ มีมูลค่ารวม 14.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 สิงคโปร์ได้เริ่มการลงทุนใหม่กับเวียดนามโดย SembCorp Industrial แบบร่วมทุนกับเวียดนามในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมีมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในขณะนี้มีบริษัทที่พร้อมจะเข้าไปประกอบการจำนวน 10 บริษัท เงินทุนมากกว่า 1,873.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหนึ่งในบริษัทเหล่านี้ คือ Mapletree ของ สิงคโปร์ ซึ่งได้เข้าไปตั้งนิคมโลจิสติกส์ขนาดพื้นที่ 70 เฮคเตอร์ นอกจากนี้ยังมีบริษัท Keppel Land และ CapitaLand (ภายใต้ Temasek Holdings) เข้าไปลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามเช่นกัน
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างซบเซา ราคาน้ำมันที่ผันแปร ความวุ่นวายและความไม่สมดุลของโลก แต่เศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับดี ดังนั้นในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี รวมทั้งความต้องการสินค้า semiconductor ของตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฐบาลสิงคโปร์ จึงได้ปรับการคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2550 ใหม่เป็นร้อยละ 5-7 (เดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5-6.5)
มาเลเซีย
เศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เติบโตร้อยละ 5.5 ในขณะที่เติบโตลดลงจากร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญจากภาคบริการ (โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยว) ภาคเหมืองแร่และภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีและเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าประเภท Electronic Valves, Tubes เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการบัญชี รวมถึงสินค้าทางด้านเคมีต่างๆ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในเดือนมิถุยายน แต่โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ในขณะอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยทั้งปีของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งตัวดังกล่าว นอกจากนี้ปัจจัยกำหนดอัตราเงินเฟ้อ เช่น ราคายาสูบและค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ปรับสูงขึ้นยังเป็นตัวกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมเร่งตัวขึ้นอีกด้วย
ทางด้านผลผลิตโรงงานของมาเลเซียในเดือนกันยายน 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนสิงหาคม 2550 (ซึ่งลดลงอย่างมากจากเดือน ก.ค.50 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1) เนื่องจากผลผลิตภาคพลังงานและเหมืองแร่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสามารถชดเชยการชะลอตัวของผลผลิตโรงงานได้ อย่างไรก็ตามผลผลิตโรงงานน่าจะยังคงชะลอตัวเนื่องจากความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์โลกน้อยลง ประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐฯ ก็ลดลงด้วย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซียในปีนี้น่าจะยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 6 สอดคล้องกับเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ เนื่องจากมั่นใจว่า ยังสามารถส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสหรัฐฯ ได้ ทั้งนี้ มาเลเซียเป็นหนึ่งใน 2-3 ประเทศที่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมาก นอกจากนี้การลดลงของตัวเลขดัชนีกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนกันยายน 2550 ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้านั้น เป็นเครื่องแสดงถึงการชะลอตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย
ด้านการส่งออกของมาเลเซียในเดือนกันยายนส่งอกกทั้งหมด 53.69 พันล้านRM ซึ่งขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่มีการนำเข้าทั้งหมด 42.24 พันล้านRM ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 1.5 จากปีที่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบจากเดือนสิงหาคมการส่งออกชะลอตัวลงร้อยละ 0.3 การนำเข้าก็ลดลงร้อยละ 6.2 ซึ่งส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ส่วนการนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 6.1 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ซึ่งอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาคืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออกถึง 24.57 พันล้านRM หรือร้อยละ 45.8 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่น้ำมันปาล์มส่งออกไปร้อยละ 6.6 น้ำมันดิบส่งออกร้อยละ 5 และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ส่งออกร้อยละ 4.6
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.1(ข้อมูลล่าสุดเดือนกันยายน)ในไตรมาสที่ 1ของปี 2550 และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 17 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวดี ประกอบกับการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจบริการการจัดการงานสำนักงาน (Back-Office Service) เนื่องจากฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบจากแรงงานระดับทั่วไป ที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งส่งผลให้ครึ่งปีแรกมีการขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6 ของครึ่งปีแรกของปีก่อน โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการขยายตัวทางด้านเกษตรกรรมและการประมงร้อยละ 3.8 -3.9 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 4.0-4.1 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และลดลงจากร้อยละ 6.7-6.9 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยทางด้านอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 8.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 33.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวร้อยละ 3.7 ลดลงจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 1ของปี 2550 และลดลงจากร้อยละ 4.2 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างเติบโตร้อยละ 21.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.0 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน ทางด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ก๊าซและน้ำ มีการเติบโตร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เติบโตร้อยละ 7.4
ในส่วนของภาคการบริการโดยรวมมีการเติบโตร้อยละ 8.4 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่ 1/2550 แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยแบ่งเป็น อุตสาหกรรมทางด้านการสื่อสารและการขนส่งเติบโตร้อยละ 9.8 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 10.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เติบโตร้อยละ 5.4 ในส่วนของการให้บริการทางด้านการเงินเติบโตร้อยละ 11.8 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เติบโตร้อยละ 14.8 แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การให้บริการของภาครัฐเติบโตที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ของไตรมาสที่ 1/2550 และลดลงจากร้อยละ 4.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีดัชนีมูลค่าการผลิต(VaPI) ลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือนสิงหาคม โดยลดลงจากร้อยละ 2.1 ในเดือนที่ผ่านมา (เป็นข้อมูลจากการสำรวจในอุตสาหกรรมหลัก 10 สาขา ได้แก่ tobacco, electrical machinery, rubber products, textiles, footwear and wearing apparel, machinery excluding electrical, basic metals และ chemical products) ซึ่งดัชนีมูลค่าการผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าในสาขาอุตสาหกรรมอาหารเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในส่วนของผลิตภัณฑ์ทางด้านปิโตรเลียมเติบโตขึ้นร้อยละ 4.8 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ทางด้านไม้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 36.5 นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นคือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หนัง ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ อุตสาหกรรม Electrical Machinery ที่เติบโตลดลงร้อยละ 20.4 อุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์เติบโตลดลงร้อยละ 10.2 อุตสาหกรรมยาสูบลดลงร้อยละ 32.6 อุตสาหกรรมสิ่งทอลดลงร้อยละ 16.5 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางลดลงร้อยละ 17.0 แต่เมื่อเทียบดัชนีมูลค่าการผลิตกับเดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไม้ ส่วนอุตสาหกรรมที่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาก็ยังมีการเติบโตที่ลดลงได้แก่ อุตสาหกรรม Electrical Machinery อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรม Footwear and Wearing Apparel อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โดยดัชนีปริมาณการผลิตในเดือนสิงหาคมมีจำนวนลดลงร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
ภาวะการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 9.1 โดยลดลงจากร้อยละ 13.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงจากร้อยละ 53.2 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 52.8 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และการส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้า ทองคำจากทองแดง น้ำมันดิบ ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันของตลาดโลก ใขขณะที่ภาวะการนำเข้าก็หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ขยายตัวลดลง เนื่องจากรายได้จากการส่งออกของกลุ่มฯ ยังขยายตัวชะลอลง อันเป็นผลจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในตลาดโลกลดลง การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวลดลง
เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างร้อนแรง เนื่องจากรายได้จากการส่งออก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูง GDP ไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.5
สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ (ณ วันที่ 7 พย.2550) อยู่ที่ 98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และความวิตกกังวลปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐอาจมีไม่พอรองรับความต้องการในฤดูหนาว ขณะที่ OPEC ยังมีนโยบายควบคุมการผลิตน้ำมันดิบอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับสูง อีกทั้งกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขน้ำมันดิบสำรองต่ำกว่า 1.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการปลายปีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของอุปทานน้ำมันดิบเนื่องจากเหตุการณ์ในตุรกี และเม็กชิโกที่ต้องหยุดการผลิตจากสภาพอากาศเลวร้าย
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.4 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 2.99 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.69 และการส่งออกในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.37 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.37 เป็นผลมาจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวจากการลงทุนภาคที่อยู่อาศัย
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่ำกว่าไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 อันเนื่องมาจากการลดลงในสินค้าหมวดพลังงาน
อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 สูงกว่าไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคก่อสร้างและภาครัฐ ในขณะที่การจ้างงานภาคบริการยังคงเพิ่มขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 4.75 เหลือร้อยละ 4.50 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และบรรเทาปัญหาวิกฤตสินเชื่อและอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 11.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.6 เนื่องมาจากภาคการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าปลีกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศยังคงขยายตัวสูง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 5.6 อันเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น
การส่งออกในไตรมาส 3 ปี 2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.5
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.02 เป็นร้อยละ 7.29 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กันยายน 2550 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีก ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้ปรับเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ในจีนจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 13 เพื่อควบคุมการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และรายได้จากการส่งออกขยายตัวชะลอลง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2550 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.1 ซึ่งเท่ากับไตรมาส 1 ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 0
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันโดยในในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 0
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปขยายตัวชะลอลง โดย GDP ในไตรมาส 2 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549 GDP อยู่ที่ร้อยละ 2.2 แต่ GDP ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 GDP อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ในกลุ่มยูโรโซนหลายประเทศขยายตัวชะลองลง เช่น เยอรมณี (เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจก่อสร้าง) ฝรั่งเศส (เนื่องจากการการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนขยายตัวชะลอลง) และสเปน (เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขยายตัวชะลอลง) นอกจากนี้ รายได้จากการส่งออกของกลุ่มฯ ยังขยายตัวชะลอลง อันเป็นผลจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกในตลาดโลกลดลง การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3 ลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.4
ระดับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 3 ปี 2550 ร้อยละ 1.9 เท่ากับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน อยู่ที่ร้อยละ 1.8 1.7 และ 2.1 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมสูงขึ้นจากสองเดือนก่อนหน้าเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาอาหารที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลง
อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 แสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดแรงงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การจ้างงานขยายตัวดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.9
ค่าเงินยูโรในไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ 1.3676 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแข็งค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ 1.3484 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.0% (เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550) เนื่องจากเงินยูโรยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเกิดปัญหา Credit Crunch ในสหรัฐ อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนขยายตัวชะลอลง
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.6 โดยเร่งขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้การขยายตัวครึ่งปีแรกของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ซึ่งภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สูงกว่าร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการส่งออกที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ทางการปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.5 — 5.5 เป็นร้อยละ 5 — 6
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งปี 2549 ทั้งปีมีอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 โดยฐานะทางการคลังของรัฐบาลฮ่องกงแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีเงินคงคลัง (Fiscal Reserves) สูงราว 1 ใน 4 ของ GDP และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ด้านการส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มูลค่าการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ และอุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์ต่างๆ มีการส่งออกถึงร้อยละ 74 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จมีมูลค่าการส่งออกรวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลงจาก 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อน ทางด้านอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มส่งออกทั้งหมด 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อน อุตสาหกรรมสิ่งทอส่งออกมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออก 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกทั้งหมดในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.3 จากร้อยละ 8.5 ในเดือนกรกฎาคม โดย 9 เดือนแรกของปีส่งผลให้การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 9.6
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้จากการส่งออกและการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของภาคเอกชนขยายตัว ประกอบกับรัฐบาลบริหารจัดการด้านการคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้นและปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ยาวนานที่สุดในรอบ 15 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายของภาคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นบวกกับแรงหนุนจากการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท chips ของบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ และ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท LG อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวไปร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่า GDP ของประเทศเกาหลีใต้เติบโตขึ้นร้อยละ 5.1 จากปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เติบโตร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการกระจายสินค้าออกไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 โดยการเติบโตของเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุด
ทางด้านดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนเติบโตขึ้นร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 11.2 จากเดือนที่ผ่านมา โดยรวมทั้งไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ในเบื้องต้นขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.3 ทางด้านอุตสาหกรรม Heavy Chemical Industry ขยายตัวร้อยละ 10.9 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 13.9 ในปีก่อน ขณะที่อุตสาหกรรม Light Industry หดตัวลงที่ร้อยละ 3.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปีก่อน
ทางด้านธนาคารกลางของประเทศเกาหลีใต้ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Uncollateralized Overnight Rate ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.75 เป็นร้อยละ 5.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 2 ครั้งติดต่อกันในรอบปีนี้และสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2544 หลังจากปรับขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสภาพคล่องในระบบและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังคงเร่งตัวต่อเนื่อง รวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในระยะต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงการแข็งค่าของเงินวอนและความยุ่งยากในตลาดการเงินโลกที่เกิดจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะส่งผลให้ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไม่ช้านี้ โดยอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมต่อไปอีก 6 เดือนหรืออาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครึ่งแรกปีหน้า ขณะที่สินเชื่อทั่วโลกยังคงเติบโต จึงอาจทำให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันเงินวอนไม่ให้แข็งค่าเกินความเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาในระหว่างเดือน ต.ค. 48 ถึงเดือน ส.ค. ปีนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 7 ครั้งรวมร้อยละ 1.75 เพื่อป้องกันเงินเฟ้อและปริมาณเงินที่ขยายตัวอย่างมาก ขณะที่เงินวอนเกาหลีใต้เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สิ้นเดือนตุลาคมแข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 40 หลังจากที่ สหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือนที่แล้ว ในขณะที่ราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ด้านการส่งออก(มกราคม-กันยายน)ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 โดยเป็นการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เอเซียและแถบตะวันออกกลางถึงร้อยละ 12.8 ในช่วง 9 เดือนแรก ส่วนการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ในเดือนกันยายน ซึ่งการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวถึงร้อยละ 11.6 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนก็ยังลดลงจากร้อยละ 15.7 โดยการส่งออกยานยนต์ จอ LCD และเซมิคอนดัคเตอร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ขยายตัวได้ดีและมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปี โดยคาดว่ารายได้จากการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์การสื่อสารและจอ LCD ในขณะที่เกาหลีใต้ได้ประกาศระงับการนำเข้าสุกรและเนื้อสุกรจากสหราชอาณาจักรโดยไม่มีกำหนดในเดือนสิงหาคมหลังจากที่พบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ของเกาหลีใต้ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดเกินดุลการค้าลงจาก 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเห็นว่าความต้องการในประเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ยังคงมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยมีการขยายตัวของ GDP ร้อยละ 9.4 ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก ร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสแรก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ชีวภาพ (Biomedical) การต่อเรือและอากาศยาน ขณะที่ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 8.4 จากการเติบโตของภาคบริการทางการเงิน อันเป็นผลจากที่รัฐบาลสิงคโปร์มีการประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมายังภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการด้านการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการลงทุนจัดตั้งและขยาย Headquater จากสถาบันการเงินชั้นนำ อาทิ Citigroup Inc. และ Daiwa Securities Group Inc. ในสิงคโปร์ และเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจก่อสร้างขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 12 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปี 2550 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวราวร้อยละ 7-8 ใกล้เคียงกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปี 2549
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องมาจากการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อุตสาหกรรมการต่อเรือมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 45 ในขณะที่อุตสาหกรรมการต่อเครื่องบินขยายตัวที่ร้อยละ 22 เนื่องมาจากความต้องการทางด้านคมนาคมที่สูงขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและอุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์การแพทย์ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (NODX) เติบโตร้อยละ 2.2 ส่วนการส่งออกทั้งหมด(รวมน้ำมัน) มีการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 โดยประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งคือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และไทยเป็นอันดับ 9 โดยมีมูลค่าการค้ารวม 11,901.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 3.8 ของมูลค่าการค้ารวมของสิงคโปร์(ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกของสินค้าที่ยังคงขยายตัวดีมาจากสินค้าที่มิใช่อิเล็กทรอนิกส์ ใขขณะที่การส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 11 ซึ่งการส่งออกที่ลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกที่ลดลงของสินค้าประเภท Disk drives, Parts of PCs, ICs, Diodes and Transistors, Telecommunications Equipments, Electrical Power Machinery, Civil Engineering Equipment Parts และ Electrical Machinery ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 3/2550 ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
สิงคโปร์ได้ขยายการลงทุนไปยังเวียดนามมากขึ้น จากสถิติการลงทุนล่าสุด สิงคโปร์เข้าไปลงทุนในโครงการต่างๆ ในเวียดนามกว่า 500 โครงการ มีมูลค่ารวม 14.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 สิงคโปร์ได้เริ่มการลงทุนใหม่กับเวียดนามโดย SembCorp Industrial แบบร่วมทุนกับเวียดนามในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมีมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในขณะนี้มีบริษัทที่พร้อมจะเข้าไปประกอบการจำนวน 10 บริษัท เงินทุนมากกว่า 1,873.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหนึ่งในบริษัทเหล่านี้ คือ Mapletree ของ สิงคโปร์ ซึ่งได้เข้าไปตั้งนิคมโลจิสติกส์ขนาดพื้นที่ 70 เฮคเตอร์ นอกจากนี้ยังมีบริษัท Keppel Land และ CapitaLand (ภายใต้ Temasek Holdings) เข้าไปลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามเช่นกัน
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างซบเซา ราคาน้ำมันที่ผันแปร ความวุ่นวายและความไม่สมดุลของโลก แต่เศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับดี ดังนั้นในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี รวมทั้งความต้องการสินค้า semiconductor ของตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฐบาลสิงคโปร์ จึงได้ปรับการคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2550 ใหม่เป็นร้อยละ 5-7 (เดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5-6.5)
มาเลเซีย
เศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เติบโตร้อยละ 5.5 ในขณะที่เติบโตลดลงจากร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญจากภาคบริการ (โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยว) ภาคเหมืองแร่และภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีและเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าประเภท Electronic Valves, Tubes เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการบัญชี รวมถึงสินค้าทางด้านเคมีต่างๆ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในเดือนมิถุยายน แต่โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ในขณะอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยทั้งปีของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งตัวดังกล่าว นอกจากนี้ปัจจัยกำหนดอัตราเงินเฟ้อ เช่น ราคายาสูบและค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ปรับสูงขึ้นยังเป็นตัวกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมเร่งตัวขึ้นอีกด้วย
ทางด้านผลผลิตโรงงานของมาเลเซียในเดือนกันยายน 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนสิงหาคม 2550 (ซึ่งลดลงอย่างมากจากเดือน ก.ค.50 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1) เนื่องจากผลผลิตภาคพลังงานและเหมืองแร่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสามารถชดเชยการชะลอตัวของผลผลิตโรงงานได้ อย่างไรก็ตามผลผลิตโรงงานน่าจะยังคงชะลอตัวเนื่องจากความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์โลกน้อยลง ประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐฯ ก็ลดลงด้วย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซียในปีนี้น่าจะยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 6 สอดคล้องกับเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ เนื่องจากมั่นใจว่า ยังสามารถส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสหรัฐฯ ได้ ทั้งนี้ มาเลเซียเป็นหนึ่งใน 2-3 ประเทศที่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมาก นอกจากนี้การลดลงของตัวเลขดัชนีกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนกันยายน 2550 ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้านั้น เป็นเครื่องแสดงถึงการชะลอตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย
ด้านการส่งออกของมาเลเซียในเดือนกันยายนส่งอกกทั้งหมด 53.69 พันล้านRM ซึ่งขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่มีการนำเข้าทั้งหมด 42.24 พันล้านRM ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 1.5 จากปีที่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบจากเดือนสิงหาคมการส่งออกชะลอตัวลงร้อยละ 0.3 การนำเข้าก็ลดลงร้อยละ 6.2 ซึ่งส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ส่วนการนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 6.1 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ซึ่งอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาคืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออกถึง 24.57 พันล้านRM หรือร้อยละ 45.8 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่น้ำมันปาล์มส่งออกไปร้อยละ 6.6 น้ำมันดิบส่งออกร้อยละ 5 และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ส่งออกร้อยละ 4.6
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.1(ข้อมูลล่าสุดเดือนกันยายน)ในไตรมาสที่ 1ของปี 2550 และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 17 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวดี ประกอบกับการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจบริการการจัดการงานสำนักงาน (Back-Office Service) เนื่องจากฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบจากแรงงานระดับทั่วไป ที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งส่งผลให้ครึ่งปีแรกมีการขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6 ของครึ่งปีแรกของปีก่อน โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการขยายตัวทางด้านเกษตรกรรมและการประมงร้อยละ 3.8 -3.9 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 4.0-4.1 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และลดลงจากร้อยละ 6.7-6.9 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยทางด้านอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 8.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 33.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวร้อยละ 3.7 ลดลงจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 1ของปี 2550 และลดลงจากร้อยละ 4.2 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างเติบโตร้อยละ 21.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.0 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน ทางด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ก๊าซและน้ำ มีการเติบโตร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เติบโตร้อยละ 7.4
ในส่วนของภาคการบริการโดยรวมมีการเติบโตร้อยละ 8.4 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่ 1/2550 แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยแบ่งเป็น อุตสาหกรรมทางด้านการสื่อสารและการขนส่งเติบโตร้อยละ 9.8 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 10.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เติบโตร้อยละ 5.4 ในส่วนของการให้บริการทางด้านการเงินเติบโตร้อยละ 11.8 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เติบโตร้อยละ 14.8 แต่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การให้บริการของภาครัฐเติบโตที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ของไตรมาสที่ 1/2550 และลดลงจากร้อยละ 4.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีดัชนีมูลค่าการผลิต(VaPI) ลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือนสิงหาคม โดยลดลงจากร้อยละ 2.1 ในเดือนที่ผ่านมา (เป็นข้อมูลจากการสำรวจในอุตสาหกรรมหลัก 10 สาขา ได้แก่ tobacco, electrical machinery, rubber products, textiles, footwear and wearing apparel, machinery excluding electrical, basic metals และ chemical products) ซึ่งดัชนีมูลค่าการผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าในสาขาอุตสาหกรรมอาหารเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในส่วนของผลิตภัณฑ์ทางด้านปิโตรเลียมเติบโตขึ้นร้อยละ 4.8 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ทางด้านไม้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 36.5 นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นคือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หนัง ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ อุตสาหกรรม Electrical Machinery ที่เติบโตลดลงร้อยละ 20.4 อุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์เติบโตลดลงร้อยละ 10.2 อุตสาหกรรมยาสูบลดลงร้อยละ 32.6 อุตสาหกรรมสิ่งทอลดลงร้อยละ 16.5 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางลดลงร้อยละ 17.0 แต่เมื่อเทียบดัชนีมูลค่าการผลิตกับเดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไม้ ส่วนอุตสาหกรรมที่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาก็ยังมีการเติบโตที่ลดลงได้แก่ อุตสาหกรรม Electrical Machinery อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรม Footwear and Wearing Apparel อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โดยดัชนีปริมาณการผลิตในเดือนสิงหาคมมีจำนวนลดลงร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
ภาวะการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 9.1 โดยลดลงจากร้อยละ 13.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงจากร้อยละ 53.2 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 52.8 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และการส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้า ทองคำจากทองแดง น้ำมันดิบ ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันของตลาดโลก ใขขณะที่ภาวะการนำเข้าก็หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-