จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.2 แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 คือ มีแรงขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่ยังขยายตัวสูง รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลที่ยังคงขยายตัว แม้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลง จากความวิตกกังวลในสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวชะลอลง ในขณะที่อุตสาหกรรมวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี และโรงกลั่นน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงภายใต้ภาวะความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก สำหรับปัจจัยบวกในช่วงที่เหลือของปี 2550 ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุน รัฐวิสาหกิจ และการส่งออก
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พบว่า มีการชะลอตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยจะเห็นจากอัตราการใช้กำลังผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมจะลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 (ม.ค. — ก.ย. 50) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยลดลงในปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ จากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญ เช่น การแข็งค่าของค่าเงินบาท สถานการณ์ทางการเมือง ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะทรงตัวหรือชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่ในช่วงที่เหลือของปี 2550 ยังคงมีปัจจัยบวกบ้าง ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง การส่งออกแม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบทุนรัฐวิสาหกิจ
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 174.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (162.3) ร้อยละ 7.7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (160.10) ร้อยละ 9.2
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร สำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 177.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (163.7) ร้อยละ 8.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (166.1) ร้อยละ 6.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิคเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 5.0 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนี สินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 186.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (181.0) ร้อยละ 3.0 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (190.1) ร้อยละ 2.0
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 4.1 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (64.8) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (68.0)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ทั้ง 3 ดัชนีมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ได้แก่ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและระบบเศรษฐกิจในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 70.0, 69.5 และ 69.2 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 70.8, 70.5 และ 70.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 86.6,87.1 และ 87.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน จะเห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตดีขึ้นเป็นลำดับในแต่ละเดือน แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเมื่อทราบกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นมากนัก
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท การลงทุน และการผลิตของบริษัท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2549
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 76.6 ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (81.3) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (87.9) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามดัชนีในเดือนกันยายน 2550 มีค่า 81.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน สิงหาคม 2550 (76.0) เนื่องจากยอดค่าสั่งซื้อและยอดขายในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการเร่งใช้โดยงบประมาณ รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้น ปริมาณการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในต้นทุนประกอบการที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่ได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า อุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำมันได้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาทดแทนการใช้น้ำมันในส่วนที่สามารถทดแทนได้ และมาตรการในการลดการผลิตสินค้า โดยให้มีการผลิตสินค้าตามการสั่งซื้อสินค้า เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาครัฐยังสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการได้จากการ เร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ/การบริโภค สร้างความมีประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐ ลดความซ้ำซ้อนของภาษีส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ส่งเสริมการแข่งขันด้านตลาดกับต่างประเทศและนโยบายการลงทุนในต่างประเทศที่ชัดเจน เร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 114.0 ลดลงร้อยละ 1.3 จากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 115.5 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Real Broad Money) จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาน้ำมัน มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 114.5 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 114.6
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือน กันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 116.9 ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2550 (117.8) ร้อยละ 0.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 117.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่ง มีค่า 115.8
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure On Private Consumption) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 122.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (120.5) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (121.4) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ตามการลดลงของปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ทรงตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สามของปี 2550 (ตัวเลขเดือนกันยายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.05 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 36.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.6 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.43 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.2)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีจำนวน 5.90 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.16 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 38,998.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 36,049.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 2,948.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม 2550 มีมูลค่าการส่งออกถึง 13,911.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 9 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 86,618 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.32) สินค้าเกษตรกรรม 10,659 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.64) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7,021.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.35) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5,200.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.7) และสินค้าอื่นๆ 1,098.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.99)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.97 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 20.86 และสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.63 สำหรับสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.14
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 12,320.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 8,813.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 6,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 3,995.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 3,738 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 3,497.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3,433.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เคมีภัณฑ์ 2,879.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 2,854.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์ยาง 2,670.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 50,309.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.49 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ใน ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.74 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.19 โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.77 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 10.70 และตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 18.73
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 44,471.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.54) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 26,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.05) สินค้าเชื้อเพลิง 18,497.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.11) สินค้าอุปโภคบริโภค 8,369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.19) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.09) และสินค้าอื่นๆ 1,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.02)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 3.72 สินค้าทุนนำเข้าลดลงร้อยละ 0.13 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 และสินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.04
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.41 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 อาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.52
-แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าสำคัญ ปี 2550 โดยมีการประชุมหารือกับภาคเอกชนมาโดยตลอดทุกเดือน คาดว่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย ถึงแม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จะชะลอตัวลง แต่การส่งออกไปตลาดใหม่ กลับมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น อาทิ อินเดีย ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และจีน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์และผู่ส่งออกร่วมกันดำเนินมาตรการบุกเบิกและขยายตลาดทั้งในตลาดใหม่และตลากหลัก ดังนั้น จึงทำให้เชื่อมั่นว่าในปี 2550 จะสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม มีมูลค่ารวม 43,746.67 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 46.28 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 18,645.06 ล้านบาท และเดือนสิงหาคม 25,101.61 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 29,820.17 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 6,870.57 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดอื่นๆ 6,615.38 ล้านบาท และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 6,363.55 ล้านบาท สาขาบริการเป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 16,725.23 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 29,276.57 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศฮ่องกงและเยอรมัน มีเงินลงทุนสุทธิ 5,325.75 ล้านบาท และ2,481.91 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 358 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 184,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 165.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 131 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 70,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 111 โครงการ เป็นเงินลงทุน 73,300 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 56,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีเงินลงทุน 46,700 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 31,600 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกามีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 15 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 39,146 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 94 โครงการ 24,398 ล้านบาท ประเทศแคนาดา จำนวน 2 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,154 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 23 โครงการ เป็นเงินลงทุน 12,383 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวชะลอลง ในขณะที่อุตสาหกรรมวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี และโรงกลั่นน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงภายใต้ภาวะความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก สำหรับปัจจัยบวกในช่วงที่เหลือของปี 2550 ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุน รัฐวิสาหกิจ และการส่งออก
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พบว่า มีการชะลอตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยจะเห็นจากอัตราการใช้กำลังผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมจะลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 (ม.ค. — ก.ย. 50) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยลดลงในปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ จากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญ เช่น การแข็งค่าของค่าเงินบาท สถานการณ์ทางการเมือง ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะทรงตัวหรือชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่ในช่วงที่เหลือของปี 2550 ยังคงมีปัจจัยบวกบ้าง ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง การส่งออกแม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบทุนรัฐวิสาหกิจ
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 174.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (162.3) ร้อยละ 7.7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (160.10) ร้อยละ 9.2
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร สำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 177.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (163.7) ร้อยละ 8.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (166.1) ร้อยละ 6.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิคเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 5.0 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนี สินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 186.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (181.0) ร้อยละ 3.0 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (190.1) ร้อยละ 2.0
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 4.1 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (64.8) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (68.0)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ทั้ง 3 ดัชนีมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ได้แก่ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและระบบเศรษฐกิจในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 70.0, 69.5 และ 69.2 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 70.8, 70.5 และ 70.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 86.6,87.1 และ 87.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน จะเห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตดีขึ้นเป็นลำดับในแต่ละเดือน แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเมื่อทราบกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นมากนัก
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท การลงทุน และการผลิตของบริษัท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2549
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 76.6 ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (81.3) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (87.9) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามดัชนีในเดือนกันยายน 2550 มีค่า 81.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน สิงหาคม 2550 (76.0) เนื่องจากยอดค่าสั่งซื้อและยอดขายในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการเร่งใช้โดยงบประมาณ รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้น ปริมาณการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในต้นทุนประกอบการที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่ได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า อุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำมันได้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาทดแทนการใช้น้ำมันในส่วนที่สามารถทดแทนได้ และมาตรการในการลดการผลิตสินค้า โดยให้มีการผลิตสินค้าตามการสั่งซื้อสินค้า เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาครัฐยังสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการได้จากการ เร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ/การบริโภค สร้างความมีประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐ ลดความซ้ำซ้อนของภาษีส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ส่งเสริมการแข่งขันด้านตลาดกับต่างประเทศและนโยบายการลงทุนในต่างประเทศที่ชัดเจน เร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เป็นต้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 114.0 ลดลงร้อยละ 1.3 จากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 115.5 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Real Broad Money) จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาน้ำมัน มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 114.5 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 114.6
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือน กันยายน 2550 อยู่ที่ระดับ 116.9 ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2550 (117.8) ร้อยละ 0.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 117.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่ง มีค่า 115.8
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure On Private Consumption) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีค่า 122.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (120.5) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (121.4) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ตามการลดลงของปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ทรงตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สามของปี 2550 (ตัวเลขเดือนกันยายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.05 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 36.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.6 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.43 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.2)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีจำนวน 5.90 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.16 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 38,998.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 36,049.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 2,948.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม 2550 มีมูลค่าการส่งออกถึง 13,911.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 9 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 86,618 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.32) สินค้าเกษตรกรรม 10,659 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.64) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7,021.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.35) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5,200.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.7) และสินค้าอื่นๆ 1,098.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.99)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.97 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 20.86 และสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.63 สำหรับสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.14
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 12,320.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 8,813.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 6,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 3,995.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 3,738 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 3,497.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3,433.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เคมีภัณฑ์ 2,879.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 2,854.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์ยาง 2,670.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 50,309.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.49 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ใน ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.74 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.19 โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.77 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 10.70 และตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 18.73
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 44,471.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.54) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 26,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.05) สินค้าเชื้อเพลิง 18,497.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.11) สินค้าอุปโภคบริโภค 8,369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.19) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.09) และสินค้าอื่นๆ 1,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.02)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 3.72 สินค้าทุนนำเข้าลดลงร้อยละ 0.13 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 และสินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.04
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.41 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 อาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.52
-แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าสำคัญ ปี 2550 โดยมีการประชุมหารือกับภาคเอกชนมาโดยตลอดทุกเดือน คาดว่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย ถึงแม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จะชะลอตัวลง แต่การส่งออกไปตลาดใหม่ กลับมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น อาทิ อินเดีย ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และจีน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์และผู่ส่งออกร่วมกันดำเนินมาตรการบุกเบิกและขยายตลาดทั้งในตลาดใหม่และตลากหลัก ดังนั้น จึงทำให้เชื่อมั่นว่าในปี 2550 จะสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม มีมูลค่ารวม 43,746.67 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 46.28 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 18,645.06 ล้านบาท และเดือนสิงหาคม 25,101.61 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 29,820.17 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 6,870.57 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดอื่นๆ 6,615.38 ล้านบาท และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 6,363.55 ล้านบาท สาขาบริการเป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 16,725.23 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 29,276.57 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศฮ่องกงและเยอรมัน มีเงินลงทุนสุทธิ 5,325.75 ล้านบาท และ2,481.91 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 358 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 184,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 165.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 131 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 70,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 111 โครงการ เป็นเงินลงทุน 73,300 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 56,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีเงินลงทุน 46,700 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 31,600 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกามีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 15 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 39,146 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 94 โครงการ 24,398 ล้านบาท ประเทศแคนาดา จำนวน 2 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,154 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 23 โครงการ เป็นเงินลงทุน 12,383 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-