อุตสาหกรรมยานยนต์
- วันที่ 14 สิงหาคม 2550 กระทรวงการคลังได้นำเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณา โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ซึ่งมีรายละเอียด (www.mof.go.th) ดังนี้
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับอัตราภาษี
ตามมูลค่าจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,000 cc. แต่ไม่เกิน 2,500 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 30
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,500 cc. แต่ไม่เกิน 3,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 35
ซึ่งรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
- มีการออกแบบที่ผลิตให้เป็นรถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ โดยตรง
- มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
- ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานมลพิษจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าระดับ มอก. 2160-2546
- วันที่ 1 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศ เรื่องการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน
มาตรฐานสากล (Eco-Car) และกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล โดยมีการเพิ่มความในหมวด 4
ประเภท 4.28 กิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-Car) และประเภท 4.29 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะสำหรับรถยนต์
ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2543 ลงวันที่ 1
สิงหาคม 2543 เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไขของกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
- วันที่ 2 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถตู้
โดยสารสาธารณะและการสนับสนุนให้มีการประกอบรถตู้โดยสารในประเทศ (www.mof.go.th) โดยมีรายละอียดดังนี้
- ปรับลดอัตราอากรขาเข้ารถตู้โดยสารสำเร็จรูป (เครื่องยนต์เบนซิน) ซึ่งมีจำนวนที่นั่งตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป (รวมคนขับ)
และมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภทย่อย 8702.90.99 ที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับ
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และนำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นรถยนต์โดยสารประจำทาง จากอัตราปัจจุบันร้อยละ 40
ลงเหลือร้อยละ 22 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยอัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึง (1) ค่าใช้จ่ายในการ
ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (2) ค่าใช้จ่ายการย้ายโรงงานเพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าไปจัดตั้งในเขตปลอดอากร
และ (3) การจูงใจเพื่อให้ราคารถตู้โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่ารถตู้โดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงปกติ ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตาม
เงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบที่นำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อผลิตหรือ
ประกอบเป็นรถยนต์โดยสาร ซึ่งมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภท 87.02 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
- วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิด
จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550)
- วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องวิธีการในการขออนุมัตินำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
โดยได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
- วันที่ 31 ตุลาคม 2550 กรมศุลกากรได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร
สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th )
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 22 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 6,272.10 ล้านบาท ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของ
ปี 2550 ร้อยละ 134.22 ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,242 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า
1,000 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการประกอบกิจการรถยนต์ ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุน
ของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส จำกัด ประเทศอินเดีย กับ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต? จำกัด โดยได้รับการส่งเสริมให้ประกอบรถปิกอัพ 1 ตัน มีเงิน
ลงทุน 1,302 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 482 คน มีปริมาณการผลิตรถปิกอัพ ประมาณ 35,000 คัน/ป? (รายละเอียดเพิ่มเติมที่
www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 933,406 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.06 และ 3.24 ตาม
ลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 1.72 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 495,895 คัน
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.13 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออกร้อยละ 78.99 และรถยนต์นั่งร้อย
ละ 21.01 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาด
เครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซี แสดงให้เห็นว่าการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกของ
ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 333,870 คัน เปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.01, 8.72 และ 3.12 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 9.14 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.72 และ 6.85 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลด
ลงร้อยละ 0.14
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 451,326 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 7.60 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 11.34
และ 7.07 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.78 และ 6.64 ตามลำดับ สำหรับ
รถยนต์ PPV รวม SUV ซึ่งการจำหน่ายขยายตัวสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย อีกทั้งรถยนต์ประเภทนี้
เป็นรถอเนกประสงค์สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ชอบความทันสมัย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์
จำนวน 158,812 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.34 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม
SUV รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.43, 13.01 และ 2.28 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อย
ละ 0.51 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์
ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32, 3.46, 2.93 และ 0.19 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์
(CBU) จำนวน 493,514 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.93 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
217,007.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 22.11 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก
จำนวน 186,241 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 81,700.33 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 38.35
คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.08 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.92 คิดเป็น
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.19
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87,348.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.63 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ
ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 37.00, 12.10 และ 7.34 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
ยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.02, 3.60 และ 0.39 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของ
ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 94,917.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 2.34 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก
สำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.34, 6.21 และ 5.66
ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหราชอาณาจักร มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.50, 10.15 และ 60.90
ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ มีแนวโน้มดี ได้แก่ รัสเซีย อัฟกานิสถาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการขยายตัวสูงถึงร้อย
ละ 108.56, 223.96 และ 160.10 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนของแรกปี 2550 มีมูลค่า
18,613.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.89 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่
ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 42.25, 15.61 และ 12.40 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุก
ไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65, 28.90 และ 79.76 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 6,338.81 และ 9,639.68 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 พบว่า การ
นำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.46 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2550 มี
มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,172.94 และ 3,605.73 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15 และ 28.65 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่
สามกับไตรมาสที่สองปี 2550 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 19.49 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.43 แหล่งนำเข้ารถ
ยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.02, 20.99 และ 16.56
ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และ 3.60 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ลดลง
ร้อยละ 62.86 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 75.38 และ 3.79
ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.02 และ 306.56 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 การผลิตขยายตัว อันเนื่องมาจากการ
ส่งออกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว อันเป็นผล
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านลบดังกล่าวยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน นอกจากนี้ธุรกิจที่เชื่อม
โยงของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ธุรกิจเช่าซื้อกำลังประสบปัญหาการชำระหนี้ของลูกค้า ทำให้บริษัทต้องเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสิน
เชื่อ อย่างไรก็ตามคาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 จะขยายตัว เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่าย บริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ
ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย อีกทั้งยังจะได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Expo 2007 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้น
เดือนธันวาคมนี้
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,241,513
คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 23.72 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,177,300 คัน ลดลงร้อย
ละ 24.87 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 64,213 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการผลิต
รถจักรยานยนต์จำนวน 395,061 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 21.61 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลด
ลงร้อยละ 22.55 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์รายหนึ่งได้รับคำสั่ง
ซื้อจากหน่วยงานราชการเพิ่มเติม หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.72 โดย
เป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และแบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 17.37 และ 3.96 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน
1,239,813 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 22.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 668,481
คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 11,273 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 560,059 คัน ลดลงร้อยละ 33.96, 29.76 และ 0.93 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 391,858 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลด
ลงร้อยละ 19.94 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 23.45, 22.20 และ 15.08 ตาม
ลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 7.10 โดยมีการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และแบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 10.24 และ 4.58 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.30
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มี
จำนวน 1,302,208 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 76,068 คัน และ CKD จำนวน 1,226,140 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.84 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 20,118.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.38 เมื่อ
พิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 427,696 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 5,983.05 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.62 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 0.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับ
ไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 9.42 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 29.07 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 45.58, 10.23 และ 6.46 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79, 177.73 และ 179.35 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์
คิดเป็นมูลค่า 1,741.71 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี
2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 512.53 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.78 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.32 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของ
ปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 92.32, 2.56 และ 1.66 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น
จีน และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52, 4.40 และ 1.63 ตามลำดับ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การส่งออกยังสามารถ
ขยายตัวได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 50 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี สำหรับปริมาณการจำหน่ายใน
ประเทศที่ชะลอตัวกว่าร้อยละ 20 เป็นเพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถได้ง่าย ซึ่ง
สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจำหน่ายโดยวิธีดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อนปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสสุด
ท้ายของปี 2550 จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามสภาะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี
มูลค่า 79,102.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 21.54 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 7,607.88
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 16.40 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,429.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 38.90 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
ยนต์ (OEM) มีมูลค่า 30,800.27 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 3,009.10 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า
2,022.89 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.31, 30.90 และ 37.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่
สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
20.35, 21.01 และ 14.89 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 105,044.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ร้อยละ 25.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ
17.27, 10.19 และ 8.83 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.38 และ 134.95
ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 15.68 จากสถิติข้อมูลมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
ยนต์ดังกล่าวข้างต้น แสดงถึงแนวโน้มการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่
ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้น
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ
ประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 10,400.77 และ 733.03 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.71 และ 54.21 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 2,507.37 และ 146.88 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 26.54 และ 34.11 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 23.45 และ 55.77 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2550 มีมูลค่า 15,756.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 39.55 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.22, 13.84 และ 11.76 ตามลำดับ โดยการส่งออก
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซียและกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.82 และ 13.52 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไป
ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 11.62 การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในปี 2550 คาดว่าจะยังคงขยายตัว แม้ว่าในไตรมาสที่ 3 มูลค่าการส่งออกจะชะลอ
ตัวลง อันเนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์นำเข้าส่วนประกอบรถจักรยานยนต์จากไทยลดลง
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.)
มีมูลค่า 84,084.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 5.13 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2550 ส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 29,584.61 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
4.41 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการ
นำเข้าร้อยละ 63.66, 6.81 และ 5.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 9.72 และ
16.78 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.69
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 7,410.30 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00 เมื่อพิจารณาไตรมาส
ที่สามของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,434.28 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 0.37 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.50, 21.74 และ 9.10 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.81 และ 6.71 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ
จากอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 31.23
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2549 2550 % เปลี่ยนแปลง
ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.
รถยนต์ 1,125,316 1,188,044 899,771 933,406 3.74
รถยนต์นั่ง 277,555 298,819 225,482 232,787 3.24
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 822,867 866,769 656,655 683,289 4.06
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,894 22,456 17,634 17,330 -1.72
รถจักรยานยนต์ 2,358,511 2,084,001 1,627,646 1,241,513 -23.72
ครอบครัว (2) 2,265,889 2,005,968 1,567,075 1,177,300 -24.87
สปอร์ต 92,622 78,033 60,571 64,213 6.01
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 305,901 333,870 9.14 302,297 333,870 10.44
รถยนต์นั่ง 75,267 87,851 16.72 75,729 87,851 16.01
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 224,808 240,201 6.85 220,926 240,201 8.72
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,826 5,818 -0.14 5,642 5,818 3.12
รถจักรยานยนต์ 414,620 395,061 -4.72 503,941 395,061 -21.61
ครอบครัว (2) 391,105 375,631 -3.96 484,998 375,631 -22.55
สปอร์ต 23,515 19,430 -17.37 18,943 19,430 2.57
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย.2549 ม.ค.-ก.ย.2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 703,410 682,161 488,450 451,326 -7.6
รถยนต์นั่ง 188,211 191,763 138,985 129,155 -7.07
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 426,635 423,395 300,080 266,038 -11.34
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 40,136 36,907 27,884 29,735 6.64
รถยนต์ PPV และ SUV 48,428 30,096 21,501 26,398 22.78
รถจักรยานยนต์ 2,108,078 2,061,610 1,593,676 1,239,813 -22.2
ครอบครัว 2,088,360 1,250,608 1,012,283 668,481 -33.96
สปอร์ต 19,718 20,683 16,049 11,273 -29.76
สกูตเตอร์ *** 790,319 565,344 560,059 -0.93
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : *** ปี 2548 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์รวมในการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
(1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 154,244 158,812 2.96 153,674 158,812 3.34
รถยนต์นั่ง 45,679 45,765 0.19 44,745 45,765 2.28
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 89,875 93,757 4.32 94,240 93,757 -0.51
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 9,848 10,189 3.46 9,016 10,189 13.01
รถยนต์ PPV และ SUV 8,842 9,101 2.93 5,673 9,101 60.43
รถจักรยานยนต์ 421,812 391,858 -7.1 489,482 391,858 -19.94
ครอบครัว 224,940 214,641 -4.58 280,383 214,641 -23.45
สปอร์ต 3,724 3,847 3.3 4,945 3,847 -22.2
สกูตเตอร์ 193,148 173,370 -10.24 204,154 173,370 -15.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. % เปลี่ยนแปลง
2549 2550
รถยนต์ (CBU) (คัน) 440,715 538,966 398,209 493,514 23.93
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 203,025.09 240,764.09 177,713.07 217,007.95 22.11
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 76,790.69 87,170.92 65,083.43 79,102.87 21.54
เครื่องยนต์ 7,903.79 8,357.93 6,536.16 7,607.88 16.4
ชิ้นส่วนอะไหล่ 4,100.47 5,453.40 3,908.83 5,429.35 38.9
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,337,586 1,575,666 1,124,161 1,302,208 15.84
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 22,768.99 24,535.24 17,901.97 20,118.60 12.38
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 11,428.22 13,076.26 9,310.75 10,400.77 11.71
ชิ้นส่วนอะไหล่ 729.56 699.26 475.34 733.03 54.21
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 152,753 186,241 21.92 134,618 186,241 38.35
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 66,860.98 81,700.33 22.19 60,038.08 81,700.33 36.08
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 25,591.70 30,800.27 20.35 23,279.69 30,800.27 32.31
เครื่องยนต์ 2,486.67 3,009.10 21.01 2,298.80 3,009.10 30.9
ชิ้นส่วนอะไหล่ 1,760.68 2,022.89 14.89 1,467.43 2,022.89 37.85
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 472,175 427,696 -9.42 363,633 427,696 17.62
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 8,435.52 5,983.05 -29.07 5,986.09 5,983.05 -0.05
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 3,275.48 2,507.37 -23.45 3,413.26 2,507.37 -26.54
ชิ้นส่วนอะไหล่ 332.1 146.88 -55.77 222.92 146.88 -34.11
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย.2549 ม.ค.-ก.ย.2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 13,466.52 9,462.01 7,498.23 6,338.81 -15.46
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,991.98 10,099.52 7,127.39 9,639.68 35.25
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 129,318.99 117,916.77 88,635.90 84,084.55 -5.13
รถจักรยานยนต์ 1,806.27 2,132.08 1,596.52 1,741.71 9.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 6,036.26 8,864.61 6,124.06 7,410.30 21
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์นั่ง 2,698.83 2,172.94 -19.49 1,937.53 2,172.94 12.15
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,994.07 3,605.73 20.43 2,802.79 3,605.73 28.65
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 28,334.63 29,584.61 4.41 29,515.30 29,584.61 0.23
รถจักรยานยนต์ 535.66 512.53 -4.32 549.82 512.53 -6.78
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 2,382.10 2,434.28 2.19 2,443.36 2,434.28 -0.37
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- วันที่ 14 สิงหาคม 2550 กระทรวงการคลังได้นำเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณา โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ซึ่งมีรายละเอียด (www.mof.go.th) ดังนี้
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับอัตราภาษี
ตามมูลค่าจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,000 cc. แต่ไม่เกิน 2,500 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 30
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,500 cc. แต่ไม่เกิน 3,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 35
ซึ่งรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
- มีการออกแบบที่ผลิตให้เป็นรถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ โดยตรง
- มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
- ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานมลพิษจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าระดับ มอก. 2160-2546
- วันที่ 1 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศ เรื่องการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน
มาตรฐานสากล (Eco-Car) และกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล โดยมีการเพิ่มความในหมวด 4
ประเภท 4.28 กิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-Car) และประเภท 4.29 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะสำหรับรถยนต์
ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2543 ลงวันที่ 1
สิงหาคม 2543 เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไขของกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
- วันที่ 2 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถตู้
โดยสารสาธารณะและการสนับสนุนให้มีการประกอบรถตู้โดยสารในประเทศ (www.mof.go.th) โดยมีรายละอียดดังนี้
- ปรับลดอัตราอากรขาเข้ารถตู้โดยสารสำเร็จรูป (เครื่องยนต์เบนซิน) ซึ่งมีจำนวนที่นั่งตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป (รวมคนขับ)
และมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภทย่อย 8702.90.99 ที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับ
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และนำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นรถยนต์โดยสารประจำทาง จากอัตราปัจจุบันร้อยละ 40
ลงเหลือร้อยละ 22 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยอัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึง (1) ค่าใช้จ่ายในการ
ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (2) ค่าใช้จ่ายการย้ายโรงงานเพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าไปจัดตั้งในเขตปลอดอากร
และ (3) การจูงใจเพื่อให้ราคารถตู้โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่ารถตู้โดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงปกติ ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตาม
เงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบที่นำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อผลิตหรือ
ประกอบเป็นรถยนต์โดยสาร ซึ่งมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภท 87.02 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
- วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิด
จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550)
- วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องวิธีการในการขออนุมัตินำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
โดยได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
- วันที่ 31 ตุลาคม 2550 กรมศุลกากรได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร
สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th )
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 22 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 6,272.10 ล้านบาท ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของ
ปี 2550 ร้อยละ 134.22 ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,242 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า
1,000 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการประกอบกิจการรถยนต์ ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุน
ของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส จำกัด ประเทศอินเดีย กับ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต? จำกัด โดยได้รับการส่งเสริมให้ประกอบรถปิกอัพ 1 ตัน มีเงิน
ลงทุน 1,302 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 482 คน มีปริมาณการผลิตรถปิกอัพ ประมาณ 35,000 คัน/ป? (รายละเอียดเพิ่มเติมที่
www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 933,406 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.06 และ 3.24 ตาม
ลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 1.72 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 495,895 คัน
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.13 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออกร้อยละ 78.99 และรถยนต์นั่งร้อย
ละ 21.01 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาด
เครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซี แสดงให้เห็นว่าการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกของ
ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 333,870 คัน เปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.01, 8.72 และ 3.12 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 9.14 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.72 และ 6.85 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลด
ลงร้อยละ 0.14
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 451,326 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 7.60 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 11.34
และ 7.07 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.78 และ 6.64 ตามลำดับ สำหรับ
รถยนต์ PPV รวม SUV ซึ่งการจำหน่ายขยายตัวสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย อีกทั้งรถยนต์ประเภทนี้
เป็นรถอเนกประสงค์สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ชอบความทันสมัย เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์
จำนวน 158,812 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.34 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม
SUV รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.43, 13.01 และ 2.28 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อย
ละ 0.51 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์
ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32, 3.46, 2.93 และ 0.19 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์
(CBU) จำนวน 493,514 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.93 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
217,007.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 22.11 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก
จำนวน 186,241 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 81,700.33 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 38.35
คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.08 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.92 คิดเป็น
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.19
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87,348.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.63 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ
ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 37.00, 12.10 และ 7.34 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
ยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.02, 3.60 และ 0.39 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของ
ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 94,917.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 2.34 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก
สำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.34, 6.21 และ 5.66
ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหราชอาณาจักร มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.50, 10.15 และ 60.90
ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ มีแนวโน้มดี ได้แก่ รัสเซีย อัฟกานิสถาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการขยายตัวสูงถึงร้อย
ละ 108.56, 223.96 และ 160.10 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนของแรกปี 2550 มีมูลค่า
18,613.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.89 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่
ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 42.25, 15.61 และ 12.40 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุก
ไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65, 28.90 และ 79.76 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 6,338.81 และ 9,639.68 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 พบว่า การ
นำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.46 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2550 มี
มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,172.94 และ 3,605.73 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15 และ 28.65 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่
สามกับไตรมาสที่สองปี 2550 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 19.49 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.43 แหล่งนำเข้ารถ
ยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.02, 20.99 และ 16.56
ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และ 3.60 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ลดลง
ร้อยละ 62.86 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 75.38 และ 3.79
ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.02 และ 306.56 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 การผลิตขยายตัว อันเนื่องมาจากการ
ส่งออกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว อันเป็นผล
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านลบดังกล่าวยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน นอกจากนี้ธุรกิจที่เชื่อม
โยงของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ธุรกิจเช่าซื้อกำลังประสบปัญหาการชำระหนี้ของลูกค้า ทำให้บริษัทต้องเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสิน
เชื่อ อย่างไรก็ตามคาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 จะขยายตัว เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่าย บริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ
ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย อีกทั้งยังจะได้รับผลดีจากการจัดงาน Motor Expo 2007 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้น
เดือนธันวาคมนี้
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,241,513
คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 23.72 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,177,300 คัน ลดลงร้อย
ละ 24.87 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 64,213 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการผลิต
รถจักรยานยนต์จำนวน 395,061 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 21.61 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลด
ลงร้อยละ 22.55 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์รายหนึ่งได้รับคำสั่ง
ซื้อจากหน่วยงานราชการเพิ่มเติม หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.72 โดย
เป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และแบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 17.37 และ 3.96 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน
1,239,813 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 22.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 668,481
คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 11,273 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 560,059 คัน ลดลงร้อยละ 33.96, 29.76 และ 0.93 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 391,858 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลด
ลงร้อยละ 19.94 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 23.45, 22.20 และ 15.08 ตาม
ลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 7.10 โดยมีการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และแบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 10.24 และ 4.58 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.30
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มี
จำนวน 1,302,208 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 76,068 คัน และ CKD จำนวน 1,226,140 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.84 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 20,118.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.38 เมื่อ
พิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 427,696 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 5,983.05 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.62 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 0.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับ
ไตรมาสที่สองของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 9.42 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 29.07 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 45.58, 10.23 และ 6.46 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79, 177.73 และ 179.35 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์
คิดเป็นมูลค่า 1,741.71 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี
2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 512.53 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.78 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.32 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของ
ปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 92.32, 2.56 และ 1.66 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น
จีน และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52, 4.40 และ 1.63 ตามลำดับ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การส่งออกยังสามารถ
ขยายตัวได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 50 ซีซี แต่ไม่เกิน 250 ซีซี สำหรับปริมาณการจำหน่ายใน
ประเทศที่ชะลอตัวกว่าร้อยละ 20 เป็นเพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถได้ง่าย ซึ่ง
สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจำหน่ายโดยวิธีดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อนปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสสุด
ท้ายของปี 2550 จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามสภาะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี
มูลค่า 79,102.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 21.54 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 7,607.88
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 16.40 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,429.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 38.90 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
ยนต์ (OEM) มีมูลค่า 30,800.27 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 3,009.10 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า
2,022.89 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.31, 30.90 และ 37.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่
สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
20.35, 21.01 และ 14.89 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 105,044.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ร้อยละ 25.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ
17.27, 10.19 และ 8.83 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.38 และ 134.95
ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 15.68 จากสถิติข้อมูลมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
ยนต์ดังกล่าวข้างต้น แสดงถึงแนวโน้มการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่
ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้น
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ
ประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 10,400.77 และ 733.03 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.71 และ 54.21 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 2,507.37 และ 146.88 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 26.54 และ 34.11 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 23.45 และ 55.77 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2550 มีมูลค่า 15,756.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 39.55 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.22, 13.84 และ 11.76 ตามลำดับ โดยการส่งออก
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซียและกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.82 และ 13.52 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไป
ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 11.62 การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในปี 2550 คาดว่าจะยังคงขยายตัว แม้ว่าในไตรมาสที่ 3 มูลค่าการส่งออกจะชะลอ
ตัวลง อันเนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์นำเข้าส่วนประกอบรถจักรยานยนต์จากไทยลดลง
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.)
มีมูลค่า 84,084.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 5.13 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2550 ส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 29,584.61 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
4.41 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการ
นำเข้าร้อยละ 63.66, 6.81 และ 5.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 9.72 และ
16.78 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.69
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 7,410.30 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00 เมื่อพิจารณาไตรมาส
ที่สามของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,434.28 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 0.37 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี
2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.50, 21.74 และ 9.10 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.81 และ 6.71 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ
จากอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 31.23
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2549 2550 % เปลี่ยนแปลง
ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.
รถยนต์ 1,125,316 1,188,044 899,771 933,406 3.74
รถยนต์นั่ง 277,555 298,819 225,482 232,787 3.24
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 822,867 866,769 656,655 683,289 4.06
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,894 22,456 17,634 17,330 -1.72
รถจักรยานยนต์ 2,358,511 2,084,001 1,627,646 1,241,513 -23.72
ครอบครัว (2) 2,265,889 2,005,968 1,567,075 1,177,300 -24.87
สปอร์ต 92,622 78,033 60,571 64,213 6.01
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 305,901 333,870 9.14 302,297 333,870 10.44
รถยนต์นั่ง 75,267 87,851 16.72 75,729 87,851 16.01
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 224,808 240,201 6.85 220,926 240,201 8.72
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,826 5,818 -0.14 5,642 5,818 3.12
รถจักรยานยนต์ 414,620 395,061 -4.72 503,941 395,061 -21.61
ครอบครัว (2) 391,105 375,631 -3.96 484,998 375,631 -22.55
สปอร์ต 23,515 19,430 -17.37 18,943 19,430 2.57
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย.2549 ม.ค.-ก.ย.2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 703,410 682,161 488,450 451,326 -7.6
รถยนต์นั่ง 188,211 191,763 138,985 129,155 -7.07
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 426,635 423,395 300,080 266,038 -11.34
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 40,136 36,907 27,884 29,735 6.64
รถยนต์ PPV และ SUV 48,428 30,096 21,501 26,398 22.78
รถจักรยานยนต์ 2,108,078 2,061,610 1,593,676 1,239,813 -22.2
ครอบครัว 2,088,360 1,250,608 1,012,283 668,481 -33.96
สปอร์ต 19,718 20,683 16,049 11,273 -29.76
สกูตเตอร์ *** 790,319 565,344 560,059 -0.93
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : *** ปี 2548 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์รวมในการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
(1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 154,244 158,812 2.96 153,674 158,812 3.34
รถยนต์นั่ง 45,679 45,765 0.19 44,745 45,765 2.28
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 89,875 93,757 4.32 94,240 93,757 -0.51
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 9,848 10,189 3.46 9,016 10,189 13.01
รถยนต์ PPV และ SUV 8,842 9,101 2.93 5,673 9,101 60.43
รถจักรยานยนต์ 421,812 391,858 -7.1 489,482 391,858 -19.94
ครอบครัว 224,940 214,641 -4.58 280,383 214,641 -23.45
สปอร์ต 3,724 3,847 3.3 4,945 3,847 -22.2
สกูตเตอร์ 193,148 173,370 -10.24 204,154 173,370 -15.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. % เปลี่ยนแปลง
2549 2550
รถยนต์ (CBU) (คัน) 440,715 538,966 398,209 493,514 23.93
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 203,025.09 240,764.09 177,713.07 217,007.95 22.11
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 76,790.69 87,170.92 65,083.43 79,102.87 21.54
เครื่องยนต์ 7,903.79 8,357.93 6,536.16 7,607.88 16.4
ชิ้นส่วนอะไหล่ 4,100.47 5,453.40 3,908.83 5,429.35 38.9
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,337,586 1,575,666 1,124,161 1,302,208 15.84
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 22,768.99 24,535.24 17,901.97 20,118.60 12.38
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 11,428.22 13,076.26 9,310.75 10,400.77 11.71
ชิ้นส่วนอะไหล่ 729.56 699.26 475.34 733.03 54.21
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 152,753 186,241 21.92 134,618 186,241 38.35
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 66,860.98 81,700.33 22.19 60,038.08 81,700.33 36.08
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 25,591.70 30,800.27 20.35 23,279.69 30,800.27 32.31
เครื่องยนต์ 2,486.67 3,009.10 21.01 2,298.80 3,009.10 30.9
ชิ้นส่วนอะไหล่ 1,760.68 2,022.89 14.89 1,467.43 2,022.89 37.85
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 472,175 427,696 -9.42 363,633 427,696 17.62
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 8,435.52 5,983.05 -29.07 5,986.09 5,983.05 -0.05
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 3,275.48 2,507.37 -23.45 3,413.26 2,507.37 -26.54
ชิ้นส่วนอะไหล่ 332.1 146.88 -55.77 222.92 146.88 -34.11
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 ม.ค.-ก.ย.2549 ม.ค.-ก.ย.2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 13,466.52 9,462.01 7,498.23 6,338.81 -15.46
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,991.98 10,099.52 7,127.39 9,639.68 35.25
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 129,318.99 117,916.77 88,635.90 84,084.55 -5.13
รถจักรยานยนต์ 1,806.27 2,132.08 1,596.52 1,741.71 9.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 6,036.26 8,864.61 6,124.06 7,410.30 21
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์นั่ง 2,698.83 2,172.94 -19.49 1,937.53 2,172.94 12.15
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,994.07 3,605.73 20.43 2,802.79 3,605.73 28.65
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 28,334.63 29,584.61 4.41 29,515.30 29,584.61 0.23
รถจักรยานยนต์ 535.66 512.53 -4.32 549.82 512.53 -6.78
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 2,382.10 2,434.28 2.19 2,443.36 2,434.28 -0.37
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-