1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.60 78.16 และ
31.32 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดส่งออกอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ยังคง
ปรับตัวลดลงเนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเก่าไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ และถูกตัดสิทธิ์ GSP ในตลาดหลักสหรัฐในปี 2550 นี้
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.00 และ 33.60 ตามลำดับ เนื่องจากการ
ขยายกำลังการผลิต HDD ของบางบริษัทเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมในไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่า 4,035.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.31
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูง
และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 678.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 59.57 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องมาจากการส่งออกไปยังตลาดอียู ที่มีอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ ทำให้การส่งออกไปอียูใน
ช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าส่งออก 890.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.62
ขณะที่มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 7,621.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.24
เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.59 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ถึงแม้เศรษฐกิจโดยรวม
ของตลาดสหรัฐยังคงชะลอตัวแต่มูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาดนี้ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน นอกจากนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นในตลาดจีนค่อนข้างมาก ถึงร้อยละ 62.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจาก
การขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้าง
ชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย รวมถึงในช่วงปลายปีสินค้ากลุ่มภาพและเสียงจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนว
โน้มขยายตัวร้อยละ 1.86 — 4.14 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่
เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 25.61%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 7.47%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็น
หลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นใน HDD และ IC ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2550 ของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น
23.12 — 24.27%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในปี 2550 เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท
HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยาย
ตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 33.03
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.92%YoY
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น กลางปี 2550 อียูมีผลบังคับ
ใช้ REACH ในการขึ้นและจดทะเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็น
การกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 127.15 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 4.21สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบ
แยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.22 23.49 22.67 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.60 78.16 และ
31.32 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว ที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้า
แบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น
LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้ ราคาขายของสินค้าเครื่องรับ
โทรทัศน์ที่เป็น LCD มีราคาต่ำลงประมาณ 20-30% ขณะที่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีแบบเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงเช่น
กัน สนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหาวัตถุดิบสำคัญอย่าง LCD panel ที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก นอก
จากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอด CRT ที่ยังคงใช้ในการผลิตโทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อส่งออกในบางประเทศ อาจขาดแคลนได้ เนื่องจากขณะนี้โรง
งานผลิตส่วนประกอบนี้ปิดตัวลงทั้งหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ากึ่งสำเร็จรูปมาประกอบและส่งออกอีกต่อหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พบว่า ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายมีการทบทวนแผนการลงทุนในสินค้า
บางรายการ เช่น การผลิตไมโครเวฟ อาจจะย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามต้นปี 2551 และคอมเพรสเซอร์อาจย้ายไปผลิตที่อินเดีย เป็นต้น (“แอล
จีเตรียมชะลอแผนการลงทุนในไทย”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 16 ก.ค.50, หน้า 34) ทั้งนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่อาจจะลดลง
ได้ ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้การขยายตัวของเตาไมโครเวฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.04 มูลค่าส่งออก 395.41 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ การขาย
ในประเทศก็อาจมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเบาบางลงจากพฤติกรรมในอดีตที่ผู้ผลิตรายใหญ่มักแข่งขันด้านราคาในห้างโมเดริ์นเทรดต่างๆ เพื่อ
หวังเพิ่มปริมาณจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ประมาณ 1,990 ถึงประมาณ 3,500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ระบบและความจุ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลักเพียง 7
ราย ได้แก่ Sharp, Toshiba, Samsung, LG, Haier, Mitron, Best Plus
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 127.15 -4.21 5.34
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต 228.35 -23.49 58.6
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 245.31 -22.67 78.16
คอมเพรสเซอร์ 143.47 -5.93 7.62
พัดลม 24.23 -32.22 -7.89
ตู้เย็น 238.49 10.27 9.44
กระติกน้ำร้อน 167.22 47.35 31.32
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 113.01 19.85 23.07
สายไฟฟ้า 143.44 10.5 9.88
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 30.72 -7.41 -36.04
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 310.32 2.69 -1.29
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 65.2 -3.83 -10.4
- เครื่องปรับอากาศ 80.7 12.24 0.88
- ไมโครเวฟ 20.4 -23.9 -12.8
- หม้อหุงข้าว 83.8 -9.01 -1.87
- ตู้เย็น 52.1 -13.2 -22.4
- พัดลม 69.9 -13.2 -11.6
- เครื่องซักผ้า 57.1 6.33 -10.5
- เครื่องรับโทรทัศน์สี - - -
- LCD 886 4.65 29.75
- เครื่องเล่น DVD 17 -29.2 -41.4
- กล้องวีดีโอ Digital 93 -2.72 -5.01
- กล้องถ่ายรูป Digital 529 3.83 29.32
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 3 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 10.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD ไมโครเวฟ และตู้เย็น ลดลงร้อยละ 29.17
23.88 และ 13.17 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD ตู้เย็น
และไมโครเวฟ ลดลง ร้อยละ 41.38 22.35 และ 12.82
จากดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวลดลงในกลุ่ม
เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันในกลุ่มนี้มีการผลิตในประเทศค่อนข้างน้อย และย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและประเทศอื่นๆมากขึ้น ประกอบ
กับเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นชะลอตัว แต่ในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ซึ่งยังขยายตัวได้ดีอยู่ ยกเว้น เครื่องเล่น DVD
การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.97 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 30.78 26.67 และ 24.60 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ เครื่อง
ปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.38 44.82 และ 32.66 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดโดยรวมของ
เครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอียู ใน 9 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 78.62
ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ เช่น สเปน อิตาลี เป็นต้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว ทำให้การส่งออก
กระเตื้องขึ้นหลังจากปีก่อนมีชะลอบ้างจากมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประกาศใช้ในช่วงกลางปี (RoHS) อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอ
ตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงาน
โครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในช่วง 9
เดือนแรก 59.40% นอกจากนี้ การผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้าง และเริ่มสู่การผลิตเทคโนโลยี
ใหม่ ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 3 ปรับตัวลดลงเช่นกัน ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29
นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 7,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย หากขนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้จอ LCD และ
plasma TV ที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงด้วย ส่วนใหญ่วางขายผ่าน dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น
PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 139.59 -8.97 11.41
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต 231.9 -26.67 44.82
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 256.49 -24.6 60.38
คอมเพรสเซอร์ 158.86 -11.8 8.5
พัดลม 28.38 -30.78 -6.03
ตู้เย็น 246.48 10.44 10.81
กระติกน้ำร้อน 161.05 40 32.66
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 103.12 9.84 14.21
สายไฟฟ้า 129.45 8.47 4.49
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 29.77 -14.01 -38.8
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 309.17 5.04 -2.09
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 93.5 0 -5.65
- เครื่องปรับอากาศ 105 25.03 3.94
- ไมโครเวฟ 102 -2.4 1.5
- หม้อหุงข้าว 100 -9.48 -2.81
- ตู้เย็น 79.4 -8.1 -13
- พัดลม 83 -4.71 -5.47
- เครื่องซักผ้า 104 -0.96 -4.69
- เครื่องรับโทรทัศน์ 17.3 -12.6 -32.7
- LCD 797 6.38 32.46
- เครื่องเล่น DVD 205 -10.5 4.49
- กล้องวีดีโอ Digital 116 -0.6 0.7
- กล้องถ่ายรูป Digital 628 2.89 27.05
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ
5.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่น DVD และ หม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ
12.63 10.54 และ 9.48 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับ
โทรทัศน์ ตู้เย็น และ พัดลม ลดลงร้อยละ 32.68 13.03 และ 5.47
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่า 4,035.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ
0.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรก และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 678.82 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 18.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น 59.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องมา
จากการส่งออกไปยังตลาดอียู ที่มีอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ ทำให้การส่งออกไปอียูในช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าส่งออก 890.73 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.62 และเนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในช่วงการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ยอดส่งออกใน
ช่วงดังกล่าวของปีที่แล้ว มีฐานนตัวเลขที่ต่ำกว่าปกติ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ถึงร้อยละ 65.59 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 184.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้
ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ในปีที่ผ่านๆมา นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และ
ยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อผลิตสำหรับส่งออกในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
มูลค่าส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,035.17 -0.31 5.59
- เครื่องปรับอากาศ 678.82 -18.2 59.57
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า -
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 385.24 12.16 4.21
- ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 234.89 9.72 19.44
- กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 206.37 -5.22 11.24
- สายไฟ ชุดสายไฟ 193.47 27.49 -0.67
- ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 187.95 19.11 5.98
- เครื่องรับโทรทัศน์สี 184.76 -5.59 -65.59
- มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 167.51 5.93 2.22
- เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 152.42 -7.42 19.94
- Power supply PC 142.11 8.25 -6.09
ที่มา กรมศุลกากร
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 29.13 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 36.00 และ 33.60 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ขยายตัวร้อยละ 45.98
ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 2,440.25 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
(Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 33.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.92% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบ
โตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะ consumer electronics ประเภทโทรศัพท์มือถือ แต่ต้อง
ขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็ก
ลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท และที่สำคัญต้องเข้าสู่ตลาดก่อนเพื่อตักตวงยอดขายก่อน
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ
29.99 ซึ่งโรงงานสุดท้ายได้ปิดตัวในช่วงไตรมาส 3/2550 โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิต
ลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลงมาก
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 416.3 25.2 29.13
Electric tubes Cathode For color TV 29.05 2.94 -30
Semiconductor devices Transisters 141.8 13.2 16.79
Monolithic integrated curcuits 157.4 5.35 -2.86
Other IC 230.5 33.8 36
Hard Disk Drive 728.5 27 33.6
Printer 24.21 -5.7 -38.3
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51 และเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.53 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 34.88
และ 31.32 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 67.82 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยาย
ตัวร้อยละ 5.90 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.22 เนื่องมาจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 GDP เติบโตเพียง 2.6 % เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13 และ โทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 11 ทั้งนี้เนื่องจากเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง
จากยอดการจำหน่ายส่วนประกอบหน่วยความจำ (Nand Flash Drive) ที่มีอัตราการขยายตัวของยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 จากไตรมาสก่อน
สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ภาพรวมของอัตราการเจริญเติบโตของรายรับ (worldwide revenue) จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ในช่วงปี 2004-2006 พบว่า อัตราการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นไปในอัตราที่ชะลอตัว กล่าวคือ อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี 2004-2006 ปรับตัวลดลง
ดังนี้ 11% 8% และ 7.7% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากราคาขายเฉลี่ยตกต่ำลง ตลาดหลักสหรัฐชะลอตัวลง (GDP Growth ช่วงปี 2004-2006 ลดลง
จาก 3.6% 3.1% 2.9% ตามลำดับ ) อย่างไรก็ตาม ก็มีการปรับเปลี่ยน/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าสูงขึ้นเพื่อการแทนที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันเสมอ
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 414.1 25.5 29.53
- Electric tubes Cathode For color TV 24.53 -2.06 -52.4
- Semiconductor devices Transisters 143 12.6 11.27
- Inegrated circuits (IC) 153.5 5.45 -3.83
- Monolithic integrated curcuits
- Inegrated circuits (IC) 201.4 28.6 31.32
- Other IC
- Hard Disk Drive 734.5 27.7 34.88
- Printer 25.34 -5.33 -35.8
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 3 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี2550 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 67.82 13.22 5.9
-US 11.42 15 -2.22
-EU 10.6 10.16 3.51
-Japan 12.77 9.77 5.78
-Asia Pacific 33.03 15.02 9.92
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 7,621.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.24 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.59
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.22 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และอียูร้อยละ 75.75 และ 23.45 ตามลำดับ
ตารางที่ 9 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,621.97 13.24 11.59
- อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,310.57 24.37 15.22
- วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 2,126.15 -1.8 13.33
- วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 313.37 21.77 14.73
- เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 231.47 -5.58 8.02
- ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 215.57 -13.64 -9.35
- ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (CAPACITOR),Resistor 111.57 33.04 29.61
- เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 91.55 18.18 -44.06
- เครื่องโทรศัพท์ 83.62 9.73 -6.96
- ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 56.55 15.82 -28.61
- เครื่องโทรสาร 34.57 15.38 -20.93
ที่มา กรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 และ ปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจาก
การขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้าง
ชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย รวมถึงในช่วงปลายปีสินค้ากลุ่มภาพและเสียงขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้ม
ขยายตัวร้อยละ 1.86 — 4.14 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่
เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 25.61%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 7.47%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็น
หลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2550 ของปริมาณการจำหน่ายสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 23.12 — 24.27%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในปี 2550 เนื่องจากการขยายกำลัง
การผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้า
สำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3
ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 33.03 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.92%YoY
แนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006 - 2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาด
หลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ทำให้
ราคาต่ำลงบ้างเมื่อเป็นสินค้าเก่า และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยสูงขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น กลางปี 2550 อียูมีผลบังคับ
ใช้ REACH ในการขึ้นและจดทะเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็น
การกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.60 78.16 และ
31.32 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดส่งออกอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ยังคง
ปรับตัวลดลงเนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเก่าไปยังเทคโนโลยีใหม่ๆ และถูกตัดสิทธิ์ GSP ในตลาดหลักสหรัฐในปี 2550 นี้
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.00 และ 33.60 ตามลำดับ เนื่องจากการ
ขยายกำลังการผลิต HDD ของบางบริษัทเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมในไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่า 4,035.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.31
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูง
และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 678.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 59.57 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องมาจากการส่งออกไปยังตลาดอียู ที่มีอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ ทำให้การส่งออกไปอียูใน
ช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าส่งออก 890.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.62
ขณะที่มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 7,621.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.24
เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.59 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ถึงแม้เศรษฐกิจโดยรวม
ของตลาดสหรัฐยังคงชะลอตัวแต่มูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาดนี้ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน นอกจากนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นในตลาดจีนค่อนข้างมาก ถึงร้อยละ 62.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจาก
การขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้าง
ชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย รวมถึงในช่วงปลายปีสินค้ากลุ่มภาพและเสียงจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนว
โน้มขยายตัวร้อยละ 1.86 — 4.14 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่
เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 25.61%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 7.47%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็น
หลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นใน HDD และ IC ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2550 ของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น
23.12 — 24.27%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในปี 2550 เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท
HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยาย
ตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 33.03
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.92%YoY
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น กลางปี 2550 อียูมีผลบังคับ
ใช้ REACH ในการขึ้นและจดทะเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็น
การกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 127.15 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 4.21สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบ
แยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.22 23.49 22.67 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.60 78.16 และ
31.32 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว ที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้า
แบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น
LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้ ราคาขายของสินค้าเครื่องรับ
โทรทัศน์ที่เป็น LCD มีราคาต่ำลงประมาณ 20-30% ขณะที่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีแบบเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงเช่น
กัน สนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหาวัตถุดิบสำคัญอย่าง LCD panel ที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก นอก
จากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอด CRT ที่ยังคงใช้ในการผลิตโทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อส่งออกในบางประเทศ อาจขาดแคลนได้ เนื่องจากขณะนี้โรง
งานผลิตส่วนประกอบนี้ปิดตัวลงทั้งหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ากึ่งสำเร็จรูปมาประกอบและส่งออกอีกต่อหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พบว่า ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายมีการทบทวนแผนการลงทุนในสินค้า
บางรายการ เช่น การผลิตไมโครเวฟ อาจจะย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามต้นปี 2551 และคอมเพรสเซอร์อาจย้ายไปผลิตที่อินเดีย เป็นต้น (“แอล
จีเตรียมชะลอแผนการลงทุนในไทย”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 16 ก.ค.50, หน้า 34) ทั้งนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่อาจจะลดลง
ได้ ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้การขยายตัวของเตาไมโครเวฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.04 มูลค่าส่งออก 395.41 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ การขาย
ในประเทศก็อาจมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเบาบางลงจากพฤติกรรมในอดีตที่ผู้ผลิตรายใหญ่มักแข่งขันด้านราคาในห้างโมเดริ์นเทรดต่างๆ เพื่อ
หวังเพิ่มปริมาณจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ประมาณ 1,990 ถึงประมาณ 3,500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ระบบและความจุ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลักเพียง 7
ราย ได้แก่ Sharp, Toshiba, Samsung, LG, Haier, Mitron, Best Plus
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 127.15 -4.21 5.34
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต 228.35 -23.49 58.6
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 245.31 -22.67 78.16
คอมเพรสเซอร์ 143.47 -5.93 7.62
พัดลม 24.23 -32.22 -7.89
ตู้เย็น 238.49 10.27 9.44
กระติกน้ำร้อน 167.22 47.35 31.32
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 113.01 19.85 23.07
สายไฟฟ้า 143.44 10.5 9.88
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 30.72 -7.41 -36.04
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 310.32 2.69 -1.29
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 65.2 -3.83 -10.4
- เครื่องปรับอากาศ 80.7 12.24 0.88
- ไมโครเวฟ 20.4 -23.9 -12.8
- หม้อหุงข้าว 83.8 -9.01 -1.87
- ตู้เย็น 52.1 -13.2 -22.4
- พัดลม 69.9 -13.2 -11.6
- เครื่องซักผ้า 57.1 6.33 -10.5
- เครื่องรับโทรทัศน์สี - - -
- LCD 886 4.65 29.75
- เครื่องเล่น DVD 17 -29.2 -41.4
- กล้องวีดีโอ Digital 93 -2.72 -5.01
- กล้องถ่ายรูป Digital 529 3.83 29.32
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 3 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 10.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD ไมโครเวฟ และตู้เย็น ลดลงร้อยละ 29.17
23.88 และ 13.17 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD ตู้เย็น
และไมโครเวฟ ลดลง ร้อยละ 41.38 22.35 และ 12.82
จากดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวลดลงในกลุ่ม
เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันในกลุ่มนี้มีการผลิตในประเทศค่อนข้างน้อย และย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและประเทศอื่นๆมากขึ้น ประกอบ
กับเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นชะลอตัว แต่ในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ซึ่งยังขยายตัวได้ดีอยู่ ยกเว้น เครื่องเล่น DVD
การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.97 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 30.78 26.67 และ 24.60 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ เครื่อง
ปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และกระติกน้ำร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.38 44.82 และ 32.66 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดโดยรวมของ
เครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอียู ใน 9 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 78.62
ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ เช่น สเปน อิตาลี เป็นต้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว ทำให้การส่งออก
กระเตื้องขึ้นหลังจากปีก่อนมีชะลอบ้างจากมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประกาศใช้ในช่วงกลางปี (RoHS) อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอ
ตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงาน
โครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในช่วง 9
เดือนแรก 59.40% นอกจากนี้ การผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้าง และเริ่มสู่การผลิตเทคโนโลยี
ใหม่ ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 3 ปรับตัวลดลงเช่นกัน ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29
นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 7,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย หากขนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้จอ LCD และ
plasma TV ที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงด้วย ส่วนใหญ่วางขายผ่าน dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น
PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 139.59 -8.97 11.41
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต 231.9 -26.67 44.82
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 256.49 -24.6 60.38
คอมเพรสเซอร์ 158.86 -11.8 8.5
พัดลม 28.38 -30.78 -6.03
ตู้เย็น 246.48 10.44 10.81
กระติกน้ำร้อน 161.05 40 32.66
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 103.12 9.84 14.21
สายไฟฟ้า 129.45 8.47 4.49
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 29.77 -14.01 -38.8
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 309.17 5.04 -2.09
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 93.5 0 -5.65
- เครื่องปรับอากาศ 105 25.03 3.94
- ไมโครเวฟ 102 -2.4 1.5
- หม้อหุงข้าว 100 -9.48 -2.81
- ตู้เย็น 79.4 -8.1 -13
- พัดลม 83 -4.71 -5.47
- เครื่องซักผ้า 104 -0.96 -4.69
- เครื่องรับโทรทัศน์ 17.3 -12.6 -32.7
- LCD 797 6.38 32.46
- เครื่องเล่น DVD 205 -10.5 4.49
- กล้องวีดีโอ Digital 116 -0.6 0.7
- กล้องถ่ายรูป Digital 628 2.89 27.05
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ
5.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่น DVD และ หม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ
12.63 10.54 และ 9.48 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับ
โทรทัศน์ ตู้เย็น และ พัดลม ลดลงร้อยละ 32.68 13.03 และ 5.47
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่า 4,035.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ
0.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรก และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 678.82 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 18.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น 59.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องมา
จากการส่งออกไปยังตลาดอียู ที่มีอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ ทำให้การส่งออกไปอียูในช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าส่งออก 890.73 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.62 และเนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในช่วงการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ยอดส่งออกใน
ช่วงดังกล่าวของปีที่แล้ว มีฐานนตัวเลขที่ต่ำกว่าปกติ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ถึงร้อยละ 65.59 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 184.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้
ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ในปีที่ผ่านๆมา นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และ
ยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อผลิตสำหรับส่งออกในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
มูลค่าส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,035.17 -0.31 5.59
- เครื่องปรับอากาศ 678.82 -18.2 59.57
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า -
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 385.24 12.16 4.21
- ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 234.89 9.72 19.44
- กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 206.37 -5.22 11.24
- สายไฟ ชุดสายไฟ 193.47 27.49 -0.67
- ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 187.95 19.11 5.98
- เครื่องรับโทรทัศน์สี 184.76 -5.59 -65.59
- มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 167.51 5.93 2.22
- เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 152.42 -7.42 19.94
- Power supply PC 142.11 8.25 -6.09
ที่มา กรมศุลกากร
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 29.13 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 36.00 และ 33.60 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ขยายตัวร้อยละ 45.98
ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 2,440.25 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
(Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 33.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.92% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบ
โตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะ consumer electronics ประเภทโทรศัพท์มือถือ แต่ต้อง
ขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็ก
ลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท และที่สำคัญต้องเข้าสู่ตลาดก่อนเพื่อตักตวงยอดขายก่อน
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ
29.99 ซึ่งโรงงานสุดท้ายได้ปิดตัวในช่วงไตรมาส 3/2550 โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิต
ลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลงมาก
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 416.3 25.2 29.13
Electric tubes Cathode For color TV 29.05 2.94 -30
Semiconductor devices Transisters 141.8 13.2 16.79
Monolithic integrated curcuits 157.4 5.35 -2.86
Other IC 230.5 33.8 36
Hard Disk Drive 728.5 27 33.6
Printer 24.21 -5.7 -38.3
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51 และเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.53 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 34.88
และ 31.32 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 67.82 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยาย
ตัวร้อยละ 5.90 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.22 เนื่องมาจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 GDP เติบโตเพียง 2.6 % เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13 และ โทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 11 ทั้งนี้เนื่องจากเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง
จากยอดการจำหน่ายส่วนประกอบหน่วยความจำ (Nand Flash Drive) ที่มีอัตราการขยายตัวของยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 จากไตรมาสก่อน
สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ภาพรวมของอัตราการเจริญเติบโตของรายรับ (worldwide revenue) จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ในช่วงปี 2004-2006 พบว่า อัตราการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นไปในอัตราที่ชะลอตัว กล่าวคือ อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี 2004-2006 ปรับตัวลดลง
ดังนี้ 11% 8% และ 7.7% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากราคาขายเฉลี่ยตกต่ำลง ตลาดหลักสหรัฐชะลอตัวลง (GDP Growth ช่วงปี 2004-2006 ลดลง
จาก 3.6% 3.1% 2.9% ตามลำดับ ) อย่างไรก็ตาม ก็มีการปรับเปลี่ยน/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าสูงขึ้นเพื่อการแทนที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันเสมอ
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 414.1 25.5 29.53
- Electric tubes Cathode For color TV 24.53 -2.06 -52.4
- Semiconductor devices Transisters 143 12.6 11.27
- Inegrated circuits (IC) 153.5 5.45 -3.83
- Monolithic integrated curcuits
- Inegrated circuits (IC) 201.4 28.6 31.32
- Other IC
- Hard Disk Drive 734.5 27.7 34.88
- Printer 25.34 -5.33 -35.8
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 3 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี2550 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 67.82 13.22 5.9
-US 11.42 15 -2.22
-EU 10.6 10.16 3.51
-Japan 12.77 9.77 5.78
-Asia Pacific 33.03 15.02 9.92
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 7,621.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.24 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.59
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.22 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และอียูร้อยละ 75.75 และ 23.45 ตามลำดับ
ตารางที่ 9 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,621.97 13.24 11.59
- อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,310.57 24.37 15.22
- วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 2,126.15 -1.8 13.33
- วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 313.37 21.77 14.73
- เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 231.47 -5.58 8.02
- ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 215.57 -13.64 -9.35
- ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (CAPACITOR),Resistor 111.57 33.04 29.61
- เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 91.55 18.18 -44.06
- เครื่องโทรศัพท์ 83.62 9.73 -6.96
- ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 56.55 15.82 -28.61
- เครื่องโทรสาร 34.57 15.38 -20.93
ที่มา กรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 และ ปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.83 — 8.03 ทั้งนี้เนื่องจาก
การขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้าง
ชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย รวมถึงในช่วงปลายปีสินค้ากลุ่มภาพและเสียงขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้ม
ขยายตัวร้อยละ 1.86 — 4.14 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่
เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 25.61%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 7.47%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็น
หลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของ
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 15.60 - 27.82 ส่วนใหญ่ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2550 ของปริมาณการจำหน่ายสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 23.12 — 24.27%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในปี 2550 เนื่องจากการขยายกำลัง
การผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้า
สำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3
ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 33.03 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.92%YoY
แนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006 - 2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาด
หลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ทำให้
ราคาต่ำลงบ้างเมื่อเป็นสินค้าเก่า และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยสูงขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น กลางปี 2550 อียูมีผลบังคับ
ใช้ REACH ในการขึ้นและจดทะเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็น
การกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-