การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 12,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,029 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 12,959 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.93
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,676 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 2.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q3/2549 Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q3/50กับQ2/50 Q3/50กับQ3/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 9,827 10,188 10,480 11,189 12,592 12.54 28.1
1.2 อินทรีย์ * 29 22,266 21,848 23,120 22,269 22,029 -1.08 -1.06
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 15,571 13,396 14,834 16,314 14,372 -11.9 -7.7
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 10,628 4,889 9,734 15,415 12,959 -15.9 21.9
2.2 สีสกัดใช้ในการ-
ฟอกหนังหรือย้อมสี 32 8,745 7,826 7,955 9,353 8,743 -6.52 -0.02
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,569 3,750 4,575 4,776 4,676 -2.09 2.34
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,800 3,598 3,759 3,725 4,295 15.3 13
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,077 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.36 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,987 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 657 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q3/2549 Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q2/50กับQ1/50 Q2/50กับQ2/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,560 2,598 2,491 2,438 3,158 29.53 23.36
1.2 อินทรีย์ * 29 4,802 4,568 4,735 6,109 5,077 -16.89 5.73
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,202 3,434 3,678 3,919 4,295 9.59 34.13
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 647 597 339 530 657 24 1.55
2.2 สีสกัดใช้ในการ- 32 2,223 2,186 2,206 2,320 2,387 2.89 7.38
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,513 6,991 7,820 8,027 7,987 -0.5 6.31
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,208 2,861 2,610 12,611 3,279 -74 2.21
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ : จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือ
โอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และ
ตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้ผลประโยชน์กับการที่ค่าเงิน
บาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภาย
ใต้เครื่องหมายการค้าของตนเองภายในประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควร
ที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี: มีการนำเข้าลดลงเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูก อีกทั้งราคาปุ๋ยเคมีแพงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น
ส่งผลให้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากเกษตรกรสามารถที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้ และราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร:ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศ
คู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรมสำเร็จรูปจาก
ต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 12,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,029 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 12,959 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.93
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,676 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 2.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q3/2549 Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q3/50กับQ2/50 Q3/50กับQ3/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 9,827 10,188 10,480 11,189 12,592 12.54 28.1
1.2 อินทรีย์ * 29 22,266 21,848 23,120 22,269 22,029 -1.08 -1.06
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 15,571 13,396 14,834 16,314 14,372 -11.9 -7.7
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 10,628 4,889 9,734 15,415 12,959 -15.9 21.9
2.2 สีสกัดใช้ในการ-
ฟอกหนังหรือย้อมสี 32 8,745 7,826 7,955 9,353 8,743 -6.52 -0.02
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,569 3,750 4,575 4,776 4,676 -2.09 2.34
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,800 3,598 3,759 3,725 4,295 15.3 13
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,077 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.36 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,987 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 657 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q3/2549 Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q2/50กับQ1/50 Q2/50กับQ2/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,560 2,598 2,491 2,438 3,158 29.53 23.36
1.2 อินทรีย์ * 29 4,802 4,568 4,735 6,109 5,077 -16.89 5.73
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,202 3,434 3,678 3,919 4,295 9.59 34.13
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 647 597 339 530 657 24 1.55
2.2 สีสกัดใช้ในการ- 32 2,223 2,186 2,206 2,320 2,387 2.89 7.38
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,513 6,991 7,820 8,027 7,987 -0.5 6.31
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,208 2,861 2,610 12,611 3,279 -74 2.21
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ : จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือ
โอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และ
ตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้ผลประโยชน์กับการที่ค่าเงิน
บาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภาย
ใต้เครื่องหมายการค้าของตนเองภายในประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควร
ที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี: มีการนำเข้าลดลงเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูก อีกทั้งราคาปุ๋ยเคมีแพงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น
ส่งผลให้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากเกษตรกรสามารถที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้ และราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร:ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศ
คู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรมสำเร็จรูปจาก
ต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-