อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)
ไตรมาส 3 ปี 2550 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส
สาเหตุหลัก ได้แก่ ความกังวลเรื่องความตึงตัวของปริมาณน้ำมันจากความไม่สงบทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากพายุ
เฮอริเคนที่พัดเข้าสู่อ่าวเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกามีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาเอทิลีนโดย
เฉลี่ยของตลาดเอเชียมีการปรับตัวผันผวนตามราคาแนฟธา สาเหตุมาจากปริมาณเอทิลีนในตลาดมีไม่มากจากการปิดซ่อมบำรุงของแครกเกอร์บางแห่ง
อีกทั้งเอทิลีนจากอิหร่านที่ขายสู่ตลาด spot มีน้อยลง
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นต่อเนื่องถึงช่วงกลางไตร
มาส ส่วนในช่วงปลายไตรมาสตลาดค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว National Holiday ในจีน, ช่วง Mid-Autumn
Festival ในเกาหลีใต้และไต้หวัน และเข้าสู่ช่วงเดือนรอมาดอนของประเทศมุสลิม ทำให้กิจกรรมการซื้อขายเบาบางมาก
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีการร่วมลงทุนกับประเทศเวียดนามในโครงการผลิต Chlorine, EDC
และ VCM ในประเทศเวียดนาม กลังการผลิต 250,000 300,000 และ 345,000 ตัน/ปี ตามลำดับ คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ในปี 2555
และได้ชะลอการลงทุนสร้างหน่วยผลิต LDPE/EVA และหันไปขยายกำลังการผลิต HDPE เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เอทิลีน โดย
ลงทุนซื้อที่ดินในมาบตาพุดมูลค่า 327.74 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในอนาคต ทำให้กำลังการผลิต HDPE เพิ่มจาก 250,000 ตัน/ปี
เป็น 500,000 ตัน/ปี ในไตมาสสุดท้ายของปี 2552 และ โครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 6 (Gas Separation Plant — GSP 6) เพิ่ม
เติมจากหน่วยแยกอีเทน (Ethane Separation Unit) โดยจะตั้งอยู่ใน อ.มาบตาพุด จ.ระยอง โดยโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในปลายไตรมาส
แรกของปี 2553
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย วางแผนสร้างหน่วยผลิต PP ใหม่ขนาด 400,000 ตัน/ปี โดยใช้โพรพิลีนจาก โรงกลั่นน้ำมันใหม่ขนาด
15 ล้านตัน/ปี ที่จะสร้างในพื้นที่เดียวกัน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในต้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และประมูลงานก่อสร้างแครกเกอร์และ
หน่วยผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ประกอบด้วย เอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี โดยใช้อีเทน โพรเพน และบิวเทนเป็นวัตถุดิบตั้งต้น กำลังการผลิต
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ โพรพิลีน 340,000 ตัน/ปี Butadiene 225,000 ตัน/ปี Benzene 135,000 ตัน/ปี Butene-1 35,000 ตัน/ปี Styrene
160,000 ตัน/ปี Carbon Black Feedstock 75,000 ตัน/ปี และ C6 raffinate 19,000 ตัน/ปี โดยจะประกาศผลการคัดเลือกผู้รับเหมาภาย
ในวันที่ 20 มกราคม 2551 ระยะเวลาการเสร็จสมบูรณ์ของทั้งโครงการจะอยู่ที่ 40 เดือนหลังจากลงนามในสัญญา
- ประเทศญี่ปุ่น เริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต Propylene Splitter ขนาด 100,000 ตัน/ปี ในปลายไตรมาสที่ 3 ของปี
2550 ทำให้กำลังการผลิตโพรพิลีนเกรดโพลิเมอร์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 780,000 ตัน/ปี และยังทำให้มีกำลังการผลิตโพรโพรพิลีนเกรด refinery
110,000 ตัน/ปี โพรพิลีนเกรดโพลิเมอร์ที่ผลิตได้จะจำหน่ายแก่ลูกค้าตามสัญญาซื้อขายทั้งหมด เริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2550
- ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมลงทุนกับประเทศการ์ตา ในโครงการแครกเกอร์คอมเพล็กซ์มูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน
ประเทศการ์ตา คอมเพล็กซ์นี้จะประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 900,000 ตัน/ปี โดยใช้แนฟธาและอีเทนเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อ
เนื่องประกอบด้วย หน่วยผลิต PP กำลังการผลิตรวม 700,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต Strylene กำลังการผลิตรวม 600,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PS
กำลังการผลิตรวม 220,000 ตัน/ปี โดยจะทำการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในปี 2551
- ประเทศจีน เลื่อนกำหนดเดินเครื่องโครงการ Methanol-to-Propylene (MTP) ไปหลังปี 2552 โดยมีกำลังการผลิต
โพรพิลีน 460,000 ตัน/ปี PP 453,700 ตัน/ปี Gasoline 120,000 ตัน/ปี และ LPG 45,000 ตัน/ปี นอกจากนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติโครงการ
คอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและแครกเกอร์ ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันในคอมเพล็กซ์นี้มีกำลังการผลิต 10 ล้านตัน/ปี กำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ 800,000
ตัน/ปี มีหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ Monoethylene Glycol , PE , Oxo-Alcohols , Acrylic Acid , Acrylates , Butyl
Rubber , Bisphenol A และ Phenol/Acetone คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างโครงการภายในครึ่งแรกของปี 2551
- ประเทศอิหร่าน คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี ในต้นไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ใน
คอมเพล็กซ์นี้ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้านตัน/ปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องภายในปลายไตรมาส 4 ปี 2550 หน่วยผลิต
LLDPE/HDPE และหน่วยผลิต PP กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี ในคอมเพล็กซ์เดียวกันนี้ คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตในไตรมาสแรกของ
ปี 2551 โครงการร่วมทุนกับประเทศแอฟริกาใต้ เริ่มเดินเครื่องผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ในปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ใช้อีเท
นเป็นวัตถุดิบตั้งต้น เอทิลีนที่ผลิตได้จะใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับหน่วยผลิต LDPE และ MDPE/HDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี และคาดว่า
ภายในปลายปี 2550 จะเริ่มเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ หน่วยผลิต Monoethylene
Glycol ขนาด 400,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PP ขนาด 300,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน
มิถุนายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 52.77, 47.97 และ 47.53 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE และ
HDPE มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 45.65 , 44.65 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน PP มีระดับราคาเฉลี่ยลดลง
จากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 44.33 บาท/กิโลกรัม
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2550 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 6,170.11 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 6.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,351.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว แต่ลดลงถึงร้อยละ 19.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 18,553.77 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
0.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2549 Q2/2550 Q3/2550 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 5,787.75 6,407.74 6,170.11 -3.9 6.2
ขั้นกลาง 8,770.68 7,188.23 7,351.40 2.22 -19.3
ขั้นปลาย 16,436.03 18,580.15 18,553.77 -0.1 11.41
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 4,539.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
แต่ลดลงถึงร้อยละ 45.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 15,188.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 43,452.14ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2549 Q2/2550 Q3/2550 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 6,591.33 4,317.68 4,539.69 4.89 -45.19
ขั้นกลาง 14,522.12 13,448.54 15,188.93 11.46 4.39
ขั้นปลาย 40,042.42 40,445.01 43,452.14 6.92 7.85
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตที่เกิดในปัจจุบัน พบว่าประเทศผู้ผลิตหลายประเทศได้ดำเนินนโยบายการผลิตแบบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ผลิตได้จะส่งไปยังหน่วยผลิตต่างๆ ของโครงการหรือตามสัญญาที่ตกลงกันล่วงหน้า จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลต่อประเทศผู้นำเข้าวัตถุดิบรายย่อย
อาจเกิดภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวหรือเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า จึงควรวางแผนการจัด
หาแหล่งวัตถุดิบสำรอง รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตวัตถุดิบที่สำคัญและวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงแทน เพื่อรองรับภาวะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว
สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังคงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวาง
แผนการผลิตต่อไป โดยอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ได้รับผล
กระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องใน
อุตสาหกรรมนี้จึงควรให้ความสำคัญในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนและวางแผนการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสภาวะของตลาดที่อาจเกิดการเปลี่ยน
แปลงได้ตลอดเวลา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ไตรมาส 3 ปี 2550 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส
สาเหตุหลัก ได้แก่ ความกังวลเรื่องความตึงตัวของปริมาณน้ำมันจากความไม่สงบทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากพายุ
เฮอริเคนที่พัดเข้าสู่อ่าวเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกามีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาเอทิลีนโดย
เฉลี่ยของตลาดเอเชียมีการปรับตัวผันผวนตามราคาแนฟธา สาเหตุมาจากปริมาณเอทิลีนในตลาดมีไม่มากจากการปิดซ่อมบำรุงของแครกเกอร์บางแห่ง
อีกทั้งเอทิลีนจากอิหร่านที่ขายสู่ตลาด spot มีน้อยลง
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นต่อเนื่องถึงช่วงกลางไตร
มาส ส่วนในช่วงปลายไตรมาสตลาดค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว National Holiday ในจีน, ช่วง Mid-Autumn
Festival ในเกาหลีใต้และไต้หวัน และเข้าสู่ช่วงเดือนรอมาดอนของประเทศมุสลิม ทำให้กิจกรรมการซื้อขายเบาบางมาก
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีการร่วมลงทุนกับประเทศเวียดนามในโครงการผลิต Chlorine, EDC
และ VCM ในประเทศเวียดนาม กลังการผลิต 250,000 300,000 และ 345,000 ตัน/ปี ตามลำดับ คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ในปี 2555
และได้ชะลอการลงทุนสร้างหน่วยผลิต LDPE/EVA และหันไปขยายกำลังการผลิต HDPE เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เอทิลีน โดย
ลงทุนซื้อที่ดินในมาบตาพุดมูลค่า 327.74 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในอนาคต ทำให้กำลังการผลิต HDPE เพิ่มจาก 250,000 ตัน/ปี
เป็น 500,000 ตัน/ปี ในไตมาสสุดท้ายของปี 2552 และ โครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 6 (Gas Separation Plant — GSP 6) เพิ่ม
เติมจากหน่วยแยกอีเทน (Ethane Separation Unit) โดยจะตั้งอยู่ใน อ.มาบตาพุด จ.ระยอง โดยโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในปลายไตรมาส
แรกของปี 2553
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย วางแผนสร้างหน่วยผลิต PP ใหม่ขนาด 400,000 ตัน/ปี โดยใช้โพรพิลีนจาก โรงกลั่นน้ำมันใหม่ขนาด
15 ล้านตัน/ปี ที่จะสร้างในพื้นที่เดียวกัน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในต้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และประมูลงานก่อสร้างแครกเกอร์และ
หน่วยผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ประกอบด้วย เอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี โดยใช้อีเทน โพรเพน และบิวเทนเป็นวัตถุดิบตั้งต้น กำลังการผลิต
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ โพรพิลีน 340,000 ตัน/ปี Butadiene 225,000 ตัน/ปี Benzene 135,000 ตัน/ปี Butene-1 35,000 ตัน/ปี Styrene
160,000 ตัน/ปี Carbon Black Feedstock 75,000 ตัน/ปี และ C6 raffinate 19,000 ตัน/ปี โดยจะประกาศผลการคัดเลือกผู้รับเหมาภาย
ในวันที่ 20 มกราคม 2551 ระยะเวลาการเสร็จสมบูรณ์ของทั้งโครงการจะอยู่ที่ 40 เดือนหลังจากลงนามในสัญญา
- ประเทศญี่ปุ่น เริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต Propylene Splitter ขนาด 100,000 ตัน/ปี ในปลายไตรมาสที่ 3 ของปี
2550 ทำให้กำลังการผลิตโพรพิลีนเกรดโพลิเมอร์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 780,000 ตัน/ปี และยังทำให้มีกำลังการผลิตโพรโพรพิลีนเกรด refinery
110,000 ตัน/ปี โพรพิลีนเกรดโพลิเมอร์ที่ผลิตได้จะจำหน่ายแก่ลูกค้าตามสัญญาซื้อขายทั้งหมด เริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2550
- ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมลงทุนกับประเทศการ์ตา ในโครงการแครกเกอร์คอมเพล็กซ์มูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน
ประเทศการ์ตา คอมเพล็กซ์นี้จะประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 900,000 ตัน/ปี โดยใช้แนฟธาและอีเทนเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อ
เนื่องประกอบด้วย หน่วยผลิต PP กำลังการผลิตรวม 700,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต Strylene กำลังการผลิตรวม 600,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PS
กำลังการผลิตรวม 220,000 ตัน/ปี โดยจะทำการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในปี 2551
- ประเทศจีน เลื่อนกำหนดเดินเครื่องโครงการ Methanol-to-Propylene (MTP) ไปหลังปี 2552 โดยมีกำลังการผลิต
โพรพิลีน 460,000 ตัน/ปี PP 453,700 ตัน/ปี Gasoline 120,000 ตัน/ปี และ LPG 45,000 ตัน/ปี นอกจากนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติโครงการ
คอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและแครกเกอร์ ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันในคอมเพล็กซ์นี้มีกำลังการผลิต 10 ล้านตัน/ปี กำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ 800,000
ตัน/ปี มีหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ Monoethylene Glycol , PE , Oxo-Alcohols , Acrylic Acid , Acrylates , Butyl
Rubber , Bisphenol A และ Phenol/Acetone คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างโครงการภายในครึ่งแรกของปี 2551
- ประเทศอิหร่าน คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี ในต้นไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ใน
คอมเพล็กซ์นี้ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้านตัน/ปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องภายในปลายไตรมาส 4 ปี 2550 หน่วยผลิต
LLDPE/HDPE และหน่วยผลิต PP กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี ในคอมเพล็กซ์เดียวกันนี้ คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตในไตรมาสแรกของ
ปี 2551 โครงการร่วมทุนกับประเทศแอฟริกาใต้ เริ่มเดินเครื่องผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ในปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ใช้อีเท
นเป็นวัตถุดิบตั้งต้น เอทิลีนที่ผลิตได้จะใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับหน่วยผลิต LDPE และ MDPE/HDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี และคาดว่า
ภายในปลายปี 2550 จะเริ่มเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ หน่วยผลิต Monoethylene
Glycol ขนาด 400,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PP ขนาด 300,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2550 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน
มิถุนายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 52.77, 47.97 และ 47.53 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE และ
HDPE มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 45.65 , 44.65 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน PP มีระดับราคาเฉลี่ยลดลง
จากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 44.33 บาท/กิโลกรัม
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2550 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 6,170.11 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 6.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,351.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว แต่ลดลงถึงร้อยละ 19.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 18,553.77 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
0.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2549 Q2/2550 Q3/2550 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 5,787.75 6,407.74 6,170.11 -3.9 6.2
ขั้นกลาง 8,770.68 7,188.23 7,351.40 2.22 -19.3
ขั้นปลาย 16,436.03 18,580.15 18,553.77 -0.1 11.41
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 4,539.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
แต่ลดลงถึงร้อยละ 45.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 15,188.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 43,452.14ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2549 Q2/2550 Q3/2550 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 6,591.33 4,317.68 4,539.69 4.89 -45.19
ขั้นกลาง 14,522.12 13,448.54 15,188.93 11.46 4.39
ขั้นปลาย 40,042.42 40,445.01 43,452.14 6.92 7.85
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตที่เกิดในปัจจุบัน พบว่าประเทศผู้ผลิตหลายประเทศได้ดำเนินนโยบายการผลิตแบบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ผลิตได้จะส่งไปยังหน่วยผลิตต่างๆ ของโครงการหรือตามสัญญาที่ตกลงกันล่วงหน้า จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลต่อประเทศผู้นำเข้าวัตถุดิบรายย่อย
อาจเกิดภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวหรือเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า จึงควรวางแผนการจัด
หาแหล่งวัตถุดิบสำรอง รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตวัตถุดิบที่สำคัญและวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงแทน เพื่อรองรับภาวะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว
สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังคงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวาง
แผนการผลิตต่อไป โดยอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ได้รับผล
กระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องใน
อุตสาหกรรมนี้จึงควรให้ความสำคัญในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนและวางแผนการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสภาวะของตลาดที่อาจเกิดการเปลี่ยน
แปลงได้ตลอดเวลา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-