1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
การผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุ
ผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มี
ปริมาณ 68.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 9.33
และ 3.61 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 37.26 ล้านตารางเมตร และ
เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 7.49 และ 6.61 ตามลำดับ และเทียบกับระยะเดียว
กันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.43 และ 12.13 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อ
เนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตาราง
ที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.55 ล้าน ตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่อง
สุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 7.95 และ 9.98 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ ซบเซา ทำให้การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากการนำเข้าสินค้า
จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่เน้นรูปแบบ ดีไซน์ และนวัต
กรรม การสร้างตลาดใหม่ๆ ชดเชยตลาดเก่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การลดราคา การลุ้นชิงรางวัล ทั้งนี้เพื่อรักษา
ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 201.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.53 และ 20.66 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ ของ
ชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกยังมีมูลค่าลดลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศใน
กลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วง ครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่ารวม 383.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.05 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดหลักเกือบทุกตลาด และ ของชำร่วยเครื่อง
ประดับเพิ่มขึ้นในตลาดตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ เซรามิก อื่นๆ เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น สำหรับผลิตภัณฑ์
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร การส่งออกลดลงทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี และอินโดนีเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 39.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ
16.42 และ 3.87 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.39 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ผู้แทน
จำหน่ายและผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง บางรายเลือกนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างลดลงจาก
ภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้ใน
ประเทศลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การจำหน่ายเซรามิก ในประเทศจึงมีการแข่ง
ขันอย่างรุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ในด้านต่างๆ และหาตลาดใหม่ๆ โดยเน้น
ตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไว้
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก
ทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้
บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการ
แข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 38,744,878 33,178,859 35,738,165 76,004,449 68,917,024
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.76 -9.33
การจำหน่ายในประเทศ 40,256,502 40,282,918 37,264,103 84,243,731 77,547,021
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.43 -7.95
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,146,671 2,068,936 2,076,249 4,300,308 4,145,185
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.35
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.28 -3.61
การจำหน่ายในประเทศ 1,207,623 1,136,264 1,061,150 2,440,907 2,197,414
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.61
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.13 -9.98
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 25.8 21.3 25 52 46.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.37
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 -10.96
เครื่องสุขภัณฑ์ 27.8 28.4 32.7 53.3 61.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.63 14.63
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 46.1 41.4 42.3 84.9 83.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.17
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.24 -1.41
ของชำร่วยเครื่องประดับ 6.3 8 8.8 13.7 16.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 39.68 22.63
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.3 5.1 5.1 11.6 10.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.77 -12.07
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 55.7 78.1 87.6 112.4 165.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.16
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.27 47.42
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 167 182.3 201.5 327.9 383.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10.53
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.66 17.05
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค-มิ.ย.) (ม.ค-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14 15.2 14.8 27.6 30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.63
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.71 8.7
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 30.3 32.3 24.9 53.6 57.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -22.91
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.82 6.72
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 41.3 47.5 39.7 81.2 87.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.87 7.39
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
การผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุ
ผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มี
ปริมาณ 68.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 9.33
และ 3.61 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 37.26 ล้านตารางเมตร และ
เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 7.49 และ 6.61 ตามลำดับ และเทียบกับระยะเดียว
กันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.43 และ 12.13 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อ
เนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตาราง
ที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.55 ล้าน ตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่อง
สุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 7.95 และ 9.98 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ ซบเซา ทำให้การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากการนำเข้าสินค้า
จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่เน้นรูปแบบ ดีไซน์ และนวัต
กรรม การสร้างตลาดใหม่ๆ ชดเชยตลาดเก่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การลดราคา การลุ้นชิงรางวัล ทั้งนี้เพื่อรักษา
ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 201.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.53 และ 20.66 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ ของ
ชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกยังมีมูลค่าลดลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศใน
กลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วง ครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่ารวม 383.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.05 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดหลักเกือบทุกตลาด และ ของชำร่วยเครื่อง
ประดับเพิ่มขึ้นในตลาดตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ เซรามิก อื่นๆ เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น สำหรับผลิตภัณฑ์
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร การส่งออกลดลงทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี และอินโดนีเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 39.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ
16.42 และ 3.87 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.39 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ผู้แทน
จำหน่ายและผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง บางรายเลือกนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างลดลงจาก
ภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้ใน
ประเทศลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การจำหน่ายเซรามิก ในประเทศจึงมีการแข่ง
ขันอย่างรุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ในด้านต่างๆ และหาตลาดใหม่ๆ โดยเน้น
ตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไว้
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก
ทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้
บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการ
แข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 38,744,878 33,178,859 35,738,165 76,004,449 68,917,024
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.76 -9.33
การจำหน่ายในประเทศ 40,256,502 40,282,918 37,264,103 84,243,731 77,547,021
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.49
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.43 -7.95
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,146,671 2,068,936 2,076,249 4,300,308 4,145,185
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.35
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.28 -3.61
การจำหน่ายในประเทศ 1,207,623 1,136,264 1,061,150 2,440,907 2,197,414
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.61
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.13 -9.98
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 25.8 21.3 25 52 46.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 17.37
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 -10.96
เครื่องสุขภัณฑ์ 27.8 28.4 32.7 53.3 61.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.63 14.63
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 46.1 41.4 42.3 84.9 83.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.17
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.24 -1.41
ของชำร่วยเครื่องประดับ 6.3 8 8.8 13.7 16.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 39.68 22.63
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.3 5.1 5.1 11.6 10.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.77 -12.07
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 55.7 78.1 87.6 112.4 165.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.16
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.27 47.42
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 167 182.3 201.5 327.9 383.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10.53
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.66 17.05
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Feb-49 Jan-50 Feb-50 (ม.ค-มิ.ย.) (ม.ค-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14 15.2 14.8 27.6 30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.63
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.71 8.7
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 30.3 32.3 24.9 53.6 57.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -22.91
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.82 6.72
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 41.3 47.5 39.7 81.2 87.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.87 7.39
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-