สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ปี 2560 ดังปรากฏในภาพที่ 1 ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2560 MPI ขยายตัวที่ร้อยละ 4.23 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี 2560
ดัชนีอุตสาหกรรมภาพรวม การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากรถยนต์นั่งขนาดเล็ก โดยเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายในประเทศและรถปิคอัพที่เพิ่มขึ้นจากทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิตาลี ทำให้การส่งออกรถปิคอัพเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆที่มิใช่ยางรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากสินค้ายางแผ่นและยางแท่ง จากการขยายตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น รวมถึงลูกค้าจีนมีปริมาณยางในสต็อกลดลง จึงมีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากจากสินค้าเครื่องยนต์ดีเซล โดยเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายในประเทศ ตามคำสั่งซื้อของผู้ผลิตรถยนต์เพื่อรองรับงาน Motor Expo ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อต่อเนื่องจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากลูกค้าในกลุ่มอาเซียน
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยเดือนธันวาคม 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2560 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 110.03 โดยจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.56 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่คาดว่าจะขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มมากขึ้นจากความต้องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งผลให้ผลิตและส่งออกได้มากขึ้น) การผลิตน้ำมันจากพืช (การผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มเมื่อ 2-3 ปีก่อน และช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดทำให้มีวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จึงมีการผลิตเพิ่มขึ้น)
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนพฤศจิกายน 2560
- การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีมูลค่า 1,539.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยล 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ที่ขยายตัว
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีมูลค่า 6,863.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขยายตัว
- อัตราการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเทียบกับประเทศสำคัญในเอเชีย
การผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน2560 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 4.2ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับประ เทศสำคัญในเอเชียพบว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีน และไต้หวันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 6.1และ 1.2 ตามลำดับ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
- สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 345 โรงงานเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 19.38 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.07(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีมูลค่ารวม 21,122 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 74.64 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ 2559 ร้อยละ 2.04 (%YoY)
“อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2560 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานยนต์หรือส่วนประกอบของยานดังกล่าว (22 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทรายหรือดิน (20 โรงงาน)”
“อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน2560 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน โดยมีมูลค่าการลงทุน 3,547 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรุงรสหรือเครื่องประกอบอาหาร มีมูลค่าการลงทุน 2,614 ล้านบาท”
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 112 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 17.90 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.90 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการมีมูลค่ารวม 43,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม2560 ร้อยละ 1,177 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2,640 (%YoY)
“อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน2560คือ อุตสาหกรรมการบรรจุก๊าซ (16โรงงาน) และการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิบซัม หรือผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์ (8โรงงาน)
“อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤศจิกายน2560 คือ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ย มูลค่าเงินลงทุน 36,300ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการบรรจุสินค้าทั่วไป ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 5,253ล้านบาท”
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤศจิกายน 2560
- เนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง
ภาวะการผลิตปรับตัวตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารเดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น(YoY) ร้อยละ 14.6 แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ มันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 19.2 เนื่องจากจีนเริ่มกลับมาเพิ่มคำสั่งซื้อมากขึ้นและไก่ปรุงรส ปรับตัวเพิ่มขึ้น(YoY) ร้อยละ 3.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคในตลาดส่งออกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทศการท่องเที่ยวช่วงปลายปีอีกทั้งปัญหาไข้หวัดนกที่ยังคงระบาดในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป ทำให้ประเทศผู้นำเข้าเพิ่มคำสั่งซื้อเนื้อไก่แปรรูปมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้นำเข้าหลักอย่างญี่ปุ่น อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำตาลทราย อาหารสัตว์ (ไก่)และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ119.0 43.0 11.9 และ 7.6 ตามลำดับ เพื่อรองรับผลผลิตที่มีมากในตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลปาล์มน้ำมัน อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
การตลาดในประเทศปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 11.8 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับอานิสงค์จาก มาตรการช็อปช่วยชาติปี 60ช่วยกระตุ้นการบริโภคประเทศเพิ่มขึ้น
ตลาดต่างประเทศภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น(YoY) ร้อยละ 20.1 ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ น้ำตาล ทูน่ากระป๋องไก่ปรุงรส ไก่แช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 40.7 28.4 19.6 14.6 9.7 และ 9.3 ตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้า
คาดว่าการผลิต และการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนธันวาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยบวกที่ทำให้การผลิตสินค้าสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มปศุสัตว์ (ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่ปรุงรส) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการระบาดของไข้หวัดนก และเพื่อรองรับเทศกาลท่องเที่ยวในประเทศคู่ค้า(ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ประกอบกับความต้องการสับปะรดกระป๋องปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังที่ผลิตภัณฑ์สับปะรดมีราคาอ่อนตัวลงมากตามราคาวัตถุดิบ อีกทั้งสินค้าข้าว (ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ) ที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้น ผนวกกับเศรษฐกิจภายในประเทศมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี และยังได้รับอานิสงค์จากมาตรการช็อปช่วยชาติปี 60อีกทั้งเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง”
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
+ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอขยายตัว ร้อยละ 2.1(YoY)โดยเฉพาะกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิ เส้นใยคอลาเจน เส้นใยคอมโพสิต ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัว
- ผ้าผืน และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 10.9และ0.6ตามลำดับ(YoY) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานตัวเลขในปีก่อนค่อนข้างสูงจากความต้องการเสื้อผ้าสีดำ และผ้าผืนสีดำ เพื่อใช้ประดับสถานที่ และสวมใส่ในช่วงถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่9ประกอบกับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตลาดสำคัญ เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ชะลอตัวต่อเนื่อง
- กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 10.2 15.7และ 0.5ตามลำดับส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานตัวเลขในปีก่อนค่อนข้างสูงจากวิกฤตความต้องการผ้าผืนสีดำ และเสื้อผ้าสีดำ เพื่อใช้ในการประดับสถานที่ และสวมใส่ ไว้ทุกข์เพื่อถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9
+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.4 และ 15.2 โดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งสินค้าที่ส่งออกเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ ที่ไทยมีศักยภาพทั้งในการผลิตและการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่อินโดนีเซีย เวียดนาม ตุรกี และบังคลาเทศ
- กลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยเสียเปรียบจากการถูกตัดสิทธิ์ GSP จากประเทศดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การส่งออกชุดชั้นในสตรีไปยังญี่ปุ่น และยุโรป และการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดอาเซียน ยังคงขยายตัวได้ดี
+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ คาดว่า จะขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย
- แนวโน้มการผลิตผ้าผืน และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มคาดว่า จะชะลอตัวเนื่องจากการส่งออกสินค้าดังกล่าวยังเผชิญความไม่แน่นอนในการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งไทยเสียเปรียบจากการถูกตัดสิทธ์ GSP
- อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
การผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีจำนวน 190,385คัน ซึ่งสูงสุดในรอบ 20 เดือนโดยเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560ร้อยละ 16.45(%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ11.48 (%YoY)จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 มีจำนวน 78,082คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ 13.90 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.55(%YoY)จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUVเนื่องจากความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้ทยอยแนะนำเข้าสู่ตลาด นักท่องเที่ยวต่างประเทศยังคงมาเที่ยวมากขึ้น การส่งออกขยายตัวการลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลที่เร่งตัวขึ้น
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 มีจำนวน 103,042คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ 13.43 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.64(%YoY) เนื่องจากการส่งออกรถกระบะเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดยุโรป และตลาดอเมริกาเหนือ
“ คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนธันวาคม ปี 2560 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2559 เนื่องจากมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก
- อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2560มีจำนวน 192,451คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560ร้อยละ 17.22 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.78 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2560 มียอดจำหน่ายจำนวน 153,058คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560ร้อยละ 12.90 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ11.48 (%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายนปี2560 มีจำนวน 33,822คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560ร้อยละ 13.35 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.99 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาเมียนม่า และแคนาดา
“คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคมปี 2560 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปี 2559”
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ในเบื้องต้น
- อุตสาหกรรมปูนเม็ด
การผลิตปูนเม็ด ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีจำนวน 3.46 ล้านตัน แม้จะลดลงจากเดือนตุลาคม ปี 2560ร้อยละ 3.16 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.79 (%YoY)
การจำหน่ายปูนเม็ดในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 มีปริมาณการจำหน่าย 0.02 ล้านตัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ 73.05 (%MoM) แต่เท่ากันกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
การส่งออกปูนเม็ด ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีจำนวน 0.50 ล้านตัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปี 2560 ร้อยละ 2.24(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.16 (%YoY) จากแนวโน้มคำสั่งซื้อที่ลดลง
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมปูนเม็ดในเดือนธันวาคม ปี 2560 คาดว่าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
การผลิตปูนซีเมนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีจำนวน 3.04 ล้านตัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ0.73 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.83 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.65 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ 3.10 (%MoM)เนื่องจากหลังเริ่มปีงบประมาณใหม่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐสามารถดำเนินการต่อได้และการก่อสร้างภาคเอกชนก็เริ่มดำเนินการได้บ้างเนื่องจากฝนเริ่มตกลดน้อยลงแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 3.11(%YoY) จากภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
การส่งออกปูนซีเมนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีจำนวน 0.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2560 ร้อยละ 26.80 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.54 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 จะเริ่มสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยจากการก่อสร้างในประเทศเริ่มมีการขยายตัวเป็นผลจากการลงทุนของภาครัฐ และตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวดีขึ้น
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.66เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 108.53โดยเพิ่มขึ้นทั้งเครื่องซักผ้า คอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อนหม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.57, 4.06, 1.21, 3.14 และ 13.56 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นและประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยลดลงร้อยละ 4.71, 2.50, 3.73, 3.45 และ 0.90 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.41 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 2,097.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.45 โดย ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นสินค้าหลักมีมูลค่าการส่งออก 305.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อย ละ 13.06 รองลงมาคือเครื่องซักผ้า มีมูลค่าส่งออก 150.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 72.64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
“คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2560 จะยังคงทรงตัวอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.85เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตของเครื่องซักผ้าที่ส่งออกไปตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นและสายไฟฟ้าเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น”
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงทรงตัวมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.14เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 110.34เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ Semiconductor, HDD และ PCBA เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57, 22.03 และ 7.77 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก?
การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.62 โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,478.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,396.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.03 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ วงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 715.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
“คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2560 จะมีดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องร้อยละ 7.87 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกปรับตัว เพิ่มขึ้นของส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลักและวงจรรวม”
ดัชนีการผลิต ในเดือนพฤศจิกายนปี 2560 มีค่า 126.35 ลดลงร้อยละ 9.36เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 14.28โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลงร้อยละ 17.85เนื่องจากเครื่องจักรของผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งมีปัญหาส่งผลให้การผลิตลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นทำให้ผู้ผลิตบางรายชะลอการผลิต เหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 7.26 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลงร้อยละ 32.56 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ อาหารทะเลกระป๋องมีดัชนีผลผลิตลดลง สำหรับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเพิ่มขึ้นร้อยละ4.88 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.59 เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อชดเชยคลังสินค้าที่มีปริมาณลดลง
การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560มีปริมาณ1.34 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 24.60สำหรับเหล็กทรงยาว มีการบริโภค 0.52 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 33.8 โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณลดลง ร้อยละ 47.6 ซึ่งลดลง 3 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2560 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างค่อนข้างซบเซา สำหรับเหล็กทรงแบนมีการบริโภค 0.83 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 16โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงร้อยละ 41.4
การนำเข้า การนำเข้ามีปริมาณ0.93ล้านตันลดลงร้อยละ 9.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณ 0.23 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.70 และเหล็หทรงแบนมีปริมาณ 0.70 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 11.90
“แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม2560คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงร้อยละ11.48ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 24.97โดยเหล็กเส้นข้ออ้อยลดลงร้อยละ 28.78 รองลงมาคือ เหล็กเส้นกลมลดลงร้อยละ 11.26เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในช่วงชะลอตัวและเหล็กทรงแบนลดลงร้อยละ 0.47 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลงร้อยละ 22.69 เนื่องจากการแข่งขันทางด้าน ราคาของสินค้าที่นำเข้าจากจีนและเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนลดลงร้อยละ 15.72 ขณะที่เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.65 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.83”
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--