รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4/2560 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2561

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 21, 2018 15:18 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2560 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2561

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4/2560 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)ขยายตัวร้อยละ 2.07 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3/2560 ทำให้ทั้งปี 2560 MPI ขยายตัวร้อยละ 1.58 ใกล้เคียงกับปี 2559 ที่ MPI ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 4/2560 อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆที่มิใช่ยาง (ในปีก่อนพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็น พื้นที่หลักในการปลูกยางประสบปัญหาน้ำท่วมหนักประกอบกับในปีนี้ ผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมปลายน้ำมากขึ้น) รถยนต์ (ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากสินค้ารถปิกอัพและรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 1800 cc. เป็นหลัก) เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์(ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากการได้รับความนิยมต่อเนื่องจากลูกค้าในประเทศ)น้ำมันพืช (จากระดับผลผลิตที่ออกมาเพิ่มขึ้น รวมถึงพื้นที่การปลูกปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 4 แสนไร่) การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ที่สูงขึ้น และการผลิตแนฟ ทาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของโรงกลั่น)

แนวโน้มไตรมาสที่ 1/2561

เหล็กและเหล็กกล้า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 139.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ว่าเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหลัก จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีดัชนีผลผลิตลดลงอย่างมากเนื่องจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่เริ่มน้อยลง ขณะที่อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆที่ใช้เหล็กทรงแบนเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ คาดการณ์ว่าจะมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1ของปี 2561คาดว่าจะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 โดยสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ เครื่องซักผ้า และสายไฟฟ้า จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น

อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1ของปี 2561คาดว่าจะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากความต้องการส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และIC ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มฟื้นตัว

ยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2560 ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูก ตามความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ เป็นต้น สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาท จะส่งผลต่อสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น ทั้งในแง่ของการขายโฆษณาและยอดจำหน่าย

เซรามิค การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนัง คาดว่า จะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องใน สปป.ลาว และเมียนมา

ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภาพรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 1.94 และ 3.37 ตามลำดับ จากความคาดหวังว่าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็คต่างๆจะเดินหน้าได้ชัดเจนขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ร้อยละ 32.29 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาพรวมการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวตามทิศทางการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืน ไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก ประกอบกับมีการผลิตเพื่อรองรับการจำหน่ายในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวช่วงเทศกาลสำคัญ

ไม้และเครื่องเรือนไม้ การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2561คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 1 ของ ปี 2561 ที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ยา การผลิตยา ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมา

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา

รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้าที่มีทิศทางการผลิตเพิ่มขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ช่วงเทศกาลสำคัญ การขยายตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความนิยมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของไทย อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทางมีแนวโน้มการผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้น โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และจีน

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2561 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมที่นำออกจำหน่ายในช่วงที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่า จะขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหลายตลาด อาทิ จีน และญี่ปุ่น ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในภาพรวม คาดว่า จะขยายตัวเช่นกันจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้น

อาหาร การผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยบวกอย่างผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และCLMVน่าจะส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ ประมง ผักผลไม้ น้ำตาล และธัญพืชและแป้ง เช่นเดียวกับการบริโภคในประเทศน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2560

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 .3

ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1

การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2

การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.4

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 .3 ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 .1 การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจนจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวเร่งขึ้นและมีการกระจายตัวมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ เช่น ยานยนต์เครื่องยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ามันปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาง

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 111.91 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (112.45) ร้อยละ 0.48 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (109.64) ร้อยละ 2.07

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตยานยนต์ และการผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ในปี 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 112.31 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 (110.56) ร้อยละ 1.58 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลในทางบวก ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 108.35 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (108.81)ร้อยละ 0.43 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (104.75) ร้อยละ 3.43

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ กรผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

ในปี 2560 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 108.23 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 (1 06.58) ร้อยละ 1.54 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ได้แก่ การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 ดัชนีสินค้าสาเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 107.94 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (109.16) ร้อยละ 1.12 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (106.73) ร้อยละ 1.13

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐานเป็นต้น

ในปี 2560 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีค่า 107.21 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 (10 5.42) ร้อยละ 1.69 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 60.66 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 60.92) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (ร้อยละ 59.54)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตยานยนต์ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตยานยนต์และการผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ในปี 2560 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 60.72 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 (60.05) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กาลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบ การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 87.33 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (85.20) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (87.53) และดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 102.70 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2559 (101.63)

ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อค่าดัชนี ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศจากการเพิ่มขึ้นของดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศโดยมีมาตรการช็อปช่วยชาติและการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภค นอกจากนี้มีอุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2017

การค้าต่างประเทศ

“มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 เกินดุลการค้า 5,662.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ”

สถานการณ์การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 120,575.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 61,259.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 59,559.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.7 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ส่งผลให้การค้าในไตรมาส 4 ปี 2560 ดุลการค้าเกินดุล 5,662.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 61,259.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า การส่งออกสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยสินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 6,078.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 48,352.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,553.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,273.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ(มูลค่าการส่งออก 7,443.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 5,104.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 2,756.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.7) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,260.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2) และแผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 2,130.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6)

ตลาดส่งออก

ด้านการส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน(9 ประเทศ) จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีสัดส่วนการส่งออกคิดรวมเป็นร้อยละ 70.1 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกไปยังตลาดหลักมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยการส่งออกไปยังจีนมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 14.2 รองลงมา คือ อาเซียน (9 ประเทศ) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และสหภาพยุโรป มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4

โครงสร้างการนำเข้า

การนำ เข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 59,559.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้าพบว่า การนำเข้ามีมูลเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดย สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 8,967.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 15,912.4ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 24,067.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 6,838.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,483.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 290.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 157.1

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) จีน สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 67.9 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยส่วนใหญ่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดย นำเข้าจากสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 19.6 รองลงมา ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นที่ระดับ 16.5 และ 8.0 ตามลำดับ

เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่ 4 ปี 2560
"เศรษฐกิจโลกและการส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และ อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ"

ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกที่ขยายตัวตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ภาคการผลิตในหลายประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และอัตราการว่างงานของประเทศต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

จากความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศ ส่งผลให้บางประเทศมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น โดยธนาคารกลางของเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 1.50 % จากระดับ 1.25% และธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.2 5% จากระดับ 1.00-1.25 % เป็น 1.25-1.50% อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย

ด้านสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 4 ปี 2560 อยู่ที่ 59.4 ดอลล่าร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ 43.3 ดอลล่าร์/บาร์เรล สำหรับราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 64.5 0 ดอลล่าร์/บาร์เรล โดยได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตัวแข็งแกร่งซึ่งส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้นรวมทั้งจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันยังคงปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปจนถึงสิ้นปี 2561

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ยังต้องติดตาม เช่น การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ เช่น นโยบายปฏิรูปภาษี การปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด และสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ อาจส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2560 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/256 1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กทรงยาวคืออุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในช่วงชะลอตัว ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเหล็กทรงยาวลดลง และเหล็กทรงแบนมีดัชนีผลผลิตลดลงเช่นกัน แม้ว่าอุตสาหกรรรมยานยนต์มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กลับมีการผลิตลดลง

ดัชนีการผลิต

การผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีดัชนีผลผลิต 114.62 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยยละ 8.81(%M oM)และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.36(%Y oY)โดยเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 24.12 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงคือเหล็กเส้นข้ออ้อยลดลงร้อยละ 27.65 รองลงมาคือเหล็กเส้นกลมลดลงร้ร้อยละ 18.81 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในช่วงชะลอตัว สำหรับเหล็กทรงแบนลดลงร้อยละ 7.05 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลงร้อยละ 27.89 เนื่องจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีการผลิตลดลง รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนลดลงร้อยละ 8.4 3

การจำหน่ายไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 3,981,563 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560ร้อยละ 4.24 (%MoM)และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ18.21(%YoY)โดยเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 28.74 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายลดลงคือเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 42.31เนื่องมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ชะลอตัว สำหรับเหล็กทรงแบนลดลงร้อยละ 1 0.92 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายลดลงคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลงร้อยละ 37.06 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อนลดลงร้อยละ 16.24

การนำเข้าไตรมาสที่ 4 ปี 2560มีมูลค่า1.9พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2 560 ร้อยละ 8 .60 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.55(%Yo Y)โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 .08 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นคือ เหล็กลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.89 โดยเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 0.47ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นคือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.88 รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด carbon steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.75

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสทีที่ 1 ของปี 2561

ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ปี 2561 อยู่ที่ 1 39.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ว่าเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหลัก จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากไตรมาสที่ 4ปี 2560 มีดัชนีผลผลิตลดลงอย่างมากเนื่องจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่เริ่มน้อยลง ขณะที่อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆที่ใช้เหล็กทรงแบนเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ คาดการณ์ว่าจะมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2560ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.48เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ทั้งเครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นผลจากปริมาณความต้องการซื้อที่ลดลงในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออกการจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 3,764.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.57 (%QoQ)และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.24 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลงได้แก่มอเตอร์ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.76เครื่องคอมเพรสเซอร์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 9.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 100.38 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 2.46 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.48 (%YoY) โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศคอมเพรสเซอร์ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ11.36, 0.21, 9.40, 11.11, 6.40,0.16 และ 1.84 ตามลำดับ จากความต้องการใช้ลดลงในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงในขณะที่การผลิตกระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า และเครื่องซักผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.11, 14.90 และ 37.38 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศในไตรมาส 4/2560 ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ และหม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 7.87, 3.56, 2.48, 27.46 และ 7.04 ยกเว้นพัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า และกระติกน้ำร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.12, 5.49 และ 9.17 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก 5,946.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.17(%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.25 (%YoY)จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่นเนื่องจากเครื่องซักผ้ามีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.60 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 455.51 และแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.65 โดยเพิ่มจากในตลาดจีนถึงร้อยละ 132.01 และสหรัฐอเมริการ้อยละ 40.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

“สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1ของปี 2561คาดว่าจะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.76เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38โดยสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ เครื่องซักผ้า และสายไฟฟ้า จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น”

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ยังคงทรงตัว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย0.94 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งHDD, Semiconductorและ PCBA เป็นผลจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560มีมูลค่า การนำเข้า9,406.78ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.78 (%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.98 (%YoY)โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากคือ วงจรรวม(IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.93เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.99 และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 108.48ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 1.73(%QoQ) ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.94 (%YoY)โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD,Semiconductor และPCBA เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34, 9.01 และ1.08ตามลำ ดับ ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่ IC ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.72 และ Printer ลดลงร้อยละ 14.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก 9,921.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.91 (%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.57 (%YoY)จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น จีนอาเซียนสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.95, 26.17, 20.04, 11.08และ 10.20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.83 วงจรรวม(IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 132.82 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 283.34 และ 42.80ต มลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

“สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1ของปี 2561คาดว่าจะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากความต้องการส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และIC ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มฟื้นตัว”

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป ประกอบกับตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากการลงทุนจากภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว และการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก

การผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน511,079คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560ร้อยละ 2.98 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 9.28 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 42 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 56 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 250,935คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560ร้อยละ 19.08 (%QoQ)และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.22 (%YoY)แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งร้อยละ 40 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 41 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 14และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560มีจำนวน 289,714คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 7.61(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.67 (%YoY) โดยแบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่งร้อยละ36รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 54 และรถ PPV ร้อยละ 10 มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า2,361.92ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 1.96 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.35 (%YoY)โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 2,884.91 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 10.37 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.32 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 1ของปี2561

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

การผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกอย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศมีการชะลอตัว

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 508,941คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 0.82 (%QoQ)แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 10.87(%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 420,156 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 5.45 (%QoQ)แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.25(%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 226,760คัน (เป็นการส่งออก CBU 99,243 คัน และ CKD 127,517 ชุด)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 24.16(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.95(%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า212.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 17.18 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.88 (%YoY)โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

มูลค่าการนำ เข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า146.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 2.70(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.22 (%YoY)โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

มูลค่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ14.5 4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยตลาดหลักในการส่งออกได้แก่กลุ่มประเทศอาเซียน จีนและสหรัฐที่ฟื้นตัวดีขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ซึ่งสาเหตุมาจากการนำเข้าและส่งออกเคมีขั้นปลายโดยเฉพาะปุ๋ย ที่ปรับลดลงตามการผลิตของภาคการเกษตรและจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2ตามฤดูการเพาะปลูก

การตลาดและการจำหน่าย

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2560มีมูลค่า1,9 37.06 ล้านเหีรียญสหรัฐลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 25 60 ร้อยละ2.20(%Q oQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ14.5 4 (%YoY)แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 1,0 94.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 842.55 ล้านเหรียญสหรัรัฐ ลดลงร้อยละ 5.2 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยเคมีภัณฑ์ขั้นปลายที่ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย เครื่องสำอาง และสี ตามลำดับ

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่ารวม 3,675.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ3.00 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.87(%Y oY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 2,3 98.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 8และเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 1,277.38 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 25 60 โดยเคมีภัณฑ์ขั้นปลายที่ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย สารลดแรงตึงผิว และสี ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2 561 คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์จะมีมูลค่ารวมประมาณ 1,792 และ 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5-10 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัวของGDP โดยคาดการณ์ว่าในปี 2561 G DP จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.0

อุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีปริมาณการส่งออกและการนำเข้าขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าดีขึ้น โดยเฉพาะคู่ค้าในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ จึงมีความต้องการใช้สินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น

การตลาดและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ลดลงร้อยละ 2.5 4 (%QoQ) จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 0.8 6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีผลผลิตที่ทำให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่นและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ คิดเป็นร้อยละ 20.12 และ 16.96 ตามลำดับ

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ลดลงร้อยละ 0.63 (%Qo Q) จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.0 3 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่ทำให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่นและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ คิดเป็นร้อยละ 19.35 และ 17.54 ตามลำดับ

ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีปริมาณ 288,267 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 1.51 (%Qo Q) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.5 3 (%YoY) จากการส่งออกกลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (3916) เครื่องสุขภัณฑ์ (3922) และเครื่องประกอบอาคาร (3925) ซึ่งเป็นผลมาจากการความต้องการของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการนำเข้าไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีปริมาณ 196,616 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 1.55 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.17 (%YoY) จากการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน (392 4) พลาสติกปูพื้น (3918) และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923)

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 คาดว่าการส่งออกพลาสติกมีปริมาณ 289,998 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการนำเข้าคาดว่ามีปริมาณ 179,840 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.00 จากไตรมาสดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในภาพรวมปี 2561 ประเทศไทยจะมีมูลค่าการส่งออกนำเข้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 -6 จากการที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวและการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นจากการสนับสนุนของภาครัฐ

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ราคาแนฟทาของตลาดเอเชียโดยภาพรวมปรับตัวในทิศทางขาขึ้น ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย

การตลาดและการจำหน่าย

มูลค่าการส่งออก ไตรมาส 4 ปี 25 60 มีมูลค่ารวม 2,363 .35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 34.61 (%YoY)

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาส 4 ปี 25 60 มีมูลค่ารวม 991.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 46.41 (%YoY)

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคต่างๆ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนและจีนปรับตัวดีขึ้น

ราคาสินค้า ราคาเอทิลีนและโพรพิลีนในตลาดเอเชียไตรมาส 4 ปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 3 8.85 และ 27 .45 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 พบว่า ราคาเอทิลีนและโพรพิพิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคา 34.80 และ 25.68 บาท/กิโลกรัรัม ตามลำดับ

ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ไตรมาส 4 ปี 2 560 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia C FR) ของ LDPE, HDPE และ PP มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 42.13, 40.57 และ 39.54 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 พบว่าราคาเฉลี่ยของ HDPE และ PP ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับราคา 40.30 และ 38.61 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน LDPE มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากระดับราคา 43.84 บาท/กิโลกรัม

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 1 ปี 2561

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 1 ปี 2561 คาดว่าจะมีการปรับตัวตามการคาดการณ์การขยายตัวของ GDP และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ระหว่างร้อยละ 3.7-4.7 เฉลี่ยร้อยละ 4.2 (ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 1 5/2561 วันที่ 2 9 มกราคม 2561) ปัจจัยสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องติดตาม คือ การปรับตัวของระดับราคาน้ำมันดิบ ภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย และภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาวะความมั่นคงทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคต่าง ๆ

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

ปริมาณการผลิตส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟต์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2559ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มีปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องรวมถึงในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้กับสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นด้วย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ

แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561
"แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2560 ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูก ตามความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ เป็นต้น สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาท จะส่งผลต่อสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น ทั้งในแง่ของการขายโฆษณาและยอดจำหน่าย"

การผลิตเยื่อและกระดาษในไตรมาสที่ 4 ปี 2560ดัชนีฯ ปรับลดลงจากเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูก ร้อยละ 3.262.41 0.02 และ 2.34 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 แต่เพิ่มขึ้นจากเยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และกระดาษคร๊าฟต์ร้อยละ 18.73 10.79 และ 10.71 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มีปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้กับสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นด้วย

การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่4 ปี 2560มีมูลค่า 556.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 .65เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จากการส่งออกเยื่อกระดาษชนิดเยื่อไม้เคมีละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นไปยังประเทศคู่ค้าอย่างจีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในส่วนกระดาษและผลิตภัณฑ์ ส่งออกเพิ่มขึ้นไปเวียดนาม จีและมาเลเซีย สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น ในนประเภทสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รวมถึงภาพพิมพ์และภาพถ่าย เป็นต้น

การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 6 25.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.77เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จากการนำเข้าเยื่อกระดาษกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่หนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง ร้อยละ 13.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 และลดลง ร้อยละ 2.34 จากความนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิตอล

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการค่าจ้าง มีมติเห็นชอบให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 7 อัตราตามกลุ่มจังหวัด ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบโดย สศอ. พบว่า อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษอาจได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากมีสัดส่วนค่าจ้างแรงงานต่อมูลค่าการผลิตระดับกลาง ซึ่งผู้ประกอบการอาจต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน หรือปรับเปลี่ยนการนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

อุตสาหกรรมเซรามิก

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยกระเบื้องปูพื้นบุผนังต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าอย่างรุนแรง ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์สามารถขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ในตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน โดยของชำร่วยเครื่องประดับ มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ในขณะที่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

การผลิต 29.09 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณ16.86 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.41 (%YoY) เนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับสินค้านำเข้าจากประเทศจีน ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1. 90 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.68 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 7.51 ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 กระเบื้องบุพื้น บุผนังมีปริมาณการจำหน่าย 35.84 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 2.04 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.53 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีจำนวน 1.00 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.39 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.81(%YoY)

การส่งออก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 การส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนังมีมูลค่า 22.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 9.81 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 0.92 จากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงของสปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งเป็นตลาดหลัก ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 50.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 9.16 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.44 จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักรองจากสหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 1 ของปี 2561

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนัง คาดว่า จะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องใน สปป.ลาว และเมียนมา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก

กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำโครงการ Lean Automation System Integrator (LASI) โดยนำระบบการผลิตยุคใหม่และนำหุ่นยนต์เข้าร่วมสนับสนุนและส่งเสริมความแข็งแกร่งและพัฒนาระบบการผลิตของSMEs ซึ่งอยู่ภายใต้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ไอทีซี) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในปัจจุบัน ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการให้สอดคล้องกับศักยภาพของอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้น ๆ จำนวน 3 แห่ง โดยหนึ่งในนั้นประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลำปาง เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก ให้สามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้อยู่ในระดับสูง

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนมีการผลิตและการจำหน่าย ลดลงจากสภาวะตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศยังไม่ฟื้นตัว มีการแข่งขันสูงการเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานของรัฐไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง การส่งออกลดลงจากการที่เมียนมาและลาวที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปตั้งฐานผลิตมีการผลิตในประเทศแลว้

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายมูลค่าส่งออกและนำเข้าปูนซีเมนต์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 9,459,057 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 3.87(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 2.38(%YoY) จากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 8,156,956 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 2.18 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.17(%YoY) เนื่องจากมีการแข่งขันสูงในตลาดและภาวะตลาดที่ยังทรงตัว ความผิดปกติของฤดูกาลที่ยังมีฝนตกหนักเป็นช่วงๆ

การส่งออก-นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่าจากการส่งออก80.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2560 แต่ลดลงร้อยละ 3.30(%YoY) จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนจากการปรับลดคำสั่งซื้อของบังคลาเทศ เวียดนาม เมียนมา และลาว ส่วนมูลค่าการนำเข้า14.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 18.82 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 969.56 โดยเพิ่มขึ้นมากจากการนำเข้าปูนซีเมนต์ราคาถูกจาก สปป.ลาว

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภาพรวม ไตรมาสที่ 1ของปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 1.94 และ 3.37 ตามลำดับ จากความคาดหวังว่าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็คต่างๆ จะเดินหน้าได้ชัดเจนขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ32.29 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

การเร่งรัดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ ? การเร่งเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่อาจส่งผลกระทบในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไตรมาสที่ 4 ปี 2560

ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม ชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานตัวเลขปีก่อนค่อนข้างสูงจากความต้องการผ้าผืนและเสื้อผ้าสีดำ แต่การส่งออกสามารถขยายตัวได้ทั้งในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นผลจากการปรับโครงสร้างการผลิตที่เน้นการสร้างมูลลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลกได้

การผลิตและจำหน่ายในประเทศ

การผลิตเส้นใยประดิษฐ์เส้นด้าย ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ หดตัวโดยมีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 0.84 33.08 14.35 และ 2.13 (YoY)ตามลำดับ โดยเป็นการลดลงของผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าทอที่ผลิตจากฝ้าย ประกอบกับ ฐานตัวเลขในปีก่อนค่อนข้างสูงจากความต้องการเสื้อผ้าสีดำและผ้าผืนสีดำ เพื่อใช้ประดับสถานที่ และสวมใส่ในช่วงถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างไรก็ตาม เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าทอใยสังเคราะห์ ยังคงขยายตัวจากการผลิตเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิเส้นใยคอลาเจนเส้นใยคาร์บอน เส้นใย PLA

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,725.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.51(YoY)หากพิจารณากลุ่มสิ่งทอ พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 11.15 เป็นผลจากการปรับโครงสร้างการผลิตที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ ซึ่งไทยมีศักยภาพนในการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่ในส่วนการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 0โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากใยประดิษฐ์เสื้อผ้าเด็กอ่อน และชุดชั้นใน โดยตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐอเมิรกา ญี่ปุ่น เบลเยียมและเยอรมนี เนื่องจากมีแบรนด์ต่างประเทศพิจารณาไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขยายตัว

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,174.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.4 3 (YoY)จากการนำเข้าในกลุ่มด้ายทอผ้า เพื่อใช้ในการผลิตผ้าผืนรองรับการส่งออกที่มีทิศทางขยายตัวรวมถึงมีการนำเข้าเสื้อผ้าสตรีแบรนด์ต่างประเทศ และเสื้อยืดราคาถูกจาก จีน และกัมพูชา เข้ามาจำหน่าย

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาส 1 ปี 2561

ภาพรวมการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวตามทิศทางการส่งออกที่มีแนวโนมขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืน ไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก ประกอบกับมีการผลิตเพื่อรองรับการจำหน่ายในประเทศที่มีแนวโนมขยายตัวช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างไรก็ตาม จากภาระหนี้สินของครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาจทำให้บรรยากาศการใช้จ่ายของประชาชนอยู่ในกรอบที่ค่อนข้างจำกัด

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

การประกาศปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยแบ่งเป็น 7 อัตรา (ตั้งแต่ 8-22 บาท) ตามกลุ่มจังหวัด ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 25 61 ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบโดย สศอ. พบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจากมีสัดส่วนค่าจ้างแรงงานต่อมูลค่าการผลิตสูง ผู้ประกอบการอาจต้องวางแผนปรับตัว เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน และติดตามมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 4 ปี 2560 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนยังคงซบเซาไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี สอดคล้องกับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไปยังตลาดประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา

การผลิตเครื่องเรือนไม้ ไตรมาส 4 ปี 2560 มีจำนวน 1.53 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 11.56 (%QoQ ) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว เป็นผลให้การผลิตไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.25 (%YoY) สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี มีแนวโน้มความต้องการเครื่องเรือนไม้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผานมา

การจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2560 มีจำนวน 0.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 6.25 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากผู้บริโภคมีภาระค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เป็นผลให้ตลาดเครื่องเรือนไม้ยังคงซบเซา

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 4 ปี 2560 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 958.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 4.13 (%QoQ) ในภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไม่สามารถขยายตัวได้ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 11.79 (%Y oY) ซึ่งขยายตัวตามเศรษฐกิจในตลาดประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มเครืองเรือนและชิ้นส่วน 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ 3) กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่าการส่งออก 2 47.14, 38.80 และ 699.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาส 1 ของปี 2561

การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนไม้ภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 1 ของ ปี 2561 ที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

กรมป่าไม้อยู่ระหว่างการผลักดันยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร พ.ศ. 2 561-2579 โดยมมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลไม้เศรษฐกิจทั้งระบบและต่อยอดระบบการรับรองด้านป่าไม้ หรือ FSC เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ไปยังประเทศที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตยาในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศลดลงจากผลกระทบของการประกาศกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560ของกระทรวงการคลัง ในส่วนของการส่งออกยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมา

การผลิตยาไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 10,621.63 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.73 และ 2.42 ตามลำดับ จากการขยายตัวของการส่งออก การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 10,172.66 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.66 และ 4.33 ตามลำดับในภาพรวมการจำหน่ายยาของผู้ผลิต ในประเทศปรับตัวลดลงจากความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติตามประกาศกฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา

การส่งออกยาไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 101.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.04ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.94 จากการขยายตัวของตลาดเวียดนาม เมียนมาฟิลิปปินส์และกัมพูชา สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 401.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.12 ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.91 โดยเป็นการนำเข้ายาจากอินเดียสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 1 ของปี2561

สำหรับการผลิตยา ในไตรมาสที่ 1ของปี 2561 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กระทรวงการคลังประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560ส่งผลให้โรงพยาบาลของรัฐชะลอการจัดซื้อยาลง เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในหลักการปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 4ปี 2560 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวของการส่งออกโดยเฉพาะในตลาดจีนสหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย สำหรับตลาดในประเทศมีการขยายตัวที่ดีในสินค้าถุงมือยางและยางแปรรูปขั้นต้น แต่ยังชะลอตัวในสินค้ายางรถยนต์

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 389.85 พันตัน 8.68 ล้านเส้นและ 4,722.93 ล้านชิ้น ตามลำดับ ในส่วนของการผลิตยาง แปรรูป ขั้นต้นและถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 16.87 และ 4.15 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ21.62 และ 7.65 ตามลำดับ สำหรับการผลิตยางรถยนต์ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.87 ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.34

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีจำนวน 36.72 พันตัน 5.80 ล้านเส้นและ 912.87 ล้านชิ้น ตามลำดับโดยการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ6.77 และ 8.80 ตามลำดับในส่วนของการจำหน่ายยางรถยนต์ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ4.29 และ 0.85 ตามลำดับสำหรับการจำหน่ายถุงมือยางลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.28 ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 102.85 ตามความต้องการใช้ทางการ แพทย์ที่สูงขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า1,474.62 1,199.35และ 277.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.98 0.61 และ 0.70ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.65 23.57 และ 11.48 ตามลำดับจากการขยายตัวของตลาดจีนสหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในไตรมาสที่ 1ของปี 2561คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ รวม 6 โครงการ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ไตรมาส 4ปี 2560 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.48เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากทุกผลิตภัณฑ์ทั้งหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดเครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้าและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.516.24 และ 2.04 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียอย่างต่อเนื่อง

การผลิต

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ2 2.37 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออก และการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

รองเท้า มีดัชนีผลผลิตลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.69 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ2.92 เมื่อเปีปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกมีมูลค่ารวม 466.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.48 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดเครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้าและชิ้ชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.51 6.24 และ 2 .04ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียอย่างต่อเนื่อง

การนำเข้ามีมูลค่ารวม 402.47ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 3 จากการนาเข้าสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่ กระเป๋า และรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.57 และ 5.64 ตามลำดับตามทิศทางการขยายตัวของความต้องการสินค้า แบรนด์เนมของผู้บริโภค

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1 ปี 2561

การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้าที่มีทิศทางการผลิตเพิ่มขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ช่วงเทศกาลสำคัญ การขยายตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความนิยมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของไทย อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทางมีแนวโน้มการผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑฑ์กระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้น โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และจีน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ มีมติขยายการเปิดรับการยื่นขอสินเชื่อออกไปจนถึงเดือนธันวาคม 2560 อีกทั้งยังเตรียมมาตรการส่งเสริมและพัฒนา SMEs เต็มรูปแบบ โดยให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง เสนอแผนการช่วยเหลือ SMEs ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น (Lo caI Econom y) และยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งจะเริ่มให้บริการได้ในต้นปี 2561 ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว จะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อสินค้าเครื่องประดับที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ขณะเดียวกันการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงขึ้น จากมูลค่าการส่งออกพลอยและเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้น

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2560 หดตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 9.09(%QoQ) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากส่งออกสินค้าในสต็อกทดแทนการผลิตสินค้าใหม่และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 32.92(%YoY)เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อในตลาดหลักหลายแห่งลดลง

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2560ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.32(%QoQ)และ 13.64 (%YoY) โดยเฉพาะการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อสินค้าเครื่องประดับที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)ไตรมาส 4 ปี 2560 หดตัวลดลงร้อยละ 16.61(%QoQ) แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.14(%YoY) จากมูลค่าการส่งออกพลอยและเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาในภาพรวม พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ปรับตัวลดลงเช่นกัน ร้อยละ 50.14(%QoQ) และร้อยละ 16.02(%YoY)ตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำในตลาดโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2561

ไตรมาส 1 ปี 2561 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมที่นำออกจำหน่ายในช่วงที่ผ่านมาสำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่า จะขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหลายตลาด อาทิ จีน และญี่ปุ่น ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในภาพรวมคาดว่า จะขยายตัวเช่นกันจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้น

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ออกใบรับรองมาตรฐานคุณภาพเครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ผ่านการตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย เพื่อยกระดับมาตรฐานเครื่องประดับไทย โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินและทอง ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนงานหัตถศิลป์ไทย

อุตสาหกรรมอาหาร

ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการผลิต จำหน่าย ส่งออกและนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

การผลิตอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2560มีปริมาณ7,280,218.2 4ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 31.85 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 15.6 1 (%YoY) จากการเพิ่มการผลิตน้ำตาลทรายดิบน้ำมันปาล์มดิบน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เนื้อไก่แช่แข็งและแข่เย็นสับปะรดกระป๋องอาหารไก่สำเร็จรูปบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และกุ้งแช่แข็งเพื่อรองรับความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2 560มีปริมาณ4,80 9,657.81 ตันลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ร้อยละ 3.52 (%Q oQ)เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ลดลง แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.14 (%YoY) จากการจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบปลาซาร์ดีนกระป๋องอาหารไก่สำเร็จรูปเนื้อไก่แช่แข็งและแข่เย็น ไก่ปรุงรส และกุ้งแช่แข็งเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับการบริโภคขยายตัวจากการเฉลิมฉลองรับเทศกาลปีใหม่

ล้านการส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 7,691.97 เหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 2.66 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 11.78(%Y oY) จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าทั้งปริมาณและมูลค่า อาทิไก่แปรรูปลำไยสดน้ำตาลทรายดิบแป้งข้าวเจ้าสิ่งปรุงรสอาหารและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรวมทั้งสินค้าที่ปริมาณลดลงแต่มูลค่าเพิ่มขึ้น อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งข้าวขาวข้าวหอมมะลิมันเส้นทูน่ากระป๋องสตาร์ชทำจากมันสำปะหลังทุเรียนสดมะม่วงสดจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น รวมทั้ง CLM V

การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีมูลค่า 3,818.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ร้อยละ 6.24 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 5.06 (%YoY) จากการปรับระดับราคาปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งังการนำเข้ากากพืชน้ำมันและนมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อุตสาหกรรมนมและอาหารอื่นๆที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

“การผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยบวกอย่างผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และCLMVน่าจะส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ ประมง ผักผลไม้ น้ำตาล และธัญพืชและแป้ง เช่นเดียวกับการบริโภคในประเทศน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร

นโยบาย Super Cluster “การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมด้านอาหาร (Food Innopolis)”ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมการแปรรูปอาหารอย่างครบวงจร และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มขยายตัว

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ