1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.8 จากไตรมาส
ที่ 2 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง และประมง ลดลงร้อยละ 45.6 6.2 และ 5.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผล
จากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรม
อาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.2 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับ
ปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.)พบว่าปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
การผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ปริมาณพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบลดลง ได้แก่ กลุ่มแปร
รูปผักผลไม้ ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45.6 และ 11.0 ตามลำดับ และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมัน
สำปะหลัง และธัญพืช ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 27.3 นอกจากนี้ผลจากการแข็งค่าของ
เงินบาท ทำให้ราคาสินค้าของไทยโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งสูงขึ้น และมูลค่าเฉลี่ยลดลง สำหรับการผลิตกลุ่มแปรรูปปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อย
ละ 6.6 แต่ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค จึงชะลอการบริโภคลง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์ลด
ลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.1
ในส่วนกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลดีต่อการนำเข้า แต่เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาดโลกลดลง มาจากปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้ราคา
วัตถุดิบแพงขึ้น และปัญหาดังกล่าวยังส่งผลต่อปริมาณวัตถุดิบนำเข้าหลายชนิดลดลงด้วย เช่น นม และธัญพืช สำหรับการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุ
ดิบและบริโภคในประเทศ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน ร้อยละ 4.9 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันลดลงร้อยละ 5.0 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตลดลง และส่วนหนึ่งถูกนำไปผสมเป็น
น้ำมันเชื้อเพลิง
ภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 9 เดือนของปี 2550 มีปริมาณการผลิตลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า (ยกเว้นน้ำตาล)
ประมาณร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกชะลอตัวลง
ทุกกลุ่ม เช่น ผักผลไม้ ร้อยละ 22.8 ประมง ร้อยละ 13.4 และปศุสัตว์ร้อยละ 5.8 แต่หากรวมการผลิตน้ำตาล ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 จะทำให้
ภาพรวมของการผลิตขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81.2 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัวอย่างชัดเจน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อย
ละ 2.2 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและ
การเมืองของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่ม
สินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 22.0 ผักผลไม้ ร้อยละ 20.8 ประมง ร้อย
ละ 11.1 และปศุสัตว์ ร้อยละ 12.0
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 14.5 และน้ำตาล ร้อยละ 37.9 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลง
จากนโยบายการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายใน
ประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 1.0 เป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.7 และ
ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 8.7 แต่หากพิจารณาหมวดสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ปริมาณการจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ
22.1 ปศุสัตว์ร้อยละ 8.4 และอาหารสัตว์ร้อยละ 4.5 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัญหาด้านราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็น
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,086.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
139,750.9 ล้านบาท โดยหดตัวลงร้อยละ 2.8 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 3.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ใน
รูปของดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.5 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่
3 ของปี 2549 จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการหดตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในรูปเงินบาท แม้จะเพิ่มขึ้นในรูปของดอลลาร์ฯ เนื่อง
จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในการคำนวณผลประโยชน์สุทธิเป็นมูลค่าในรูปของเงินบาท ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะมีราย
ได้และกำไรจากการส่งออกลดลง อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.9 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
= กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,492.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 51,040.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง และอาหาร
ทะเลกระป๋องและแปรรูป และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในรูปดอลลาร์ฯแต่ลดลงร้อยละ 8.1 ใน
รูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 4,102.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 140,314.0
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 7.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.0 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาด
ใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะที่ตลาดหลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 491.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 16,794.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 5.3 ในรูปเงินบาท จากไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอคำสั่งซื้อ ประกอบกับเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ปริมาณการ
ผลิตและการส่งออกลดลง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น จากราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผล
ผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ
6.2 ในรูปดอลลาร์ฯ แต่จะลดลงในรูปเงินบาท ร้อยละ 3.1
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 283.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9,681.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 31.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 19.6 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,226.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 41,949.0 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 5.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 6.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และ
ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่
สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย สำหรับประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 1.4 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการลดลงของการ
ส่งออกสินค้า เช่น ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.1 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 5.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และด้าน
ราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงร้อย
ละ 40.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.7 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่า
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 72.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากในปีก่อนการผลิตอ้อยประสบปัญหาภัยธรรมชาติ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 312.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ10,697.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 และ
15.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 ในรูปดอลลาร์ฯ
และร้อยละ 15.4 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.9 ในรูปดอลลาร์และร้อยละ 24.9 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและ
อาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 2,074.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
67,959.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 59.0 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็น
แช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 25.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะ
พบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 6.7 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่
แข็ง และนมและผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 50.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.4
ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 26.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 15.5 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 30.3
ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลด
ลง มีเพียงปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้การนำเข้าลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ 2.4
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็น
การให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 รับทราบผลการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของ
สหรัฐอเมริกา โดยมีการตัดสิทธิ์สินค้าประเภทลิ้นจี่และลำไยกระป๋อง ซึ่งจะทำให้โอกาสในการเข้าตลาดสหรัฐฯ ลดลง
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 และ 28 สิงหาคม 2550 รับทราบสถานการณ์ภัยธรรมชาติและมาตรการแก้ไขและช่วย
เหลือผู้ประสบภัย โดยเน้นให้การช่วยเหลือกับเกษตรกรในเรื่องการชดเชยให้เกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยปี 2549-50
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินโครงการส่งเสริมการ
เลี้ยงโค-กระบือพันธุ์พื้นเมืองเป็นโครงการนำร่อง และให้เร่งประเมินผลโครงการโคเนื้อล้านครอบครัว รวบรวมปัญหาอุปสรรคและความรับผิดชอบของ
ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการต่อไปให้ชัดเจน
3.4 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 เห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายอาหาร ในการกำหนดนโยบาย
และมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2551 ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น โดยนโยบายและมาตรการนำเข้าเป็นไปตามข้อ
ผูกพันทางการค้ากับประเทศต่างๆ ที่ไทยได้ทำข้อตกลงไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนการผลิตในปี 2551 ได้คล่องตัวและทันการณ์
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วน
ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัย ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผล
กระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการ
ตลาดในการเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ในตลาดต่างประเทศ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มี
แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของ
เชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น
การประกาศมาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับ
ปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อย่าง
ไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership
Agreement : JTEPA) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่
ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบ
เทียบที่ลดลง
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/49 ไตรมาส2/50 ไตรมาส3/50 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกันของ
ของปีก่อน 9 เดือน ปีก่อน
ปศุสัตว์ 180,660.80 158,125.80 168,563.70 531,335.20 500,479.80 6.6 -6.7 -5.8
ประมง 182,638.20 152,847.50 144,854.60 524,746.20 454,538.80 -5.2 -20.7 -13.4
ผักผลไม้ 63,480.50 103,965.00 56,514.60 374,389.80 288,985.70 -45.6 -11 -22.8
น้ำมันพืช 336,608.40 304,782.70 319,620.90 965,078.40 918,561.70 4.9 -5 -4.8
ผลิตภัณฑ์นม 105,539.20 105,518.10 93,650.80 329,812.30 302,991.40 -11.2 -11.3 -8.1
ธัญพืชและแป้ง 197,807.30 153,315.50 143,751.00 679,723.60 588,172.90 -6.2 -27.3 -13.5
อาหารสัตว์ 766,210.40 699,994.70 703,877.00 2,203,657.40 2,110,322.10 0.6 -8.1 -4.2
น้ำตาล 11,417.10 393,231.20 77,913.10 2,674,611.40 3,159,592.50 -80.2 582.4 18.1
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 34,659.00 36,068.30 36,225.90 310,973.20 563,616.40 0.4 4.5 81.2
รวม 15,369,174.20 15,447,357.10 14,329,718.80 41,433,202.40 41,609,957.30 -7.2 -6.8 0.4
รวม(ไม่รวมน้ำตาล)1,867,603.80 1,714,617.60 1,667,058.50 5,919,716.10 5,727,668.80 -2.8 -10.7 -3.2
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/49 ไตรมาส2/50 ไตรมาส3/50 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกันของ
ของปีก่อน 9 เดือน ปีก่อน
ปศุสัตว์ 147,148.40 128,498.70 129,517.10 434,286.00 397,717.90 0.8 -12 -8.4
ประมง 17,705.50 13,362.10 15,736.40 49,548.90 44,627.30 17.8 -11.1 -9.9
ผักผลไม้ 7,766.20 5,720.10 6,150.70 22,091.40 17,202.70 7.5 -20.8 -22.1
น้ำมันพืช 237,599.60 214,496.50 207,508.50 666,677.70 614,441.80 -3.3 -12.7 -7.8
ผลิตภัณฑ์นม 63,728.10 79,782.70 72,977.70 201,667.10 219,309.60 -8.5 14.5 8.7
ธัญพืชและแป้ง 119,656.10 135,116.80 105,341.90 425,723.10 404,001.30 -22 -22 -5.1
อาหารสัตว์ 768,059.40 696,406.20 707,274.70 2,207,962.90 2,108,361.70 1.6 -7.9 -4.5
น้ำตาล 232,709.50 344,771.60 321,018.90 789,106.50 912,370.10 -6.9 37.9 15.6
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 30,822.50 30,470.10 30,788.60 313,418.30 557,022.70 1 -0.1 77.7
รวม 1,625,195.20 1,648,624.80 1,596,314.60 5,110,481.90 5,275,055.00 -3.2 -1.8 3.2
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 1,392,485.70 1,303,853.20 1,275,295.70 4,321,375.30 4,362,685.00 -2.2 -8.4 1
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบไตร เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง 9 เดือน
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 มาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 55,543.30 45,468.90 51,040.40 143,199.80 140,314.00 12.3 -8.1 -2
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 24,122.90 20,775.90 23,014.70 61,387.40 63,200.90 10.8 -4.6 3
- อาหารทะเลกระป๋อง 12,384.60 13,362.90 13,656.70 35,311.90 39,445.00 2.2 10.3 11.7
- อาหารทะเลแปรรูป 19,035.80 11,330.00 14,369.00 46,500.50 37,668.10 26.8 -24.5 -19
2. ปศุสัตว์ 8,097.80 7,369.10 9,681.20 23,172.90 24,869.50 31.4 19.6 7.3
- ไก่ 7,537.20 7,288.90 8,869.60 21,498.70 22,932.80 21.7 17.7 6.7
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 177.4 217.7 296.3 345.5 689.5 36.1 67 99.6
(2) ไก่แปรรูป 7,359.80 7,071.30 8,573.30 21,153.10 22,243.30 21.2 16.5 5.2
3. กลุ่มผักผลไม้ 17,730.30 18,594.70 16,794.30 52,899.40 51,254.20 -9.7 -5.3 -3.1
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 3,865.50 3,859.10 4,381.30 10,046.50 10,592.10 13.5 13.3 5.4
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,636.40 1,992.60 1,464.00 5,684.60 5,492.40 -26.5 -10.5 -3.4
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,362.40 10,205.70 8,427.50 29,396.50 27,478.40 -17.4 -10 -6.5
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,866.00 2,537.30 2,521.50 7,771.80 7,691.30 -0.6 -12 -1
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 42,539.50 44,919.70 41,949.00 118,116.00 128,883.40 -6.6 -1.4 9.1
- ข้าว 25,187.70 27,765.50 26,481.30 68,946.70 76,535.30 -4.6 5.1 11
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,615.40 1,314.90 1,462.60 4,350.30 3,935.80 11.2 -9.5 -9.5
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,696.20 4,476.90 4,175.70 13,964.90 12,794.50 -6.7 -11.1 -8.4
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 11,040.20 11,362.40 9,829.40 30,854.10 35,617.80 -13.5 -11 15.4
5. น้ำตาลทราย 10,194.50 16,029.40 9,588.20 22,468.20 38,840.90 -40.2 -5.9 72.9
6. อาหารอื่นๆ 9,273.00 12,620.40 10,697.80 24,587.90 30,702.30 -15.2 15.4 24.9
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,856.70 1,946.40 2,105.40 5,276.60 5,877.10 8.2 13.4 11.4
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,041.00 1,217.50 1,043.70 3,161.30 3,349.30 -14.3 0.3 5.9
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 744.6 636.7 694.7 2,263.30 1,963.20 9.1 -6.7 -13.3
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 354.9 437.9 432.5 928.1 1,221.40 -1.2 21.9 31.6
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 2,262.40 2,503.90 3,458.50 4,491.00 9,016.10 38.1 52.9 100.8
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,335.30 2,298.20 2,216.70 6,566.30 7,358.10 -3.5 -5.1 12.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 490 363.2 550.7 1,323.30 1,264.90 51.6 12.4 -4.4
- ไอศกรีม 188.1 245.9 195.6 578 652.2 -20.5 4 12.8
รวม 143,378.40 145,002.10 139,750.90 384,444.20 414,864.30 -3.6 -2.5 7.9
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบไตร เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง 9 เดือน
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 มาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,485.10 1,317.90 1,492.40 3,818.70 4,102.70 13.2 0.5 7.4
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 645 602.2 672.9 1,637.00 1,848.00 11.7 4.3 12.9
- อาหารทะเลกระป๋อง 331.1 387.3 399.3 941.7 1,153.40 3.1 20.6 22.5
- อาหารทะเลแปรรูป 509 328.4 420.1 1,240.00 1,101.40 27.9 -17.5 -11.2
2. ปศุสัตว์ 216.5 213.6 283.1 617.9 727.2 32.5 30.7 17.7
- ไก่ 201.5 211.3 259.3 573.3 670.5 22.8 28.7 17
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 4.7 6.3 8.7 9.2 20.2 37.3 82.7 118.8
(2) ไก่แปรรูป 196.8 205 250.7 564.1 650.4 22.3 27.4 15.3
3. กลุ่มผักผลไม้ 474.1 539 491.1 1,410.70 1,498.70 -8.9 3.6 6.2
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 103.4 111.9 128.1 267.9 309.7 14.5 23.9 15.6
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 43.8 57.8 42.8 151.6 160.6 -25.9 -2.2 5.9
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 250.3 295.8 246.4 783.9 803.5 -16.7 -1.6 2.5
- ผักกระป๋องและแปรรูป 76.6 73.5 73.7 207.2 224.9 0.2 -3.8 8.5
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,137.40 1,302.00 1,226.60 3,149.80 3,768.50 -5.8 7.8 19.6
- ข้าว 673.5 804.8 774.3 1,838.60 2,237.90 -3.8 15 21.7
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 43.2 38.1 42.8 116 115.1 12.2 -1 -0.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 125.6 129.8 122.1 372.4 374.1 -5.9 -2.8 0.5
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 295.2 329.3 287.4 822.8 1,041.50 -12.7 -2.6 26.6
5. น้ำตาลทราย 272.6 464.6 280.4 599.2 1,135.70 -39.7 2.9 89.6
6. อาหารอื่นๆ 247.9 365.8 312.8 655.7 897.7 -14.5 26.2 36.9
- สิ่งปรุงรสอาหาร 49.6 56.4 61.6 140.7 171.8 9.1 24 22.1
- นมและผลิตภัณฑ์นม 27.8 35.3 30.5 84.3 97.9 -13.5 9.6 16.2
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 19.9 18.5 20.3 60.4 57.4 10.1 2 -4.9
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 9.5 12.7 12.6 24.7 35.7 -0.4 33.3 44.3
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 60.5 72.6 101.1 119.8 263.6 39.3 67.2 120.1
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 62.4 66.6 64.8 175.1 215.1 -2.7 3.8 22.9
- โกโก้และของปรุงแต่ง 13.1 10.5 16.1 35.3 37 53 22.9 4.8
- ไอศกรีม 5 7.1 5.7 15.4 19.1 -19.8 13.7 23.7
รวม 3,833.60 4,203.00 4,086.30 10,251.80 12,130.50 -2.8 6.6 18.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาส เทียบกับ 9 เดือน
ปี 2549 ปี 2550 เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 6,896.00 6,973.90 8,755.10 23,718.00 23,153.00 25.5 27 -2.4
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,706.30 4,978.40 4,924.60 10,281.50 14,336.10 -1.1 4.6 39.4
กากพืชน้ำมัน 6,539.70 6,311.10 6,197.40 15,907.80 18,377.50 -1.8 -5.2 15.5
นมและผลิตภัณฑ์นม 2,818.20 5,245.90 3,472.90 8,728.50 10,374.90 -33.8 23.2 18.9
อาหารรวม 63,715.60 42,754.30 67,959.70 145,025 155,606 59 6.7 7.3
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาส เทียบกับ 9 เดือน
ปี 2549 ปี 2550 เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 202.3 194.7 270.8 632.5 677 39.1 33.9 7
เมล็ดพืชน้ำมัน 130.3 139.4 153.5 274.2 419.2 10.1 17.8 50.6
กากพืชน้ำมัน 184 177 193.2 424.2 537.4 9.1 5 26.7
นมและผลิตภัณฑ์นม 81.8 148.3 107.9 232.8 303.4 -27.2 31.9 30.3
อาหารรวม 1,788.60 1,196.50 2,074.40 3,867.30 4,549.90 73.4 16 17.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.8 จากไตรมาส
ที่ 2 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง และประมง ลดลงร้อยละ 45.6 6.2 และ 5.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผล
จากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรม
อาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.2 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับ
ปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.)พบว่าปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
การผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ปริมาณพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบลดลง ได้แก่ กลุ่มแปร
รูปผักผลไม้ ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45.6 และ 11.0 ตามลำดับ และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมัน
สำปะหลัง และธัญพืช ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.2 และ 27.3 นอกจากนี้ผลจากการแข็งค่าของ
เงินบาท ทำให้ราคาสินค้าของไทยโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งสูงขึ้น และมูลค่าเฉลี่ยลดลง สำหรับการผลิตกลุ่มแปรรูปปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อย
ละ 6.6 แต่ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค จึงชะลอการบริโภคลง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์ลด
ลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.1
ในส่วนกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลดีต่อการนำเข้า แต่เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาดโลกลดลง มาจากปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้ราคา
วัตถุดิบแพงขึ้น และปัญหาดังกล่าวยังส่งผลต่อปริมาณวัตถุดิบนำเข้าหลายชนิดลดลงด้วย เช่น นม และธัญพืช สำหรับการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุ
ดิบและบริโภคในประเทศ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน ร้อยละ 4.9 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันลดลงร้อยละ 5.0 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตลดลง และส่วนหนึ่งถูกนำไปผสมเป็น
น้ำมันเชื้อเพลิง
ภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 9 เดือนของปี 2550 มีปริมาณการผลิตลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า (ยกเว้นน้ำตาล)
ประมาณร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกชะลอตัวลง
ทุกกลุ่ม เช่น ผักผลไม้ ร้อยละ 22.8 ประมง ร้อยละ 13.4 และปศุสัตว์ร้อยละ 5.8 แต่หากรวมการผลิตน้ำตาล ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 จะทำให้
ภาพรวมของการผลิตขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81.2 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัวอย่างชัดเจน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อย
ละ 2.2 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและ
การเมืองของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่ม
สินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 22.0 ผักผลไม้ ร้อยละ 20.8 ประมง ร้อย
ละ 11.1 และปศุสัตว์ ร้อยละ 12.0
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 14.5 และน้ำตาล ร้อยละ 37.9 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลง
จากนโยบายการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายใน
ประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 1.0 เป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.7 และ
ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 8.7 แต่หากพิจารณาหมวดสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ปริมาณการจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ
22.1 ปศุสัตว์ร้อยละ 8.4 และอาหารสัตว์ร้อยละ 4.5 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัญหาด้านราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็น
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,086.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
139,750.9 ล้านบาท โดยหดตัวลงร้อยละ 2.8 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 3.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ใน
รูปของดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.5 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่
3 ของปี 2549 จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการหดตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในรูปเงินบาท แม้จะเพิ่มขึ้นในรูปของดอลลาร์ฯ เนื่อง
จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในการคำนวณผลประโยชน์สุทธิเป็นมูลค่าในรูปของเงินบาท ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะมีราย
ได้และกำไรจากการส่งออกลดลง อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.9 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
= กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,492.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 51,040.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง และอาหาร
ทะเลกระป๋องและแปรรูป และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในรูปดอลลาร์ฯแต่ลดลงร้อยละ 8.1 ใน
รูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 4,102.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 140,314.0
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 7.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.0 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาด
ใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะที่ตลาดหลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 491.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 16,794.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 5.3 ในรูปเงินบาท จากไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอคำสั่งซื้อ ประกอบกับเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ปริมาณการ
ผลิตและการส่งออกลดลง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น จากราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผล
ผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ
6.2 ในรูปดอลลาร์ฯ แต่จะลดลงในรูปเงินบาท ร้อยละ 3.1
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 283.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9,681.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 31.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 19.6 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,226.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 41,949.0 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 5.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 6.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และ
ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่
สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย สำหรับประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 1.4 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการลดลงของการ
ส่งออกสินค้า เช่น ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.1 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 5.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และด้าน
ราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงร้อย
ละ 40.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.7 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่า
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 72.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากในปีก่อนการผลิตอ้อยประสบปัญหาภัยธรรมชาติ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 312.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ10,697.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 และ
15.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 ในรูปดอลลาร์ฯ
และร้อยละ 15.4 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.9 ในรูปดอลลาร์และร้อยละ 24.9 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและ
อาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 2,074.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
67,959.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 59.0 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็น
แช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 25.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะ
พบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 6.7 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่
แข็ง และนมและผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 50.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.4
ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 26.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 15.5 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 30.3
ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลด
ลง มีเพียงปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้การนำเข้าลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ 2.4
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็น
การให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 รับทราบผลการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของ
สหรัฐอเมริกา โดยมีการตัดสิทธิ์สินค้าประเภทลิ้นจี่และลำไยกระป๋อง ซึ่งจะทำให้โอกาสในการเข้าตลาดสหรัฐฯ ลดลง
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 และ 28 สิงหาคม 2550 รับทราบสถานการณ์ภัยธรรมชาติและมาตรการแก้ไขและช่วย
เหลือผู้ประสบภัย โดยเน้นให้การช่วยเหลือกับเกษตรกรในเรื่องการชดเชยให้เกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยปี 2549-50
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินโครงการส่งเสริมการ
เลี้ยงโค-กระบือพันธุ์พื้นเมืองเป็นโครงการนำร่อง และให้เร่งประเมินผลโครงการโคเนื้อล้านครอบครัว รวบรวมปัญหาอุปสรรคและความรับผิดชอบของ
ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการต่อไปให้ชัดเจน
3.4 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 เห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายอาหาร ในการกำหนดนโยบาย
และมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2551 ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น โดยนโยบายและมาตรการนำเข้าเป็นไปตามข้อ
ผูกพันทางการค้ากับประเทศต่างๆ ที่ไทยได้ทำข้อตกลงไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนการผลิตในปี 2551 ได้คล่องตัวและทันการณ์
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วน
ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัย ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผล
กระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการ
ตลาดในการเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาลและเทศกาลต่างๆ ในตลาดต่างประเทศ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มี
แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของ
เชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น
การประกาศมาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับ
ปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อย่าง
ไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership
Agreement : JTEPA) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่
ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบ
เทียบที่ลดลง
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/49 ไตรมาส2/50 ไตรมาส3/50 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกันของ
ของปีก่อน 9 เดือน ปีก่อน
ปศุสัตว์ 180,660.80 158,125.80 168,563.70 531,335.20 500,479.80 6.6 -6.7 -5.8
ประมง 182,638.20 152,847.50 144,854.60 524,746.20 454,538.80 -5.2 -20.7 -13.4
ผักผลไม้ 63,480.50 103,965.00 56,514.60 374,389.80 288,985.70 -45.6 -11 -22.8
น้ำมันพืช 336,608.40 304,782.70 319,620.90 965,078.40 918,561.70 4.9 -5 -4.8
ผลิตภัณฑ์นม 105,539.20 105,518.10 93,650.80 329,812.30 302,991.40 -11.2 -11.3 -8.1
ธัญพืชและแป้ง 197,807.30 153,315.50 143,751.00 679,723.60 588,172.90 -6.2 -27.3 -13.5
อาหารสัตว์ 766,210.40 699,994.70 703,877.00 2,203,657.40 2,110,322.10 0.6 -8.1 -4.2
น้ำตาล 11,417.10 393,231.20 77,913.10 2,674,611.40 3,159,592.50 -80.2 582.4 18.1
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 34,659.00 36,068.30 36,225.90 310,973.20 563,616.40 0.4 4.5 81.2
รวม 15,369,174.20 15,447,357.10 14,329,718.80 41,433,202.40 41,609,957.30 -7.2 -6.8 0.4
รวม(ไม่รวมน้ำตาล)1,867,603.80 1,714,617.60 1,667,058.50 5,919,716.10 5,727,668.80 -2.8 -10.7 -3.2
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/49 ไตรมาส2/50 ไตรมาส3/50 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกันของ
ของปีก่อน 9 เดือน ปีก่อน
ปศุสัตว์ 147,148.40 128,498.70 129,517.10 434,286.00 397,717.90 0.8 -12 -8.4
ประมง 17,705.50 13,362.10 15,736.40 49,548.90 44,627.30 17.8 -11.1 -9.9
ผักผลไม้ 7,766.20 5,720.10 6,150.70 22,091.40 17,202.70 7.5 -20.8 -22.1
น้ำมันพืช 237,599.60 214,496.50 207,508.50 666,677.70 614,441.80 -3.3 -12.7 -7.8
ผลิตภัณฑ์นม 63,728.10 79,782.70 72,977.70 201,667.10 219,309.60 -8.5 14.5 8.7
ธัญพืชและแป้ง 119,656.10 135,116.80 105,341.90 425,723.10 404,001.30 -22 -22 -5.1
อาหารสัตว์ 768,059.40 696,406.20 707,274.70 2,207,962.90 2,108,361.70 1.6 -7.9 -4.5
น้ำตาล 232,709.50 344,771.60 321,018.90 789,106.50 912,370.10 -6.9 37.9 15.6
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 30,822.50 30,470.10 30,788.60 313,418.30 557,022.70 1 -0.1 77.7
รวม 1,625,195.20 1,648,624.80 1,596,314.60 5,110,481.90 5,275,055.00 -3.2 -1.8 3.2
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 1,392,485.70 1,303,853.20 1,275,295.70 4,321,375.30 4,362,685.00 -2.2 -8.4 1
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบไตร เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง 9 เดือน
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 มาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 55,543.30 45,468.90 51,040.40 143,199.80 140,314.00 12.3 -8.1 -2
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 24,122.90 20,775.90 23,014.70 61,387.40 63,200.90 10.8 -4.6 3
- อาหารทะเลกระป๋อง 12,384.60 13,362.90 13,656.70 35,311.90 39,445.00 2.2 10.3 11.7
- อาหารทะเลแปรรูป 19,035.80 11,330.00 14,369.00 46,500.50 37,668.10 26.8 -24.5 -19
2. ปศุสัตว์ 8,097.80 7,369.10 9,681.20 23,172.90 24,869.50 31.4 19.6 7.3
- ไก่ 7,537.20 7,288.90 8,869.60 21,498.70 22,932.80 21.7 17.7 6.7
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 177.4 217.7 296.3 345.5 689.5 36.1 67 99.6
(2) ไก่แปรรูป 7,359.80 7,071.30 8,573.30 21,153.10 22,243.30 21.2 16.5 5.2
3. กลุ่มผักผลไม้ 17,730.30 18,594.70 16,794.30 52,899.40 51,254.20 -9.7 -5.3 -3.1
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 3,865.50 3,859.10 4,381.30 10,046.50 10,592.10 13.5 13.3 5.4
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,636.40 1,992.60 1,464.00 5,684.60 5,492.40 -26.5 -10.5 -3.4
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,362.40 10,205.70 8,427.50 29,396.50 27,478.40 -17.4 -10 -6.5
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,866.00 2,537.30 2,521.50 7,771.80 7,691.30 -0.6 -12 -1
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 42,539.50 44,919.70 41,949.00 118,116.00 128,883.40 -6.6 -1.4 9.1
- ข้าว 25,187.70 27,765.50 26,481.30 68,946.70 76,535.30 -4.6 5.1 11
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,615.40 1,314.90 1,462.60 4,350.30 3,935.80 11.2 -9.5 -9.5
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,696.20 4,476.90 4,175.70 13,964.90 12,794.50 -6.7 -11.1 -8.4
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 11,040.20 11,362.40 9,829.40 30,854.10 35,617.80 -13.5 -11 15.4
5. น้ำตาลทราย 10,194.50 16,029.40 9,588.20 22,468.20 38,840.90 -40.2 -5.9 72.9
6. อาหารอื่นๆ 9,273.00 12,620.40 10,697.80 24,587.90 30,702.30 -15.2 15.4 24.9
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,856.70 1,946.40 2,105.40 5,276.60 5,877.10 8.2 13.4 11.4
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,041.00 1,217.50 1,043.70 3,161.30 3,349.30 -14.3 0.3 5.9
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 744.6 636.7 694.7 2,263.30 1,963.20 9.1 -6.7 -13.3
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 354.9 437.9 432.5 928.1 1,221.40 -1.2 21.9 31.6
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 2,262.40 2,503.90 3,458.50 4,491.00 9,016.10 38.1 52.9 100.8
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,335.30 2,298.20 2,216.70 6,566.30 7,358.10 -3.5 -5.1 12.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 490 363.2 550.7 1,323.30 1,264.90 51.6 12.4 -4.4
- ไอศกรีม 188.1 245.9 195.6 578 652.2 -20.5 4 12.8
รวม 143,378.40 145,002.10 139,750.90 384,444.20 414,864.30 -3.6 -2.5 7.9
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบไตร เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง 9 เดือน
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือนปี 2549 9 เดือนปี 2550 มาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,485.10 1,317.90 1,492.40 3,818.70 4,102.70 13.2 0.5 7.4
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 645 602.2 672.9 1,637.00 1,848.00 11.7 4.3 12.9
- อาหารทะเลกระป๋อง 331.1 387.3 399.3 941.7 1,153.40 3.1 20.6 22.5
- อาหารทะเลแปรรูป 509 328.4 420.1 1,240.00 1,101.40 27.9 -17.5 -11.2
2. ปศุสัตว์ 216.5 213.6 283.1 617.9 727.2 32.5 30.7 17.7
- ไก่ 201.5 211.3 259.3 573.3 670.5 22.8 28.7 17
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 4.7 6.3 8.7 9.2 20.2 37.3 82.7 118.8
(2) ไก่แปรรูป 196.8 205 250.7 564.1 650.4 22.3 27.4 15.3
3. กลุ่มผักผลไม้ 474.1 539 491.1 1,410.70 1,498.70 -8.9 3.6 6.2
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 103.4 111.9 128.1 267.9 309.7 14.5 23.9 15.6
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 43.8 57.8 42.8 151.6 160.6 -25.9 -2.2 5.9
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 250.3 295.8 246.4 783.9 803.5 -16.7 -1.6 2.5
- ผักกระป๋องและแปรรูป 76.6 73.5 73.7 207.2 224.9 0.2 -3.8 8.5
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,137.40 1,302.00 1,226.60 3,149.80 3,768.50 -5.8 7.8 19.6
- ข้าว 673.5 804.8 774.3 1,838.60 2,237.90 -3.8 15 21.7
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 43.2 38.1 42.8 116 115.1 12.2 -1 -0.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 125.6 129.8 122.1 372.4 374.1 -5.9 -2.8 0.5
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 295.2 329.3 287.4 822.8 1,041.50 -12.7 -2.6 26.6
5. น้ำตาลทราย 272.6 464.6 280.4 599.2 1,135.70 -39.7 2.9 89.6
6. อาหารอื่นๆ 247.9 365.8 312.8 655.7 897.7 -14.5 26.2 36.9
- สิ่งปรุงรสอาหาร 49.6 56.4 61.6 140.7 171.8 9.1 24 22.1
- นมและผลิตภัณฑ์นม 27.8 35.3 30.5 84.3 97.9 -13.5 9.6 16.2
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 19.9 18.5 20.3 60.4 57.4 10.1 2 -4.9
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 9.5 12.7 12.6 24.7 35.7 -0.4 33.3 44.3
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 60.5 72.6 101.1 119.8 263.6 39.3 67.2 120.1
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 62.4 66.6 64.8 175.1 215.1 -2.7 3.8 22.9
- โกโก้และของปรุงแต่ง 13.1 10.5 16.1 35.3 37 53 22.9 4.8
- ไอศกรีม 5 7.1 5.7 15.4 19.1 -19.8 13.7 23.7
รวม 3,833.60 4,203.00 4,086.30 10,251.80 12,130.50 -2.8 6.6 18.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาส เทียบกับ 9 เดือน
ปี 2549 ปี 2550 เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 6,896.00 6,973.90 8,755.10 23,718.00 23,153.00 25.5 27 -2.4
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,706.30 4,978.40 4,924.60 10,281.50 14,336.10 -1.1 4.6 39.4
กากพืชน้ำมัน 6,539.70 6,311.10 6,197.40 15,907.80 18,377.50 -1.8 -5.2 15.5
นมและผลิตภัณฑ์นม 2,818.20 5,245.90 3,472.90 8,728.50 10,374.90 -33.8 23.2 18.9
อาหารรวม 63,715.60 42,754.30 67,959.70 145,025 155,606 59 6.7 7.3
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาส เทียบกับ 9 เดือน
ปี 2549 ปี 2550 เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 202.3 194.7 270.8 632.5 677 39.1 33.9 7
เมล็ดพืชน้ำมัน 130.3 139.4 153.5 274.2 419.2 10.1 17.8 50.6
กากพืชน้ำมัน 184 177 193.2 424.2 537.4 9.1 5 26.7
นมและผลิตภัณฑ์นม 81.8 148.3 107.9 232.8 303.4 -27.2 31.9 30.3
อาหารรวม 1,788.60 1,196.50 2,074.40 3,867.30 4,549.90 73.4 16 17.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-