รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2561 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2561

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 8, 2018 15:03 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2560 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2561

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2561 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 3.93 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4/2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.37 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 1/2561 อาทิ ยานยนต์ (การเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ประกอบกับตลาดในประเทศมีการขยายตัว เนื่องจากผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก รวมทั้งการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง)การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (เพิ่มขึ้นในรายการน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นหลักตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและการส็งออกที่เพิ่มขึ้น) น้ำตาล (ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากปีนี้เปิดหีบการผลิตเร็ว และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น) น้ำมันพืช(ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นมาจากในช่วงต้นปี 2560 หลายจังหวัดทางภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการปลูกปาล์มประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้สวนปาล์มเสียหายเป็นจำนวนมากทำให้ฐานต่ำ และปีนี้ผลผลิตปาล์มมีมากขึ้น)

แนวโน้มไตรมาสที่ 2/2561

เหล็กและเหล็กกล้า คาดว่าดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ปี 2561 อยูที่ 118.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการจำหน่ายในประเทศ มีปริมาณ 4,417,676 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 เนื่องจากคาดว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างจากโครงการภาครัฐที่คาดว่าจะมีการเร่งดำเนินการ แต็ยังมีประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนที่อาจส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า) ประกอบกับหากความต้องการใช้ในประเทศน้อย อาจส่งผลต่อการผลิตและการบริโภคเหล็กทรงแบน

เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการและนโยบายด้านการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการผลิตสินค้า และมีการนำสินค้าคงคลังจำหน่ายมากขึ้น

อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และ IC ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มฟื้นตัว

ยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2561 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดว่า อาจชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ตามทิศทางการตลาดของผู้มีคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งเป็นคูค้าหลัก ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่อาจชะลอคำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จะส่งผลต่อสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทอย่างมาก

เซรามิก การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 2 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของชำร่วยเครื่องประดับ คาดว่า จะสามารถขยายตัวได้ดีในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศอิตาลี ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยรวม คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้สำหรับห้องปฏิบัติการ

ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 4.78 และ 7.29 ตามลำดับ จากความคาดหวังว่าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจคต์ต่าง ๆ จะมีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนและการหมดช่วงฤดูฝน ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ร้อยละ 9.07 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาพรวมการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวตามทิศทางการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของคูค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืน ไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลกประกอบกับผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตเส้นใยสมบัติพิเศษหลายชนิด เป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม S-curve ตามเป้าหมายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

ไม้และเครื่องเรือนไม้ การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะยังคงชะลอตัว โดยมีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.30 ตามแนวโน้มการปรับลดลงของคำสั่งซื้อจากทั้งในและต่างประเทศ

ยา การผลิตยาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.96 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิตยาทุกชนิดยกเว้นในส่วนของยาน้ำ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดยาในประเทศและตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียน

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 0.21 และ 4.91 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น คาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 5.79 ตามแนวโน้มการปรับลดคำสั่งซื้อของจีน

รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ในระดับสูง จากการที่ผู้ประกอบการรองเท้าและ เครื่องหนังรายใหญ่ในประเทศเพิ่มการลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง และรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของการท่องเที่ยว อีกทั้งการผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าไว้รองรับช่วงเปิดเทอม โดยเฉพาะกระเป๋าและรองเท้านักเรียน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การผลิตในไตรมาส 2 ปี 2561 ขยายตัว

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2561 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในภาพรวม คาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน จากราคาทองคำในตลาดโลกที่มีทิศทางขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อาหาร การผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยบวกอย่างเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 รวมทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และ CLMV รวมทั้งการขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ อาเซียน แอฟริกา และตะวันออกกลาง น่าจะส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ (เนื้อไก่แช่แข็งและแช่แย็น และเนื้อไก่แปรรูป) ประมง (ทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋อง) ผักผลไม้ (สับปะรดกระป๋อง และน้ำผลไม้) น้ำตาล (น้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาว) และธัญพืชและแป้ง (มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง) เช่นเดียวกับการบริโภคในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2561

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 4.0

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7

ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6

การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ร้อยละ 6.0

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 เป็นผลมาจากการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่ง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.7 ขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 3.4 และขยายตัวเร่งขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนตามการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้กำลังการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 72.4 เป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตของไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นตามการส่งออกที่เป็นปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายภาครัฐอยู่ในเกณฑ์สูงและมีแนวโน้มเร่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.93

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 121.11 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (111.84) ร้อยละ 8.29 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (116.53) ร้อยละ 3.93

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาลการผลิตยานยนต์ และการผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในงานทั่วไป เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ระดับการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 116.35 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (111.53) ร้อยละ 4.32 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (113.28) ร้อยละ 2.71

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในงานทั่วไปการผลิตยานยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ระดับการสำรองสินค้าเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 111.10 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (108.29) ร้อยละ 2.60 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (106.71) ร้อยละ 4.12

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่น ๆ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่น ๆ การผลิตยางล้อและยางใน และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ร้อยละ 60.66

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.38 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 67.35) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (ร้อยละ 69.61)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในงานทั่วไป เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 90.53

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 90.53 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (87.33) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (86.97) และดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 101.40 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 (100.10)

ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อค่าดัชนี ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2560 และการใช้จ่ายด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยผู้ประกอบการมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด รวมถึงการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในช่วงเวลาที่เงินบาทแข็งค่า

การค้าต่างประเทศ
"มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 เกินดุลการค้า 1,956.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ"

สถานการณ์การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 123,702.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 62,829.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 60,872.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ส่งผลให้การค้าในไตรมาส 1 ปี 2561 ดุลการค้าเกินดุล 1,956.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 62,829.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า การส่งออกสินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยสินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 5,599.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 50,432.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,511.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,286.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 7,255.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,989.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ18.8) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 2,587.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,476.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5) เคมีภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 2,203.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1)

ตลาดส่งออก

ด้านการส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) จีน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีสัดส่วนการส่งออกคิดรวมเป็นร้อยละ 68.7 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกไปยังตลาดหลักมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดยการส่งออกไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 23.4 รองลงมา คือ อาเซียน (9 ประเทศ) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และ สหภาพยุโรป มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 60,872.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 9,166.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 16,259.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.1 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 24,722.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2

สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 6,872.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,606.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 239.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 217.2

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 68.3 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยส่วนใหญ่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยนำเข้าจากสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 44.3 รองลงมา ได้แก่ จีนและอาเซียน (9 ประเทศ) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นที่ระดับ 16.4 และ 14.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1 ปี 2561

“เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการส่งออกและการผลิตขยายตัว อัตราเงินเฟ้อ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ”

ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นแรงขับเคลื่อนให้การส่งออกขยายตัวตามอุปสงค์สินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตในหลายประเทศทั่วโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และอัตราการว่างงานของหลายประเทศ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งขึ้นและความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 1.25-1.50% เป็น 1.50-1.75% อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย

ด้านสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 อยู่ที่ 63.9 ดอลล่าร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ 53.1 ดอลล่าร์/บาร์เรล สำหรับราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 62.8 ดอลล่าร์/บาร์เรล ซึ่งมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก และ อุปสงค์น้ำมันที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ยังต้องติดตาม เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าและนโยบายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตโลก และภาวะหนี้ในระบบเศรษฐกิจของจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจอุตสำหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2561 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2561 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีการผลิต

ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการนำเข้า

การผลิตไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีดัชนีผลผลิต 125.96 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 10.34 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.10 (%YoY) โดยเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.72 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.78 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.86 สำหรับเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 7.67 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง คือ เหล็กเส้นข้ออ้อยลดลงร้อยละ 17.54 รองลงมาคือเหล็กเส้นกลมลดลงร้อยละ 12.56 เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังตั้งแต่ช่วงต้นปี ยังอยู่ในปริมาณที่สูง

ดัชนีผลผลิตเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กทรงแบน คืออุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น และเหล็กทรงยาวมีดัชนีผลผลิตลดลงจากปริมาณสินค้าคงคลังตั้งแต่ช่วงต้นปี ยังอยู่ในปริมาณที่สูง

การจำหน่ายไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณ 4,352,363 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 9.34 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.35 (%YoY) โดยเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.46 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น คือเหล็กลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.27 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.77 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น คือ เหล็กแผ่นบางรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.81 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากยอดการผลิตรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ส่งผลให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น

การนำเข้าไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 2.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.16 (%YoY) โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.19 ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.10 และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.91 สำหรับเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.68 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นคือ เหล็กแผ่นบางรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.26 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ และเหล็กแผ่นบางรีดร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.91 และ 15.33 ตามลำดับ

แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ของปี2561

คาดว่าดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ปี 2561 อยู่ที่ 118.59 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการจำหน่ายในประเทศ มีปริมาณ 4,417,676 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 เนื่องจากคาดว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างจากโครงการภาครัฐที่คาดว่าจะมีการเร่งดำเนินการ แต่ยังมีประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนที่อาจส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า) ประกอบกับหากความต้องการใช้ในประเทศลดลง อาจส่งผลต่อการผลิตและการบริโภคเหล็กทรงแบน

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.85 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยสินค้าที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และมอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป จีน อาเซียน และญี่ปุ่น

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 3,953.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 5.02 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.12 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 129.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.85 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า พัดลม เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และคอมเพรสเซอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.57, 15.32, 15.15, 11.05, 5.09 และ 0.30 ตามล้าดับ ในขณะที่สินค้ามอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.08 3.60, 3.10 และ 3.06 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2561 สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า และตู้เย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.05, 11.27, 6.69, และ 3.25 ยกเว้นกระติกน้ำร้อน พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า และ คอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 26.42, 25.27, 24.23, 19.14, และ 10.97 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่าการส่งออก 6,322.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 6.32 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.75 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน อาเซียน และญี่ปุ่น เนื่องจากเครื่องปรับอากาศมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.82 เพิ่มจากในตลาดสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 33.39 ตู้เย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.09 เพิ่มจากในตลาดสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 44.12 เครื่องซักผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.15 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นถึงร้อยละ 36.82 และแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 โดยเพิ่มจากในตลาดจีนถึงร้อยละ 44.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 ผลจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการและนโยบายด้านการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการผลิตสินค้า และมีการนำสินค้าคงคลังจำหน่ายมากขึ้น

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้า PCBA, HDD, Monolithic IC และ Semiconductor โดยเป็นผลจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่าการนำเข้า 9,406.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 2.86 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.58 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากคือ วงจรรวม (IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.64 และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 102.33 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ1.47 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA, HDD, Monolithic IC และ Semiconductor ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83, 11.55, 8.70 และ 7.61 ตามลำดับ โดย IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากใช้เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสูง รวมถึงนำไปใช้เป็นชิ้นส่วน Smart phone, Tablet ส่วน HDD มีการพัฒนาให้มีความจุมากขึ้นเพื่อใช้ใน Cloud Storage

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่าการส่งออก 9,646.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยจาก ไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.81 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.31 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.04, 29.21, 23.38, 19.94 และ 8.53 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.91 วงจรรวม (IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.88 เครื่องพิมพ์ เครื่องสำเนาและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.56 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.08 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 110.46 และ 103.45 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

“สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และ IC ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มฟื้นตัว”

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็น การเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ประกอบกับตลาดในประเทศมี การขยายตัว เนื่องจากผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก รวมทั้งการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

การผลิตรถยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 539,690 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 5.60 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.15 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 41 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 58 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ร้อยละ 1

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 237,093 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 5.52 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.64 (%YoY) แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 43 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 14 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 295,230 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 1.90 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.84 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งร้อยละ 37 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 53 และรถ PPV ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 2,433.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 3.03 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.96 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 2,918.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 1.16 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.31 (%YoY) โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ เยอรมนี

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2561 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก็อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 543,178 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 6.73 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.43 (%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 465,093 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 10.70 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.72 (%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 252,986 คัน (เป็นการส่งออก CBU 100,546 คัน และ CKD 152,440 ชุด)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 11.57 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.06 (%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า197.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 7.00 (%QoQ) แต็เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.21 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซียและญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 157.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 7.75 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.20 (%YoY) โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2561 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

มูลค่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.56 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2560 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.24 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปุ๋ย เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย และประเทศในกลุ่มอาเซียน

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 2,058.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มูลค่า 1,937.06 คิดเป็นร้อยละ 6.29 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.56 (%YoY) แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 1,165.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 893.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2560 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปุ๋ย สี และเครื่องสำอาง ตามลำดับ

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่ารวม 4,043.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 10.01 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.24 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 2,614.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.02 และเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 1,429.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2560 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปุ๋ย เครื่องสำอางและ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5-10 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยการส่งออก การบริโภคภาคเอกชนยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและการกระตุ้นด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยในการขยายตัวของเคมีภัณฑ์

อุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณการส่งออกและนำเข้าขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าดีขึ้น ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วยหนุนการส่งออกสินค้าที่มีราคาเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันให้ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 (%QoQ) จากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งดัชนีผลผลิตที่ท้าให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกและผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติก

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ลดลงร้อยละ 2.66(%QoQ) จากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37(%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่ทำให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

ปริมาณ การส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณ 285,993 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 0.79(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.07 (%YoY) จากการส่งออกกลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว(3916) และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (3918)

ปริมาณ การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณ 198,925 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 1.17 (%QoQ) และ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.14 (%YoY) จากการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (3922) กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์มฟอยล์ และแถบอื่นๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (3920) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923)

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดว่ามีปริมาณการส่งออกกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก 262,974 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.30 (%YoY) และปริมาณนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก 182,805 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.42 (%YoY) เนื่องจากปริมาณการส่งออกและนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ราคาแนฟทาของตลาดเอเชียโดยภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย

มูลค่าการส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2561 มีมูลค่ารวม 2,800.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 16.33 (%YoY)

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาส 1 ปี 2561 มีมูลค่ารวม 1,169.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 6.50 (%YoY)

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคต่างๆ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียนและจีนปรับตัวดีขึ้น

ราคาสินค้า ราคาเอทิลีนและโพรพิลีนในตลาดเอเชียไตรมาส 4 ปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 38.85 และ 27.45 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 พบว่า ราคาเอทิลีนและโพรพิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคา 34.80 และ 25.68 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ไตรมาส 1 ปี 2561 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CFR) ของ LDPE,HDPE และ PP มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 40.41, 43.72 และ 40.28 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 พบว่าราคาเฉลี่ยของ LDPE, HDPE และ PP ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับราคา 40.41 41.44 และ 40.82 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 2 ปี 2561

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 2 ปี 2561 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,417.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีมูลค่าการนำเข้า 1,330.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.72 และ 18.81 ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องติดตาม คือ การปรับตัวของระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย และภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาวะความมั่นคงทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคต่างๆ

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

ดัชนีผลผลิตฯ การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มเยื่อกระดาษกระดาษและผลิตภัณฑ์ หนังสือและสิ่งพิมพ์ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการบริโภคของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่เป็นตลาดส่งออกหลักเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการบริโภคในประเทศที่ขยายตัว ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2561

“แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดว่า อาจชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ตามทิศทางการตลาดของผู้มีคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่อาจชะลอคำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จะส่งผลต่อสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทอย่างมาก”

การผลิตเยื่อและกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียนขยายตัวที่ร้อยละ 14.92 และ 4.35 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษแข็งและกระดาษคราฟต์ร้อยละ 6.57 1.22 และ 5.78 ตามลำดับจากปริมาณความต้องการบรรจุภัณฑ์ในประเทศและตลาดอาเซียนที่เป็นตลาดส่งออกหลักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561มีมูลค่า 554.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.42เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกเยื่อกระดาษชนิดเยื่อไม้เคมีละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70 ไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีน ในส่วนกระดาษและผลิตภัณฑ์ส่งออกเพิ่มขึ้นไปเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ เพิ่มขึ้นจากฟิลิปปินส์ ในประเภทสิ่งพิมพ์กระดาษที่มีตราแสตมป์ ธนบัตร สมุดเช็ค เป็นต้น

การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 627.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง ร้อยละ 19.11 จากความนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิตอล

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 7 อัตราตามกลุ่มจังหวัด ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไปนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนหรือปรับเปลี่ยนให้มีการนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ตามความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย คาดว่าตลาดอาเซียนจะเป็นตลาดส่งออกหลักที่ขยายตัวและเติบโตต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมเซรามิก

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัวดีขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย โดยเครื่องสุขภัณฑ์สามารถขยายตัวได้ดีจากความต้องการซื้อทั้งในและต่างประเทศ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและจีน โดยของชำร่วยเครื่องประดับ มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ซึ่งส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างอิตาลีและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น

การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 36.41 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 25.16(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.58(%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1. 88 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.14 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.94 ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 44.43 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 23.98(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.96(%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีจำนวน 1.06 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.66 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.06 จากการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ

การส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 การส่งออกกระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีมูลค่า 23.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.64 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 4.84 จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งเป็นตลาดหลัก ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 52.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.08 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.42 จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศจีน ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 2 ของปี 2561

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 2 ของปี 2561 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของชำร่วยเครื่องประดับ คาดว่า จะสามารถขยายตัวได้ดีในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศอิตาลี ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยรวม คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นในผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้สำหรับห้องปฏิบัติการ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก

กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งโรงเรียนสอนการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ซึ่งอยู่ภายใต้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม กล้วยน้ำไท เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเริ่มนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในโรงงาน โดยเริ่มกระบวนการไม่ซับซ้อน โดยหนึ่งในนั้นประกอบด้วย อุตสาหกรรมเซรามิกที่มีการใช้หุ่นยนต์แขนกลในการหยิบจับวัสดุที่มีความร้อนสูงแทนแรงงานเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก ให้สามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้อยู่ในระดับสูงได้

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตและการจำหน่ายลดลงจากสภาวะตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศยังไม่ฟื้นตัวตลาดมีการแข่งขันสูง การเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานของรัฐยังมีความคืบหน้าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเท่าที่ควร แต่การส่งออกสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจของโลก

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 10,523,268 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 9.51 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 4.16 (%YoY) จากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้ปูนซีเมนต์ยังไม่เป็นไปตามคาดหวังในช่วงไตรมาสนี้

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 9,153,517 ตัน แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 11.91 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.98 (%YoY) เนื่องจากยังมีการแข่งขันสูงในตลาดและภาวะตลาดที่ยังทรงตัว ความผิดปกติของฤดูกาลที่ในช่วงต้นไตรมาสยังมีฝนตกหนักเป็นช่วง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างการส่งออก-นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่าจากการส่งออก 93.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2560 แต่ลดลงร้อยละ 2.66 (%YoY)จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการปรับลดคำสั่งซื้อของเวียดนาม ศรีลังกา เมียนมา ลาว และกัมพูชา

มูลค่าการนำเข้ามีจำนวน 20.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 41.20 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 153.08 โดยเพิ่มขึ้นมากจากการนำเข้าปูนซีเมนต์ราคาถูกจากสปป.ลาว

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 4.78 และ 7.29 ตามลำดับ จากความคาดหวังว่าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจคต์ต่าง ๆ จะมีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนและการหมดช่วงฤดูฝน ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ร้อยละ 9.07 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวจากการพัฒนาและผลิตเส้นใยสมบัติพิเศษต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการส่งออกเส้นใยสิ่งทอของไทยให้ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559

การผลิตและจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2 (%YoY) โดยเป็นการขยายตัวในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ได้มีการพัฒนาเส้นใยสมบัติพิเศษต่าง ๆ เช่น เส้นใยคอลลาเจน เส้นใยคาร์บอน เส้นใยกันไฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น และผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายบุรุษ เพื่อรองรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ยุโรป และญี่ปุ่น สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และเครื่องแต่งกายจากผ้าถักมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.4 และ 3.0(%YoY) ตามลำดับ จากการผลิตชุดชั้นในสตรี เสื้อผ้าชั้นนอกของสุภาพบุรุษ เพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเส้นด้าย และผ้าผืนดัชนีผลผลิตหดตัวโดยมีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 26.9 และ 12.3 (%YoY) ตามลำดับ โดยเป็นการลดลงของผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าทอที่ผลิตจากฝ้ายตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เส้นใยสังเคราะห์และผ้าทอใยสังเคราะห์ ยังคงขยายตัวจากการผลิตเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิ เส้นใยคอลลาเจน เส้นใยคาร์บอน เส้นใยPLA (Poly Lactic Acid)

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,771.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.6 (%YoY) หากพิจารณากลุ่มสิ่งทอ พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 11.4 เป็นผลจากการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ โดยเฉพาะเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ ซึ่งไทยมีศักยภาพในการส่งออก ในตลาดสำคัญ ได้แก่ ตุรกี ญี่ปุ่น เวียดนาม เมียนมา และบังคลาเทศ ในส่วนการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มเสื้อผ้าส้าเร็จรูป ถุงมือ ถุงเท้า ในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม จีน และฝรั่งเศสประกอบกับมีแบรนด์ต่างประเทศพิจารณาให้ไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขยายตัว

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,266.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.2 (%YoY) จากการนำเข้าในกลุ่มด้ายทอผ้า เพื่อใช้ในการผลิตผ้าผืนรองรับการส่งออกที่มีทิศทางขยายตัวรวมถึงมีการนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลกและระดับภูมิภาค ในลักษณะการเปิดสาขาหรือร้านจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและเสื้อยืดราคาถูกจาก จีน และกัมพูชา เข้ามาจำหน่าย

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาส 2 ปี 2561

ภาพรวมการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวตามทิศทางการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืน ไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก ประกอบกับผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตเส้นใยสมบัติพิเศษหลายชนิด เป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม S-curve ตามเป้าหมายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง ในขณะที่การส่งออกขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 1.54 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.09 และ 9.41 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อลดลง ตามยอดจำหน่ายในร้านค้าปลีกในประเทศที่ยังชะลอตัว

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 0.33 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.94 และ 5.71 ตามลำดับ ในภาพรวมการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ของผู้ผลิตไทยชะลอตัวลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่ารวม 990.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.51 และ 17.26 ตามลำดับ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 249.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.03 และ 14.48 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ไม้ 38.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.98 และ 3.34 ตามลำดับและไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ 702.27 ล้านเหรียญ สหรัฐฯขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.41 และ 19.68 ตามลำดับ ในภาพรวมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มีการขยายตัวที่ดี โดยเฉพาะในตลาด ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา และจีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

สำหรับการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะยังคงชะลอตัว โดยมีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.30 ตามแนวโน้มการปรับลดลงของคำสั่งซื้อจากทั้งในและต่างประเทศ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

กรมป่าไม้มีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อรองรับความต้องการใช้ไม้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือนไม้การก่อสร้าง ฯลฯ อย่างยั่งยืน โดยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร พ.ศ.2561-2579 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตยาในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวที่ดีขึ้นของตลาดยาในประเทศ ในส่วนของการส่งออกยังขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา

การผลิตยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 11,413.70 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.51 และ 4.50 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อลดลง ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ของไทยบางรายมีการปรับปรุงระบบการผลิต ทำให้มีปริมาณการผลิตยาหลายชนิดลดลง โดยเฉพาะในส่วนของยาน้ำ

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 11,886.74 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.95 และ 2.63 ตามลำดับ ในภาพรวมการจำหน่ายยาของผู้ผลิตในประเทศขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีขึ้นของตลาดยาในประเทศ

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 90.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.89 ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.15 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และฮ่องกง ในส่วนของการนำเข้ายามีมูลค่า 469.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.03 และ 15.62 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้ายาจากอินเดีย สวิตเซอร์แลนด์เยอรมนี ญี่ปุ่น และสเปน เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอินเดียซึ่งในไตรมาสนี้มีมูลค่าการนำเข้ายาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

สำหรับการผลิตยาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.96 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิตยาทุกชนิดยกเว้นในส่วนของยาน้ำ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดยาในประเทศและตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยโดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคอาเซียน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอยู่ระหว่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทบัญญัติในการคุ้มครองประชาชนผู้ใช้ยาอย่างเพียงพอ และแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาตและการควบคุมการผลิต การขาย รวมถึงการนำเข้ายา ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่มีปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นลดลง สำหรับตลาดในประเทศมีการขยายตัวที่ดีในสินค้าถุงมือยาง แต่ยังชะลอตัวในสินค้ายางรถยนต์และยางแปรรูปขั้นต้น

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 3.49 แสนตัน 8.71 ล้านเส้น และ 4.51 พันล้านชิ้น ตามลำดับ ในส่วนของการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.23 และ 4.88 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.39 ตามการส่งออกที่ปรับลดลง

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีจำนวน 40.76 พันตัน 5.84 ล้านเส้น และ 874.22 ล้านชิ้น ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นและยางรถยนต์ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.35 และ 3.31 ตามลำดับ ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 59.89 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 1,176.37 1,217.07 และ 284.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.32 และ 13.43 ตามลำดับจากการขยายตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาและมาเลเซียในสินค้ายางรถยนต์ และตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ในสินค้าถุงมือยาง ในขณะที่การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 34.83 จากการปรับลดคำสั่งซื้อลงของจีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.21 และ 4.91 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นต้น คาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 5.79 ตามแนวโน้มการปรับลดคำสั่งซื้อลงของจีน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ รวม 6 โครงการ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ไตรมาส 1 ปี 2561 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.56 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากทุกผลิตภัณฑ์ ทั้งวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอก กระเป๋า และรองเท้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.12 15.24 และ 34.95 ตามลำดับ จากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ช่วงเทศกาลสำคัญ การขยายตัวของการท่องเที่ยวและความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว

การผลิต

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.84 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออก และการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์รองเท้า เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอยู่ในระดับทรงตัว หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.04 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกมีมูลค่ารวม 416.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้าและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.94 22.85 และ 2.07 ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยมีสหรัฐอเมริกา จีน สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญ

การนำเข้ามีมูลค่ารวม 461.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56 จากการนำเข้าวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอก กระเป๋า และรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 15.24 และ 34.95 ตามลำดับจากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ช่วงเทศกาลสำคัญการขยายตัวของการท่องเที่ยว และความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 ปี 2561

การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ในระดับสูง จากการที่ผู้ประกอบการรองเท้าและเครื่องหนังรายใหญ่ในประเทศเพิ่มการลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง และรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของการท่องเที่ยว อีกทั้งการผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าไว้รองรับช่วงเปิดเทอม โดยเฉพาะกระเป๋าและรองเท้านักเรียน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การผลิตในไตรมาส 2 ปี 2561 ขยายตัว

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 55 เมืองรอง โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวในจังหวัดดังกล่าว มาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวเป็นการกระจายโอกาสในเชิงพื้นที่ คือ การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองรองและชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน อีกทั้งจะเป็นการกระจายโอกาสในเชิงรายได้จากการท่องเที่ยวให้ลงสู่เศรษฐกิจฐานรากซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการบริโภคสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวสูงขึ้น ส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องประดับทำด้วยทอง เนื่องจากราคาวัตถุดิบทองค้าปรับตัวสูงขึ้น

การผลิต อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2561 หดตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 23.73 (%QoQ) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากส่งออกสินค้าในสต็อกทดแทนการผลิตสินค้าใหม่ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 35.70 (%YoY) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อในตลาดหลักหลายแห่งลดลง

การจำหน่าย อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2561 ลดลง ร้อยละ 17.40 (%QoQ) และ 20.42 (%YoY) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคในหลายประเทศลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน

การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 1 ปี 2561ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.73 (%QoQ) และ 3.60 (%YoY) ส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องประดับทำด้วยทอง เนื่องจากราคาวัตถุดิบทองคำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้หากพิจารณาในภาพรวม พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.43 จากไตรมาสที่ผ่านมา แต่หดตัวลง ร้อยละ 12.74 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำในตลาดโลก

คาดการณ์แนวโน้ม ไตรมาส 2 ปี 2561

ไตรมาส 2 ปี 2561 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ขณะที่แนวโน้มการส่งออกในภาพรวม คาดว่า จะขยายตัวเช่นกัน จากราคาทองคำในตลาดโลกที่มีทิศทางขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับแผนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ซึ่งนอกจากการเพิ่มศักยภาพการผลิตให้เป็นสากลแล้ว ยังจำเป็นต้องเน้นการสร้างคุณภาพมาตรฐาน การพัฒนาการตลาดยุคใหม่ผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงการบูรณาการร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างตลาดและภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทย

อุตสาหกรรมอาหาร

ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เพื่อรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น รวมทั้ง CLMV กอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การผลิตอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณ 18,343,827.459 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 143.11 (%QoQ) ปัจจัยหลักเป็นผลจากการเข้าสู่ฤดูหีบอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลและเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.17 (%YoY) เพื่อรองรับผลผลิตออกสู่ตลาดของสินค้าเกษตรที่สำคัญ กอปรกับเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์น้ำตาลทรายดิบ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่แย็น ทูน่ากระป๋อง อาหารไก่สำเร็จรูปเนื้อไก่แปรรูปและซาร์ดีนกระป๋อง

การจำหน่ายอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีปริมาณ 6,473,558.261 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 23.02 (%QoQ) และปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.95 (%YoY) จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่แย็น เนื้อไก่แปรรูปและอาหารไก่สำเร็จรูปเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับการบริโภคขยายตัวจากการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคที่เริ่มดีขึ้น

การส่งออกไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า 7,407.63 ล้านเหรียญ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 3.70 (%QoQ) จากการส่งออกที่ลดลง อาทิกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์ข้าวและน้ำปลา แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.81 (%YoY) จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าทั้งปริมาณและมูลค่า อาทิ สตาร์ชที่ทำจากมันสำปะหลัง เนื้อไก่แช่แข็งและแช่แย็น เนื้อไก่แปรรูป ซาร์ดีนกระป๋อง น้ำตาลทรายดิบ ผลิตภัณฑ์ข้าว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จ สิ่งปรุงรสอาหาร (ซอส และน้ำปลา) ทุเรียนสดและมะม่วงสด รวมทั้งสินค้าที่ปริมาณลดลงแต่มูลค่าเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวขาวมันเส้น และทูน่ากระป๋อง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น รวมทั้ง CLMV

การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 มีมูลค่า3,547.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ร้อยละ 4.55 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.74 (%YoY) จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นสอดคล้องตามคำสั่งซื้อทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นหลังจากคู่ค้าคลายความกังวลด้านราคารวมทั้งการนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารนมและอาหารอื่น ๆ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561

“การผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยบวกอย่างเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 รวมทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และ CLMV รวมทั้งการขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ อาเซียน แอฟริกา และตะวันออกกลาง น่าจะส่งผลให้การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งกลุ่มปศุสัตว์ (เนื้อไก่แช่แข็งและแช่แย็น และเนื้อไก่แปรรูป) ประมง (ทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋อง) ผักผลไม้(สับปะรดกระป๋อง และน้ำผลไม้) น้ำตาล (น้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาว) และธัญพืชและแป้ง (มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง) เช่นเดียวกับการบริโภคในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น”

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ