การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อ
พิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีการผลิตและดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.34 และ
30.15 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ดัชนีการผลิต และดัชนีการจำหน่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.95 และ 5.28 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,606.6ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่ง
ออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองที่มีมูลค่า 343.1 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการส่งออกพลอยที่มีมูลค่า 116.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 383.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อิสราเอล และเบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.43, 18.97 และ 17.01 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์
อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 260.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
27.77, 24.79 และ 24.61 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 116.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
47.25, 20.03 และ 7.67ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 555.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.34 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 33.98, 13.80 และ 9.31 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 191.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 48.4, 9.83 และ 7.93 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.11, 20.71 และ 8.90 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 49.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.86, 21.25 และ 6.19 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.19 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และฮ่องกง คิดเป็นสัด
ส่วนร้อยละ 29.86, 20.6 และ 11.92 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีขนาดการขยายตัวของมูลค่าการ
ส่งออกอย่างเห็นได้ชัด คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 600.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ
1,500.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.91,
33.72 และ 26.14 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นี้ ต้องเผชิญกับการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทาง
ภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีในสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 แต่โดยรวมแล้วมูลค่าการส่ง
ออกเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง ไตรมาสนี้ มีมูลค่า 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 9.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มูลค่าการส่งออกในเดือนกันยายนที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น
สาเหตุเพราะแม้อัตราภาษีของสินค้าพิกัดนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 แต่คู่แข่ง เช่น จีน และอินเดีย มีการเสียภาษีในอัตรานี้เช่นกัน และอีกส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากการที่มีมูลค่าการส่งออกในสินค้าพิกัดนี้ไปยัง ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และอิตาลี เพิ่มมากขึ้น
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
1,123.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำ
เข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97.19 ของการนำเข้า
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย
อิสราเอล และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 11.72, 10.99, 9.44 และ 8.51 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลด
ลงร้อยละ 4.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับอัญมณี ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอิตาลี
คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 14.30, 10.54, และ 10.44 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นกว่าร้อยละ 30.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อีกทั้งการจำหน่ายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.14 ด้านการส่งออกมีการขยายตัวอย่างสูงมากคือ
เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวก คือ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 40.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนการส่งออก
สูงถึงร้อยละ 34.56 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด หากไม่นับทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่เป็นสินค้าวัตถุดิบ ในไตรมาสนี้มีสัดส่วนการส่งออก
สูงมากถึงร้อยละ 34.87 โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการที่ปัจจัยค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ตลอดปี 2550 เพื่อให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป และผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
(JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 2.7-10.0 ลงเหลือศูนย์ทันทีที่มีผลบังคับใช้ คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ทำให้ญี่ปุ่นจะ
เป็นช่องทางการทำตลาด โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยเงิน และทำด้วยทอง รวมทั้งอัญมณี จำพวกเพชร และพลอย ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้
ประกอบการไทยบางส่วนได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว แต่บางส่วนที่ยังไม่ได้เตรียมการควรต้องเร่งดำเนินการ นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ได้มีการจัด
งาน บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 40 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่
18-22 กันยายน 2550 ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ซึ่งคาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีกอันเนื่องมา
จากคำสั่งซื้อที่ได้จากงาน จากปัจจัยทั้งสามดังกล่าวจึงคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้อีก ซึ่งสามไตรมาสที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกรวมกันเกือบ
เท่ากับมูลค่าการส่งออกตลอดปี 2549 ดังนั้นหากไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะทำให้ตลอดทั้งปี
2550 ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออกโดยรวมสูงประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าจะเป็นการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2549 ทีเดียว
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q3(50)/Q2(50) Q3(50)/Q3(49)
ผลผลิต 61 66.3 69.1 69 56.7 73.9 30.34 6.95
ส่งสินค้า 65 67 73.8 69.7 59.7 77.7 30.15 5.28
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 92 89.6 95.1 98.9 98.3 99.9 1.63 5.05
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมฐานเฉลี่ย ปี 2543
และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
รายการ 2549 2550 Q3(50) เปรียบเทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(50) Q3(49)
902.5 904.9 887.1 1,033.80 856.9 1,606.60 87.49 81.11
1 อัญมณี 300.6 263.8 302.1 309.5 293.6 383.6 30.65 26.98
(1) เพชร 231.2 201.1 220.8 218.2 219.3 260.4 18.74 17.93
(2) พลอย 66 56.2 76.4 89.2 73.1 116.6 59.51 52.62
(3) ไข่มุก 3.5 6.4 5 2.1 1.2 6.6 450 32
2 เครื่องประดับแท้ 369.6 366.5 478.8 366.8 395.6 555.2 40.34 15.96
(1) ทำด้วยเงิน 117 129.6 153.5 152.9 175.1 191.5 9.37 24.76
(2) ทำด้วยทอง 243.1 226.9 314.2 186 192.9 343.1 77.86 9.2
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 9.5 10.1 11 27.9 27.6 20.6 -25.36 87.27
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 32.6 40.6 42.7 43.5 42 49.1 16.9 14.99
4 อัญมณีสังเคราะห์ 3.6 12.9 12.9 12.4 12.3 24.5 99.19 89.92
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 173.7 206.9 35 274.6 80 560.3 600.38 1,500.86
22.3 14.3 15.6 27.1 33.4 33.9 1.5 117.31
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
รายการ 2549 2550 Q3(50) เปรียบเทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(50) Q3(49)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 961.7 1,027.30 969.7 903.7 1,145.60 1,123.50 -1.93 15.86
1 เพชร 371.9 303.8 308.2 339.1 320.1 393.4 22.9 27.64
2 พลอย 43.6 35.9 46.7 63.9 42 63.7 51.67 36.4
3 อัญมณีสังเคราะห์ 8.1 8.9 9.9 7.6 14.6 19 30.14 91.92
4 ไข่มุก 6.2 2.8 3.6 6.2 3 6 100 66.67
5 ทองคำ 405.2 551.3 481.2 325.6 568.3 446.4 -21.5 -7.23
6 เงิน 98.7 93.9 80.2 104 134.2 120.3 -10.4 50
7 แพลทินัม 7.4 5.2 7.5 5.9 4.7 6.6 40.43 -12
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 20.5 25.7 32.3 51.4 58.6 68.1 16.21 110.8
เครื่องประดับอัญมณี 64.3 49.9 62.5 52.9 60.2 60 -0.33 -4
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 59.9 45.7 57.6 48.1 54.8 54.3 -0.91 -5.73
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 4.4 4.2 4.9 4.8 5.4 5.7 5.56 16.33
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อ
พิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีการผลิตและดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.34 และ
30.15 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ดัชนีการผลิต และดัชนีการจำหน่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.95 และ 5.28 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,606.6ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่ง
ออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองที่มีมูลค่า 343.1 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการส่งออกพลอยที่มีมูลค่า 116.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 383.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อิสราเอล และเบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.43, 18.97 และ 17.01 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์
อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 260.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
27.77, 24.79 และ 24.61 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 116.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
47.25, 20.03 และ 7.67ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 555.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.34 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 33.98, 13.80 และ 9.31 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 191.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 48.4, 9.83 และ 7.93 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.11, 20.71 และ 8.90 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 49.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.86, 21.25 และ 6.19 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.19 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และฮ่องกง คิดเป็นสัด
ส่วนร้อยละ 29.86, 20.6 และ 11.92 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีขนาดการขยายตัวของมูลค่าการ
ส่งออกอย่างเห็นได้ชัด คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 600.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ
1,500.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.91,
33.72 และ 26.14 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นี้ ต้องเผชิญกับการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทาง
ภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีในสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 แต่โดยรวมแล้วมูลค่าการส่ง
ออกเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง ไตรมาสนี้ มีมูลค่า 343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 9.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มูลค่าการส่งออกในเดือนกันยายนที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น
สาเหตุเพราะแม้อัตราภาษีของสินค้าพิกัดนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 แต่คู่แข่ง เช่น จีน และอินเดีย มีการเสียภาษีในอัตรานี้เช่นกัน และอีกส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากการที่มีมูลค่าการส่งออกในสินค้าพิกัดนี้ไปยัง ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และอิตาลี เพิ่มมากขึ้น
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
1,123.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำ
เข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97.19 ของการนำเข้า
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย
อิสราเอล และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 11.72, 10.99, 9.44 และ 8.51 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลด
ลงร้อยละ 4.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับอัญมณี ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอิตาลี
คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 14.30, 10.54, และ 10.44 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นกว่าร้อยละ 30.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อีกทั้งการจำหน่ายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.14 ด้านการส่งออกมีการขยายตัวอย่างสูงมากคือ
เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 87.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวก คือ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 40.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนการส่งออก
สูงถึงร้อยละ 34.56 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด หากไม่นับทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่เป็นสินค้าวัตถุดิบ ในไตรมาสนี้มีสัดส่วนการส่งออก
สูงมากถึงร้อยละ 34.87 โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 560.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการที่ปัจจัยค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ตลอดปี 2550 เพื่อให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป และผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
(JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 2.7-10.0 ลงเหลือศูนย์ทันทีที่มีผลบังคับใช้ คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ทำให้ญี่ปุ่นจะ
เป็นช่องทางการทำตลาด โดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยเงิน และทำด้วยทอง รวมทั้งอัญมณี จำพวกเพชร และพลอย ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้
ประกอบการไทยบางส่วนได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว แต่บางส่วนที่ยังไม่ได้เตรียมการควรต้องเร่งดำเนินการ นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ได้มีการจัด
งาน บางกอก เจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 40 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่
18-22 กันยายน 2550 ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ซึ่งคาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีกอันเนื่องมา
จากคำสั่งซื้อที่ได้จากงาน จากปัจจัยทั้งสามดังกล่าวจึงคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้อีก ซึ่งสามไตรมาสที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกรวมกันเกือบ
เท่ากับมูลค่าการส่งออกตลอดปี 2549 ดังนั้นหากไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะทำให้ตลอดทั้งปี
2550 ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออกโดยรวมสูงประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าจะเป็นการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2549 ทีเดียว
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q3(50)/Q2(50) Q3(50)/Q3(49)
ผลผลิต 61 66.3 69.1 69 56.7 73.9 30.34 6.95
ส่งสินค้า 65 67 73.8 69.7 59.7 77.7 30.15 5.28
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 92 89.6 95.1 98.9 98.3 99.9 1.63 5.05
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมฐานเฉลี่ย ปี 2543
และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
รายการ 2549 2550 Q3(50) เปรียบเทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(50) Q3(49)
902.5 904.9 887.1 1,033.80 856.9 1,606.60 87.49 81.11
1 อัญมณี 300.6 263.8 302.1 309.5 293.6 383.6 30.65 26.98
(1) เพชร 231.2 201.1 220.8 218.2 219.3 260.4 18.74 17.93
(2) พลอย 66 56.2 76.4 89.2 73.1 116.6 59.51 52.62
(3) ไข่มุก 3.5 6.4 5 2.1 1.2 6.6 450 32
2 เครื่องประดับแท้ 369.6 366.5 478.8 366.8 395.6 555.2 40.34 15.96
(1) ทำด้วยเงิน 117 129.6 153.5 152.9 175.1 191.5 9.37 24.76
(2) ทำด้วยทอง 243.1 226.9 314.2 186 192.9 343.1 77.86 9.2
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 9.5 10.1 11 27.9 27.6 20.6 -25.36 87.27
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 32.6 40.6 42.7 43.5 42 49.1 16.9 14.99
4 อัญมณีสังเคราะห์ 3.6 12.9 12.9 12.4 12.3 24.5 99.19 89.92
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 173.7 206.9 35 274.6 80 560.3 600.38 1,500.86
22.3 14.3 15.6 27.1 33.4 33.9 1.5 117.31
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
รายการ 2549 2550 Q3(50) เปรียบเทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(50) Q3(49)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 961.7 1,027.30 969.7 903.7 1,145.60 1,123.50 -1.93 15.86
1 เพชร 371.9 303.8 308.2 339.1 320.1 393.4 22.9 27.64
2 พลอย 43.6 35.9 46.7 63.9 42 63.7 51.67 36.4
3 อัญมณีสังเคราะห์ 8.1 8.9 9.9 7.6 14.6 19 30.14 91.92
4 ไข่มุก 6.2 2.8 3.6 6.2 3 6 100 66.67
5 ทองคำ 405.2 551.3 481.2 325.6 568.3 446.4 -21.5 -7.23
6 เงิน 98.7 93.9 80.2 104 134.2 120.3 -10.4 50
7 แพลทินัม 7.4 5.2 7.5 5.9 4.7 6.6 40.43 -12
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 20.5 25.7 32.3 51.4 58.6 68.1 16.21 110.8
เครื่องประดับอัญมณี 64.3 49.9 62.5 52.9 60.2 60 -0.33 -4
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 59.9 45.7 57.6 48.1 54.8 54.3 -0.91 -5.73
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 4.4 4.2 4.9 4.8 5.4 5.7 5.56 16.33
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-