ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2561 ยังคงขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 นับจากเดือนพฤษภาคม 2560 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.7 นอกจากนี้ ในด้านของกำลังซื้อในประเทศก็มีทิศทางที่ดีเช่นกัน โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชน1ขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามการใช้จ่ายที่ขยายตัวในหลายหมวด โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวดีโดยจะเห็นจากปริมาณการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.1 และการจำหน่ายสินค้าหมวดบริการ (โรงแรมและภัตตาคาร และการขนส่ง) ที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 8.9 ทั้งนี้ MPI ในไตรมาสที่ 1/2561 ขยายตัวร้อยละ 3.93
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ย้อนหลัง 3 เดือน MPI เดือนธันวาคม 2560 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2561 จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม 2560 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 5.8 มกราคมร้อยละ 4.7 และกุมภาพันธ์ร้อยละ 4.6 ประกอบกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization Rate : CAP -U) เดือนมีนาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 76.06 สูงสุดในรอบ 60 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 สะท้อนทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา (เดือนธันวาคม 2560 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2561) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงตามปกติ กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม 2560 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ -3.2 เดือนมกราคม 5.0 และเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ -0.1 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลในรอบปี ที่ MPI จะชะลอตัวลงในเดือนธันวาคมหลังจากเร่งผลิตในเดือนพฤศจิกายนเพื่อรองรับคำสั่งซื้อในช่วงเทศกาลปีใหม่ และจะชะลอตัวลงอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากมีจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่าเดือนอื่นในรอบปี
- รถยนต์ ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ การลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาทำให้ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.7
- น้ำตาลทราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.59 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกและสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตทำให้มีวัตถุดิบอ้อยเข้าสู่โรงงานเป็นจำนวนมาก
- การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 จาก น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 และ 95 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศและปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง
- น้ำมันพืช จากน้ำมันปาล์มดิบ เป็นหลัก เนื่องจากช่วงต้นปีก่อนพื้นที่เพาะปลูกหลายจังหวัดทางภาคใต้ประสบปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลปาล์มได้ และปีนี้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นรวมถึงสภาพอากาศเอื้ออำนวยส่งผลให้มีผลผลิตปาล์มเพิ่มมากขึ้น
ในส่วนของการคาดการณ์ คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2561 จะขยายตัวเป็นบวกในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.0 (ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.5) โดยมีการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวอย่างชัดเจน ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ความคืบหน้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่สำคัญ และการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ คาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนมีนาคม 2561
- การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมีนาคม 2561 มีมูลค่า 1,380.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้า เครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ ที่หดตัว
+ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมีนาคม 2561 มีมูลค่า 7,496.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5 .9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ที่ขยายตัว
+ จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 346 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ร้อยละ 24.5 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 (%YoY)
- มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวในเดือนมีนาคม 2561 มีมูลค่ารวม 11,904 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ร้อยละ 13.6 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 33.5 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2561 คือ การซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (30 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรังในที่ดินกรรมสิทธิ์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง และในการพาณิชย์ (25 โรงงาน)"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2561 คือ อุตสาหกรรมการทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ยจำนวนเงินทุน 1,439.00 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวนเงินทุน 917.20 ล้านบาท"
- จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมีนาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 127 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ร้อยละ 32.3 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.8 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการมีมูลค่ารวม 1,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ร้อยละ 115.2 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 40.3 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2561 คือ อุตสาหกรรมโรงงานทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (15 โรงงาน) และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (13 โรงงาน)
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมีนาคม 2561 คือ อุตสาหกรรมการหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น เอม หรือย้อมสีเส้นใยมูลค่าเงินลงทุน 537 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์มูลค่าเงินลงทุน 238 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมีนาคม 2561
+ การผลิตกลุ่มสินค้าอาหารเดือนมีนาคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 23.6 แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ ทูน่ากระป๋องปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 7.1 เนื่องจากความกดดัน ด้านราคาวัตถุดิบคลายตัวทำให้คำสั่งซื้อขยายตัวขึ้น
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 54.7 และ 24.4 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับการผลิตไก่แช่แข็งปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 15.9 จากความต้องการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
+ การจำหน่ายในประเทศปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศ เดือนมีนาคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 3.7 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น
+ ตลาดส่งออกภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนมีนาคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 7.9 ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ซาร์ดีนกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว ทูน่ากระป๋องและไก่แปรรูป ปรับตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 37.6 28.6 24.5 21.0 16.8 9.5 8.5 และ 1.6 ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวที่เข้มแข็งและต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ซึ่งช่วยหนุนความต้องการสินค้าไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
+ คาดการณ์แนวโน้มเดือนเมษายน 2561 คาดว่าการผลิต ในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนเมษายน 2561 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกขยายตัวไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่าง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ CLMV โดยเฉพาะสินค้าสำคัญ เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูปที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการระบาดของไข้หวัดนกทั้งในประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่งและความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าไทย และสินค้าประมงอย่าง ทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋อง มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากความกังวลด้านราคาวัตถุดิบเริ่มคลายตัว ประกอบกับสินค้าข้าว (ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ) ที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับเศรษฐกิจภายในประเทศมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี อีกทั้งเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ลดลง ร้อยละ 1.51 (%YoY) จากการผลิตด้ายฝ้ายซึ่งไทยมีแนวโน้มการส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตเส้นใยสังเคราะห์ยังขยายตัวได้ดี ในส่วนผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตลดลง ร้อยละ 13.90 และ 5.68 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการในประเทศลดลง ประกอบกับมีสินค้าคงคลังจากการผลิตในช่วงต้นปีเพียงพอต่อการจำหน่ายในประเทศและส่งออก การจำหน่ายในประเทศ
- กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 1.23 13.00 และ 3.86 ตามลำดับส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ การส่งออก
+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.62 2.89 และ 4.94 ตามลำดับ โดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ คือ เส้นใยประดิษฐ์ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยประดิษฐ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเส้นใยและผ้าผืนที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งไทยมีศักยภาพทั้งในการผลิตและการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน ตุรกี อินโดนีเซีย เวียดนาม และบังคลาเทศ ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีตลาดสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม
+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืนคาดว่า จะขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์และผ้าผืนที่มีสมบัติพิเศษในตลาดเอเชีย
+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะขยายตัวเนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และชุดชั้นในไปยังตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป
+ การผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 195,257 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 9.55 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.21 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์
+ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 95,082 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 25.99 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.12 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์ PPV รวมกับ SUV เนื่องจากมียอดจองรถยนต์ในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 จำนวนมาก มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
+ การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 110,946 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 8.54 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.70 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนเมษายน ปี 2561จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2560 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกรวมทั้งการถือครองรถยนต์คันแรกครบ 5 ปี"
- การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 178,047 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 2.66 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.43 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
+ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มียอดจำหน่ายจำนวน 164,576 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 13.17 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.33 (%YoY)
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 28,901 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 21.62 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.96 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน ปี 2561 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2560 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ"
+ การผลิตปูนซีเมนต์รวมในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 7.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 ร้อยละ17.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.25 (%YoY) เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมีนาคมปี 2561 มีปริมาณการจำหน่าย 3.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561ร้อยละ 11.37 (%MoM )แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.16 (%YoY) เนื่องจากยังคงมีการแข่งขันในตลาดสูง
+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคมปี 2561มีจำนวน 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 ร้อยละ10.29 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.41 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักปรับเพิ่มคำสั่งซื้อ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และบังคลาเทศ ร้อยละ 3,457.83 และ 49.87 ตามลำดับ
- คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์รวมในเดือนเมษายนปี 2561 จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยเนื่องจากในเดือนมีนาคมได้เพิ่มการผลิตเพื่อเตรียมรองรับความต้องการใช้ที่คาดว่าจะสูงขึ้นแล้ว
+ การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2561 มีจำนวน 3.83 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 11.75 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.87 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ภายในประเทศในเดือนมีนาคมปี 2561 มียอดจำหน่ายจำนวน 3.29 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ร้อยละ 11.35 (%MoM ) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.81 (%YoY) จากภาวะการแข่งขันในตลาดที่มีสูง
+ การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด)ในเดือนมีนาคมปี 2561 มีจำนวน 0.57 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 ร้อยละ 6.01 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.28 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักปรับลดคำสั่งซื้อลง ได้แก่ ศรีลังกา เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา ร้อยละ 100 100 24.24 และ 13.59 ตามลำดับ
+ คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายนปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้อีกเล็กน้อย
5. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 143.14 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า และคอมเพรสเซอร์ โดยลดลงร้อยละ 32.87, 19.45, 11.29, 10.05, 4.58 และ 1.72 ตามลำดับ เนื่องจากเครื่องซักผ้าและตู้เย็นมีการนำสินค้าในสต๊อกมาจำหน่ายในขณะที่สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า พัดลมตามบ้าน ไมโครเวฟ และเครื่องปรับอากาศ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.72, 18.36, 8.26 และ 0.81 ตามลำดับ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศมีการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น และสายไฟฟ้ามีการใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ
+ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 2,304.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ จีน อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จากการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 591.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 ตู้เย็นมีมูลค่าส่งออก 150.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 และเครื่องซักผ้ามีมูลค่าการส่งออก 132.10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.26
"คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2561 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 4.35 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องปรับอากาศมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังชะลอตัว และเครื่องซักผ้ามีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่คาดว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้าที่ใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
+ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 109.78 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ Semiconductor, HDD, PCBA และ Monolithic lC เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.80, 10.02, 6.90 และ 6.03 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดย IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากใช้เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสูง รวมถึงนำไปใช้เป็นชิ้นส่วน Smart phone, Tablet ส่วน HDD มีการพัฒนาให้มีความจุมากขึ้นเพื่อใช้ใน Cloud Storage
+ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 3,603.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.01 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,568.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 รองลงมาคือ วงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 830.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
"คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2561 ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์และวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"
+ ดัชนีการผลิต ในเดือนมีนาคมปี 2561 มีค่า 133.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ เหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.99 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54 รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และท่อเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.71 และ 7.56 ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยบวกด้านราคาสินค้าเหล็กที่เพิ่มขึ้น และความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 4.09 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลงร้อยละ 15.61 ซึ่งลดลง 6 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 รองลงมา คือ เหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ 2.29 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัว
- การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนมีนาคมปี 2561 มีปริมาณ 1.46 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเหล็กทรงยาว มีปริมาณ 0.52 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.05 โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 20.84 ซึ่งลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 เดือน เนื่องจากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณและเหล็กเส้น ชนิด Carbon ที่ลดลงร้อยละ 35.98 และ 15.47 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบนมีปริมาณ 0.95 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.88 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหนาลดลงร้อยละ 65.86 รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ซึ่งลดลงร้อยละ 14.99 11.42 และ 10.95 ตามลำดับ
- การนำเข้า ในเดือนมีนาคม 2561 การนำเข้ามีปริมาณ 0.97 ล้านตันลดลงร้อยละ 9.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณ 0.74 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 13.93 เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหนา (Stainless Steel) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (EG) เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหนา (Carbon Steel) ลดลง ซึ่งลดลงร้อยละ 75.18 47.94 และ 37.63 ตามลำดับ ส่วนเหล็กทรงยาวมีปริมาณ 0.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.58 เนื่องจากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ชนิด Alloy Steel และ Stainless Steel เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 242.02 และ 227.69 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2561 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.31 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็เริ่มฟื้นตัว แต่ยังมีประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ที่น่าจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ผลิตเหล็กและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในด้านการส่งออก"
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม