แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม
อรรชกา สีบุญเรือง
อิเล็กทรอนิกส์
เศรษฐกิจโลก
ซับไพร์ม
โอไออีคาดอุตสาหกรรม ปี 51 ปัญหาน้ำมัน - เศรษฐกิจโลก - ซับไพร์ม ยังคงรุมเร้า ท้าทายรัฐบาลชุดใหม่ แต่ยังมั่นใจอุตฯ หลัก ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอฯ อาหาร ขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โอไออี ได้ประเมินสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมไทยในปี 2551 ซึ่งจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมยังมีอย่างมาก เช่น กรณี น้ำมัน เศรษฐกิจโลก ซับไพร์ม ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลชุดใหม่
อย่างไรก็ตามโอไออีได้ประเมินภาวะอุตสาหกรรมภาพรวมในปี 2551 โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม (GDP) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เล็กน้อย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เช่นกัน โดยมาจากปัจจัยเรื่องของการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะดีขึ้น ชดเชยในส่วนของการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ แต่มีแนวโน้มจะชะลอลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมรายสาขาหลักที่ขยายตัวได้ดี อาทิ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิต คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 การส่งออก ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronic ในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2551 จะขยายตัวดีขึ้นจากปี 2550 โดยประมาณ การผลิต รถยนต์ปี 2551 เท่ากับ 1,400,000 คัน ขยายตัวร้อยละ 12.0 (ปี 2550 การผลิตคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.21 ) โดยในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 700,000 คันซึ่งเป็นการขยายตัวร้อยละ 12.18 (ปี 2550 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 15.78) และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ในส่วนการจำหน่ายในประเทศ ปี 2551 ประมาณการอยู่ที่ 700,000 คัน เท่ากันกับการส่งออก ซึ่งเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.69 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2550
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี 2551 ในส่วนสิ่งทอต้นน้ำและกลางน้ำ ซึ่งได้แก่ กลุ่มของด้ายและผ้าผืนนั้น คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.8 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ซึ่งการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของประเทศเพื่อนบ้านจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน สำหรับในส่วนของกลุ่มเครื่องนุ่งห่มหรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในปี 2551 นั้น การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.1 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5
อุตสาหกรรมอาหาร ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมด(ข้าว ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ประมง ปศุสัตว์ และผักผลไม้) ในปี 2551 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 19,440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปี 2551 ร้อยละ 10.0 ชะลอลงจากปี2550 ที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 18.6 โดยปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ที่ชะลอตัวลง โดยการส่งออกกุ้งจะขยายตัวร้อยละ 5 ซึ่งจะมีการขยายตัวต่อเนื่องในตลาดยุโรปและญี่ปุ่นสำหรับกลุ่มทูน่าจะมีอัตราขยายตัวร้อยละ 13
ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมในปีหน้าขยายตัวขึ้นคือ การเลือกตั้งที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในปี 2551 นี้เมื่อรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่มีความชัดเจนขึ้น จะช่วยเร่งความมั่นใจในการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในโครงการเมกกะโปรเจค จะช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคภายในประเทศให้มีอัตราเพิ่มขึ้น
“แม้ในภาพรวมอุตสาหกรรมปี 2551 จะปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ซึ่งถือเป็นความท้าทายให้กับรัฐบาลชุดใหม่นั่นคือ ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นมาในระดับ 85-90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญชะลอตัวลง โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2551จะขยายตัวร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 5.2 ในปี 2550 รวมไปถึงปัญหาค่าเงินบาทที่คาดว่ายังแข็งค่าอยู่และเงินเฟ้อในประเทศซึ่งจะอยู่ที่ร้อยละ 3-4 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการส่งออกไทย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังกล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2550 ว่า
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 182.10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36 จาก 163.52 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 186.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 จาก 170.34 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 185.08 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12 จาก 163.62 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 190.58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15 จาก 186.57 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 119.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 จาก 115.52 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 จาก 136.35 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.91 ลดลงร้อยละ 1.89 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.08
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โอไออี ได้ประเมินสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมไทยในปี 2551 ซึ่งจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมยังมีอย่างมาก เช่น กรณี น้ำมัน เศรษฐกิจโลก ซับไพร์ม ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลชุดใหม่
อย่างไรก็ตามโอไออีได้ประเมินภาวะอุตสาหกรรมภาพรวมในปี 2551 โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม (GDP) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เล็กน้อย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เช่นกัน โดยมาจากปัจจัยเรื่องของการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะดีขึ้น ชดเชยในส่วนของการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ แต่มีแนวโน้มจะชะลอลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมรายสาขาหลักที่ขยายตัวได้ดี อาทิ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิต คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 การส่งออก ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronic ในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2551 จะขยายตัวดีขึ้นจากปี 2550 โดยประมาณ การผลิต รถยนต์ปี 2551 เท่ากับ 1,400,000 คัน ขยายตัวร้อยละ 12.0 (ปี 2550 การผลิตคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.21 ) โดยในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 700,000 คันซึ่งเป็นการขยายตัวร้อยละ 12.18 (ปี 2550 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 15.78) และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ในส่วนการจำหน่ายในประเทศ ปี 2551 ประมาณการอยู่ที่ 700,000 คัน เท่ากันกับการส่งออก ซึ่งเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.69 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2550
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี 2551 ในส่วนสิ่งทอต้นน้ำและกลางน้ำ ซึ่งได้แก่ กลุ่มของด้ายและผ้าผืนนั้น คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.8 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ซึ่งการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของประเทศเพื่อนบ้านจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน สำหรับในส่วนของกลุ่มเครื่องนุ่งห่มหรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในปี 2551 นั้น การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.1 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5
อุตสาหกรรมอาหาร ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมด(ข้าว ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ประมง ปศุสัตว์ และผักผลไม้) ในปี 2551 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 19,440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปี 2551 ร้อยละ 10.0 ชะลอลงจากปี2550 ที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 18.6 โดยปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ที่ชะลอตัวลง โดยการส่งออกกุ้งจะขยายตัวร้อยละ 5 ซึ่งจะมีการขยายตัวต่อเนื่องในตลาดยุโรปและญี่ปุ่นสำหรับกลุ่มทูน่าจะมีอัตราขยายตัวร้อยละ 13
ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมในปีหน้าขยายตัวขึ้นคือ การเลือกตั้งที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในปี 2551 นี้เมื่อรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่มีความชัดเจนขึ้น จะช่วยเร่งความมั่นใจในการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในโครงการเมกกะโปรเจค จะช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคภายในประเทศให้มีอัตราเพิ่มขึ้น
“แม้ในภาพรวมอุตสาหกรรมปี 2551 จะปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ซึ่งถือเป็นความท้าทายให้กับรัฐบาลชุดใหม่นั่นคือ ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นมาในระดับ 85-90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญชะลอตัวลง โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2551จะขยายตัวร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 5.2 ในปี 2550 รวมไปถึงปัญหาค่าเงินบาทที่คาดว่ายังแข็งค่าอยู่และเงินเฟ้อในประเทศซึ่งจะอยู่ที่ร้อยละ 3-4 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการส่งออกไทย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังกล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2550 ว่า
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 182.10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36 จาก 163.52 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 186.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 จาก 170.34 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 185.08 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12 จาก 163.62 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 190.58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15 จาก 186.57 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 119.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 จาก 115.52 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 จาก 136.35 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.91 ลดลงร้อยละ 1.89 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.08
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-