ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2561 ยังคงขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 นับจากเดือนพฤษภาคม 2560 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 8.3
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด กล่าวคือ ในเดือนมีนาคมมีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 3.2 เดือนเมษายนร้อยละ 3.1 และเดือนพฤษภาคมร้อยละ 2.9 ส่งผลให้ MPI ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2560 ที่ MPI ขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.5 สะท้อนทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม เดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2561 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงตามปกติ กล่าวคือ ในเดือนมีนาคม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 10.5 เดือนเมษายนร้อยละ -20.9 และเดือนพฤษภาคมร้อยละ 14.9 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลในรอบปี ที่ MPI จะชะลอตัวลงในเดือนเมษายนจากการที่โรงงานส่วนใหญ่ปิดทำการช่วงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2561 ขยายตัว คือ
- รถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 (จำนวนคัน) เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ทำให้ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.4
- น้ำตาลทราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.5 จากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตทำให้มีวัตถุดิบอ้อย เข้าสู่โรงงานเป็นจำนวนมาก
- เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มลูกค้าในอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามและอินโดนีเซียที่มีความต้องการสินค้าจากไทยมากกว่าสินค้าที่ผลิตจากจีน
- เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จาก จากสินค้า PP ( (Polypropylene) และ LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) เป็นหลัก ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งตลาดโลกและตลาดในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2561 จะขยายตัวเป็นบวกเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.0 (ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.5) โดยการส่งออกสินค้าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงหนุนที่สำคัญ นอกจากนี้ความคืบหน้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่สำคัญ และการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน คาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจและส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ตามการจ้างที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ขณะที่รายได้เกษตรกรเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้นจากด้านผลผลิตที่ขยายตัวดี
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2561
+ การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบในเดือนมิถุนายน 2561 มีมูลค่า 1,536.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ และเครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ
+ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ)ในเดือนมิถุนายน 2561 มีมูลค่า 7,443.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
+ จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 381 โรงงานเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2561 ร้อยละ 18.7 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2561 มีมูลค่ารวม 29,461.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2561 ร้อยละ 56.5 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน" เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.8 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2561 คือ อุตสาหกรรมการทาผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์ (27 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (25 โรงงาน)"
" อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2561 คืออุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 10,374.1 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนเงินทุน 4,475.4 ล้านบาท"
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 158 ราย ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2561 ร้อยละ 30.7 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.1 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2561 มีมูลค่ารวม 4,483.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2561 ร้อยละ 36.7 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.0 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2561 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (17 โรงงาน) และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (13 โรงงาน)"
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2561 คือ อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยางเรซินสังเคราะห์ มูลค่าเงินลงทุน 2,560 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มูลค่าเงินลงทุน 600 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2561
+ การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 (%YoY) แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ น้ำตาลทราย และสับปะรดกระป๋อง ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.9 และ 19.7 ตามลำดับ (%YoY) เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40-45 (%YoY) ประกอบกับการผลิตทูน่ากระป๋องปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 (%YoY) จากความกดดันด้านราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าคลายตัว ทำให้ประเทศคู่ค้าเพิ่มคำสั่งซื้อมากขึ้น
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ น้ำมัน ถั่วเหลืองบริสุทธิ์ และนมพร้อมดื่มการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.4 และ 5.6 ตามลำดับ (%YoY) เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลิตไก่แช่แข็งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (%YoY) จากความต้องการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยบวกจากการส่งออกไปตลาดจีน (ยูนนาน) เป็นทางการครั้งแรกตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
+ การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนมิถุนายน 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (%YoY) เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น
+ ตลาดส่งออก ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนมิถุนายน 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (%YoY) ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น ซาร์ดีนกระป๋อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ข้าวหอมมะลิ น้ำตาลทราย ข้าวขาว ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว และไก่แปรรูป ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 18.2 16.4 9.6 7.2 7.1 5.5 และ 2.7 ตามลำดับ (%YoY) เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดโลกที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก และระดับราคามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
+ คาดการณ์แนวโน้ม ในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฏาคม 2561 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจัยนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรกรรมและเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาล โดยสินค้าสำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องด้วยความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าไทย และสินค้าประมงอย่าง ทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋อง มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากความกังวลด้านราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าเริ่มคลายตัว ประกอบกับสินค้าข้าว (ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ) ที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
+ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวร้อยละ 6.05 (%YoY) ในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยสมบัติพิเศษต่าง ๆ เช่น เส้นใยคอลาเจน เส้นใยคาร์บอน เส้นใยอาระมิด เพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัว
- ผ้าผืนและ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 11.19 และ 3.38 (%YoY) สอดคล้องกับความต้องการจับจ่ายเสื้อผ้าในประเทศที่ลดลง ประกอบกับมีการนำเข้าผ้าผืนราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตเครื่องนุ่งห่ม อย่างไรก็ตาม ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์มีการผลิตขยายตัวเพื่อรองรับการส่งออก
+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 1.95 และ 8.16 (%YoY) โดยเป็นกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืนที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ ส่วนหนึ่งเป็นการเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตเสื้อสีเหลือง ซึ่งรัฐบาลเชิญชวนให้ประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลืองตลอดเดือนกรกฎาคมเนื่องในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 3.27 (%YoY) เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนมีความกังวลเรื่องค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูง
+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.11 และ 6.75 ตามลำดับ (%YoY) โดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ คือ เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเส้นใยและผ้าผืนที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งไทย มีศักยภาพทั้งในการผลิตและการส่งออก ตลาดสำคัญ คือ เวียดนาม เมียนมา บังคลาเทศ และญี่ปุ่น
- ผ้าผืน ลดลง ร้อยละ 1.82 (%YoY) โดยเป็นกลุ่มผ้าผืนที่ผลิตจากฝ้าย อย่างไรก็ตาม การส่งออกผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ยังขยายตัว
+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ คาดว่า จะขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์ และผ้าผืนที่มีสมบัติพิเศษ เช่นเดียวกับกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่คาดว่าจะมีการผลิตและจำหน่ายในประเทศขยายตัวจากกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 ในส่วนการส่งออก เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางขยายตัว
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
+ การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 188,970 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 2.15 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.71 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
+ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 87,854 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 3.40 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.87 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV เนื่องจาก มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ การขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ การลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้บริโภคทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก
+ การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 95,284 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 3.63 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.36 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ขยายตัวในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้ โดยการส่งออกไปตลาดตะวันออกกลางขยายตัวเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกรถยนต์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2560 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการทยอยสิ้นสุดการถือครองรถยนต์คันแรก"
+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 189,832 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 1.97 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.77 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบเอนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
+ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มียอดจำหน่ายจำนวน 179,522 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 6.55 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.12 (%YoY)
+ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 30,953 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 3.42 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.62 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเมียนมา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2560"
4. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 6.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 11.63 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.72 (%YoY) เป็นการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องใช้ในประเทศเนื่องจากการก่อสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐอยู่ในขั้นตอนใช้ปูนซีเมนต์แล้ว
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีปริมาณการจำหน่าย 2.94 ล้านตัน ลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 1.34 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.15 (%YoY) เนื่องจากการก่อสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐมีความคืบหน้า
- การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 1.28 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 6.44 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.84 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักอย่างเมียนมา กัมพูชา และ เวียดนามปรับลดคำสั่งซื้อ ร้อยละ 42.95 16.38 และ 14.75 ตามลำดับ
+ คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์รวมในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากความมั่นใจในความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ของภาครัฐ
+ การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 3.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 1.22 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.27 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.94 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 1.34 (%MoM) เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.15 (%YoY) เนื่องจากตลาดในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามความคืบหน้าของการก่อสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐ
- การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีจำนวน 0.37 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ร้อยละ 34.51 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.83 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักอย่างเมียนมาและกัมพูชาปรับลดคำสั่งซื้อ ร้อยละ 42.88 และ 16.41 ตามลำดับ
+ คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นอีกเล็กน้อยตามความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคภาครัฐ
5. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 119.5 สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน และสายไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9, 13.3, 11.6 และ 3.6 ตามลำดับ โดยพัดลมตามบ้านและกระติกน้ำร้อนมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในประเทศทำให้มีการจำหน่ายมากขึ้น เครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และสหรัฐอเมริกา และสายไฟฟ้ามีการใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว โดยลดลงร้อยละ 21.2, 8.1, 6.8, 4.4, 2.1 และ 0.6 ตามลำดับ โดยหม้อหุงข้าวและมอเตอร์ไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากความต้องการในประเทศลดลง ในขณะที่ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ และเครื่องซักผ้ามีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลง
+ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,078.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 458.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 144.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในขณะที่ตู้เย็นมีมูลค่าส่งออก 140.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3
"คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2561 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนสายไฟฟ้ายังคงใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ"
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
+ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 112.3 เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ Monolithic IC, HDD, PCBA, Semiconductor devices transistor (อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์) และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.51, 12.83, 6.18, 5.58 และ 1.31 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยเฉพาะ IC ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากใช้เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสูง รวมถึงนำไปใช้เป็นชิ้นส่วน Smart phone, Tablet ส่วน HDD มีการพัฒนาให้มีความจุมากขึ้นเพื่อใช้ใน Cloud Storage และในตลาดมีการพัฒนา Semiconductor มากขึ้น เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์สมาร์ทต่าง ๆ เช่น นาฬิกา จอ LED และโฟโต้เซนเซอร์ที่ใช้ในกล้องถ่ายรูป
+ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,490.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อาเซียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,402.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 รองลงมาคือ วงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 772.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
"คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2561 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวม เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"
+ ดัชนีการผลิต ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีค่า 126.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ เหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 ซึ่งเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ เนื่องจากแผนการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงเท่าระดับการผลิตปกติที่เคยผลิตได้ในอดีตของผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และ 5.2 ตามลำดับ ซึ่งเหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากลดลง 8 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560-พฤษภาคม 2561
+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเหล็กทรงแบนมีปริมาณ 1.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 103.5 รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหนา และเหล็กแผ่นรีดเย็น ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 และ 15.4 ตามลำดับ ส่วนเหล็กทรงยาว มีปริมาณ 0.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.0 โดยเหล็กลวด และเหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 7.7 และ 0.7 ตามลำดับ โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
+ การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 การนำเข้า มีปริมาณ 1.1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณ 0.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.9 เนื่องจากการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหนา ประเภท Stainless Steel เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดบาง ประเภท Carbon Steel P&O เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดบาง ประเภท Carbon Steel และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ซึ่งลดลงร้อยละ 43.8 25.2 16.5 และ 16.4 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณ 0.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เนื่องจากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ชนิด Carbon Steel และเหล็กเส้น ชนิด Stainless Steel และ Alloy Steel เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 254.0 48.7 และ 42.0 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2561 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนและกลุ่มเหล็กทรงยาว เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง และอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะยังเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ผลิตเหล็กและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในด้านการส่งออก สำหรับมาตรการตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ ของสหภาพยุโรป สินค้าเหล็กจากไทยได้รับการยกเว้นมาตรการปกป้องชั่วคราว 23 รายการ เนื่องจากมีการส่งออกไปสหภาพยุโรปไม่เกินร้อยละ 3 (กรณีประเทศกำลังพัฒนา)"
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม