จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.3 และขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 คือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งการส่งออกยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะเริ่มชะลอตัว เมื่อรวมทั้ง 3 ไตรมาสแรกในปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 2.2 อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีขยายตัวร้อยละ 11.8 ขณะที่อุตสาหกรรมเบาขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าทั้งปี 2550 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลักแม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยจะเห็นว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออกมูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.2 (มูลค่าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ) และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.8 (มูลค่าในรูปเงินบาท) โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้ายอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีอยู่จากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญ
สำหรับทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2551 คงต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยสนับสนุนสำหรับเศรษฐกิจไทย
- ในอุตสาหกรรมรายสาขาหลักยังคงขยายตัวได้ดี เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์
- ปัจจัยการเลือกตั้งที่มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ภาคเอกชนชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอความชัดเจนทางการเมือง คาดการณ์ว่าในปี 2551 นี้เมื่อรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่มีความชัดเจนขึ้น จะช่วยเร่งความมั่นใจในการลงทุนของภาคเอกชน
- การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ในโครงการเมกกะโปรเจค ซึ่งจะช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน
- การบริโภคภายในประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยได้รับผลจากความเชื่อมั่นด้านการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่
ปัจจัยเสี่ยง
- ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นมาในระดับ 85 — 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่คาดการณ์ปี 2551 เฉลี่ยที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
- ภาวะเศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวลง โดย IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 5.2 ในปี 2550
- ปัญหาวิกฤติการณ์ซับไพร์มของสหรัฐ โดยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 — 2.5 จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 7.5 ส่งผลให้ประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
- การชะลอตัวของการส่งออก ปี 2551 บวกกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่กระเตื้องจากปี 2550 มากนัก
- อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
- การแข็งค่าของเงินบาท และความผันผวนของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2551 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ น่าจะยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัญหาซับไพร์มต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้เงินสกุลหลักต่าง ๆ รวมทั้งเงินบาทยังคงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นไปอีก
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2551
สำนักงานงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0 โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราการว่างงานต่ำ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล และความแน่นอนในด้านการเมืองจะมีผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 169.7 และในปี 2549 มีค่า 158.6 โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกจากปี 2550 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น และยังได้รับอานิสงค์จากการส่งออกในสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอตัวลงบ้าง แต่ไทยยังมีการขยายตัวในการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามในปี 2551 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจ เช่น ราคาน้ำมันและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาท เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบ้าง
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 170.4 และในปี 2549 มีค่า 161.1 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีการส่งสินค้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ซึ่งจะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยการส่งออกในสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญยังคงขยายตัวแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง รวมทั้งการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกใหม่ของไทย การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลบวกให้กับภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามในปี 2551 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะนำเข้ามากระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมบ้าง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 3.9 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 183.1 และในปี 2549 มีค่า 176.2 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับแนวโน้มปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังจะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 2550 เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องจัดการการสำรองสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า และมีสินค้าเพียงพอในการจำหน่าย
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 66.0 และในปี 2549 มีค่า 68.2 โดยมีอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจในปี 2551 ด้วย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ หาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 นี้ ได้แก่ ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาท
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.3 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 71.2 และในปี 2549 มีค่า 76.8 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีและขาดความมั่น่ใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 72.2 และในปี 2549 มีค่า 77.4 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมยังไม่ดี และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าโอกาสในการหางานทำอยู่ในระดับที่ไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 88.0 และในปี 2549 มีค่า 93.4 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่ารายได้ในอนาคตจะปรับตัวในทิศทางที่แย่ลง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 2.3 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 43.0 และในปี 2549 มีค่า 44.0 การที่ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปี 2549 คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
เมื่อเทียบปี 2550 ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการปรับตัวลดลงจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้น จากปี 2550 เนื่องจากภายหลังมีการเลือกตั้งการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น มีนโยบายรัฐบาลที่ชัดเจน ความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นราคาอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index:TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีเฉลี่ยมีค่า 80.8 ซึ่งปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 14.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีค่า 94.9 การที่ค่าดัชนีมีค่าอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เชื่อว่าสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ไม่ดี และในเดือนตุลาคม 2550 (81.9) ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนกันยายน 2550 (81.0) เป็นผลจากการเมืองที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ทั้งความเชื่อมั่นต่อผลประกอบการ ความเชื่อมั่นต่อการจ้างงาน และความเชื่อมั่นในต้นทุนการประกอบการ เป็นต้น
คาดว่าในปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภายหลังมีการเลือกตั้งผู้ประกอบการน่าจะมีความเชื่อมั่นในด้านการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น นโยบายรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามจะยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ เช่น ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาท เป็นต้น
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 114.7 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2550 (113.9) ร้อยละ 0.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Real Broad Money) จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 117.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2550 (116.5) ร้อยละ 0.9 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 0.3 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้จากปี 2549 ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
เมื่อเทียบในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งไม่สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2551 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกจากปี 2550 เนื่องจากเมื่อมีการเลือกตั้งและการเมืองมีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอกการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า การลงทุนภาคเอกชนในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวของปี 2549 ประมาณร้อยละ 1.6
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วงเดือน มกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 4.2
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในช่วงเดือน มกราคม — ตุลาคม 2550 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 2.1
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.4
สำหรับแนวโน้มปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 หากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้ภายหลังมีการเลือกตั้ง แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบบ้าง เช่น ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต(ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 116.6 และในปี 2549 มีค่า 114.2 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาข้าว ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเช่นกันตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 ช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 138.5 และในปี 2549 มีค่า 135.5 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.3 และ 0.4 ตามลำดับ สำหรับหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองราคาลดลงประมาณร้อยละ 1.1
สำหรับแนวโน้มปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในปี 2550 (ข้อมูลล่าสุด ณ ธันวาคม 2550) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 36.78 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 36.10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.15 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.520 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.40)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในปี 2550 มีจำนวน 6.16 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.06 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าต่างประเทศของปี 2550 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 240,275.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 125,114.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 115,160.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ ดุลการค้าเกินดุล 9,953.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2550 ที่มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 16.1% และคาดว่าเกินดุลการค้า1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
-โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 10 เดือนแรกของปี 2550 (มกราคม—ตุลาคม) ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 98,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.34) สินค้าเกษตรกรรม 12,123.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.69) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7,883.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.3) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5,951.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.76) และสินค้าอื่นๆ 1,136.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.91)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.14 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 20.50 สินค้าเกษตรร้อยละ 13.09 และสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 สำหรับสินค้าอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 20.13
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 13,979.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 9,894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 6,812.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 4,506.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 4,295.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 4,236.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3,848.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 3,322.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เคมีภัณฑ์ 3,211.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 3,078.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 57,185.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.71 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพ
ยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.68 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.64 โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.89 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 10.81 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 18.06 และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.43
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 49,834.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.27) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 30,119.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.15) สินค้าเชื้อเพลิง 20,981.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.22) สินค้าอุปโภคบริโภค 9,480.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.23) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,585.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.11) และสินค้าอื่นๆ 1,159.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.01)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.08 สินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98 และสินค้าหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 และสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 2.40
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.86 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 และอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20
-แนวโน้มการส่งออก
ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 51 ขยายตัว 10-12.5% อยู่ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 85 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 1.65-1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกตลาดหลักจะเพิ่มขึ้น 7.1% ได้แก่ สหรัฐ 2% ญี่ปุ่น 10% สหภาพยุโรป 7% และอาเซียน 9.1% ส่วนตลาดส่งออกใหม่ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องประมาณ 18.7% ได้แก่ ลาตินอเมริกา 25%, ยุโรปตะวันออก 25% อินโดจีนและพม่า 20%, ตะวันออกกลาง 20% แอฟริกา 20% อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพาณิชย์ จะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งการดำเนินมาตรการตลาดเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลุกค้าเป้าหมายใหม่ๆ รวมถึงการเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดใหม่ๆ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ได้แก่ ทิศทางและแนวโน้มราคาน้ำมัน รวมถึงเศรษฐกิจของตลาดส่งออกสำคัญ ทิศทางและแนวโน้มของค่าเงินบาท และ เสถียรภาพของค่าเงินบาท เป็นต้น
สำหรับแผนผลักดันการส่งออกในปี 2551 กรมส่งเสริมการส่งออกจะเน้นผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ให้มากขึ้น เน้นจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ ยุโรปตะวันออก และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในตลาดหลัก อย่างสหรัฐฯ จะเน้นกิจกรรมกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี ญี่ปุ่น จะเร่งใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) สหภาพยุโรป (อียู) จะมีแผนกระตุ้นตลาดต่อเนื่อง ขณะที่อาเซียนจะเร่งผลักดันให้มีการค้าขายกันมากขึ้น เพราะอัตราภาษีในอาเซียนใกล้จะเหลือ 0% เกือบทุกรายการแล้ว
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกจะส่งเสริมให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกใหม่ๆ และหาวัตถุดิบราคาถูก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการผลักดันให้รัฐบาลสนับสนุนด้านเงินทุนและสิ่งจูงใจ การผลักดันแหล่งการค้าสำคัญให้เป็นที่รู้จัก เช่น เสื้อผ้าแฟชั่นในย่านโป๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ, อัญมณีและเครื่องประดับ ย่านถนนมเหสักข์ สีลม, ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ย่านวรจักร, ย่านการค้าใหม่ๆ เช่น ตลาดผักและผลไม้ ที่ตลาดไท, เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านที่เชียงใหม่ และจตุจักร เพื่อสนับสนุนให้มีการส่งออกมากขึ้น
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 650,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2549 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 497,800 ล้านบาท
2548 2549 2550*
มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน(ล้านบาท) 551,100 497,800 650,000
* หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2550 เป็นตัวเลขการคาดการณ์
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 ประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 160,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษและพลาสติก มีเงินลงทุน 156,500 ล้านบาท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเงินลงทุน 94,700 ล้านบาท หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 59,600 ล้านบาท หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร มีเงินลงทุน 52,800 ล้านบาท หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ มีเงินลงทุน 44,400 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 14,600 ล้านบาท
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม 2550 (ม.ค.-ต.ค.)
จำนวนโครงการ มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท)
เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 174 52,800
เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ 29 44,400
อุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 85 14,600
ผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ 203 59,600
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 229 94,700
เคมี กระดาษและพลาสติก 124 156,500
บริการและสาธารณูปโภค 282 160,700
รวม 1,126 583,300
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 274 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 109,204 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 44 โครงการ 63,564 ล้านบาท สิงคโปร์ 65 โครงการ เป็นเงินลงทุน 30,501 ล้านบาท และแคนาดา 5 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,982 ล้านบาท
ตารางที่ 17 : การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน BOI จำแนกตามกลุ่มประเทศ
(ล้านบาท)
ประเทศ 2549 2549(ม.ค.-ต.ค.) 2550(ม.ค.-ต.ค.)
จำนวน การลงทุน จำนวน การลงทุน จำนวน การลงทุน
โครงการ โครงการ โครงการ
ญี่ปุ่น 353 115,200 278 66,066 274 109,204
ไต้หวัน 63 10,472 48 9,534 40 7,616
ฮ่องกง 18 10,031 15 9,767 15 10,103
เกาหลีใต้ 24 4,025 21 3,910 44 5,899
สิงคโปร์ 62 18,750 50 13,637 65 30,501
มาเลเซีย 35 5,368 29 4,792 25 10,762
อินโดนีเซีย 5 587 5 587 4 4,031
ฟิลิปปินส์ 1 67 1 67 1 90
จีน 16 2,456 14 2,377 20 5,274
สหรัฐอเมริกา 46 71,407 38 69,957 44 63,564
แคนาดา 2 45 2 45 5 14,982
ออสเตรเลีย 13 514 12 480 20 1,554
สหราชอาณาจักร 23 1,740 16 1,031 19 1,923
เยอรมัน 18 1,231 13 719 24 2,204
สวิสเซอร์แลนด์ 11 7,918 8 4,691 8 8,131
ฝรั่งเศส 9 412 9 412 15 620
เบลเยียม 3 1,030 2 137 4 1,088
อิตาลี 9 481 7 319 10 1,838
เนเธอร์แลนด์ 28 6,254 21 3,581 17 10,388
ที่มา : กองการต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
หมายเหตุ : สัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 2.2 อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีขยายตัวร้อยละ 11.8 ขณะที่อุตสาหกรรมเบาขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าทั้งปี 2550 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลักแม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยจะเห็นว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออกมูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.2 (มูลค่าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ) และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.8 (มูลค่าในรูปเงินบาท) โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้ายอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีอยู่จากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญ
สำหรับทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2551 คงต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยสนับสนุนสำหรับเศรษฐกิจไทย
- ในอุตสาหกรรมรายสาขาหลักยังคงขยายตัวได้ดี เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์
- ปัจจัยการเลือกตั้งที่มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ภาคเอกชนชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอความชัดเจนทางการเมือง คาดการณ์ว่าในปี 2551 นี้เมื่อรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่มีความชัดเจนขึ้น จะช่วยเร่งความมั่นใจในการลงทุนของภาคเอกชน
- การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ในโครงการเมกกะโปรเจค ซึ่งจะช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน
- การบริโภคภายในประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยได้รับผลจากความเชื่อมั่นด้านการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่
ปัจจัยเสี่ยง
- ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นมาในระดับ 85 — 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่คาดการณ์ปี 2551 เฉลี่ยที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
- ภาวะเศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวลง โดย IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 5.2 ในปี 2550
- ปัญหาวิกฤติการณ์ซับไพร์มของสหรัฐ โดยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 — 2.5 จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 7.5 ส่งผลให้ประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
- การชะลอตัวของการส่งออก ปี 2551 บวกกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่กระเตื้องจากปี 2550 มากนัก
- อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
- การแข็งค่าของเงินบาท และความผันผวนของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2551 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ น่าจะยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัญหาซับไพร์มต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้เงินสกุลหลักต่าง ๆ รวมทั้งเงินบาทยังคงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นไปอีก
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2551
สำนักงานงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0 โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราการว่างงานต่ำ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล และความแน่นอนในด้านการเมืองจะมีผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 169.7 และในปี 2549 มีค่า 158.6 โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกจากปี 2550 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น และยังได้รับอานิสงค์จากการส่งออกในสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอตัวลงบ้าง แต่ไทยยังมีการขยายตัวในการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามในปี 2551 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจ เช่น ราคาน้ำมันและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาท เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบ้าง
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 170.4 และในปี 2549 มีค่า 161.1 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีการส่งสินค้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ซึ่งจะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยการส่งออกในสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญยังคงขยายตัวแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง รวมทั้งการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกใหม่ของไทย การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลบวกให้กับภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามในปี 2551 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะนำเข้ามากระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมบ้าง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 3.9 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 183.1 และในปี 2549 มีค่า 176.2 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับแนวโน้มปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังจะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 2550 เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องจัดการการสำรองสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า และมีสินค้าเพียงพอในการจำหน่าย
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 66.0 และในปี 2549 มีค่า 68.2 โดยมีอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549
เมื่อเทียบปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจในปี 2551 ด้วย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ หาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 นี้ ได้แก่ ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาท
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.3 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 71.2 และในปี 2549 มีค่า 76.8 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีและขาดความมั่น่ใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 72.2 และในปี 2549 มีค่า 77.4 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมยังไม่ดี และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าโอกาสในการหางานทำอยู่ในระดับที่ไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 88.0 และในปี 2549 มีค่า 93.4 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่ารายได้ในอนาคตจะปรับตัวในทิศทางที่แย่ลง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 2.3 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 43.0 และในปี 2549 มีค่า 44.0 การที่ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปี 2549 คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
เมื่อเทียบปี 2550 ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการปรับตัวลดลงจากปี 2549 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้น จากปี 2550 เนื่องจากภายหลังมีการเลือกตั้งการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น มีนโยบายรัฐบาลที่ชัดเจน ความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นราคาอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index:TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีเฉลี่ยมีค่า 80.8 ซึ่งปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 14.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีค่า 94.9 การที่ค่าดัชนีมีค่าอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เชื่อว่าสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ไม่ดี และในเดือนตุลาคม 2550 (81.9) ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนกันยายน 2550 (81.0) เป็นผลจากการเมืองที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ทั้งความเชื่อมั่นต่อผลประกอบการ ความเชื่อมั่นต่อการจ้างงาน และความเชื่อมั่นในต้นทุนการประกอบการ เป็นต้น
คาดว่าในปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภายหลังมีการเลือกตั้งผู้ประกอบการน่าจะมีความเชื่อมั่นในด้านการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น นโยบายรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามจะยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ เช่น ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาท เป็นต้น
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 114.7 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2550 (113.9) ร้อยละ 0.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Real Broad Money) จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนตุลาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 117.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2550 (116.5) ร้อยละ 0.9 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 0.3 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้จากปี 2549 ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
เมื่อเทียบในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งไม่สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2551 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกจากปี 2550 เนื่องจากเมื่อมีการเลือกตั้งและการเมืองมีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอกการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า การลงทุนภาคเอกชนในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวของปี 2549 ประมาณร้อยละ 1.6
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วงเดือน มกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 4.2
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในช่วงเดือน มกราคม — ตุลาคม 2550 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 2.1
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.4
สำหรับแนวโน้มปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 หากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้ภายหลังมีการเลือกตั้ง แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบบ้าง เช่น ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต(ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 116.6 และในปี 2549 มีค่า 114.2 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาข้าว ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเช่นกันตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 ช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2550 มีค่า 138.5 และในปี 2549 มีค่า 135.5 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.3 และ 0.4 ตามลำดับ สำหรับหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองราคาลดลงประมาณร้อยละ 1.1
สำหรับแนวโน้มปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในปี 2550 (ข้อมูลล่าสุด ณ ธันวาคม 2550) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 36.78 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 36.10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.15 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.520 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.40)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในปี 2550 มีจำนวน 6.16 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.06 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าต่างประเทศของปี 2550 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 240,275.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 125,114.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 115,160.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ ดุลการค้าเกินดุล 9,953.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2550 ที่มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 16.1% และคาดว่าเกินดุลการค้า1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
-โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 10 เดือนแรกของปี 2550 (มกราคม—ตุลาคม) ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 98,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.34) สินค้าเกษตรกรรม 12,123.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.69) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7,883.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.3) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5,951.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.76) และสินค้าอื่นๆ 1,136.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.91)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.14 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 20.50 สินค้าเกษตรร้อยละ 13.09 และสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 สำหรับสินค้าอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 20.13
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 13,979.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 9,894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 6,812.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 4,506.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 4,295.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 4,236.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3,848.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 3,322.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เคมีภัณฑ์ 3,211.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 3,078.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 57,185.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.71 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพ
ยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.68 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.64 โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.89 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 10.81 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 18.06 และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.43
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 49,834.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.27) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 30,119.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.15) สินค้าเชื้อเพลิง 20,981.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.22) สินค้าอุปโภคบริโภค 9,480.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.23) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,585.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.11) และสินค้าอื่นๆ 1,159.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.01)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.08 สินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98 และสินค้าหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 และสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 2.40
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.86 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 และอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20
-แนวโน้มการส่งออก
ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 51 ขยายตัว 10-12.5% อยู่ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 85 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 1.65-1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกตลาดหลักจะเพิ่มขึ้น 7.1% ได้แก่ สหรัฐ 2% ญี่ปุ่น 10% สหภาพยุโรป 7% และอาเซียน 9.1% ส่วนตลาดส่งออกใหม่ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องประมาณ 18.7% ได้แก่ ลาตินอเมริกา 25%, ยุโรปตะวันออก 25% อินโดจีนและพม่า 20%, ตะวันออกกลาง 20% แอฟริกา 20% อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพาณิชย์ จะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งการดำเนินมาตรการตลาดเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลุกค้าเป้าหมายใหม่ๆ รวมถึงการเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดใหม่ๆ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ได้แก่ ทิศทางและแนวโน้มราคาน้ำมัน รวมถึงเศรษฐกิจของตลาดส่งออกสำคัญ ทิศทางและแนวโน้มของค่าเงินบาท และ เสถียรภาพของค่าเงินบาท เป็นต้น
สำหรับแผนผลักดันการส่งออกในปี 2551 กรมส่งเสริมการส่งออกจะเน้นผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ให้มากขึ้น เน้นจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ ยุโรปตะวันออก และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในตลาดหลัก อย่างสหรัฐฯ จะเน้นกิจกรรมกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี ญี่ปุ่น จะเร่งใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) สหภาพยุโรป (อียู) จะมีแผนกระตุ้นตลาดต่อเนื่อง ขณะที่อาเซียนจะเร่งผลักดันให้มีการค้าขายกันมากขึ้น เพราะอัตราภาษีในอาเซียนใกล้จะเหลือ 0% เกือบทุกรายการแล้ว
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกจะส่งเสริมให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกใหม่ๆ และหาวัตถุดิบราคาถูก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการผลักดันให้รัฐบาลสนับสนุนด้านเงินทุนและสิ่งจูงใจ การผลักดันแหล่งการค้าสำคัญให้เป็นที่รู้จัก เช่น เสื้อผ้าแฟชั่นในย่านโป๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ, อัญมณีและเครื่องประดับ ย่านถนนมเหสักข์ สีลม, ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ย่านวรจักร, ย่านการค้าใหม่ๆ เช่น ตลาดผักและผลไม้ ที่ตลาดไท, เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านที่เชียงใหม่ และจตุจักร เพื่อสนับสนุนให้มีการส่งออกมากขึ้น
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 650,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2549 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 497,800 ล้านบาท
2548 2549 2550*
มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน(ล้านบาท) 551,100 497,800 650,000
* หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2550 เป็นตัวเลขการคาดการณ์
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 ประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 160,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษและพลาสติก มีเงินลงทุน 156,500 ล้านบาท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเงินลงทุน 94,700 ล้านบาท หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 59,600 ล้านบาท หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร มีเงินลงทุน 52,800 ล้านบาท หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ มีเงินลงทุน 44,400 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 14,600 ล้านบาท
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม 2550 (ม.ค.-ต.ค.)
จำนวนโครงการ มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท)
เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 174 52,800
เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ 29 44,400
อุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 85 14,600
ผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ 203 59,600
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 229 94,700
เคมี กระดาษและพลาสติก 124 156,500
บริการและสาธารณูปโภค 282 160,700
รวม 1,126 583,300
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 274 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 109,204 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 44 โครงการ 63,564 ล้านบาท สิงคโปร์ 65 โครงการ เป็นเงินลงทุน 30,501 ล้านบาท และแคนาดา 5 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,982 ล้านบาท
ตารางที่ 17 : การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน BOI จำแนกตามกลุ่มประเทศ
(ล้านบาท)
ประเทศ 2549 2549(ม.ค.-ต.ค.) 2550(ม.ค.-ต.ค.)
จำนวน การลงทุน จำนวน การลงทุน จำนวน การลงทุน
โครงการ โครงการ โครงการ
ญี่ปุ่น 353 115,200 278 66,066 274 109,204
ไต้หวัน 63 10,472 48 9,534 40 7,616
ฮ่องกง 18 10,031 15 9,767 15 10,103
เกาหลีใต้ 24 4,025 21 3,910 44 5,899
สิงคโปร์ 62 18,750 50 13,637 65 30,501
มาเลเซีย 35 5,368 29 4,792 25 10,762
อินโดนีเซีย 5 587 5 587 4 4,031
ฟิลิปปินส์ 1 67 1 67 1 90
จีน 16 2,456 14 2,377 20 5,274
สหรัฐอเมริกา 46 71,407 38 69,957 44 63,564
แคนาดา 2 45 2 45 5 14,982
ออสเตรเลีย 13 514 12 480 20 1,554
สหราชอาณาจักร 23 1,740 16 1,031 19 1,923
เยอรมัน 18 1,231 13 719 24 2,204
สวิสเซอร์แลนด์ 11 7,918 8 4,691 8 8,131
ฝรั่งเศส 9 412 9 412 15 620
เบลเยียม 3 1,030 2 137 4 1,088
อิตาลี 9 481 7 319 10 1,838
เนเธอร์แลนด์ 28 6,254 21 3,581 17 10,388
ที่มา : กองการต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
หมายเหตุ : สัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-