เศรษฐกิจของโลกในปี 2550 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยการขยายตัวของความต้องการภายในประเทศจากกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนจะเป็นแรงผลักที่ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวแทนประเทศสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามนอกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อยู่ในภาวะชะลอตัวรวมถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และความผันผวนในตลาดเงินเนื่องจากภาวะไม่สมดุลของทุนบัญชีเดินสะพัดในระดับโลก อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เงินเฟ้อในปี 2550 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 1.9
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 สำหรับเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 เนื่องจากการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี
ในภาคอุตสาหกรรม จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 169.7 และในปี 2549 มีค่า 158.6 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 และทั้งปี 2550 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 7.7 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 8.0เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของการส่งออกในอุตสาหกรรมหลักบางตัว อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ราคาน้ำมันและราคาพลังงาน ที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นต้น
ในส่วนสถานการณ์การค้าต่างประเทศของปี 2550 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 240,275.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 125,114.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 115,160.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 9,953.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2550 ที่มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.1 และคาดว่าเกินดุลการค้า1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในปี 2551 ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกขยายตัวร้อยละ 10-12.5 อยู่ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 85 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 1.65-1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 550,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2549 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 497,800 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการลงทุนในปี 2551 ของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างชาติน่าจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์จะเป็นหัวหอกสำคัญในการกระตุ้นการลงทุน ช่วยผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามมา โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ตั้งเป้ายอดขอรับส่งเสริมลงทุนในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 5.5-6 แสนล้านบาทใกล้เคียงกับปี 2550 เนื่องจากเห็นว่า การลงทุนปีหน้าจะมีโครงการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าโครงการจะมีไม่มาก
สรุปภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ที่มีการขยายตัวของส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากการภาวะเศรษฐกิจที่ดีของประเทศคู่ค้าอย่างอียู ตะวันออกกลาง และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนของภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ภาวะการผลิตเครื่องปรับอากาศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 โดยมีมูลค่าประมาณ 16,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 26 ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 15 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวในทุกตลาดแม้กระทั่งตลาดสหรัฐที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็ยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะขยายตัวไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีในตลาดทั่วโลก ส่วนมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 29,142 ล้านเหรียญสหรัฐ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 2-4 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดหลักเช่น ตลาดอียู นอกจากนี้ประมาณการว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวอีกด้วย ส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2551 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10-12 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิตคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 จาก HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้มีการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ทำให้ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในส่วนมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronicในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี
เคมีภัณฑ์ ในปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี สถานการณ์ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 หลายประเทศมีโครงการขยายกำลังการผลิต และมีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง จะค่อนข้างทรงตัว ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีขั้นปลายยังคงมีความต้องการเม็ดพลาสติดเกรดพิเศษเพิ่มมากขึ้น
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 9.31 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 2.73 เป็นผลมาจากการลดลง ของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 12.31 แต่เหล็กทรงแบนกลับมีความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 4.15 ในขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 0.79 และ 6.49 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศของบางผลิตภัณฑ์ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.21 และ 33.00 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงทำให้ผู้ผลิตต้องขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศที่ยังคงมีความต้องการใช้เหล็กอยู่
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นหลังการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 จากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนบางชนิดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์เหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องคาดการณ์ว่าจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัว อันเนื่องมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอตัวเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2550 ซึ่งเป็นฤดูกาลการจำหน่ายรถยนต์ บริษัทรถยนต์ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับมีการจัดงาน Motor Expo 2007 ซึ่งการจัดงานครั้งนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศในช่วงปลายปีได้
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,400,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 700,000 คัน และการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก ประมาณ 700,000 คัน โดยการส่งออกรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญ ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการส่งออกรถยนต์ไปในตลาดใหม่ เช่น กลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกามีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ได้รับผลดีจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนเมื่อมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่
ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.04 22.99 และ 4.73 เมื่อเทียบกับยอดรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาอาจได้รับผลกระทบเพราะปัญหาตลาดซับไพรม์ หรือ ภาวะวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในขณะที่ตลาดรอง เช่น ออสเตรเลียพบว่าการส่งออกดีขึ้นและจะดีขึ้นอีกในปีหน้าเพราะการลดภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 ที่จะกลายเป็น 0 ในปี 2551
ปี 2551 อุตสาหกรรมพลาสติกยังคงอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงชะลอตัวแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศปีหน้าจะมีความแน่นอนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และอุปสงค์ในตลาดโลกที่คาดว่าอาจจะชะลอตัวลงด้วยปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ในปี 2550 สถานการณ์การผลิตเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงใน 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ดัชนีผลผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก และดัชนีผลผลิตรองเท้าลดลงร้อยละ 15.02 และ 6.04 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศลดลง อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมัน และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่การนำเข้าหนังดิบ มาผลิตเป็นหนังฟอกเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหนังฟอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
สำหรับในปี 2551 คาดว่าการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน และการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ต้องการสินค้าเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำ กระเป๋าฯและรองเท้าหนัง คาดว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบตรงตามต้องการของตลาดและมีคุณภาพ ยกเว้นรองเท้ากีฬาที่คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการค้าเสรีที่การแข่งขันสูงที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า
อาหาร ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2550 คาดการณ์ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 น้อยกว่าการขยายตัวของปีก่อนที่ร้อยละ 17.0 โดยสินค้าสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวม คือ น้ำตาล ปศุสัตว์ และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 20 18.2 และ 19.9 ตามลำดับ จากภาวะโลกร้อนได้ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรคที่เป็นอันตรายต่อทั้งผลิตผลทางการเกษตรและคน ทำให้ปริมาณและราคาวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารผันผวน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารหลายสินค้าหลายประเภทในตลาดโลกสูงขึ้น ในส่วนประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบ โดยในด้านบวก คือ ภาพรวมของการผลิตยังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ และประมง ส่งผลให้ความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันผลด้านลบ เกิดขึ้นกับสินค้าที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ธัญพืช (ข้าวโพด) และผลิตภัณฑ์นม
แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.9 มากกว่าการขยายตัวของปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ร้อยละ 9.3 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 จะขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อยละ 7.5 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ประมาณร้อยละ 7.7
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวมลดลงร้อยละ 5.36 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาไม้ยางพารา น้ำมัน และค่าขนส่ง เป็นต้น รวมถึงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากซึ่งรับจ้างผลิตโดยรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าและใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ยังได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และรัฐบาลได้ออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านพักอาศัย และถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆได้เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี ซึ่งรวมถึงโครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มว่าจะยังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เงินบาทที่ยังแข็งค่า
ผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พบว่า ผลผลิตยางแปรรูปขั้นต้นลดลง โดยยางแผ่นมีอัตราส่วนที่ลดลงมากกว่ายางแท่ง เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้ยางหันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยางล้อโดยรวมและอุตสาหกรรมถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.14 และ 12.64 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากราคายางพาราที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวลดลง และมีเสถียรภาพดีกว่าปีที่แล้ว
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในปี 2551 ความผันผวนของราคายางพารา และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในปี 2550 คาดว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชน รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการสั่งพิมพ์หนังสือ การ์ด ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าวเพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก ประกอบกับอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศมีการขยายตัว กระตุ้นให้เกิดความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในตลาดเอเชียยังคงขยายตัว ความมั่นคงในสถานการณ์การเมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ผลิตหนังสือ/ ตำราเรียน
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 โดยยาที่ผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง การผลิตยาน้ำลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายลดการจัดรายการส่งเสริมการขายลงจากปีก่อน สำหรับยาผง มีปริมาณการผลิตลดลง เนื่องจาก มีผู้ประกอบการประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหาทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง ประกอบกับโครงการหลักประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอยู่
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการจำหน่ายปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.4 สอดคล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สำหรับการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ การจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับแนวโน้มการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2551 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรป
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2550 คาดว่าจะมีการผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณลดลงร้อยละ 0.17 และ 12.71 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2551 ขึ้นอยู่กับการขยายตัว
ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง การเข้ามาของรัฐบาลชุดใหม่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที แต่คาดว่าความต้องการใช้จะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลิตภัณฑ์เซรามิก การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตหลายรายหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตในประเทศ ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี 2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ลดลงจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 3.39 และ 0.49 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิก ในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.74 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.60 นับว่าขยายตัวสูงมากในรอบหลายปี โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ทั้งนี้การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจาก GSP ด้านการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.89
สำหรับแนวโน้มการผลิต ในปี 2551 คาดว่าจะสอดคล้องตามมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7 — 10 สำหรับแนวโน้มด้านการส่งออกคาดว่าจะได้รับผลดีจาก JTEPA ซึ่งสินค้าที่สำคัญในตลาดญี่ปุ่น คือ เครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยทองและทำด้วยเงิน อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐอเมริกาหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่ไทยจะส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกายังดีอยู่ คาดว่ามูลค่าการส่งออกโดยรวมจะขยายตัวแต่ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 10 -15
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 สำหรับเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 เนื่องจากการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี
ในภาคอุตสาหกรรม จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2550 มีค่า 169.7 และในปี 2549 มีค่า 158.6 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2550 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 และทั้งปี 2550 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 7.7 สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 8.0เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของการส่งออกในอุตสาหกรรมหลักบางตัว อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ราคาน้ำมันและราคาพลังงาน ที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นต้น
ในส่วนสถานการณ์การค้าต่างประเทศของปี 2550 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 240,275.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 125,114.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 115,160.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 9,953.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2550 ที่มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.1 และคาดว่าเกินดุลการค้า1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในปี 2551 ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกขยายตัวร้อยละ 10-12.5 อยู่ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 85 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เป็นมูลค่า 1.65-1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 550,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2549 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 497,800 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการลงทุนในปี 2551 ของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างชาติน่าจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์จะเป็นหัวหอกสำคัญในการกระตุ้นการลงทุน ช่วยผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามมา โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ตั้งเป้ายอดขอรับส่งเสริมลงทุนในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 5.5-6 แสนล้านบาทใกล้เคียงกับปี 2550 เนื่องจากเห็นว่า การลงทุนปีหน้าจะมีโครงการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าโครงการจะมีไม่มาก
สรุปภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ที่มีการขยายตัวของส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากการภาวะเศรษฐกิจที่ดีของประเทศคู่ค้าอย่างอียู ตะวันออกกลาง และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนของภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ภาวะการผลิตเครื่องปรับอากาศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 โดยมีมูลค่าประมาณ 16,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 26 ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 15 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวในทุกตลาดแม้กระทั่งตลาดสหรัฐที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็ยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะขยายตัวไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีในตลาดทั่วโลก ส่วนมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 29,142 ล้านเหรียญสหรัฐ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 2-4 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดหลักเช่น ตลาดอียู นอกจากนี้ประมาณการว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวอีกด้วย ส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2551 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10-12 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิตคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 จาก HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้มีการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ทำให้ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในส่วนมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronicในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี
เคมีภัณฑ์ ในปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี สถานการณ์ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 หลายประเทศมีโครงการขยายกำลังการผลิต และมีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง จะค่อนข้างทรงตัว ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีขั้นปลายยังคงมีความต้องการเม็ดพลาสติดเกรดพิเศษเพิ่มมากขึ้น
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 9.31 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 2.73 เป็นผลมาจากการลดลง ของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 12.31 แต่เหล็กทรงแบนกลับมีความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 4.15 ในขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 0.79 และ 6.49 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศของบางผลิตภัณฑ์ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.21 และ 33.00 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงทำให้ผู้ผลิตต้องขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศที่ยังคงมีความต้องการใช้เหล็กอยู่
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นหลังการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 จากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนบางชนิดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์เหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องคาดการณ์ว่าจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัว อันเนื่องมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอตัวเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2550 ซึ่งเป็นฤดูกาลการจำหน่ายรถยนต์ บริษัทรถยนต์ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับมีการจัดงาน Motor Expo 2007 ซึ่งการจัดงานครั้งนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศในช่วงปลายปีได้
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,400,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 700,000 คัน และการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก ประมาณ 700,000 คัน โดยการส่งออกรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญ ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการส่งออกรถยนต์ไปในตลาดใหม่ เช่น กลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกามีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ได้รับผลดีจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนเมื่อมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่
ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.04 22.99 และ 4.73 เมื่อเทียบกับยอดรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาอาจได้รับผลกระทบเพราะปัญหาตลาดซับไพรม์ หรือ ภาวะวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในขณะที่ตลาดรอง เช่น ออสเตรเลียพบว่าการส่งออกดีขึ้นและจะดีขึ้นอีกในปีหน้าเพราะการลดภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 ที่จะกลายเป็น 0 ในปี 2551
ปี 2551 อุตสาหกรรมพลาสติกยังคงอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงชะลอตัวแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศปีหน้าจะมีความแน่นอนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และอุปสงค์ในตลาดโลกที่คาดว่าอาจจะชะลอตัวลงด้วยปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ในปี 2550 สถานการณ์การผลิตเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงใน 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ดัชนีผลผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก และดัชนีผลผลิตรองเท้าลดลงร้อยละ 15.02 และ 6.04 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศลดลง อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมัน และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่การนำเข้าหนังดิบ มาผลิตเป็นหนังฟอกเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหนังฟอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
สำหรับในปี 2551 คาดว่าการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน และการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ต้องการสินค้าเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำ กระเป๋าฯและรองเท้าหนัง คาดว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบตรงตามต้องการของตลาดและมีคุณภาพ ยกเว้นรองเท้ากีฬาที่คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการค้าเสรีที่การแข่งขันสูงที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า
อาหาร ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2550 คาดการณ์ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 น้อยกว่าการขยายตัวของปีก่อนที่ร้อยละ 17.0 โดยสินค้าสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวม คือ น้ำตาล ปศุสัตว์ และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 20 18.2 และ 19.9 ตามลำดับ จากภาวะโลกร้อนได้ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรคที่เป็นอันตรายต่อทั้งผลิตผลทางการเกษตรและคน ทำให้ปริมาณและราคาวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารผันผวน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารหลายสินค้าหลายประเภทในตลาดโลกสูงขึ้น ในส่วนประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบ โดยในด้านบวก คือ ภาพรวมของการผลิตยังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ และประมง ส่งผลให้ความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันผลด้านลบ เกิดขึ้นกับสินค้าที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ธัญพืช (ข้าวโพด) และผลิตภัณฑ์นม
แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.9 มากกว่าการขยายตัวของปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ร้อยละ 9.3 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 จะขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อยละ 7.5 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ประมาณร้อยละ 7.7
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวมลดลงร้อยละ 5.36 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาไม้ยางพารา น้ำมัน และค่าขนส่ง เป็นต้น รวมถึงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากซึ่งรับจ้างผลิตโดยรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าและใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ยังได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และรัฐบาลได้ออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านพักอาศัย และถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆได้เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี ซึ่งรวมถึงโครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มว่าจะยังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เงินบาทที่ยังแข็งค่า
ผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พบว่า ผลผลิตยางแปรรูปขั้นต้นลดลง โดยยางแผ่นมีอัตราส่วนที่ลดลงมากกว่ายางแท่ง เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้ยางหันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยางล้อโดยรวมและอุตสาหกรรมถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.14 และ 12.64 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากราคายางพาราที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวลดลง และมีเสถียรภาพดีกว่าปีที่แล้ว
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในปี 2551 ความผันผวนของราคายางพารา และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในปี 2550 คาดว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชน รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการสั่งพิมพ์หนังสือ การ์ด ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าวเพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก ประกอบกับอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศมีการขยายตัว กระตุ้นให้เกิดความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในตลาดเอเชียยังคงขยายตัว ความมั่นคงในสถานการณ์การเมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ผลิตหนังสือ/ ตำราเรียน
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 โดยยาที่ผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง การผลิตยาน้ำลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายลดการจัดรายการส่งเสริมการขายลงจากปีก่อน สำหรับยาผง มีปริมาณการผลิตลดลง เนื่องจาก มีผู้ประกอบการประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหาทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง ประกอบกับโครงการหลักประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอยู่
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการจำหน่ายปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.4 สอดคล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สำหรับการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ การจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับแนวโน้มการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2551 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรป
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2550 คาดว่าจะมีการผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณลดลงร้อยละ 0.17 และ 12.71 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2551 ขึ้นอยู่กับการขยายตัว
ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง การเข้ามาของรัฐบาลชุดใหม่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที แต่คาดว่าความต้องการใช้จะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลิตภัณฑ์เซรามิก การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตหลายรายหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตในประเทศ ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี 2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ลดลงจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 3.39 และ 0.49 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิก ในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.74 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.60 นับว่าขยายตัวสูงมากในรอบหลายปี โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ทั้งนี้การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจาก GSP ด้านการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.89
สำหรับแนวโน้มการผลิต ในปี 2551 คาดว่าจะสอดคล้องตามมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7 — 10 สำหรับแนวโน้มด้านการส่งออกคาดว่าจะได้รับผลดีจาก JTEPA ซึ่งสินค้าที่สำคัญในตลาดญี่ปุ่น คือ เครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยทองและทำด้วยเงิน อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐอเมริกาหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่ไทยจะส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกายังดีอยู่ คาดว่ามูลค่าการส่งออกโดยรวมจะขยายตัวแต่ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 10 -15
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-