วันที่ 12 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันนำไป
สู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาค
อุตสาหกรรรมไทย ให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก และเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความ
สำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ โดยความร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) แนวทางการดำเนินการตามแผนแม่
บทฯ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 ประการ คือ
เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และปี 2555 จะ
เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรม
เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงาน และปี 2555 จะ
เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ จำนวน 102.805 ล้านบาท ภายใต้ 3
โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิต, โครงการพัฒาบุคลากรเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และโครงการเพิ่ม
ประสิทธิภาพและผลิตภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (www.thaigov.go.th )
วันที่ 15 มิถุนายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐาน
สากล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ ที่ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดย
กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังต่อไปนี้
- ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (Package) ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์
และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ และมีขนาดการลงทุนของโครงการรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วน
โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ทั้งการประกอบรถยนต์ (จำกัดวงเงินยก
เว้นไม่เกินมูลค่าลงทุนขอโครงการ) การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ
- มีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป รถยนต์ที่ผลิตต้องมีคุณสมบัติ ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อ
เพลิง มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานมลพิษ EURO 4 หรือสูงกว่า ด้านความปลอดภัย มี
คุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้างของตัวรถ ตามมาตรฐาน UNECE Reg.94 และ Reg.95
- การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ Cylinder Head, Cylinder
Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod และจะต้องผลิต Cylinder Head, Cylinder Block และ Crankshaft
โดยอย่างน้อยจะต้องมีการผลิตในขั้นตอนการ Machining (www.boi.go.th )
วันที่ 14 สิงหาคม 2550 กระทรวงการคลังได้นำเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณา โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ซึ่งมีรายละเอียด (www.mof.go.th) ดังนี้
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจาก
ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,000 cc. แต่ไม่เกิน 2,500 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับ
อัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 30
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,500 cc. แต่ไม่เกิน 3,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับ
อัตราภาษีตามมูลค่าจาก ร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 35
ซึ่งรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
-มีการออกแบบที่ผลิตให้เป็นรถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อย
ละ 20 โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ โดยตรง
-มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
-ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานมลพิษจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าระดับ มอก. 2160-2546
วันที่ 2 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถตู้
โดยสารสาธารณะและการสนับสนุนให้มีการประกอบรถตู้โดยสารในประเทศ (www.mof.go.th) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ปรับลดอัตราอากรขาเข้ารถตู้โดยสารสำเร็จรูป (เครื่องยนต์เบนซิน) ซึ่งมีจำนวนที่นั่งตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป (รวมคนขับ) และมีน้ำหนัก
รถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภทย่อย 8702.90.99 ที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซ
ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และนำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นรถยนต์โดยสารประจำทาง จากอัตราปัจจุบันร้อยละ 40 ลง
เหลือร้อยละ 22 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยอัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึง (1) ค่าใช้จ่ายในการติด
ตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (2) ค่าใช้จ่ายการย้ายโรงงานเพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าไปจัดตั้งในเขตปลอดอากร และ
(3) การจูงใจเพื่อให้ราคารถตู้โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่ารถตู้โดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงปกติ ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่
กระทรวงการคลังกำหนด
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบที่นำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นรถยนต์
โดยสาร ซึ่งมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภท 87.02 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจาก
ญี่ปุ่น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน
ที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550)
วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องวิธีการในการขออนุมัตินำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
โดยได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
วันที่ 31 ตุลาคม 2550 กรมศุลกากรได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับ
ของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th )
สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง10 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค. —ต.ค.) มี
โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 65 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 26,621.60 ล้านบาท ส่งผลให้
เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 7,771 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ
(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th ) คือ
- โครงการขยายกิจการผลิตยางรถยนต์ ของบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร? (ไทยแลนด?) จำกัด เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ก่อให้เกิด
การจ้างแรงงานไทย 409 คน
- โครงการขยายกิจการวิจัยพัฒนายางรถยนต์ และบริการทดสอบยางรถยนต์ และยานยนต์ ของบริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด เงินลงทุน
1,170 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 47 คน
- โครงการประกอบกิจการรถยนต์ ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส
จำกัด ประเทศอินเดีย กับ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต? จำกัด โดยได้รับการส่งเสริมให้ประกอบรถปิกอัพ 1 ตัน มีเงินลงทุน 1,302 ล้านบาท ก่อให้
เกิดการจ้างแรงงานไทย 482 คน มีปริมาณการผลิตรถปิกอัพ ประมาณ 35,000 คัน/ป?
- โครงการผลิต compressor สำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท คาลโซนิค คันเซ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,600 ล้านบาท
ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 204 คน
- กิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-car) เป็นโครงการรวม (Package) ของฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศ
ไทย) จำกัด เงินลงทุน 6,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ 3,800 ล้านบาท ผลิตชิ้นส่วนของฮอนด้าและผู้รับช่วงการผลิต 2,900 ล้านบาท มี
กำลังการผลิตรถยนต์ประมาณ 120,000 คันต่อปี
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2550
- ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,057,251 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 6.24 และในปี
2550 ประมาณว่า มีการผลิตรถยนต์ 1,250,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จากปี 2549 ที่มีการผลิตรถยนต์ 1,188,044 คัน โดยเป็นการผลิตรถ
ยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณร้อยละ 25, 73 และ 2 ตามลำดับ
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 509,186 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 5.68
และในปี 2550 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์ 650,000 คัน ลดลงร้อยละ 4.71 จากปี 2549 ที่มีการจำหน่ายรถยนต์ 682,161 คัน โดยเป็น
การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ประมาณร้อยละ 28 , 59, 7 และ 6 ตาม
ลำดับ
- ปริมาณการส่งออกรถยนต์ ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 552,004 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 25.46 โดยมี
ตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญของไทย ได้แก่
ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และ
ลิเบีย และในปี 2550 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 624,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.78 จากปี 2549 ที่มีการส่งออกรถยนต์ 538,966
คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิตรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมด
- อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัว อันเนื่องมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการ
จำหน่ายในประเทศชะลอตัวเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจาก
นี้ธุรกิจที่เชื่อมโยงของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ธุรกิจเช่าซื้อกำลังประสบปัญหาการชำระหนี้ของลูกค้า ทำให้บริษัทต้องเพิ่มความเข้มงวดในการ
พิจารณาปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2550 ซึ่งเป็นฤดูกาลการจำหน่ายรถยนต์ บริษัทรถยนต์ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อ
กระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับมีการจัดงาน Motor Expo 2007 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2550 ณ IMPACT เมืองทอง
ธานี ซึ่งการจัดงานครั้งนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศในช่วงปลายปีได้
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2550
- ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,378,082 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 22.40
และในปี 2550 ประมาณว่า มีการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,700,000 คัน ลดลงร้อยละ 18.43 จากปี 2549 ที่มีการผลิตรถจักรยานยนต์
2,084,001 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณ ร้อยละ 95 และรถ
จักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 5
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,365,788 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ
21.45 และในปี 2550 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,650,000 คัน ลดลงร้อยละ 19.97 จากปี 2549 ที่มีการจำหน่าย
2,061,610 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบแฟมิลี่สปอร์ต) รถจักรยานยนต์แบบ
สกู๊ตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต (รวมแบบสปอร์ต และ แบบ off Road) ประมาณร้อยละ 54, 45 และ 1 ตามลำดับ
- ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,473,860 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
ร้อยละ 14.48 และในปี 2550 ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 จากปี 2549 ที่มีการส่งออก
1,575,666 คัน ซึ่งการส่งออกรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD-Completely Knock Down) โดยตลาดส่งออกชิ้นส่วน
ครบชุดสมบูรณ์ของรถจักรยานยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ กัมพูชา โคลัมเบีย และกรีซ
- อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเป็นเพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มี
กลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ได้ง่าย ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจำหน่ายโดยวิธีดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อน
ปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2551
- ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,400,000 คัน เพิ่มขึ้น
จากปี 2550 ร้อยละ 12.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 700,000 คัน และการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก ประมาณ
700,000 คัน โดยการส่งออกรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการส่งออก
รถยนต์ไปในตลาดใหม่ เช่น กลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกามีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ได้รับผลดีจาก
สถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนเมื่อมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอาจส่งผลต่อการเลือกซื้อ
รถยนต์ของผู้บริโภค ในขณะที่ภาครัฐมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จึงน่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ
- ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2551 คาดว่า จะทรงตัวจากปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันอัตราการถือครองรถจักรยานยนต์
ของคนไทยสูง เฉลี่ยประมาณ 4 คนต่อ 1 คัน ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์ทางการ
เมืองมีความชัดเจนก็จะส่งผลด้านบวกต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ตลอดจนความต้องการรถจักรยานยนต์ภายในประเทศด้วย ในขณะที่การส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD-Completely Knock Down) ยังสามารถขยายตัวได้
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550 2551
การผลิต 928,081 1,125,316 1,188,044 1,250,000 1,400,000
การจำหน่าย 625,978 703,410 682,161 650,000 700,000
การส่งออก 332,053 440,715 538,966 624,000 700,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550 2551
การผลิต 928,081 1,125,316 1,188,044 1,250,000 1,400,000
การจำหน่าย 625,978 703,410 682,161 650,000 700,000
การส่งออก 332,053 440,715 538,966 624,000 700,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550e
การผลิต(1) 3,028,070 2,358,511 2,084,001 1,700,000
การจำหน่าย 2,033,766 2,108,078 2,061,610 1,650,000
การส่งออก(2) 846,619 1,337,586 1,575,666 1,800,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) ข้อมูลการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2547 เป็นปริมาณการผลิตรรวม CBU และ CKD แต่สำหรับปี 2548-2550 เป็น
ปริมาณการผลิตที่ไม่รวม CKD
(2) ข้อมูลการส่งออกรถจักรยานยนต์เป็นปริมาณการส่งออกรวม CBU และ CKD
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันนำไป
สู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาค
อุตสาหกรรรมไทย ให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก และเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความ
สำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ โดยความร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) แนวทางการดำเนินการตามแผนแม่
บทฯ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 ประการ คือ
เป้าหมายที่ 1 ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
เป้าหมายที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และปี 2555 จะ
เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรม
เป้าหมายที่ 3 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงาน และปี 2555 จะ
เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 โรงงาน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ จำนวน 102.805 ล้านบาท ภายใต้ 3
โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิต, โครงการพัฒาบุคลากรเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และโครงการเพิ่ม
ประสิทธิภาพและผลิตภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (www.thaigov.go.th )
วันที่ 15 มิถุนายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐาน
สากล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ ที่ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดย
กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังต่อไปนี้
- ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (Package) ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์
และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ และมีขนาดการลงทุนของโครงการรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วน
โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ทั้งการประกอบรถยนต์ (จำกัดวงเงินยก
เว้นไม่เกินมูลค่าลงทุนขอโครงการ) การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ
- มีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป รถยนต์ที่ผลิตต้องมีคุณสมบัติ ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อ
เพลิง มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานมลพิษ EURO 4 หรือสูงกว่า ด้านความปลอดภัย มี
คุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้างของตัวรถ ตามมาตรฐาน UNECE Reg.94 และ Reg.95
- การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ Cylinder Head, Cylinder
Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod และจะต้องผลิต Cylinder Head, Cylinder Block และ Crankshaft
โดยอย่างน้อยจะต้องมีการผลิตในขั้นตอนการ Machining (www.boi.go.th )
วันที่ 14 สิงหาคม 2550 กระทรวงการคลังได้นำเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณา โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ซึ่งมีรายละเอียด (www.mof.go.th) ดังนี้
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจาก
ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,000 cc. แต่ไม่เกิน 2,500 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับ
อัตราภาษีตามมูลค่าจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 30
- รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,500 cc. แต่ไม่เกิน 3,000 cc. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) ปรับ
อัตราภาษีตามมูลค่าจาก ร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 35
ซึ่งรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 20 ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
-มีการออกแบบที่ผลิตให้เป็นรถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงประเภท เอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อย
ละ 20 โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ โดยตรง
-มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
-ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานมลพิษจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าระดับ มอก. 2160-2546
วันที่ 2 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถตู้
โดยสารสาธารณะและการสนับสนุนให้มีการประกอบรถตู้โดยสารในประเทศ (www.mof.go.th) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ปรับลดอัตราอากรขาเข้ารถตู้โดยสารสำเร็จรูป (เครื่องยนต์เบนซิน) ซึ่งมีจำนวนที่นั่งตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป (รวมคนขับ) และมีน้ำหนัก
รถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภทย่อย 8702.90.99 ที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซ
ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และนำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นรถยนต์โดยสารประจำทาง จากอัตราปัจจุบันร้อยละ 40 ลง
เหลือร้อยละ 22 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยอัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึง (1) ค่าใช้จ่ายในการติด
ตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (2) ค่าใช้จ่ายการย้ายโรงงานเพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าไปจัดตั้งในเขตปลอดอากร และ
(3) การจูงใจเพื่อให้ราคารถตู้โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่ารถตู้โดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงปกติ ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่
กระทรวงการคลังกำหนด
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบที่นำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นรถยนต์
โดยสาร ซึ่งมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3.5 ตัน ตามประเภท 87.02 เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจาก
ญี่ปุ่น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน
ที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550)
วันที่ 30 ตุลาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องวิธีการในการขออนุมัตินำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น
โดยได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
วันที่ 31 ตุลาคม 2550 กรมศุลกากรได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับ
ของที่มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th )
สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง10 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค. —ต.ค.) มี
โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 65 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 26,621.60 ล้านบาท ส่งผลให้
เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 7,771 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ
(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th ) คือ
- โครงการขยายกิจการผลิตยางรถยนต์ ของบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร? (ไทยแลนด?) จำกัด เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ก่อให้เกิด
การจ้างแรงงานไทย 409 คน
- โครงการขยายกิจการวิจัยพัฒนายางรถยนต์ และบริการทดสอบยางรถยนต์ และยานยนต์ ของบริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด เงินลงทุน
1,170 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 47 คน
- โครงการประกอบกิจการรถยนต์ ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส
จำกัด ประเทศอินเดีย กับ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต? จำกัด โดยได้รับการส่งเสริมให้ประกอบรถปิกอัพ 1 ตัน มีเงินลงทุน 1,302 ล้านบาท ก่อให้
เกิดการจ้างแรงงานไทย 482 คน มีปริมาณการผลิตรถปิกอัพ ประมาณ 35,000 คัน/ป?
- โครงการผลิต compressor สำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท คาลโซนิค คันเซ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,600 ล้านบาท
ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 204 คน
- กิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-car) เป็นโครงการรวม (Package) ของฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศ
ไทย) จำกัด เงินลงทุน 6,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ 3,800 ล้านบาท ผลิตชิ้นส่วนของฮอนด้าและผู้รับช่วงการผลิต 2,900 ล้านบาท มี
กำลังการผลิตรถยนต์ประมาณ 120,000 คันต่อปี
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2550
- ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,057,251 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 6.24 และในปี
2550 ประมาณว่า มีการผลิตรถยนต์ 1,250,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จากปี 2549 ที่มีการผลิตรถยนต์ 1,188,044 คัน โดยเป็นการผลิตรถ
ยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณร้อยละ 25, 73 และ 2 ตามลำดับ
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 509,186 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 5.68
และในปี 2550 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์ 650,000 คัน ลดลงร้อยละ 4.71 จากปี 2549 ที่มีการจำหน่ายรถยนต์ 682,161 คัน โดยเป็น
การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ประมาณร้อยละ 28 , 59, 7 และ 6 ตาม
ลำดับ
- ปริมาณการส่งออกรถยนต์ ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 552,004 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 25.46 โดยมี
ตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญของไทย ได้แก่
ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และ
ลิเบีย และในปี 2550 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 624,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.78 จากปี 2549 ที่มีการส่งออกรถยนต์ 538,966
คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิตรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมด
- อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัว อันเนื่องมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการ
จำหน่ายในประเทศชะลอตัวเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจาก
นี้ธุรกิจที่เชื่อมโยงของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ธุรกิจเช่าซื้อกำลังประสบปัญหาการชำระหนี้ของลูกค้า ทำให้บริษัทต้องเพิ่มความเข้มงวดในการ
พิจารณาปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2550 ซึ่งเป็นฤดูกาลการจำหน่ายรถยนต์ บริษัทรถยนต์ต่างพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อ
กระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับมีการจัดงาน Motor Expo 2007 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2550 ณ IMPACT เมืองทอง
ธานี ซึ่งการจัดงานครั้งนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศในช่วงปลายปีได้
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2550
- ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,378,082 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ 22.40
และในปี 2550 ประมาณว่า มีการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,700,000 คัน ลดลงร้อยละ 18.43 จากปี 2549 ที่มีการผลิตรถจักรยานยนต์
2,084,001 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณ ร้อยละ 95 และรถ
จักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 5
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,365,788 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ร้อยละ
21.45 และในปี 2550 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,650,000 คัน ลดลงร้อยละ 19.97 จากปี 2549 ที่มีการจำหน่าย
2,061,610 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบแฟมิลี่สปอร์ต) รถจักรยานยนต์แบบ
สกู๊ตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต (รวมแบบสปอร์ต และ แบบ off Road) ประมาณร้อยละ 54, 45 และ 1 ตามลำดับ
- ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ในปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) 1,473,860 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549
ร้อยละ 14.48 และในปี 2550 ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 จากปี 2549 ที่มีการส่งออก
1,575,666 คัน ซึ่งการส่งออกรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD-Completely Knock Down) โดยตลาดส่งออกชิ้นส่วน
ครบชุดสมบูรณ์ของรถจักรยานยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ กัมพูชา โคลัมเบีย และกรีซ
- อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเป็นเพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มี
กลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ได้ง่าย ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจำหน่ายโดยวิธีดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อน
ปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2551
- ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,400,000 คัน เพิ่มขึ้น
จากปี 2550 ร้อยละ 12.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 700,000 คัน และการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก ประมาณ
700,000 คัน โดยการส่งออกรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการส่งออก
รถยนต์ไปในตลาดใหม่ เช่น กลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกามีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ได้รับผลดีจาก
สถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนเมื่อมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอาจส่งผลต่อการเลือกซื้อ
รถยนต์ของผู้บริโภค ในขณะที่ภาครัฐมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จึงน่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ
- ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2551 คาดว่า จะทรงตัวจากปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันอัตราการถือครองรถจักรยานยนต์
ของคนไทยสูง เฉลี่ยประมาณ 4 คนต่อ 1 คัน ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์ทางการ
เมืองมีความชัดเจนก็จะส่งผลด้านบวกต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ตลอดจนความต้องการรถจักรยานยนต์ภายในประเทศด้วย ในขณะที่การส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD-Completely Knock Down) ยังสามารถขยายตัวได้
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550 2551
การผลิต 928,081 1,125,316 1,188,044 1,250,000 1,400,000
การจำหน่าย 625,978 703,410 682,161 650,000 700,000
การส่งออก 332,053 440,715 538,966 624,000 700,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550 2551
การผลิต 928,081 1,125,316 1,188,044 1,250,000 1,400,000
การจำหน่าย 625,978 703,410 682,161 650,000 700,000
การส่งออก 332,053 440,715 538,966 624,000 700,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ.
2547 2548 2549 2550e
การผลิต(1) 3,028,070 2,358,511 2,084,001 1,700,000
การจำหน่าย 2,033,766 2,108,078 2,061,610 1,650,000
การส่งออก(2) 846,619 1,337,586 1,575,666 1,800,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) ข้อมูลการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2547 เป็นปริมาณการผลิตรรวม CBU และ CKD แต่สำหรับปี 2548-2550 เป็น
ปริมาณการผลิตที่ไม่รวม CKD
(2) ข้อมูลการส่งออกรถจักรยานยนต์เป็นปริมาณการส่งออกรวม CBU และ CKD
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-