เครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2550 ประมาณว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ที่มีการขยายตัวของส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากการภาวะเศรษฐกิจที่ดีของประเทศคู่ค้าอย่างอียู ตะวันออกกลาง และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนของภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ภาวะการผลิตเครื่องปรับอากาศปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ อัตราการขยายตัวโดยรวมด้านการผลิตของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการขยายตัวไม่สูงมากนัก เป็นผลจากภาวะชะลอตัวของตลาดในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพื่อขายในประเทศปรับตัวลดลงในบางผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น สายไฟฟ้า และเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ยังคงขยายตัวในตลาดในประเทศ ได้แก่ เตาไมโครเวฟ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นฐานการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น Sharp Samsung LG เป็นต้น ผู้ผลิตเหล่านี้แข่งขันกันลดราคาเพื่อเพิ่มยอดขาย
นอกจากนี้ มีการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในการขยายกำลังการผลิตเครื่องปรับอากาศ แบบติดตั้งในอาคาร และนอกอาคาร รวมกำลังการผลิตของ 2 บริษัทที่ขอรับการส่งเสริม ปีละประมาณ 800,000 - 900,000 เครื่อง เพื่อมุ่งเน้นการส่งออกและเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดเครื่องปรับอากาศทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางของการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาหารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย เป็นต้น รวมถึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ ที่ช่วยในการประหยัดไฟกว่าระบบเดิม ถึง 50% การตัดเสียงรบกวน และใช้สารที่ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม (non CFC) อีกด้วย
ภาวะการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2550 ประมาณการมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 โดยมีมูลค่าประมาณ 16,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดอียู โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น จากสภาพอากาศที่ร้อนมากในแถบยุโรป ประกอบกับคำสั่งซื้อกลับเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ไทยหลังจากที่หันไปซื้อผลิตภัณฑ์จากจีน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ก็มีแนวโน้มที่ดีในตลาดดังกล่าว ขณะที่ภาวะชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาทำให้การส่งออกในตลาดนี้ยังคงปรับตัวลดลง อีกทั้งในช่วงปีนี้ สินค้าหลักที่ส่งออกตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ถูกตัด GSP จึงทำให้การส่งออกในตลาดนี้ค่อนข้างซบเซามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันด้านราคาของสินค้าจีน และการเข้ามาแทนที่ของ LCD และ Plasma TV ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงด้วย
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
เครื่องปรับอากาศ 21 42
เครื่องรับโทรทัศน์ 1 -58
ตู้เย็น 8 16
อิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 26 ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 15 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวในทุกตลาดแม้กระทั่งตลาดสหรัฐที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็ยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะขยายตัวไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีในตลาดทั่วโลกมีการขยายตัวทำให้ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคขยายตัวตามไปด้วย ถึงแม้ราคาผลิตภัณฑ์ในบางรุ่นจะมีราคาขายเฉลี่ยต่ำลงก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับตลาดเทคโนโลยี และคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการขอส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต HDD PCBA แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตในช่วงต้นปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่ามูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 29,142 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ของสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า แนวโน้มมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทั่วโลกปี 2550 ประมาณ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเทคโนโลยี ดังนี้ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนของสินค้าเทคโนโลยีสูงที่สุดประมาณ 40 % ประมาณการว่าจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 10 โทรศัพท์มือถือในปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 เป็นต้น
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
HDD 30 7
IC 15 23
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 2-4 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดหลักเช่น ตลาดอียู นอกจากนี้ ประมาณการว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวอีกด้วย อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมขยายตัว การจ้างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการเมกะโปรเจค ทำให้การบริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพื่อขายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตออกสู่ตลาดมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของสินค้าบางตัว เช่น TV ประเภท LCD Plasma และ OLED ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่สู่ตลาดมากขึ้น และสินค้าเทคโนโลยีเดิมมีราคาต่ำลงจะช่วยกระตุ้นการบริโภคระดับล่างและกลางได้
ขณะที่ เครื่องปรับอากาศ ผู้ประกอบการไทยบางรายเริ่มสร้างตราสินค้าเป็นของตนเองผลิตเพื่อส่งออกและขายในประเทศมากขึ้น และบางรายรับจ้างผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อมากขึ้นเช่นกัน จะช่วยกระตุ้นยอดการผลิตในผลิตภัณฑ์นั้นๆได้มากขึ้น นอกจากนี้ การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ก็จะส่งผลให้ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มมากขึ้นและมีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น เตาอบไมโครเวฟ แนวโน้มการส่งออกค่อนข้างดีโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดญี่ปุ่น รวมถึงตลาดในประเทศแนวโน้มค่อนข้างดีเช่นกันเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาและคุณภาพสูงในหลายตราสินค้าทั้งตราสินค้าญี่ปุ่น เกาหลี ไทย นอกจากนี้สินค้าขนาดเล็กอื่นๆ เช่น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ภาวะการผลิตค่อนข้างจะซบเซาอันเนื่องมาจากการแข่งขันกับสินค้าจีน ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาสูง ขณะที่ ผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้มีการทำงานหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมหม้อนึ่งอบ เป็นต้น
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2551 ปี 2551
เครื่องปรับอากาศ 8 23
เครื่องรับโทรทัศน์ 2 -2
ตู้เย็น 5 12
ภาวะการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณการมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10-12 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดอียู โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นจากสภาพอากาศที่ร้อนมากในแถบยุโรป ประกอบกับคำสั่งซื้อกลับเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ไทยหลังจากที่หันไปซื้อผลิตภัณฑ์จากจีน
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ก็มีแนวโน้มที่ดีในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น
ขณะที่ภาวะชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2550 ทำให้การส่งออกในตลาดนี้ยังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อย และคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวขึ้นจากเดิมเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2551 ทำให้การส่งออกในตลาดนี้เพิ่มขึ้นบ้าง รวมถึงการส่งออก TV ในตลาดสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามาหลังถูกตัด GSP และจากการส่งออกของ TV เทคโนโลยีใหม่ด้วย
อิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิตคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 จาก HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้มีการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ทำให้ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 ประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronicในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี เช่น คอมพิวเตอร์ขยายตัวได้ร้อยละ 10 หรือโทรศัพท์มือถือที่ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 10-15 เป็นต้น ทำให้ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคขยายตัวตามไปด้วย
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกอาจปรับตัวลดลงบ้างเล็กน้อย เนื่องจากราคาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับสินค้าในปัจจุบันมีอายุค่อนข้างสั้น เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
HDD 24 10
IC 18 20
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
- ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต ได้แก่ ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในระดับปฏิบัติการ การจัดการด้าน Logistics เป็นต้น
- ราคาน้ำมัน รวมถึงราคาวัตถุดิบต่างๆค่อนข้างผันผวน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ที่มีผลกระทบกับทุกอุตสาหกรรม เช่น อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างแข็งส่งผลกระทบกับภาคการส่งออก เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2550 ประมาณว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ที่มีการขยายตัวของส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจากการภาวะเศรษฐกิจที่ดีของประเทศคู่ค้าอย่างอียู ตะวันออกกลาง และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนของภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้ภาวะการผลิตเครื่องปรับอากาศปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ อัตราการขยายตัวโดยรวมด้านการผลิตของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการขยายตัวไม่สูงมากนัก เป็นผลจากภาวะชะลอตัวของตลาดในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพื่อขายในประเทศปรับตัวลดลงในบางผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น สายไฟฟ้า และเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ยังคงขยายตัวในตลาดในประเทศ ได้แก่ เตาไมโครเวฟ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นฐานการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น Sharp Samsung LG เป็นต้น ผู้ผลิตเหล่านี้แข่งขันกันลดราคาเพื่อเพิ่มยอดขาย
นอกจากนี้ มีการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในการขยายกำลังการผลิตเครื่องปรับอากาศ แบบติดตั้งในอาคาร และนอกอาคาร รวมกำลังการผลิตของ 2 บริษัทที่ขอรับการส่งเสริม ปีละประมาณ 800,000 - 900,000 เครื่อง เพื่อมุ่งเน้นการส่งออกและเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดเครื่องปรับอากาศทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางของการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาหารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย เป็นต้น รวมถึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ ที่ช่วยในการประหยัดไฟกว่าระบบเดิม ถึง 50% การตัดเสียงรบกวน และใช้สารที่ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม (non CFC) อีกด้วย
ภาวะการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2550 ประมาณการมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 โดยมีมูลค่าประมาณ 16,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดอียู โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น จากสภาพอากาศที่ร้อนมากในแถบยุโรป ประกอบกับคำสั่งซื้อกลับเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ไทยหลังจากที่หันไปซื้อผลิตภัณฑ์จากจีน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ก็มีแนวโน้มที่ดีในตลาดดังกล่าว ขณะที่ภาวะชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาทำให้การส่งออกในตลาดนี้ยังคงปรับตัวลดลง อีกทั้งในช่วงปีนี้ สินค้าหลักที่ส่งออกตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ถูกตัด GSP จึงทำให้การส่งออกในตลาดนี้ค่อนข้างซบเซามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันด้านราคาของสินค้าจีน และการเข้ามาแทนที่ของ LCD และ Plasma TV ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงด้วย
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
เครื่องปรับอากาศ 21 42
เครื่องรับโทรทัศน์ 1 -58
ตู้เย็น 8 16
อิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 26 ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยประมาณการว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 15 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวในทุกตลาดแม้กระทั่งตลาดสหรัฐที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็ยังคงขยายตัวได้ดีแต่อาจจะขยายตัวไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีในตลาดทั่วโลกมีการขยายตัวทำให้ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคขยายตัวตามไปด้วย ถึงแม้ราคาผลิตภัณฑ์ในบางรุ่นจะมีราคาขายเฉลี่ยต่ำลงก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับตลาดเทคโนโลยี และคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการขอส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต HDD PCBA แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตในช่วงต้นปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2550 ประมาณการว่ามูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 29,142 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ของสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า แนวโน้มมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทั่วโลกปี 2550 ประมาณ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเทคโนโลยี ดังนี้ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนของสินค้าเทคโนโลยีสูงที่สุดประมาณ 40 % ประมาณการว่าจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 10 โทรศัพท์มือถือในปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 เป็นต้น
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
HDD 30 7
IC 15 23
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 2-4 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดหลักเช่น ตลาดอียู นอกจากนี้ ประมาณการว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวอีกด้วย อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมขยายตัว การจ้างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการเมกะโปรเจค ทำให้การบริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพื่อขายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตออกสู่ตลาดมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของสินค้าบางตัว เช่น TV ประเภท LCD Plasma และ OLED ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่สู่ตลาดมากขึ้น และสินค้าเทคโนโลยีเดิมมีราคาต่ำลงจะช่วยกระตุ้นการบริโภคระดับล่างและกลางได้
ขณะที่ เครื่องปรับอากาศ ผู้ประกอบการไทยบางรายเริ่มสร้างตราสินค้าเป็นของตนเองผลิตเพื่อส่งออกและขายในประเทศมากขึ้น และบางรายรับจ้างผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อมากขึ้นเช่นกัน จะช่วยกระตุ้นยอดการผลิตในผลิตภัณฑ์นั้นๆได้มากขึ้น นอกจากนี้ การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ก็จะส่งผลให้ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มมากขึ้นและมีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น เตาอบไมโครเวฟ แนวโน้มการส่งออกค่อนข้างดีโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดญี่ปุ่น รวมถึงตลาดในประเทศแนวโน้มค่อนข้างดีเช่นกันเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาและคุณภาพสูงในหลายตราสินค้าทั้งตราสินค้าญี่ปุ่น เกาหลี ไทย นอกจากนี้สินค้าขนาดเล็กอื่นๆ เช่น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ภาวะการผลิตค่อนข้างจะซบเซาอันเนื่องมาจากการแข่งขันกับสินค้าจีน ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาสูง ขณะที่ ผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้มีการทำงานหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมหม้อนึ่งอบ เป็นต้น
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2551 ปี 2551
เครื่องปรับอากาศ 8 23
เครื่องรับโทรทัศน์ 2 -2
ตู้เย็น 5 12
ภาวะการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2551 ประมาณการมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10-12 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดอียู โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นจากสภาพอากาศที่ร้อนมากในแถบยุโรป ประกอบกับคำสั่งซื้อกลับเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ไทยหลังจากที่หันไปซื้อผลิตภัณฑ์จากจีน
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ก็มีแนวโน้มที่ดีในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น
ขณะที่ภาวะชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2550 ทำให้การส่งออกในตลาดนี้ยังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อย และคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวขึ้นจากเดิมเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2551 ทำให้การส่งออกในตลาดนี้เพิ่มขึ้นบ้าง รวมถึงการส่งออก TV ในตลาดสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามาหลังถูกตัด GSP และจากการส่งออกของ TV เทคโนโลยีใหม่ด้วย
อิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 การผลิตคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณร้อยละ 10-15 จาก HDD และ IC ที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้มีการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2550 ทำให้ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2551 ประมาณการมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12-15 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี และ Consumer Electronicในตลาดทั่วโลกที่คาดว่าจะยังมีการขยายตัวได้ดี เช่น คอมพิวเตอร์ขยายตัวได้ร้อยละ 10 หรือโทรศัพท์มือถือที่ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 10-15 เป็นต้น ทำให้ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคขยายตัวตามไปด้วย
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกอาจปรับตัวลดลงบ้างเล็กน้อย เนื่องจากราคาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับสินค้าในปัจจุบันมีอายุค่อนข้างสั้น เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ประมาณการ ปริมาณการผลิต มูลค่าการส่งออก
สินค้า อัตราการขยายตัว (%) อัตราการขยายตัว (%)
ปี 2550 ปี 2550
HDD 24 10
IC 18 20
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
- ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต ได้แก่ ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในระดับปฏิบัติการ การจัดการด้าน Logistics เป็นต้น
- ราคาน้ำมัน รวมถึงราคาวัตถุดิบต่างๆค่อนข้างผันผวน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ที่มีผลกระทบกับทุกอุตสาหกรรม เช่น อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างแข็งส่งผลกระทบกับภาคการส่งออก เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-