โครงสร้างของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์กำเนิดจากวัตถุดิบที่สำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่ และผลิตผลการเกษตร
1. น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผลผลิตที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี พลาสติก
เรซิน โพลีเมอร์ วัตถุดิบพลาสติกอื่นๆ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
2. แร่ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
3. ผลิตผลการเกษตร ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีชีวภาพ
โครงสร้างการผลิต
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลง
ทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีการใช้วัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซักฟอก
และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
ทั้งนี้ วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นกิจการที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2550 มูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนประมาณร้อยละ 1.88 สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ในปี 2550 เมื่อเทียบ
กับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและมีความ
รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบเนื่องจากมี
เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิต
การส่งออก
ในปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 20,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 16,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 31,338 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,150 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณความ
ต้องการใช้ของตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550* 2549 2550* Q4/Q3 2550
2550 / 2549
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 3,158 3,225 9,120 11,312 2.12 24.03
1.2 อินทรีย์ C 29 5,077 4,952 17,841 20,873 -2.46 16.99
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 657 624 2,079 2,150 -5.02 3.41
2.2 สี 32 2,387 2,286 8,893 9,199 -4.23 3.44
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,987 7,504 27,678 31,338 -6.04 13.22
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,279 2,895 11,131 21,395 -11.71 92.21
2.5 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 4,295 4,520 12,344 16,412 5.23 32.95
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
* ตัวเลขใน Q4/2550 กับ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2550 มีมูลค่าประมาณ 47,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.55 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 58,024 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 49,064 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 38.68 เมื่อเทียบกับปีก่อน อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมูลค่านำเข้าประมาณ 18,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้ผลประโยชน์กับการที่ค่าเงิน
บาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภาย
ใต้เครื่องหมายการค้าของตนเองภายในประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควร
ที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร:ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศ
คู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรมสำเร็จรูปจาก
ต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550* 2549 2550* Q4/Q3 2550
2550 /2549
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 12,592 12,972 39,180 47,233 3.01 20.55
1.2 อินทรีย์ (C) 29 22,029 21,660 87,719 89,078 -1.67 1.54
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 12,959 10,956 35,378 49,064 -15.45 38.68
2.2 สี 32 8,743 8,250 32,669 34,301 -5.63 4.99
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,676 4,059 17,402 18,086 -13.19 3.93
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,295 4,001 15,248 15,780 -6.84 3.48
2.5 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,372 12,504 60,133 58,024 -12.99 -3.5
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
* ตัวเลขใน Q4/2550 กับ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้า
วัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพ
การผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
นอกจากนี้ ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายนปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้อง
ปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบดังกล่าวและมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะต้องแสดงผล
วิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นๆ พร้อมกับการยื่นจดทะเบียนในสหภาพยุโรป ซึ่งหน่วย
งานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลกด้วยเช่นกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผลผลิตที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี พลาสติก
เรซิน โพลีเมอร์ วัตถุดิบพลาสติกอื่นๆ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
2. แร่ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
3. ผลิตผลการเกษตร ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีชีวภาพ
โครงสร้างการผลิต
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลง
ทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีการใช้วัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซักฟอก
และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
ทั้งนี้ วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นกิจการที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2550 มูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนประมาณร้อยละ 1.88 สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ในปี 2550 เมื่อเทียบ
กับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและมีความ
รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบเนื่องจากมี
เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิต
การส่งออก
ในปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 20,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 16,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 31,338 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,150 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณความ
ต้องการใช้ของตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550* 2549 2550* Q4/Q3 2550
2550 / 2549
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 3,158 3,225 9,120 11,312 2.12 24.03
1.2 อินทรีย์ C 29 5,077 4,952 17,841 20,873 -2.46 16.99
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 657 624 2,079 2,150 -5.02 3.41
2.2 สี 32 2,387 2,286 8,893 9,199 -4.23 3.44
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,987 7,504 27,678 31,338 -6.04 13.22
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,279 2,895 11,131 21,395 -11.71 92.21
2.5 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 4,295 4,520 12,344 16,412 5.23 32.95
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
* ตัวเลขใน Q4/2550 กับ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2550 มีมูลค่าประมาณ 47,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.55 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 58,024 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 49,064 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 38.68 เมื่อเทียบกับปีก่อน อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมูลค่านำเข้าประมาณ 18,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้ผลประโยชน์กับการที่ค่าเงิน
บาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภาย
ใต้เครื่องหมายการค้าของตนเองภายในประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควร
ที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร:ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศ
คู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรมสำเร็จรูปจาก
ต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550* 2549 2550* Q4/Q3 2550
2550 /2549
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 12,592 12,972 39,180 47,233 3.01 20.55
1.2 อินทรีย์ (C) 29 22,029 21,660 87,719 89,078 -1.67 1.54
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 12,959 10,956 35,378 49,064 -15.45 38.68
2.2 สี 32 8,743 8,250 32,669 34,301 -5.63 4.99
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,676 4,059 17,402 18,086 -13.19 3.93
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,295 4,001 15,248 15,780 -6.84 3.48
2.5 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,372 12,504 60,133 58,024 -12.99 -3.5
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
* ตัวเลขใน Q4/2550 กับ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้า
วัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพ
การผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
นอกจากนี้ ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายนปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้อง
ปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบดังกล่าวและมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะต้องแสดงผล
วิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นๆ พร้อมกับการยื่นจดทะเบียนในสหภาพยุโรป ซึ่งหน่วย
งานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลกด้วยเช่นกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-