ภาพรวมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากหลายพันราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอก
จากนี้พลาสติกยังเป็นอุตสาหกรรมเชื่อมต่อระหว่างอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ป้อนวัตถุดิบเม็ดพลาสติก ซึ่งผลิตต่อเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ กับ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องนานาประเภท อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย รองเท้า วัสดุก่อสร้าง
เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องเขียน ของเล่น เครื่องกีฬา บรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ฯลฯ ที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป
หรือเป็นส่วนประกอบการผลิต แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกกลับประสบปัญหาต่างๆ อย่างต่อ
เนื่อง เริ่มตั้งแต่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้นตลอดปี 2550 ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ โดย
เฉพาะราคาเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าพลาสติกสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าภาครัฐจะได้มีมาตรการลดผลกระทบแล้วก็ตาม
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น อุตสาหกรรมพลาสติกมีจำนวน
โรงงานทั่วประเทศประมาณ 5,000 โรง ทั้งนี้โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมที่ใช้
พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก) ร้อยละ 70 แรงงานร้อยละ 10 — 15 พลังงานร้อย
ละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
การตลาด
การส่งออก
ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,293.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน
มา ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเซียน และออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูง
สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.04
22.99 และ 4.73 เมื่อเทียบกับยอดรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ คาดว่าผลิตภัณฑ์หลักที่จะมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์
และแถบ พลาสติกปูพื้นและผนัง และ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยคาดว่าจะมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.33 30.45 และ 57.31
ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาอาจได้รับผลกระทบเพราะปัญหาตลาดซับไพรม์ หรือ ภาวะวิกฤติสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในขณะที่ตลาดรอง เช่น ออสเตรเลียพบว่าการส่งออกดีขึ้นและจะดีขึ้นอีกในปีหน้า
เพราะการลดภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 ที่จะกลายเป็น 0 ในปี 2551
มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
ประเภทผลิตภัณฑ์ 2548 2549 2550 2549 2550 2549 เทียบกับ2548 2550 เทียบกับ2549
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 527.4 440.4 450.9 2.24 -0.57
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 536.7 558.7 689.1 455.8 581.9 4.1 23.33
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 22.6 17.9 20.3 15.1 17.6 -20.8 13.16
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 47.2 23.8 39.1 -2.91 57.31
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 21.1 16.6 17.9 -10.62 4.54
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 45.6 38.6 39.3 10.84 -0.89
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 77.1 48.1 65 16.8 30.45
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยพลาสติก 84 98.9 108.4 83 93.4 17.74 9.62
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 759.1 504.9 637.3 13.26 21.61
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 2,293.60 1,626.40 1,942.40 6.81 15.52
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ในปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2,271.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดย
มีการนำเข้าแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหลอดและท่อพลาสติกมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และ เกาหลีใต้ สำหรับผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูง
สุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 35.89 ของการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก
มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
ประเภทผลิตภัณฑ์ 2548 2549 2550 2549 2550 2549 เทียบกับ2548 2550 เทียบกับ2549
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 92.6 75.4 80.8 9.64 4.95
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 815.2 648.2 705.6 3.27 6.22
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 1,363.50 1,141.90 1,170.70 10.45 -0.25
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 2,271.60 1,865.50 1,957.10 7.94 2.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดปี 2550 ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อ
เนื่องทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตรวมทั้งระมัดระวังการสต๊อกวัตถุดิบที่มีราคาผันผวนเพื่อให้สามารถแข่งขัน
ได้
อุตสาหกรรมพลาสติกยังคงอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงชะลอตัวแม้ว่า
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศปีหน้าจะมีความแน่นอนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และอุปสงค์ในตลาดโลกที่คาดว่าอาจจะชะลอตัวลงด้วยปัญหา
ซับไพรม์ในสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน และจะส่งผลให้การแข่งขันมีความรุนแรงและยากลำบากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอก
จากนี้ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมชนิดนี้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น เช่น การส่ง
เสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือ การพัฒนาช่องทางการขนส่งใหม่ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลา และต้นทุนค่าขนส่ง รวมทั้งจะต้องมีการผลิตเพื่อ
ทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด
รวมทั้งการประสานความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำเพื่อให้สามารถผลิตได้อย่างครบวงจรมากขึ้น เพื่อลดภาระต้นทุนและความเสี่ยง
ของผู้ผลิตของไทยจากการซื้อวัตถุดิบที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น
ที่ผ่านมาผู้ผลิตของไทยได้ทำการปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งควรจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต
โดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น “พลาสติกเขียว” หรือวัสดุพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม ซึ่งมีแนวโน้มการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมหรือการลดภาวะโลกร้อน การรณรงค์ให้รีไซเคิล และการใช้ไบโอพลาสติกที่มีคุณสมบัติย่อยสลาย
เร็ว เพื่อขยายตลาดและรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากหลายพันราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอก
จากนี้พลาสติกยังเป็นอุตสาหกรรมเชื่อมต่อระหว่างอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ป้อนวัตถุดิบเม็ดพลาสติก ซึ่งผลิตต่อเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ กับ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องนานาประเภท อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย รองเท้า วัสดุก่อสร้าง
เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องเขียน ของเล่น เครื่องกีฬา บรรจุภัณฑ์ อาหารแปรรูป ฯลฯ ที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป
หรือเป็นส่วนประกอบการผลิต แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกกลับประสบปัญหาต่างๆ อย่างต่อ
เนื่อง เริ่มตั้งแต่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้นตลอดปี 2550 ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ โดย
เฉพาะราคาเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าพลาสติกสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าภาครัฐจะได้มีมาตรการลดผลกระทบแล้วก็ตาม
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น อุตสาหกรรมพลาสติกมีจำนวน
โรงงานทั่วประเทศประมาณ 5,000 โรง ทั้งนี้โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมที่ใช้
พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก) ร้อยละ 70 แรงงานร้อยละ 10 — 15 พลังงานร้อย
ละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
การตลาด
การส่งออก
ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,293.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน
มา ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเซียน และออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูง
สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.04
22.99 และ 4.73 เมื่อเทียบกับยอดรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ คาดว่าผลิตภัณฑ์หลักที่จะมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์
และแถบ พลาสติกปูพื้นและผนัง และ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยคาดว่าจะมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.33 30.45 และ 57.31
ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาอาจได้รับผลกระทบเพราะปัญหาตลาดซับไพรม์ หรือ ภาวะวิกฤติสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในขณะที่ตลาดรอง เช่น ออสเตรเลียพบว่าการส่งออกดีขึ้นและจะดีขึ้นอีกในปีหน้า
เพราะการลดภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 ที่จะกลายเป็น 0 ในปี 2551
มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
ประเภทผลิตภัณฑ์ 2548 2549 2550 2549 2550 2549 เทียบกับ2548 2550 เทียบกับ2549
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 527.4 440.4 450.9 2.24 -0.57
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 536.7 558.7 689.1 455.8 581.9 4.1 23.33
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 22.6 17.9 20.3 15.1 17.6 -20.8 13.16
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 47.2 23.8 39.1 -2.91 57.31
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 21.1 16.6 17.9 -10.62 4.54
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 45.6 38.6 39.3 10.84 -0.89
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 77.1 48.1 65 16.8 30.45
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยพลาสติก 84 98.9 108.4 83 93.4 17.74 9.62
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 759.1 504.9 637.3 13.26 21.61
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 2,293.60 1,626.40 1,942.40 6.81 15.52
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ในปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2,271.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดย
มีการนำเข้าแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหลอดและท่อพลาสติกมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และ เกาหลีใต้ สำหรับผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูง
สุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 35.89 ของการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก
มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
ประเภทผลิตภัณฑ์ 2548 2549 2550 2549 2550 2549 เทียบกับ2548 2550 เทียบกับ2549
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 92.6 75.4 80.8 9.64 4.95
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 815.2 648.2 705.6 3.27 6.22
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 1,363.50 1,141.90 1,170.70 10.45 -0.25
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 2,271.60 1,865.50 1,957.10 7.94 2.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดปี 2550 ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อ
เนื่องทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตรวมทั้งระมัดระวังการสต๊อกวัตถุดิบที่มีราคาผันผวนเพื่อให้สามารถแข่งขัน
ได้
อุตสาหกรรมพลาสติกยังคงอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงชะลอตัวแม้ว่า
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศปีหน้าจะมีความแน่นอนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และอุปสงค์ในตลาดโลกที่คาดว่าอาจจะชะลอตัวลงด้วยปัญหา
ซับไพรม์ในสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน และจะส่งผลให้การแข่งขันมีความรุนแรงและยากลำบากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอก
จากนี้ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมชนิดนี้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น เช่น การส่ง
เสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือ การพัฒนาช่องทางการขนส่งใหม่ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลา และต้นทุนค่าขนส่ง รวมทั้งจะต้องมีการผลิตเพื่อ
ทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด
รวมทั้งการประสานความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำเพื่อให้สามารถผลิตได้อย่างครบวงจรมากขึ้น เพื่อลดภาระต้นทุนและความเสี่ยง
ของผู้ผลิตของไทยจากการซื้อวัตถุดิบที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น
ที่ผ่านมาผู้ผลิตของไทยได้ทำการปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งควรจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต
โดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค เช่น “พลาสติกเขียว” หรือวัสดุพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม ซึ่งมีแนวโน้มการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมหรือการลดภาวะโลกร้อน การรณรงค์ให้รีไซเคิล และการใช้ไบโอพลาสติกที่มีคุณสมบัติย่อยสลาย
เร็ว เพื่อขยายตลาดและรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-