ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปี 2550
สถานการณ์ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ
โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้าโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความไม่สงบ
ทางการเมืองของไนจีเรีย ร่วมกับปัจจัยเรื่องความผันผวนของสภาพภูมิอากาศโลก หลายประเทศในภูมิภาคมีแผนขยายกำลังการผลิตของตน โดยมีการ
ลงทุนในเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน โอมาน และอิหร่าน อีกทั้งหลายประเทศได้หันมาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจโดยเป็น
โครงการร่วมลงทุนระหว่างกันเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ได้แก่ คูเวต-จีน ไต้หวัน-จีน เป็นต้น
การตลาด มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 23,959.07 27,938.72
และ 73,204.70 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.79 และ 12.88 ตามลำดับ ส่วน
มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นกลางลดลงร้อยละ 26.58 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทางด้านมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในปี
2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 17,397.42 52,607.11 และ 163,400.15 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออก ปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อย
ละ 38.11 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 และ 6.00 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
จากตัวเลขมูลค่าการนำเข้า — ส่งออก ในรอบ 9 เดือน ของปี 2550 พบว่ามูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงค่อนข้างมาก สาเหตุ
หลักเกิดจากหน่วยผลิตในประเทศเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคและมีการเลื่อนกำหนดเปิดเดินเครื่องการผลิตหลังปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่วนมูลค่าการส่งออก
ปิโตรเคมีขั้นกลางมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีการเปิดเดินเครื่องผลิต Ethylene Glycol ในประเทศทำให้มีผลิตภัณฑ์ส่วนเกินสามารถ
ส่งออกได้และมีราคาที่ดีมาก อีกทั้งเกิดปัญหาในหน่วยผลิตนี้ของประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้มีการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูง ส่วนปิโต
รเคมีขั้นปลาย มูลค่าส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้มีสาเหตุจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนยังคงเป็นตลาดที่สำคัญ เนื่อง
จากอยู่ในช่วงเตรียมการจัดกีฬาโอลิมปิกปี 2008
ไตรมาส/ปี ปิโตรเคมีขั้นต้น ปิโตรเคมีขั้นกลาง ปิโตรเคมีขั้นปลาย
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก
Q1 / 2549 3,318.16 6,951.57 10,118.48 7,502.13 16,518.92 37,416.98
Q2 / 2549 5,787.10 8,025.93 10,610.97 11,860.82 16,163.24 38,451.84
Q3 / 2549 5,787.75 6,591.33 8,770.68 14,522.12 16,436.03 40,042.42
Q4 / 2549 4,003.58 6,541.03 8,552.54 16,549.96 15,735.06 38,236.51
2549 18,896.59 28,109.87 38,052.68 50,435.04 64,853.26 154,147.75
Q1 / 2550 6,006.82 3,993.55 8,225.73 12,565.38 17,879.95 36,675.75
Q2 / 2550 6,407.74 4,317.68 7,188.23 13,448.54 18,580.15 40,445.01
Q3 / 2550 6,170.11 4,539.69 7,351.40 15,188.93 18,533.77 43,452.14
Q4 / 2550* 5,374.39 4,546.51 5,173.37 11,404.24 18,190.83 42,827.25
2550* 23,959.07 17,397.42 27,938.72 52,607.11 73,204.70 163,400.15
2550*/2549 26.79 -38.11 -26.58 4.31 12.88 6
(%)
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้มปี 2551
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2551 หลายประเทศมีโครงการขยายกำลังการผลิต และมีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลให้มี
การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง
จะค่อนข้างทรงตัว ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีขั้นปลายยังคงมีความ
ต้องการเม็ดพลาสติดเกรดพิเศษเพิ่มมากขึ้น
ส่วนด้านการส่งออกนั้น คาดว่า การส่งออกปิโตรเคมีโดยรวมจะสามารถขยายตัวได้เล็กน้อย เนื่องจากโรงงานในประเทศที่มีการปิดซ่อม
บำรุงประจำปีได้กลับมาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง รวมทั้งมีการขยายกำลังการผลิต ทำให้มีผลิตภัณฑ์สามารถส่งออกได้ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ มี
โครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจใหม่ ทำให้ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตจะเผชิญกับปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันใน
ตลาดโลก และภาวะความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และจะส่งผลโดยตรงต่อขีด
ความสามารถในการแข่งขัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สถานการณ์ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ
โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้าโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความไม่สงบ
ทางการเมืองของไนจีเรีย ร่วมกับปัจจัยเรื่องความผันผวนของสภาพภูมิอากาศโลก หลายประเทศในภูมิภาคมีแผนขยายกำลังการผลิตของตน โดยมีการ
ลงทุนในเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน โอมาน และอิหร่าน อีกทั้งหลายประเทศได้หันมาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจโดยเป็น
โครงการร่วมลงทุนระหว่างกันเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ได้แก่ คูเวต-จีน ไต้หวัน-จีน เป็นต้น
การตลาด มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 23,959.07 27,938.72
และ 73,204.70 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.79 และ 12.88 ตามลำดับ ส่วน
มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นกลางลดลงร้อยละ 26.58 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทางด้านมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในปี
2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 17,397.42 52,607.11 และ 163,400.15 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออก ปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อย
ละ 38.11 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 และ 6.00 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
จากตัวเลขมูลค่าการนำเข้า — ส่งออก ในรอบ 9 เดือน ของปี 2550 พบว่ามูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงค่อนข้างมาก สาเหตุ
หลักเกิดจากหน่วยผลิตในประเทศเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคและมีการเลื่อนกำหนดเปิดเดินเครื่องการผลิตหลังปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่วนมูลค่าการส่งออก
ปิโตรเคมีขั้นกลางมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีการเปิดเดินเครื่องผลิต Ethylene Glycol ในประเทศทำให้มีผลิตภัณฑ์ส่วนเกินสามารถ
ส่งออกได้และมีราคาที่ดีมาก อีกทั้งเกิดปัญหาในหน่วยผลิตนี้ของประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้มีการขยายตัวในมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูง ส่วนปิโต
รเคมีขั้นปลาย มูลค่าส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้มีสาเหตุจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนยังคงเป็นตลาดที่สำคัญ เนื่อง
จากอยู่ในช่วงเตรียมการจัดกีฬาโอลิมปิกปี 2008
ไตรมาส/ปี ปิโตรเคมีขั้นต้น ปิโตรเคมีขั้นกลาง ปิโตรเคมีขั้นปลาย
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก
Q1 / 2549 3,318.16 6,951.57 10,118.48 7,502.13 16,518.92 37,416.98
Q2 / 2549 5,787.10 8,025.93 10,610.97 11,860.82 16,163.24 38,451.84
Q3 / 2549 5,787.75 6,591.33 8,770.68 14,522.12 16,436.03 40,042.42
Q4 / 2549 4,003.58 6,541.03 8,552.54 16,549.96 15,735.06 38,236.51
2549 18,896.59 28,109.87 38,052.68 50,435.04 64,853.26 154,147.75
Q1 / 2550 6,006.82 3,993.55 8,225.73 12,565.38 17,879.95 36,675.75
Q2 / 2550 6,407.74 4,317.68 7,188.23 13,448.54 18,580.15 40,445.01
Q3 / 2550 6,170.11 4,539.69 7,351.40 15,188.93 18,533.77 43,452.14
Q4 / 2550* 5,374.39 4,546.51 5,173.37 11,404.24 18,190.83 42,827.25
2550* 23,959.07 17,397.42 27,938.72 52,607.11 73,204.70 163,400.15
2550*/2549 26.79 -38.11 -26.58 4.31 12.88 6
(%)
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้มปี 2551
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2551 หลายประเทศมีโครงการขยายกำลังการผลิต และมีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลให้มี
การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า มูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง
จะค่อนข้างทรงตัว ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีขั้นปลายยังคงมีความ
ต้องการเม็ดพลาสติดเกรดพิเศษเพิ่มมากขึ้น
ส่วนด้านการส่งออกนั้น คาดว่า การส่งออกปิโตรเคมีโดยรวมจะสามารถขยายตัวได้เล็กน้อย เนื่องจากโรงงานในประเทศที่มีการปิดซ่อม
บำรุงประจำปีได้กลับมาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง รวมทั้งมีการขยายกำลังการผลิต ทำให้มีผลิตภัณฑ์สามารถส่งออกได้ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ มี
โครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจใหม่ ทำให้ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตจะเผชิญกับปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันใน
ตลาดโลก และภาวะความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และจะส่งผลโดยตรงต่อขีด
ความสามารถในการแข่งขัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-