อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงครบวงจรของการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ส่งผลด้านบวกต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในปี 2550 คาดว่า จะมีค่าดัชนีผลผลิต 144.2 เมื่อเทียบกับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก ในปี 2550 คาดว่า จะมีค่าดัชนีผลผลิต 126.6 122.3 137.6 และ 195.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับค่าดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษร้อยละ 2.0 22.4 7.6 และ 7.2 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชน รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการ สั่งพิมพ์หนังสือ การ์ด ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าวเพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก ประกอบกับอุตสาหกรรม หลายกลุ่มของประเทศมีการขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระตุ้นให้เกิดความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่า 541.9 1,096.4 และ 165.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 22.1 และ 29.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องนำเข้า เยื่อใยยาว และเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวที่ไทยไม่สามารถผลิตได้ เพื่อรองรับความต้องการสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ตลอดจนงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน อีกทั้งประชาชนมีความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และแอฟริกาใต้
ส่วนมูลค่าการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ากระดาษประเภทเซลลูโลสแวดดิ้ง เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า และกระดาษเช็ดปาก เป็นต้น โดยจะนำมาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสิ่งพิมพ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ หนังสือที่พิมพ์ในรูปเล่ม โบรชัว และแผ่นปลิว ซึ่งมีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่า 170.2 1,196.8 และ 700.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.9 12.3 และ 578.9 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปประเทศจีนกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด
ส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การส่งออกเยื่อกระดาษ เนื่องจากความต้องการบริโภคกระดาษโดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียน ในสหภาพยุโรปและอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคากระดาษพิมพ์เขียนในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เป็นผลมาจากการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้ โรงพิมพ์ในประเทศไทยมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
3. สรุปและแนวโน้ม
ในปี 2550 ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุนจากภายในประเทศ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ และงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบกับอุตสาหกรรม หลายกลุ่มของประเทศไทยมีการขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่งผลให้มีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในตลาดเอเชียยังคงขยายตัว ความมั่นคงในสถานการณ์การเมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ผลิตหนังสือ/ ตำราเรียน อีกทั้งการดำเนินงานด้านนโยบายของรัฐบาลที่มีความประสงค์ให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการส่งเสริม SMEs โดยจัดสรรงบประมาณผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2550 ทั้งนี้ ผลของการดำเนินงานดังกล่าวจะก่อให้เกิดแรงงานที่มีฝีมือเพิ่มขึ้น เกิดศูนย์กลางในการทดสอบมาตรฐานสิ่งพิมพ์ และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงทำให้ต่างประเทศได้รู้จักผู้ประกอบการไทยมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในปีหน้านี้ยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทไม่เสถียรภาพ ภาวะดอกเบี้ยและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทุกด้านโดยเฉพาะการขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในแนวทางที่ยั่งยืน
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ปี
2548 2549 2550(1/)
เยื่อกระดาษ 127.3 136.6 144.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3 5.6
กระดาษพิมพ์เขียน 126.9 124.1 126.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.2 2
กระดาษแข็ง 104.2 99.9 122.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.1 22.4
กระดาษคราฟท์ 117.9 127.9 137.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5 7.6
กระดาษลูกฟูก 176.9 181.9 195
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 7.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : (1/) ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ปี
2548 2549 25501/
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 378.1 392.4 541.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.8 38.1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 932.3 897.6 1,096.40
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.7 22.1
สิ่งพิมพ์ 122.8 127.6 165.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 29.7
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ปี
2548 2549 2550(1/)
เยื่อกระดาษ 91.2 118.3 170.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 29.7 43.9
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 909.1 1,066.00 1,196.80
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.2 12.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 114 103.1 700
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.6 578.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : (1/) ตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในปี 2550 คาดว่า จะมีค่าดัชนีผลผลิต 144.2 เมื่อเทียบกับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก ในปี 2550 คาดว่า จะมีค่าดัชนีผลผลิต 126.6 122.3 137.6 และ 195.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับค่าดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษร้อยละ 2.0 22.4 7.6 และ 7.2 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ส่งผลให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชน รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการ สั่งพิมพ์หนังสือ การ์ด ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าวเพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก ประกอบกับอุตสาหกรรม หลายกลุ่มของประเทศมีการขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระตุ้นให้เกิดความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่า 541.9 1,096.4 และ 165.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 22.1 และ 29.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องนำเข้า เยื่อใยยาว และเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวที่ไทยไม่สามารถผลิตได้ เพื่อรองรับความต้องการสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ ตลอดจนงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน อีกทั้งประชาชนมีความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และแอฟริกาใต้
ส่วนมูลค่าการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ากระดาษประเภทเซลลูโลสแวดดิ้ง เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า และกระดาษเช็ดปาก เป็นต้น โดยจะนำมาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสิ่งพิมพ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ หนังสือที่พิมพ์ในรูปเล่ม โบรชัว และแผ่นปลิว ซึ่งมีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่า 170.2 1,196.8 และ 700.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.9 12.3 และ 578.9 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปประเทศจีนกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด
ส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การส่งออกเยื่อกระดาษ เนื่องจากความต้องการบริโภคกระดาษโดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียน ในสหภาพยุโรปและอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคากระดาษพิมพ์เขียนในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เป็นผลมาจากการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้ โรงพิมพ์ในประเทศไทยมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
3. สรุปและแนวโน้ม
ในปี 2550 ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุนจากภายในประเทศ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ และงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบกับอุตสาหกรรม หลายกลุ่มของประเทศไทยมีการขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่งผลให้มีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในตลาดเอเชียยังคงขยายตัว ความมั่นคงในสถานการณ์การเมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ผลิตหนังสือ/ ตำราเรียน อีกทั้งการดำเนินงานด้านนโยบายของรัฐบาลที่มีความประสงค์ให้ภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการส่งเสริม SMEs โดยจัดสรรงบประมาณผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2550 ทั้งนี้ ผลของการดำเนินงานดังกล่าวจะก่อให้เกิดแรงงานที่มีฝีมือเพิ่มขึ้น เกิดศูนย์กลางในการทดสอบมาตรฐานสิ่งพิมพ์ และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงทำให้ต่างประเทศได้รู้จักผู้ประกอบการไทยมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในปีหน้านี้ยังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทไม่เสถียรภาพ ภาวะดอกเบี้ยและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทุกด้านโดยเฉพาะการขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในแนวทางที่ยั่งยืน
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ปี
2548 2549 2550(1/)
เยื่อกระดาษ 127.3 136.6 144.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3 5.6
กระดาษพิมพ์เขียน 126.9 124.1 126.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.2 2
กระดาษแข็ง 104.2 99.9 122.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.1 22.4
กระดาษคราฟท์ 117.9 127.9 137.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5 7.6
กระดาษลูกฟูก 176.9 181.9 195
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 7.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : (1/) ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ปี
2548 2549 25501/
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 378.1 392.4 541.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.8 38.1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 932.3 897.6 1,096.40
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.7 22.1
สิ่งพิมพ์ 122.8 127.6 165.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 29.7
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ปี
2548 2549 2550(1/)
เยื่อกระดาษ 91.2 118.3 170.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 29.7 43.9
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 909.1 1,066.00 1,196.80
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.2 12.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 114 103.1 700
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.6 578.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : (1/) ตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-