1. การผลิต
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตหลายรายหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคา
ถูกจากจีนแทนการผลิตในประเทศ ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี 2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 139.68 ล้านตารางเมตร
และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.36 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 3.39 และ 0.49 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เกือบ 2 ปี ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกจากจีน นอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัว
สูงขึ้นมาตลอด ทำให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคาตาม ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง ทำให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง
อย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 150.27 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ
4.52 ล้านชิ้น ลดลงจาก ปี 2549 ในอัตรา ร้อยละ 4.79 และ 6.21 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราช อาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 879.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ในอัตราร้อย
ละ 31.37 (ดังตารางที่ 2) ซึ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้งเครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ในขณะที่
การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน แต่กลับลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาเนื่องจากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพ
ต่ำ (Sub-prime Loans)
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2550 มีมูลค่ารวม 192.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 16.66 (ดัง
ตารางที่ 3) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้า จากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่นำเข้าอิฐทนไฟจากประเทศ
ญี่ปุ่น และเยอรมนี และนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และเวียดนาม
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบ
เซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหลายรายหัน
ไปนำเข้าสินค้าจากจีนแทนการผลิตเอง จึงเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้า ในขณะที่อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง ทำให้
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในปี 2550 ลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังอยู่ในภาวะทรงตัวตาม
ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ ทุกผลิตภัณฑ์ โดยสามารถขยายตัวได้ดีใน
ตลาดญี่ปุ่น แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาการส่งออกกลับลดลง จากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub-prime Loans) ซึ่งการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ เซรามิก ในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคง
แข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 141,860,176 152,979,168 144,583,964 139,681,361
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.84 -5.49 -3.39
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 7,938,220 9,205,872 8,397,153 8,355,879
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 15.97 -8.78 -0.49
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 151,127,986 163,784,112 157,822,811 150,270,548
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.37 -3.64 -4.79
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 4,459,885 5,059,009 4,816,245 4,516,969
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 13.43 -4.8 -6.21
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 86 105 102.1 107.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 22.09 -2.76 5.68
เครื่องสุขภัณฑ์ 95.1 110.4 121.2 143.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.09 9.78 18.73
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 186.6 180.6 172 190.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -3.22 -4.76 10.58
ของชำร่วยเครื่องประดับ 31.7 32.6 28.4 35
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2.84 -12.88 23.24
ลูกถ้วยไฟฟ้า 17.6 17.3 23.3 22.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -1.7 34.68 -1.72
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 124.8 185.3 222.8 380
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 48.48 20.24 70.56
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 541.8 633.9 669.8 879.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 17 5.66 31.37
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 45.7 61.2 57.6 65.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 33.92 -5.88 14.41
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 93.8 98.7 107.5 126.7
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.22 8.92 17.86
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 139.5 159.9 165.1 192.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.62 3.25 16.66
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตหลายรายหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคา
ถูกจากจีนแทนการผลิตในประเทศ ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี 2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 139.68 ล้านตารางเมตร
และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.36 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 3.39 และ 0.49 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เกือบ 2 ปี ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกจากจีน นอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัว
สูงขึ้นมาตลอด ทำให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคาตาม ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง ทำให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง
อย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 150.27 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ
4.52 ล้านชิ้น ลดลงจาก ปี 2549 ในอัตรา ร้อยละ 4.79 และ 6.21 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราช อาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 879.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ในอัตราร้อย
ละ 31.37 (ดังตารางที่ 2) ซึ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้งเครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ในขณะที่
การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน แต่กลับลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาเนื่องจากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพ
ต่ำ (Sub-prime Loans)
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2550 มีมูลค่ารวม 192.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ในอัตราร้อยละ 16.66 (ดัง
ตารางที่ 3) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้า จากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่นำเข้าอิฐทนไฟจากประเทศ
ญี่ปุ่น และเยอรมนี และนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และเวียดนาม
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบ
เซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหลายรายหัน
ไปนำเข้าสินค้าจากจีนแทนการผลิตเอง จึงเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้า ในขณะที่อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง ทำให้
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในปี 2550 ลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังอยู่ในภาวะทรงตัวตาม
ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ ทุกผลิตภัณฑ์ โดยสามารถขยายตัวได้ดีใน
ตลาดญี่ปุ่น แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาการส่งออกกลับลดลง จากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub-prime Loans) ซึ่งการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ เซรามิก ในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคง
แข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 141,860,176 152,979,168 144,583,964 139,681,361
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.84 -5.49 -3.39
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 7,938,220 9,205,872 8,397,153 8,355,879
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 15.97 -8.78 -0.49
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 151,127,986 163,784,112 157,822,811 150,270,548
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.37 -3.64 -4.79
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 4,459,885 5,059,009 4,816,245 4,516,969
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 13.43 -4.8 -6.21
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 86 105 102.1 107.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 22.09 -2.76 5.68
เครื่องสุขภัณฑ์ 95.1 110.4 121.2 143.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.09 9.78 18.73
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 186.6 180.6 172 190.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -3.22 -4.76 10.58
ของชำร่วยเครื่องประดับ 31.7 32.6 28.4 35
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2.84 -12.88 23.24
ลูกถ้วยไฟฟ้า 17.6 17.3 23.3 22.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -1.7 34.68 -1.72
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 124.8 185.3 222.8 380
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 48.48 20.24 70.56
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 541.8 633.9 669.8 879.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 17 5.66 31.37
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 45.7 61.2 57.6 65.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 33.92 -5.88 14.41
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 93.8 98.7 107.5 126.7
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.22 8.92 17.86
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 139.5 159.9 165.1 192.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 14.62 3.25 16.66
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-