สถานการณ์ทั่วไป
ปี 2550 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบอย่างมากจากอัตราแลกเปลี่ยนและสินค้าด้อยคุณภาพจากจีนเข้ามาตีตลาดสินค้า
ไทย ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับสถานการณ์ โดยพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดและเน้นการส่งออกให้มากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเพิ่ม
ขึ้น ได้แก่ เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ เป็นต้น แต่การส่ง
ออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างผันผวน ส่งผลให้ผู้ส่งออกงดรับหรือรับคำสั่งซื้อ
ลดลง
สถานการณ์การผลิต
การผลิตและการจำหน่ายปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.4 สอด
คล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้บริโภค
ชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
สำหรับการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ การ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปี 2551 การผลิตและการจำหน่ายจะขยายตัวมากขึ้นกว่าปี 2550
สถานการณ์การส่งออก
ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 5,792.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 5,659.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออก 2,497.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 49.8, 6.2, 5.6 และ 5.1 ตามลำดับ
2. ผ้าผืนและด้าย มีมูลค่าการส่งออก 1,663.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และ สหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 6.3, 5.8, 5.7 และ 4.9 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
2.1 ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออก 964.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน ตลาดส่ง
ออกคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.9, 5.5, 5.4 และ 5.2 ตามลำดับ
2.2 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 699.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ตลาดส่งออกคือตุรกี บราซิล จีน และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 9.9, 9.3, 7.6 และ 6.3 ตามลำดับ
3. เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 430.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และตุรกี สัดส่วนร้อยละ 14.8, 14.6, 11.2 และ 9.0 ตามลำดับ
4. เคหะสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออก 273.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออก
คือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย สัดส่วนร้อยละ 38.4, 13.8 และ 5.4 ตามลำดับ
5. สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 395.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกคือ
จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 10.5, 9.7, 9.2 และ 9.1 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,653.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 28.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ ผ้าผืน และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 1,087.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่ง
ออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 308.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอและสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 2,595.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่าการนำเข้า 576.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 590.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ อินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.8, 14.8 และ 9.3
ตามลำดับ
ด้ายทอผ้า มีมูลค่าการนำเข้า 396.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 387.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.9, 16.5, 12.3 และ 11.6
ตามลำดับ
ผ้าผืน มีมูลค่าการนำเข้า 1,182.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 1,133.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 39.7, 16.3, 8.0, และ 8.0 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 203.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 166.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ฮ่องกง สเปน และ อิตาลี สัดส่วนร้อยละ 48.1, 12.9, 6.1 และ 5.8 ตาม
ลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 289.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 332.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน สัดส่วนร้อยละ 21.2, 18.8, 13.8 และ 12.9 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
สถานการณ์ในปี 2550 การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลง แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากสถานการณ์
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย
หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนักเหมาะกับกำลังซื้อที่มีจำกัด ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อขยายตลาดส่งออกมาก
ขึ้น
สำหรับแนวโน้มการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2551 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-
ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 การ
ผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าคอตตอน 100 % ที่ชูจุดขายเสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่ายอดการจำหน่าย
จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นจากเดิมก็ตาม นอกจากนี้เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไนลอน ผลิตภัณฑ์ผ้า และ
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ซึ่งผ่านการรับรองให้ติดฉลากสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป (EU Flower) คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกไปตลาดอียู แต่ทั้งนี้ผู้
ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มความต้องการ (Trend) เพื่อสามารถรองรับคำสั่งซื้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 97.5 94.8 92.1 89.1 83.5 75.7 -9.4
การส่งสินค้า 97.9 97.1 95.5 92.1 85.1 78 -8.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 138.2 150.5 153.5 157.2 147.5 171.5 16.3
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 102.6 113.4 129.1 136.4 130.1 131.8 1.3
การส่งสินค้า 101.4 94.7 96.7 102.5 98.5 99.7 1.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 102.3 109.5 117.1 123.5 126.5 115.1 -9
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 102.7 120.9 134.8 147.2 148.7 153.2 3
การส่งสินค้า 101.8 112.7 121.6 133.2 134.4 136.6 1.7
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 106.4 140.2 183.4 200 237.5 253.5 6.7
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล (*) ตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2547 2548 2549 2549 2550* อัตราการขยายตัว :
(ม.ค.-ต.ค) (ม.ค.-ต.ค) (%)2548(ม.ค.-ต.ค.)
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 6,399.90 6,699.60 6,834.60 5,659.90 5,792.40 2.3
1 เครื่องนุ่งห่ม 3,397.30 3,469.40 3,545.30 2,947.30 2,807.60 -4.7
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,092.60 3,150.60 3,198.80 2,657.50 2,497.80 -6
(2) เครื่องยกทรง ฯ 227.9 249.9 277.4 231.9 251.5 8.4
(3) ถุงเท้าและถุงน่อง 65.4 59.4 58.3 49.1 49.4 0.5
(4) ถุงมือผ้า 11.4 9.5 10.7 8.8 9 1.8
2 ผ้าผืนและด้าย 1,714.40 1,838.40 1,822.80 1,498.60 1,663.90 11
(1) ผ้าผืน 1,034.90 1,082.40 1,104.00 903.4 964.3 6.7
(2) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 679.5 756 718.8 595.2 699.6 17.5
3 เคหะสิ่งทอ 227.6 240.9 283.5 232.6 273.4 17.5
4 เส้นใยประดิษฐ์ 415.6 443.7 450.5 376.9 430.5 14.2
5 สิ่งทออื่นๆ 426.9 470.1 440.8 370 395.4 6.9
6 เครื่องจักรสิ่งทอ 76.7 108.6 152.1 121.5 114.8 -5.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2550*(ม.ค.-ต.ค.) เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 5 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2547 2548 2549 2549 2550* อัตราการขยายตัว :(%)
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) 2549(ม.ค.-ต.ค.)
1 เครื่องจักรสิ่งทอ 426.6 420.2 404.6 332.6 289.3 -13
2 ด้ายและเส้นใย 1,224.40 1,298.20 1,256.40 1,062.00 1,061.10 -0.1
2.1 เส้นใยใช้ในการทอ 700.6 760.1 698.2 590.7 576.8 -2.4
2.2 ด้ายทอผ้าฯ 436.6 439.1 455.9 387.5 396.7 2.4
2.3 วัตถุทออื่น ๆ 87.2 99 102.3 83.8 87.6 4.6
3 ผ้าผืน 1,216.20 1,339.40 1,368.50 1,133.10 1,182.10 4.3
4 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 146.8 148.3 200 166.9 203.8 22.1
5 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 116.4 145.1 149.6 122.9 148.1 20.6
รวมสิ่งทอ 2,703.80 2,931.00 2,974.50 2,484.90 2,595.10 4.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 2550*(ม.ค.-ต.ค.) เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปี 2550 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบอย่างมากจากอัตราแลกเปลี่ยนและสินค้าด้อยคุณภาพจากจีนเข้ามาตีตลาดสินค้า
ไทย ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับสถานการณ์ โดยพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดและเน้นการส่งออกให้มากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเพิ่ม
ขึ้น ได้แก่ เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ เป็นต้น แต่การส่ง
ออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างผันผวน ส่งผลให้ผู้ส่งออกงดรับหรือรับคำสั่งซื้อ
ลดลง
สถานการณ์การผลิต
การผลิตและการจำหน่ายปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.4 สอด
คล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้บริโภค
ชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
สำหรับการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ การ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปี 2551 การผลิตและการจำหน่ายจะขยายตัวมากขึ้นกว่าปี 2550
สถานการณ์การส่งออก
ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 5,792.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 5,659.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออก 2,497.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 49.8, 6.2, 5.6 และ 5.1 ตามลำดับ
2. ผ้าผืนและด้าย มีมูลค่าการส่งออก 1,663.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และ สหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 6.3, 5.8, 5.7 และ 4.9 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
2.1 ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออก 964.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน ตลาดส่ง
ออกคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.9, 5.5, 5.4 และ 5.2 ตามลำดับ
2.2 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 699.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ตลาดส่งออกคือตุรกี บราซิล จีน และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 9.9, 9.3, 7.6 และ 6.3 ตามลำดับ
3. เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 430.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่ง
ออกคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และตุรกี สัดส่วนร้อยละ 14.8, 14.6, 11.2 และ 9.0 ตามลำดับ
4. เคหะสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออก 273.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออก
คือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย สัดส่วนร้อยละ 38.4, 13.8 และ 5.4 ตามลำดับ
5. สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 395.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกคือ
จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 10.5, 9.7, 9.2 และ 9.1 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปี 2550 (ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,653.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 28.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ ผ้าผืน และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 1,087.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่ง
ออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 308.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอและสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
ปี 2550(ม.ค.-ต.ค.) การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 2,595.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่าการนำเข้า 576.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 590.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ อินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.8, 14.8 และ 9.3
ตามลำดับ
ด้ายทอผ้า มีมูลค่าการนำเข้า 396.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 387.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.9, 16.5, 12.3 และ 11.6
ตามลำดับ
ผ้าผืน มีมูลค่าการนำเข้า 1,182.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 1,133.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 39.7, 16.3, 8.0, และ 8.0 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 203.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 166.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ฮ่องกง สเปน และ อิตาลี สัดส่วนร้อยละ 48.1, 12.9, 6.1 และ 5.8 ตาม
ลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 289.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 332.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน สัดส่วนร้อยละ 21.2, 18.8, 13.8 และ 12.9 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
สถานการณ์ในปี 2550 การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลง แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากสถานการณ์
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย
หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนักเหมาะกับกำลังซื้อที่มีจำกัด ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อขยายตลาดส่งออกมาก
ขึ้น
สำหรับแนวโน้มการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2551 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-
ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 การ
ผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าคอตตอน 100 % ที่ชูจุดขายเสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่ายอดการจำหน่าย
จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นจากเดิมก็ตาม นอกจากนี้เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไนลอน ผลิตภัณฑ์ผ้า และ
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ซึ่งผ่านการรับรองให้ติดฉลากสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป (EU Flower) คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกไปตลาดอียู แต่ทั้งนี้ผู้
ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มความต้องการ (Trend) เพื่อสามารถรองรับคำสั่งซื้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 97.5 94.8 92.1 89.1 83.5 75.7 -9.4
การส่งสินค้า 97.9 97.1 95.5 92.1 85.1 78 -8.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 138.2 150.5 153.5 157.2 147.5 171.5 16.3
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 102.6 113.4 129.1 136.4 130.1 131.8 1.3
การส่งสินค้า 101.4 94.7 96.7 102.5 98.5 99.7 1.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 102.3 109.5 117.1 123.5 126.5 115.1 -9
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549 2550* อัตราการขยายตัว(%)
เทียบปี 2549
ผลผลิต 102.7 120.9 134.8 147.2 148.7 153.2 3
การส่งสินค้า 101.8 112.7 121.6 133.2 134.4 136.6 1.7
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 106.4 140.2 183.4 200 237.5 253.5 6.7
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล (*) ตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2547 2548 2549 2549 2550* อัตราการขยายตัว :
(ม.ค.-ต.ค) (ม.ค.-ต.ค) (%)2548(ม.ค.-ต.ค.)
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 6,399.90 6,699.60 6,834.60 5,659.90 5,792.40 2.3
1 เครื่องนุ่งห่ม 3,397.30 3,469.40 3,545.30 2,947.30 2,807.60 -4.7
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,092.60 3,150.60 3,198.80 2,657.50 2,497.80 -6
(2) เครื่องยกทรง ฯ 227.9 249.9 277.4 231.9 251.5 8.4
(3) ถุงเท้าและถุงน่อง 65.4 59.4 58.3 49.1 49.4 0.5
(4) ถุงมือผ้า 11.4 9.5 10.7 8.8 9 1.8
2 ผ้าผืนและด้าย 1,714.40 1,838.40 1,822.80 1,498.60 1,663.90 11
(1) ผ้าผืน 1,034.90 1,082.40 1,104.00 903.4 964.3 6.7
(2) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 679.5 756 718.8 595.2 699.6 17.5
3 เคหะสิ่งทอ 227.6 240.9 283.5 232.6 273.4 17.5
4 เส้นใยประดิษฐ์ 415.6 443.7 450.5 376.9 430.5 14.2
5 สิ่งทออื่นๆ 426.9 470.1 440.8 370 395.4 6.9
6 เครื่องจักรสิ่งทอ 76.7 108.6 152.1 121.5 114.8 -5.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2550*(ม.ค.-ต.ค.) เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 5 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2547 2548 2549 2549 2550* อัตราการขยายตัว :(%)
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.) 2549(ม.ค.-ต.ค.)
1 เครื่องจักรสิ่งทอ 426.6 420.2 404.6 332.6 289.3 -13
2 ด้ายและเส้นใย 1,224.40 1,298.20 1,256.40 1,062.00 1,061.10 -0.1
2.1 เส้นใยใช้ในการทอ 700.6 760.1 698.2 590.7 576.8 -2.4
2.2 ด้ายทอผ้าฯ 436.6 439.1 455.9 387.5 396.7 2.4
2.3 วัตถุทออื่น ๆ 87.2 99 102.3 83.8 87.6 4.6
3 ผ้าผืน 1,216.20 1,339.40 1,368.50 1,133.10 1,182.10 4.3
4 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 146.8 148.3 200 166.9 203.8 22.1
5 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 116.4 145.1 149.6 122.9 148.1 20.6
รวมสิ่งทอ 2,703.80 2,931.00 2,974.50 2,484.90 2,595.10 4.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 2550*(ม.ค.-ต.ค.) เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-