1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 17.47 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง
ร้อยละ 5.36 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาไม้ยางพารา น้ำมัน และค่าขนส่ง เป็นต้น รวมถึงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต นอกจาก
นี้ ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากซึ่งรับจ้างผลิตโดยรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าและใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ยังได้รับผลกระทบ
จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 2.40 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 35.66 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ยังซบเซาอย่างต่อ
เนื่อง ประกอบกับผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองและต้องรับภาระค่าใซ้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน จึงชะลอการตัดสินใจซื้อ
ออกไป
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2,323.32 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศตลาดหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ยังขยายตัวได้ดี ยกเว้น
สหรัฐอเมริกาที่การส่งออกลดลง นอกจากนี้ การส่งออกไปตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และโดยเฉพาะ
ออสเตรเลีย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน มีมูลค่าการส่ง
ออก 1,149.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อ
เทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดย
ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้มีมูลค่าการส่งออก 382.52
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออก 791.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 34 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.45 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ ไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน
มาเลเซีย ไต้หวัน และเวียดนาม
2.3 การนำเข้า
การนำเข้า ปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 619.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 1.26 โดยการนำ
เข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามา
ผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทไม้
หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะนำเข้าจาก
ประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยใน ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้นทุน
การผลิตที่ยังปรับตัวสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ยังซบเซา และเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้ผู้ประกอบการ
ชะลอการผลิตออกไป
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เพราะ
ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และรัฐบาลได้ออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านพักอาศัย และถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆได้เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย
เพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี ซึ่งรวมถึงโครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มว่าจะยังปรับตัวสูงขึ้น
เรื่อยๆ เงินบาทที่ยังแข็งค่า และสถานการณ์ทางการเมืองที่คาดว่าจะยังไม่ชัดเจนแม้หลังการเลือกตั้งปลายปีนี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการ
ผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไปอีก
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 เมื่อเทียบกับปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลัก
เช่น สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ยังขยายตัวได้ดี ยกเว้นการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ
(Sub-prime loans) ในสหรัฐฯ และจากการที่ไทยต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่ง เช่น จีน และเวียดนาม ในตลาดสหรัฐฯ แต่
ตลาดใหม่ๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ ยังขยายตัวได้ดี
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2551 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยัง
ตลาดหลักและตลาดใหม่ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินเดีย ที่ตลาดเครื่องเรือนยังเติบโตได้อีกมาก และประเทศ
แถบตะวันออกกลาง ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเติบโตในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามต่อ
ไป อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงคือค่าเงินบาทที่ยังขาดเสถียรภาพ และภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อาจชะลอตัวลง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับตัว
โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต และแสวงหาตลาดใหม่ๆเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะการแสวงหา
ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการส่งออก รวมทั้งควรศึกษารสนิยมของลูกค้าและแนวโน้มตลาดทั้งใน
และต่างประเทศ ตลอดจนควรเน้นการออกแบบและนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเป็นการขยายฐานการผลิตไปสู่ตลาดบน
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2547 2548 2549 2550*
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 17.86 20.47 18.46 17.47
อัตราการขยายตัว (%) 14.61 -9.82 -5.36
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2547 2548 2549 2550*
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.82 8.2 3.73 2.4
อัตราการขยายตัว (%) 70.12 -54.51 -35.66
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1 จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
2547 2548 2549 2550* 2548 2549 2550
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 1,080.14 1,110.22 1,098.69 1,149.69 2.78 -1.04 4.64
1.1 เครื่องเรือนไม้ 686.4 662.24 612.08 602.38 -3.52 -7.57 -1.58
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 265.84 286.26 279.12 288.94 7.68 -2.49 3.52
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 127.9 161.72 207.49 258.37 26.44 28.3 24.52
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 379.83 363.1 364.86 382.52 -4.4 0.48 4.84
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 108.71 96.42 81.57 90.44 11.31 -15.4 10.87
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 120.71 124.56 124.51 143.96 3.19 -0.04 15.62
2.3 กรอบรูปไม้ 105.93 94.24 107.73 92.12 -11 14.31 -14.5
2.4 รูปแกะสลักไม้ 44.48 47.88 51.05 56 7.64 6.62 9.7
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 521.92 556.56 697.32 791.11 6.64 25.29 13.45
3.1 ไม้แปรรูป 210.5 205.47 268.65 275.05 -2.39 30.75 2.38
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 9.1 8.84 7.87 8.42 -2.86 -11 6.99
3.3 ไม้อัด 108.23 148.16 217.01 230.98 36.89 46.47 6.44
3.4 Fiber Board 114.68 128.54 157.32 210.83 12.09 22.39 34.01
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 79.41 65.55 46.47 65.83 -17.5 -29.1 41.66
รวม 1,981.89 2,029.88 2,160.87 2,323.32 2.42 6.45 7.52
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
2547 2548 2549 2550* 2548 2549 2550
ไม้ซุง 107.7 116.9 110.8 91.4 8.58 -5.26 -17.5
ไม้แปรรูป 425.6 482.9 375 369.7 13.5 -22.4 -1.41
ไม้อัด วีเนียร์ 83.11 88.04 96.34 108.9 5.93 9.43 13.08
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 31.65 33.08 45.13 49.28 4.52 36.43 9.2
รวม 648.1 720.9 627.2 619.3 11.2 -13 -1.26
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 17.47 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง
ร้อยละ 5.36 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาไม้ยางพารา น้ำมัน และค่าขนส่ง เป็นต้น รวมถึงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมือง การชะลอตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต นอกจาก
นี้ ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากซึ่งรับจ้างผลิตโดยรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าและใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ยังได้รับผลกระทบ
จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 2.40 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 35.66 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ยังซบเซาอย่างต่อ
เนื่อง ประกอบกับผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองและต้องรับภาระค่าใซ้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน จึงชะลอการตัดสินใจซื้อ
ออกไป
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2,323.32 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศตลาดหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ยังขยายตัวได้ดี ยกเว้น
สหรัฐอเมริกาที่การส่งออกลดลง นอกจากนี้ การส่งออกไปตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และโดยเฉพาะ
ออสเตรเลีย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน มีมูลค่าการส่ง
ออก 1,149.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อ
เทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดย
ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้มีมูลค่าการส่งออก 382.52
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออก 791.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 34 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.45 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ ไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน
มาเลเซีย ไต้หวัน และเวียดนาม
2.3 การนำเข้า
การนำเข้า ปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 619.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 1.26 โดยการนำ
เข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามา
ผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทไม้
หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะนำเข้าจาก
ประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยใน ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้นทุน
การผลิตที่ยังปรับตัวสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ยังซบเซา และเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้ผู้ประกอบการ
ชะลอการผลิตออกไป
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เพราะ
ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และรัฐบาลได้ออกมาตรการผ่อนปรนเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านพักอาศัย และถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆได้เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย
เพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี ซึ่งรวมถึงโครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มว่าจะยังปรับตัวสูงขึ้น
เรื่อยๆ เงินบาทที่ยังแข็งค่า และสถานการณ์ทางการเมืองที่คาดว่าจะยังไม่ชัดเจนแม้หลังการเลือกตั้งปลายปีนี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการ
ผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไปอีก
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 เมื่อเทียบกับปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลัก
เช่น สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ยังขยายตัวได้ดี ยกเว้นการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ
(Sub-prime loans) ในสหรัฐฯ และจากการที่ไทยต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่ง เช่น จีน และเวียดนาม ในตลาดสหรัฐฯ แต่
ตลาดใหม่ๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ ยังขยายตัวได้ดี
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2551 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยัง
ตลาดหลักและตลาดใหม่ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินเดีย ที่ตลาดเครื่องเรือนยังเติบโตได้อีกมาก และประเทศ
แถบตะวันออกกลาง ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเติบโตในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามต่อ
ไป อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงคือค่าเงินบาทที่ยังขาดเสถียรภาพ และภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อาจชะลอตัวลง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับตัว
โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต และแสวงหาตลาดใหม่ๆเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะการแสวงหา
ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการขยายฐานการส่งออก รวมทั้งควรศึกษารสนิยมของลูกค้าและแนวโน้มตลาดทั้งใน
และต่างประเทศ ตลอดจนควรเน้นการออกแบบและนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเป็นการขยายฐานการผลิตไปสู่ตลาดบน
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2547 2548 2549 2550*
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 17.86 20.47 18.46 17.47
อัตราการขยายตัว (%) 14.61 -9.82 -5.36
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2547 2548 2549 2550*
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.82 8.2 3.73 2.4
อัตราการขยายตัว (%) 70.12 -54.51 -35.66
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1 จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
2. ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
2547 2548 2549 2550* 2548 2549 2550
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 1,080.14 1,110.22 1,098.69 1,149.69 2.78 -1.04 4.64
1.1 เครื่องเรือนไม้ 686.4 662.24 612.08 602.38 -3.52 -7.57 -1.58
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 265.84 286.26 279.12 288.94 7.68 -2.49 3.52
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 127.9 161.72 207.49 258.37 26.44 28.3 24.52
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 379.83 363.1 364.86 382.52 -4.4 0.48 4.84
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 108.71 96.42 81.57 90.44 11.31 -15.4 10.87
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 120.71 124.56 124.51 143.96 3.19 -0.04 15.62
2.3 กรอบรูปไม้ 105.93 94.24 107.73 92.12 -11 14.31 -14.5
2.4 รูปแกะสลักไม้ 44.48 47.88 51.05 56 7.64 6.62 9.7
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 521.92 556.56 697.32 791.11 6.64 25.29 13.45
3.1 ไม้แปรรูป 210.5 205.47 268.65 275.05 -2.39 30.75 2.38
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 9.1 8.84 7.87 8.42 -2.86 -11 6.99
3.3 ไม้อัด 108.23 148.16 217.01 230.98 36.89 46.47 6.44
3.4 Fiber Board 114.68 128.54 157.32 210.83 12.09 22.39 34.01
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 79.41 65.55 46.47 65.83 -17.5 -29.1 41.66
รวม 1,981.89 2,029.88 2,160.87 2,323.32 2.42 6.45 7.52
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
2547 2548 2549 2550* 2548 2549 2550
ไม้ซุง 107.7 116.9 110.8 91.4 8.58 -5.26 -17.5
ไม้แปรรูป 425.6 482.9 375 369.7 13.5 -22.4 -1.41
ไม้อัด วีเนียร์ 83.11 88.04 96.34 108.9 5.93 9.43 13.08
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 31.65 33.08 45.13 49.28 4.52 36.43 9.2
รวม 648.1 720.9 627.2 619.3 11.2 -13 -1.26
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-