1. การผลิตในประเทศ
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณ 25,717.2 ตัน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 โดยยาที่ผลิต
ลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง
การผลิตยาน้ำลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายลดการจัดรายการส่งเสริมการขายลงจากปีก่อน สำหรับยาผง มีปริมาณ
การผลิตลดลง เนื่องจาก มีผู้ประกอบการประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหาทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อ
จากที่อื่นแทน
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม คาดว่าจะมีปริมาณ 25,074.9 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.6 โดยยาที่มีการจำหน่ายเพิ่ม
ขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และยาแคปซูล สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้สั่งซื้อเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้น ตามสินค้าบางรายการที่ปรับราคาขึ้นไป
ก่อนแล้ว จึงทำให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นปริมาณมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ มาเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ และรักษาตลาด
เดิมให้แข็งแกร่งมากขึ้น
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรคในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 27,640.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 6.1 โดยตลาดนำ
เข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ 40
ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด ยารักษาโรคที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับ
โรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำ
ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป
การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักในการบริโภคยาประเภท
ดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้
พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ทำให้การนำเข้ายาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,897.9 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยตลาดส่งออกที่
สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออก
ยารักษาโรคทั้งหมด ยารักษาโรคของไทยที่ส่งออกส่วนใหญ่ คือ ยาสามัญ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน
การส่งออกยามีการขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากสามารถส่งออกไปยังตลาดหลัก คือ อาเซียน ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยาเป็นสินค้าที่มี
Royalty สูง หากผู้สั่งซื้อมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถไปได้เรื่อยๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องยกระดับสินค้าให้
ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
5. นโยบายรัฐ
ในปี 2550 มีนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาที่สำคัญ ดังนี้
5.1 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันเกี่ยวกับ ยาชีววัตถุ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันเกี่ยวกับยาชีววัตถุ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 9
มกราคม 2550 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
การออกกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตผลิต หรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามา
ในราชอาณาจักร กระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม ที่ผลิตหรือนำเข้ายาชีววัตถุเข้ามาใน
ราชอาณาจักรต้องได้รับหนังสือรับรองรุ่นการผลิตยาชีววัตถุ ก่อนนำยาชีววัตถุแต่ละรุ่นการผลิตออกจำหน่ายหรือก่อนส่งมอบให้ผู้ใช้ เพื่อเป็นการประกัน
คุณภาพและมาตรฐานของยา และเป็นการยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพยาชีววัตถุของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
5.2 มาตรการบังคับใช้สิทธิ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศใช้นโยบายมาตรการบังคับใช้สิทธิ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.
2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
5.2.1 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์
(Lopinavir & Ritonavir) ภายใต้ชื่อการค้า Kalctra (ยาสูตรผสมดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี ชนิดหนึ่งที่มี
ประสิทธิผลสูงในการรักษาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาที่ไม่สามารถรักษาด้วยสูตรยาพื้นฐานได้) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31
มกราคม 2555 ทั้งนี้ ให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนัก
งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ
0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกรมควบคุมโรคจะแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตร (บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สิน
ทางปัญญาทราบ
5.2.2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ภาย
ใต้ชื่อการค้า Plavix (เป็นยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ และสมอง) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2550 เป็น
ต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ และให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำ
เข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้า
ราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งให้ ผู้ทรงสิทธิบัตร
(บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ
การประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณรายจ่าย และทำให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นที่มี
คุณภาพดีอย่างทั่วถึง
5.3 ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....
จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 มอบให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติ
จัดซื้อจัดจ้าง ในการนี้ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การยกร่างกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นพระราชบัญญัติจะต้องใช้ระยะเวลาพอ
สมควร ดังนั้น จึงเห็นควรยกร่างเป็นพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. …. เพื่อใช้
บังคับกับส่วนราชการทั้งหมดก่อน และในโอกาสต่อไป หากเห็นสมควรจะมีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติจะสามารถกระทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่ง
ขึ้น ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ
การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และให้ถอน
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ในส่วนหนึ่งของร่างพระ
ราชกฤษฎีกาดังกล่าว กระทรวงการคลังได้มีการเสนอให้ยกเลิกเรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาขององค์การเภสัชกรรม และโรงงานเภสัชกรรม
ทหาร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าภาคเอกชนได้เข้าร่วมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด ซึ่งจะทำให้ทางราชการได้รับประโยชน์มากขึ้น
5.4 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. ....
กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่ายาเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
การพัฒนาระบบยาจึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถประสานความร่วม
มือของส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน และสามารถประสานการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาและสภาวิชาชีพให้ผลิตและ
พัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทุกสาขาให้มีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ทักษะ จริยธรรม และเจตคติที่ดีในการบริหารจัดการการใช้ยา
อย่างคุ้มค่าและสมเหตุผล รวมทั้งการประสานระบบยากับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยา และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรในประเทศและ
ภูมิปัญญาไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเทคโนโลยี สังคมเศรษฐกิจ การขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งการดำเนินการพัฒนาระบบยาที่ผ่าน
มาเป็นไปภายใต้คณะกรรมการแห่งชาติด้านยาที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้มีความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินการ และไม่ทันต่อการแก้ปัญหา
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ
ร่างระเบียบดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่
เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาในปี 2550 ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย จากการที่ผู้ประกอบการบางรายประสบปัญหาในด้านการผลิต ทำให้สินค้าที่ได้มี
คุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สั่งซื้อเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูง
ขึ้น ตามสินค้าบางรายการที่ปรับราคาขึ้นไปก่อนแล้ว จึงทำให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นปริมาณมาก
ด้านการนำเข้ามีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร จากผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เพื่อนำมาใช้กับโรคที่
ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกมีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการส่งออกยาสามัญ ไปยังตลาดในอาเซียน
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความ
เข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง ประกอบกับโครงการหลักประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอยู่ และรัฐบาลได้เพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวมากขึ้นจาก
1,659.30 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2550 เป็น 2,100 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2551 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น และทำให้มี
ความต้องการบริโภคยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยมีสาเหตุจากการที่ผู้ประกอบการพยายาม
พัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยให้ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น ในส่วนมูลค่าการนำเข้า คาด
ว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาประเภทดังกล่าวมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2548 2549 2550e
ยาเม็ด 4,726.20 5,481.10 5,804.80
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 16 5.9
ยาน้ำ 13,390.30 13,190.30 12,333.10
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.5 -6.5
ยาแคปซูล 677.8 604.1 680.3
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.9 12.6
ยาฉีด 456 447.3 459.8
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.9 2.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 122.6 122.5 119.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.1 -2.5
ยาครีม 2,107.10 2,106.80 2,327.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0 10.5
ยาผง 3,983.00 4,060.20 3,991.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.9 -1.7
รวม 25,463.00 26,012.30 25,717.20
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.2 -1.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2548 2549 2550e
ยาเม็ด 5,041.80 5,285.40 5,607.50
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.8 6.1
ยาน้ำ 15,583.40 15,107.80 15,467.70
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 2.4
ยาแคปซูล 761.6 708.3 766.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7 8.2
ยาฉีด 338.2 347.8 346.5
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 -0.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 122.5 122.9 116.7
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 -5
ยาครีม 2,025.30 2,146.50 2,105.10
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.9 -2.7
ยาผง 680.8 698.7 665.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.6 -4.8
รวม 24,553.50 24,435.40 25,074.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.5 2.6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน ยาฉีด 9
โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ ผลิตเพื่อการส่งออก
มากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค
มูลค่า (ล้านบาท) 2548 2549 2550e
มูลค่าการนำเข้า 22,234.00 26,061.10 27,640.30
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.2 6.1
มูลค่าการส่งออก 4,557.60 4,340.70 4,897.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 12.8
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณ 25,717.2 ตัน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 โดยยาที่ผลิต
ลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาผง
การผลิตยาน้ำลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายลดการจัดรายการส่งเสริมการขายลงจากปีก่อน สำหรับยาผง มีปริมาณ
การผลิตลดลง เนื่องจาก มีผู้ประกอบการประสบปัญหาในด้านการผลิต จากเครื่องจักรที่มีปัญหาทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อ
จากที่อื่นแทน
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม คาดว่าจะมีปริมาณ 25,074.9 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.6 โดยยาที่มีการจำหน่ายเพิ่ม
ขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และยาแคปซูล สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้สั่งซื้อเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้น ตามสินค้าบางรายการที่ปรับราคาขึ้นไป
ก่อนแล้ว จึงทำให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นปริมาณมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ มาเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ และรักษาตลาด
เดิมให้แข็งแกร่งมากขึ้น
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรคในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 27,640.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 6.1 โดยตลาดนำ
เข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ 40
ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด ยารักษาโรคที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับ
โรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำ
ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป
การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักในการบริโภคยาประเภท
ดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้
พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ทำให้การนำเข้ายาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,897.9 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 12.8 โดยตลาดส่งออกที่
สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออก
ยารักษาโรคทั้งหมด ยารักษาโรคของไทยที่ส่งออกส่วนใหญ่ คือ ยาสามัญ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน
การส่งออกยามีการขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากสามารถส่งออกไปยังตลาดหลัก คือ อาเซียน ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยาเป็นสินค้าที่มี
Royalty สูง หากผู้สั่งซื้อมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถไปได้เรื่อยๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องยกระดับสินค้าให้
ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
5. นโยบายรัฐ
ในปี 2550 มีนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาที่สำคัญ ดังนี้
5.1 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันเกี่ยวกับ ยาชีววัตถุ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันเกี่ยวกับยาชีววัตถุ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 9
มกราคม 2550 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
การออกกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตผลิต หรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามา
ในราชอาณาจักร กระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม ที่ผลิตหรือนำเข้ายาชีววัตถุเข้ามาใน
ราชอาณาจักรต้องได้รับหนังสือรับรองรุ่นการผลิตยาชีววัตถุ ก่อนนำยาชีววัตถุแต่ละรุ่นการผลิตออกจำหน่ายหรือก่อนส่งมอบให้ผู้ใช้ เพื่อเป็นการประกัน
คุณภาพและมาตรฐานของยา และเป็นการยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพยาชีววัตถุของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
5.2 มาตรการบังคับใช้สิทธิ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศใช้นโยบายมาตรการบังคับใช้สิทธิ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.
2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
5.2.1 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์
(Lopinavir & Ritonavir) ภายใต้ชื่อการค้า Kalctra (ยาสูตรผสมดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี ชนิดหนึ่งที่มี
ประสิทธิผลสูงในการรักษาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาที่ไม่สามารถรักษาด้วยสูตรยาพื้นฐานได้) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31
มกราคม 2555 ทั้งนี้ ให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนัก
งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ
0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกรมควบคุมโรคจะแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตร (บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สิน
ทางปัญญาทราบ
5.2.2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ภาย
ใต้ชื่อการค้า Plavix (เป็นยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ และสมอง) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2550 เป็น
ต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ และให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ใช้สิทธิ ในการผลิต จำหน่าย หรือนำ
เข้า เพื่อจัดให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวไว้บริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้า
ราชการ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการจำหน่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งให้ ผู้ทรงสิทธิบัตร
(บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ
การประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณรายจ่าย และทำให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นที่มี
คุณภาพดีอย่างทั่วถึง
5.3 ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....
จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 มอบให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติ
จัดซื้อจัดจ้าง ในการนี้ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การยกร่างกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นพระราชบัญญัติจะต้องใช้ระยะเวลาพอ
สมควร ดังนั้น จึงเห็นควรยกร่างเป็นพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. …. เพื่อใช้
บังคับกับส่วนราชการทั้งหมดก่อน และในโอกาสต่อไป หากเห็นสมควรจะมีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติจะสามารถกระทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่ง
ขึ้น ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ
การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และให้ถอน
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ในส่วนหนึ่งของร่างพระ
ราชกฤษฎีกาดังกล่าว กระทรวงการคลังได้มีการเสนอให้ยกเลิกเรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาขององค์การเภสัชกรรม และโรงงานเภสัชกรรม
ทหาร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าภาคเอกชนได้เข้าร่วมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด ซึ่งจะทำให้ทางราชการได้รับประโยชน์มากขึ้น
5.4 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. ....
กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่ายาเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
การพัฒนาระบบยาจึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถประสานความร่วม
มือของส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน และสามารถประสานการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาและสภาวิชาชีพให้ผลิตและ
พัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทุกสาขาให้มีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ทักษะ จริยธรรม และเจตคติที่ดีในการบริหารจัดการการใช้ยา
อย่างคุ้มค่าและสมเหตุผล รวมทั้งการประสานระบบยากับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยา และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรในประเทศและ
ภูมิปัญญาไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเทคโนโลยี สังคมเศรษฐกิจ การขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งการดำเนินการพัฒนาระบบยาที่ผ่าน
มาเป็นไปภายใต้คณะกรรมการแห่งชาติด้านยาที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้มีความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินการ และไม่ทันต่อการแก้ปัญหา
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ
ร่างระเบียบดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่
เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาในปี 2550 ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย จากการที่ผู้ประกอบการบางรายประสบปัญหาในด้านการผลิต ทำให้สินค้าที่ได้มี
คุณภาพลดลง ผู้สั่งซื้อจึงเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สั่งซื้อเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูง
ขึ้น ตามสินค้าบางรายการที่ปรับราคาขึ้นไปก่อนแล้ว จึงทำให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นปริมาณมาก
ด้านการนำเข้ามีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร จากผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เพื่อนำมาใช้กับโรคที่
ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกมีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการส่งออกยาสามัญ ไปยังตลาดในอาเซียน
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความ
เข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง ประกอบกับโครงการหลักประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอยู่ และรัฐบาลได้เพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวมากขึ้นจาก
1,659.30 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2550 เป็น 2,100 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2551 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น และทำให้มี
ความต้องการบริโภคยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยมีสาเหตุจากการที่ผู้ประกอบการพยายาม
พัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยให้ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น ในส่วนมูลค่าการนำเข้า คาด
ว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาประเภทดังกล่าวมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2548 2549 2550e
ยาเม็ด 4,726.20 5,481.10 5,804.80
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 16 5.9
ยาน้ำ 13,390.30 13,190.30 12,333.10
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.5 -6.5
ยาแคปซูล 677.8 604.1 680.3
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.9 12.6
ยาฉีด 456 447.3 459.8
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.9 2.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 122.6 122.5 119.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.1 -2.5
ยาครีม 2,107.10 2,106.80 2,327.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0 10.5
ยาผง 3,983.00 4,060.20 3,991.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.9 -1.7
รวม 25,463.00 26,012.30 25,717.20
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.2 -1.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2548 2549 2550e
ยาเม็ด 5,041.80 5,285.40 5,607.50
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.8 6.1
ยาน้ำ 15,583.40 15,107.80 15,467.70
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 2.4
ยาแคปซูล 761.6 708.3 766.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7 8.2
ยาฉีด 338.2 347.8 346.5
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 -0.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 122.5 122.9 116.7
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 -5
ยาครีม 2,025.30 2,146.50 2,105.10
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.9 -2.7
ยาผง 680.8 698.7 665.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.6 -4.8
รวม 24,553.50 24,435.40 25,074.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.5 2.6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน ยาฉีด 9
โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ ผลิตเพื่อการส่งออก
มากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค
มูลค่า (ล้านบาท) 2548 2549 2550e
มูลค่าการนำเข้า 22,234.00 26,061.10 27,640.30
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.2 6.1
มูลค่าการส่งออก 4,557.60 4,340.70 4,897.90
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 12.8
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-