1. การผลิต
การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พบว่า ผลผลิตยางแปรรูปขั้นต้น
ลดลง โดยยางแผ่นมีอัตราส่วนที่ลดลงมากกว่ายางแท่ง เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้ยางหันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการ
ผลิตยางแท่งมากขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยางล้อโดยรวมและอุตสาหกรรมถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.14 และ 12.64 ตามลำดับ
ทั้งนี้เนื่องจากราคายางพาราที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวลดลง และมีเสถียรภาพดีกว่าปีที่แล้ว
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีการผลิตยางนอกรถยนต์ 19.53 ล้านเส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ 22.34 ล้านเส้น ยางใน
60.52 ล้านเส้น และถุงมือยาง 8,006.61 ล้านชิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง
ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถจักรยานยนต์ และถุงมือยาง
ปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตยางนอกรถยนต์มีจำนวน 23.33 ล้านเส้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 2 โดยผลิตภัณฑ์ที่มี
การผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร การผลิตรถจักรยานยนต์คาดว่ามีจำนวน 22.34 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 1.65 การผลิตยางในมีจำนวน 60.52 ล้านเส้น ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10 ส่วนการผลิตถุงมือยางประมาณ 9,608 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 12.05
2. การจำหน่ายในประเทศ
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีการจำหน่ายในประเทศยางนอกรถยนต์ 15.26 ล้านเส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ 16.29 ล้าน
เส้น ยางใน 29.16 ล้านเส้น และถุงมือยาง 385.82 ล้านชิ้น คิดเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในสินค้าประเภทยางนอกรถยนต์ร้อยละ
78.14 ยางนอกรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 46.16 ยางในร้อยละ 48.18 และถุงมือยางร้อยละ 4.82
ในปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์ ยางใน และถุงมือยาง โดยคาดว่าจะมีการ
จำหน่ายยางนอกรถยนต์ในประเทศ 18.3 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.46 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท ยางในคาดว่าจะมีการ
จำหน่ายในประเทศ 35 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.65 เป็นการเพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภทเช่นเดียวกัน และถุงมือยางมีการจำหน่ายใน
ประเทศประมาณ 462.98 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.9 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายในประเทศลดลง ได้แก่ ยางนอกรถจักรยานยนต์ซึ่งมี
การจำหน่ายในประเทศ 15.02 ล้านเส้น ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.03
3. การส่งออก
ยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลถึงปีละประมาณ 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ
322,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของรายได้จากการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคง
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน อย่างไรก็ตาม การ
แข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10
เดือนปี 2550 มีมูลค่า 7,512.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 260,104.96 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าส่งออกยางพาราในรูปเงินเหรียญสหรัฐมี
จำนวน 4,506.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 ขณะที่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน
156,050.8 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 8.94 ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 ในรูป
เงินเหรียญสหรัฐมีมูลค่า 3,005.46 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.85 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูป
เงินบาทมีจำนวน 104,054.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง คือ เพียงร้อยละ 7.35 เท่านั้น
ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าทำให้ยางพาราของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย ทำให้ประเทศคู่ค้ายางพาราของ
ไทยต่างชะลอการนำเข้าจากไทย โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญของไทย และหันไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน รวมทั้งมาเลเซียก็เริ่มมีผลผลิตยาง
มากขึ้น โดยเฉพาะน้ำยางข้น ทำให้มาเลเซียลดการนำเข้าน้ำยางข้นจากไทย จากเดิมที่มาเลเซียเคยนำเข้าน้ำยางข้นจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง
สำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเทศคู่ค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เช่นจากจีน เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
ปัจจุบันปริมาณความต้องการใช้ยางสูงกว่าปริมาณการผลิต และในขณะเดียวกันปริมาณการผลิตก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก
ของแต่ละประเทศ ทำให้ภาวะการแข่งขันการส่งออกยางพาราในตลาดโลกมีค่อนข้างสูง ถึงแม้ไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของ
โลก แต่ความได้เปรียบในการแข่งขันส่งออกยางพาราของไทยกลับลดลง โดยคาดว่า มูลค่าส่งออกปี 2550 ยางพารา 5,408.26 ล้านเหรียญสหรัฐ
ค่อนข้างทรงตัว คือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.22
เท่านั้น เมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกยางพาราขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 8.20 และ 45.46 ตามลำดับ ตลาด
ส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา
สำหรับมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปี 2550 คาดว่าประมาณ 3,606.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 เป็นอัตราการ
ขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 20.91 และ 31.08 ตามลำดับ โดยสินค้า
ที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายส่งกำลัง ตลาดส่งออกสำคัญ
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
4. การนำเข้า
การนำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยาง ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่า 965.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.31 สินค้านำเข้า ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง ซึ่งคิดเป็นอัตรา
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 40.12 25.55 18.9 และ 12.05 ของมูลค่านำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด ตลาดนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน
สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเยอรมันนี
ในปี 2550 คาดว่ามูลค่านำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวมประมาณ 1,159 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อย
ละ 10.11 โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในส่วนของยางเคราะห์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.65
41.16 และ 19.41 ตามลำดับ และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
5. สรุปและแนวโน้ม
แนวโน้มความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่
สุดในโลก ในปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของจีนจะสูงถึง 9 ล้านคัน ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้นปีละร้อยละ
20-30 ถึงแม้ว่าจีนจะขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงน่าจะเป็นโอกาสในการขยายส่งออกยางพาราของ
ไทย อย่างไรก็ตาม ปี 2550 คาดว่าการผลิตและการส่งออกยางพาราของไทยชะลอตัวลง
ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญในปี 2550 ยังคงเป็นเรื่องการแข็งค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
รายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในภาพรวมคาดว่ามูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทจะลดลงจากปี 2549 ประมาณร้อยละ 3.29
อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในปี 2551 ความผันผวนของราคายางพารา และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่ง
ผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อ
เนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางชะลอการนำเข้ายางจากไทย และหัน
ไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก สิ่งที่ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ
การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย --------------------------- ปี ------------------------------ อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 13,680,209 13,307,590 13,142,313 14,117,516.40 2.72 -1.24 7.42
ยางนอกรถกระบะ เส้น 5,114,585 5,695,564 5,377,322 4,701,572.40 11.36 -5.59 -12.6
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 4,973,626 5,177,195 4,176,580 4,333,899.60 4.09 -19.3 3.77
และรถโดยสาร
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 189,870 185,538 175,071 181,752 -2.28 -5.64 3.82
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 18,423,018 21,508,505 21,984,081 22,347,832 16.75 2.21 1.65
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 22,724,404 21,504,819 20,650,079 19,656,271 -5.37 2.23 -10.6
ยางในรถบรรทุกและ เส้น 2,459,960 2,493,313 2,059,557 1,991,534 1.36 -17.4 -3.3
รถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 30,346,772 34,457,439 32,614,131 36,152,661 13.55 -5.35 10.85
ยางในรถจักรยาน เส้น 22,982,290 19,810,522 20,371,887 22,375,376 -13.8 2.83 9.83
ยางรอง เส้น 2,833,121 3,143,402 3,694,809 3,253,080 10.95 17.54 -12
ยางหล่อดอก เส้น 261,588 281,254 96,610 82,204.80 7.52 -65.7 -14.9
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 1,257,958 509,541 532,218 432,458 -59.5 4.45 -18.7
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 9,918,454,683 9,567,164,856 8,574,890,177 9,607,929,726 -3.54 -10.4 12.05
ยางรัดของ ตัน 16,000 15,254 14,718 15,505 -4.66 -3.51 5.35
ยางแผ่น ตัน 324,200 277,024 303,012 227,273 -14.6 9.38 -25
ยางแท่ง ตัน 715,185 803,651 804,507 867,226 12.37 0.11 7.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย --------------------------- ปี ------------------------ อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 10,096,010 10,351,562 10,008,230 10,375,536 2.53 -3.32 3.67
ยางนอกรถกระบะ เส้น 4,287,455 4,804,512 4,474,836 4,483,862 12.06 -6.86 0.2
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 3,195,780 3,171,010 3,284,434 3,346,670 -0.78 3.58 1.89
และรถโดยสาร
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 83,732 84,710 89,312 91,112 1.17 5.43 2.02
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 13,371,810 14,724,814 15,330,848 15,019,352 10.12 4.12 -2.03
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 4,962,280 4,952,660 4,662,817 4,534,212 -0.19 -5.85 -2.76
ยางในรถบรรทุกและ เส้น 1,544,629 1,648,949 1,691,553 1,699,042 6.75 2.58 0.44
รถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 24,475,912 25,823,074 23,232,764 25,816,239 5.5 -10 11.12
ยางในรถจักรยาน เส้น 6,820,284 7,778,565 6,703,560 7,486,474 14.05 -13.8 11.68
ยางรอง เส้น 1,581,922 1,862,058 2,081,374 1,466,814 17.71 11.78 -29.5
ยางหล่อดอก เส้น 194,775 225,536 94,682 84,004 15.79 -58 -11.3
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 452,576 159,792 79,536 81,042 -64.7 -50.2 1.89
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 431,615,536 400,927,483 421,764,982 462,980,244 -7.11 5.2 9.77
ยางรัดของ ตัน 1,860 1,157 1,036 1,014 -37.8 -10.5 -2.12
ยางแผ่น ตัน 96,470 99,353 93,156 69,952 2.99 -6.24 -24.9
ยางแท่ง ตัน 62,579 59,079 46,392 35,341 -5.59 -21.5 -23.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ --------------------- ปี ------------------- อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางพารา 3,428.92 3,709.98 5,396.59 5,408.26 8.2 45.5 0.22
ยางแผ่น 1,325.43 1,317.99 1,912.73 1,931.21 -0.56 45.1 0.97
ยางแท่ง 1,325.31 1,565.00 2,175.53 185.81 18.1 39 -91.46
น้ำยางข้น 713.74 757.23 1,214.79 1,199.26 6.09 60.4 -1.28
ยางพาราอื่นๆ 64.44 69.76 93.54 2,091.98 8.26 34.1 2,136.45
ผลิตภัณฑ์ยาง 1,944.58 2,351.22 3,082.01 3,606.56 20.9 31.1 17.02
ยางยานพาหนะ 679.75 900.44 1,196.06 1,588.66 32.5 32.8 32.82
ถุงมือยาง 489.45 515.66 558.83 593.83 5.35 8.37 6.26
ยางรัดของ 45.86 47.8 64.99 52.02 4.23 36 -19.96
หลอดและท่อ 73.03 86.47 105.92 130.32 18.4 22.5 23.04
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 23.72 31.33 45.52 71.94 32.1 45.3 58.04
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 151.13 189.2 211.07 210.91 25.2 11.6 -0.08
ยางวัลแคไนซ์ 120.46 147.74 206.69 210.7 22.7 39.9 1.94
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 361.18 432.58 692.93 748.19 19.8 60.2 7.97
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ---------------ปี -------------- อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยาง รวมเศษยาง 261.1 351.1 427.3 474.5 34.46 21.7 11.04
ยางธรรมชาติ 1.77 1.94 2.39 4.96 9.6 23.2 107.5
ยางสังเคราะห์ 257.9 346.2 420.2 464.9 34.24 21.4 10.65
ยางอื่นๆ 1.41 2.92 4.74 4.62 107.1 62.3 -2.53
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 195 230.4 298 378.1 18.18 29.3 26.86
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 81.61 96.14 116.8 139.5 17.8 21.5 19.42
ยางรถยนต์ 90.27 110.7 155.1 219 22.59 40.2 41.17
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 23.1 23.62 26.08 19.6 2.25 10.4 -24.85
วัสดุทำจากยาง 270.7 297.8 327.3 306.4 10 9.91 -6.38
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 6.4 4.52 5.94 10.21 -29.38 31.4 71.89
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 264.3 293.2 321.3 296.2 10.95 9.58 -7.82
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พบว่า ผลผลิตยางแปรรูปขั้นต้น
ลดลง โดยยางแผ่นมีอัตราส่วนที่ลดลงมากกว่ายางแท่ง เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้ยางหันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการ
ผลิตยางแท่งมากขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยางล้อโดยรวมและอุตสาหกรรมถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.14 และ 12.64 ตามลำดับ
ทั้งนี้เนื่องจากราคายางพาราที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวลดลง และมีเสถียรภาพดีกว่าปีที่แล้ว
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีการผลิตยางนอกรถยนต์ 19.53 ล้านเส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ 22.34 ล้านเส้น ยางใน
60.52 ล้านเส้น และถุงมือยาง 8,006.61 ล้านชิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง
ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถจักรยานยนต์ และถุงมือยาง
ปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตยางนอกรถยนต์มีจำนวน 23.33 ล้านเส้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 2 โดยผลิตภัณฑ์ที่มี
การผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร การผลิตรถจักรยานยนต์คาดว่ามีจำนวน 22.34 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 1.65 การผลิตยางในมีจำนวน 60.52 ล้านเส้น ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10 ส่วนการผลิตถุงมือยางประมาณ 9,608 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 12.05
2. การจำหน่ายในประเทศ
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2550 มีการจำหน่ายในประเทศยางนอกรถยนต์ 15.26 ล้านเส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ 16.29 ล้าน
เส้น ยางใน 29.16 ล้านเส้น และถุงมือยาง 385.82 ล้านชิ้น คิดเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในสินค้าประเภทยางนอกรถยนต์ร้อยละ
78.14 ยางนอกรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 46.16 ยางในร้อยละ 48.18 และถุงมือยางร้อยละ 4.82
ในปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์ ยางใน และถุงมือยาง โดยคาดว่าจะมีการ
จำหน่ายยางนอกรถยนต์ในประเทศ 18.3 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.46 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท ยางในคาดว่าจะมีการ
จำหน่ายในประเทศ 35 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.65 เป็นการเพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภทเช่นเดียวกัน และถุงมือยางมีการจำหน่ายใน
ประเทศประมาณ 462.98 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.9 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายในประเทศลดลง ได้แก่ ยางนอกรถจักรยานยนต์ซึ่งมี
การจำหน่ายในประเทศ 15.02 ล้านเส้น ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.03
3. การส่งออก
ยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลถึงปีละประมาณ 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ
322,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของรายได้จากการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคง
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน อย่างไรก็ตาม การ
แข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10
เดือนปี 2550 มีมูลค่า 7,512.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 260,104.96 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าส่งออกยางพาราในรูปเงินเหรียญสหรัฐมี
จำนวน 4,506.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 ขณะที่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน
156,050.8 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 8.94 ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 ในรูป
เงินเหรียญสหรัฐมีมูลค่า 3,005.46 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.85 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูป
เงินบาทมีจำนวน 104,054.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง คือ เพียงร้อยละ 7.35 เท่านั้น
ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าทำให้ยางพาราของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย ทำให้ประเทศคู่ค้ายางพาราของ
ไทยต่างชะลอการนำเข้าจากไทย โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญของไทย และหันไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน รวมทั้งมาเลเซียก็เริ่มมีผลผลิตยาง
มากขึ้น โดยเฉพาะน้ำยางข้น ทำให้มาเลเซียลดการนำเข้าน้ำยางข้นจากไทย จากเดิมที่มาเลเซียเคยนำเข้าน้ำยางข้นจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง
สำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเทศคู่ค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เช่นจากจีน เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
ปัจจุบันปริมาณความต้องการใช้ยางสูงกว่าปริมาณการผลิต และในขณะเดียวกันปริมาณการผลิตก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก
ของแต่ละประเทศ ทำให้ภาวะการแข่งขันการส่งออกยางพาราในตลาดโลกมีค่อนข้างสูง ถึงแม้ไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของ
โลก แต่ความได้เปรียบในการแข่งขันส่งออกยางพาราของไทยกลับลดลง โดยคาดว่า มูลค่าส่งออกปี 2550 ยางพารา 5,408.26 ล้านเหรียญสหรัฐ
ค่อนข้างทรงตัว คือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.22
เท่านั้น เมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกยางพาราขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 8.20 และ 45.46 ตามลำดับ ตลาด
ส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา
สำหรับมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปี 2550 คาดว่าประมาณ 3,606.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 เป็นอัตราการ
ขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 20.91 และ 31.08 ตามลำดับ โดยสินค้า
ที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายส่งกำลัง ตลาดส่งออกสำคัญ
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
4. การนำเข้า
การนำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยาง ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่า 965.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.31 สินค้านำเข้า ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง ซึ่งคิดเป็นอัตรา
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 40.12 25.55 18.9 และ 12.05 ของมูลค่านำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด ตลาดนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน
สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเยอรมันนี
ในปี 2550 คาดว่ามูลค่านำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวมประมาณ 1,159 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อย
ละ 10.11 โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในส่วนของยางเคราะห์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.65
41.16 และ 19.41 ตามลำดับ และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
5. สรุปและแนวโน้ม
แนวโน้มความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่
สุดในโลก ในปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของจีนจะสูงถึง 9 ล้านคัน ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้นปีละร้อยละ
20-30 ถึงแม้ว่าจีนจะขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงน่าจะเป็นโอกาสในการขยายส่งออกยางพาราของ
ไทย อย่างไรก็ตาม ปี 2550 คาดว่าการผลิตและการส่งออกยางพาราของไทยชะลอตัวลง
ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญในปี 2550 ยังคงเป็นเรื่องการแข็งค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
รายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในภาพรวมคาดว่ามูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทจะลดลงจากปี 2549 ประมาณร้อยละ 3.29
อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในปี 2551 ความผันผวนของราคายางพารา และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่ง
ผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อ
เนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางชะลอการนำเข้ายางจากไทย และหัน
ไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก สิ่งที่ไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ
การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย --------------------------- ปี ------------------------------ อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 13,680,209 13,307,590 13,142,313 14,117,516.40 2.72 -1.24 7.42
ยางนอกรถกระบะ เส้น 5,114,585 5,695,564 5,377,322 4,701,572.40 11.36 -5.59 -12.6
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 4,973,626 5,177,195 4,176,580 4,333,899.60 4.09 -19.3 3.77
และรถโดยสาร
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 189,870 185,538 175,071 181,752 -2.28 -5.64 3.82
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 18,423,018 21,508,505 21,984,081 22,347,832 16.75 2.21 1.65
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 22,724,404 21,504,819 20,650,079 19,656,271 -5.37 2.23 -10.6
ยางในรถบรรทุกและ เส้น 2,459,960 2,493,313 2,059,557 1,991,534 1.36 -17.4 -3.3
รถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 30,346,772 34,457,439 32,614,131 36,152,661 13.55 -5.35 10.85
ยางในรถจักรยาน เส้น 22,982,290 19,810,522 20,371,887 22,375,376 -13.8 2.83 9.83
ยางรอง เส้น 2,833,121 3,143,402 3,694,809 3,253,080 10.95 17.54 -12
ยางหล่อดอก เส้น 261,588 281,254 96,610 82,204.80 7.52 -65.7 -14.9
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 1,257,958 509,541 532,218 432,458 -59.5 4.45 -18.7
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 9,918,454,683 9,567,164,856 8,574,890,177 9,607,929,726 -3.54 -10.4 12.05
ยางรัดของ ตัน 16,000 15,254 14,718 15,505 -4.66 -3.51 5.35
ยางแผ่น ตัน 324,200 277,024 303,012 227,273 -14.6 9.38 -25
ยางแท่ง ตัน 715,185 803,651 804,507 867,226 12.37 0.11 7.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย --------------------------- ปี ------------------------ อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 10,096,010 10,351,562 10,008,230 10,375,536 2.53 -3.32 3.67
ยางนอกรถกระบะ เส้น 4,287,455 4,804,512 4,474,836 4,483,862 12.06 -6.86 0.2
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 3,195,780 3,171,010 3,284,434 3,346,670 -0.78 3.58 1.89
และรถโดยสาร
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 83,732 84,710 89,312 91,112 1.17 5.43 2.02
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 13,371,810 14,724,814 15,330,848 15,019,352 10.12 4.12 -2.03
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 4,962,280 4,952,660 4,662,817 4,534,212 -0.19 -5.85 -2.76
ยางในรถบรรทุกและ เส้น 1,544,629 1,648,949 1,691,553 1,699,042 6.75 2.58 0.44
รถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 24,475,912 25,823,074 23,232,764 25,816,239 5.5 -10 11.12
ยางในรถจักรยาน เส้น 6,820,284 7,778,565 6,703,560 7,486,474 14.05 -13.8 11.68
ยางรอง เส้น 1,581,922 1,862,058 2,081,374 1,466,814 17.71 11.78 -29.5
ยางหล่อดอก เส้น 194,775 225,536 94,682 84,004 15.79 -58 -11.3
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 452,576 159,792 79,536 81,042 -64.7 -50.2 1.89
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 431,615,536 400,927,483 421,764,982 462,980,244 -7.11 5.2 9.77
ยางรัดของ ตัน 1,860 1,157 1,036 1,014 -37.8 -10.5 -2.12
ยางแผ่น ตัน 96,470 99,353 93,156 69,952 2.99 -6.24 -24.9
ยางแท่ง ตัน 62,579 59,079 46,392 35,341 -5.59 -21.5 -23.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ --------------------- ปี ------------------- อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยางพารา 3,428.92 3,709.98 5,396.59 5,408.26 8.2 45.5 0.22
ยางแผ่น 1,325.43 1,317.99 1,912.73 1,931.21 -0.56 45.1 0.97
ยางแท่ง 1,325.31 1,565.00 2,175.53 185.81 18.1 39 -91.46
น้ำยางข้น 713.74 757.23 1,214.79 1,199.26 6.09 60.4 -1.28
ยางพาราอื่นๆ 64.44 69.76 93.54 2,091.98 8.26 34.1 2,136.45
ผลิตภัณฑ์ยาง 1,944.58 2,351.22 3,082.01 3,606.56 20.9 31.1 17.02
ยางยานพาหนะ 679.75 900.44 1,196.06 1,588.66 32.5 32.8 32.82
ถุงมือยาง 489.45 515.66 558.83 593.83 5.35 8.37 6.26
ยางรัดของ 45.86 47.8 64.99 52.02 4.23 36 -19.96
หลอดและท่อ 73.03 86.47 105.92 130.32 18.4 22.5 23.04
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 23.72 31.33 45.52 71.94 32.1 45.3 58.04
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 151.13 189.2 211.07 210.91 25.2 11.6 -0.08
ยางวัลแคไนซ์ 120.46 147.74 206.69 210.7 22.7 39.9 1.94
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 361.18 432.58 692.93 748.19 19.8 60.2 7.97
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ---------------ปี -------------- อัตราการขยายตัว
2547 2548 2549 2550 2548 2549 2550
ยาง รวมเศษยาง 261.1 351.1 427.3 474.5 34.46 21.7 11.04
ยางธรรมชาติ 1.77 1.94 2.39 4.96 9.6 23.2 107.5
ยางสังเคราะห์ 257.9 346.2 420.2 464.9 34.24 21.4 10.65
ยางอื่นๆ 1.41 2.92 4.74 4.62 107.1 62.3 -2.53
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 195 230.4 298 378.1 18.18 29.3 26.86
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 81.61 96.14 116.8 139.5 17.8 21.5 19.42
ยางรถยนต์ 90.27 110.7 155.1 219 22.59 40.2 41.17
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 23.1 23.62 26.08 19.6 2.25 10.4 -24.85
วัสดุทำจากยาง 270.7 297.8 327.3 306.4 10 9.91 -6.38
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 6.4 4.52 5.94 10.21 -29.38 31.4 71.89
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 264.3 293.2 321.3 296.2 10.95 9.58 -7.82
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-