1. การผลิต
ในปี 2550 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (รวบรวมข้อมูล มกราคม 2550) มีประมาณ
1,187 โรง มีการจ้างงาน 128,029 คน สามารถแยกได้ดังนี้
อุตสาหกรรมฟอกย้อมแต่งสำเร็จหนัง 192 โรง มีแรงงาน 6,879 คน
อุตสาหกรรมรองเท้า 612 โรง มีแรงงาน 92,219 คน
อุตสาหกรรมเผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 383 โรง มีแรงงาน 28,931 คน
ในปี 2550* ดัชนีอุตสาหกรรมของรองเท้าและเครื่องหนังมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- การฟอกหนังและการตกแต่งหนังฟอก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.99 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อย
ละ 15.50 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 17.51
- การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.72 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 52.76 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.58
- การผลิตรองเท้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 6.04 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 6.31 และดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.12
2. การตลาด
การส่งออก
การส่งออกสินค้ารองเท้าและเครื่องหนังในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 9.7 สินค้าที่มีอัตราการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ รองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ขยายตัวร้อยละ 4.9, 13.0 และ 18.2
รองเท้าและชิ้นส่วน ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 4.9 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ รองเท้า
แตะ รองเท้าหนัง รองเท้าอื่น ๆ และส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4, 26.9, 37.8 และ 34.3 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลดลง คือ
รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ 9.28 สำหรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค. 50) ได้แก่ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิ
เรตส์ ขยายตัวร้อยละ 48.79, 15.79 และ 8.84
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ก่อนร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
คือ กระเป๋าเดินทาง, กระเป๋าถือ และ เครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1, 16.0 และ 32.3 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษ
สตางค์ ลดลงร้อยละ 7.8 ตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค. 50) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.45, 20.47 และ 8.19 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 18.2 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก, เครื่องแต่งกายและเข็มขัด, หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2, 8.1 และ 35.8 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลด
ลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยงและถุงมือหนัง ขยายตัวลดลงร้อยละ 51.1 และ 12.2 ตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค.50) ได้แก่
ฮ่องกง จีน และ เวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.10, 78.40 และ 25.78
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 19.6ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย และ อาร์เจนตินา
รองเท้า ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 สินค้าที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนัง รองเท้ายางหรือพลาสติก และ
รองเท้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5, 50.6 และ 50.0 ตามลำดับ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
กระเป๋า ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 สินค้าที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือกระเป๋าอื่น ๆ
และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 และ 31.8 ตามลำดับ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน อิตาลีและฝรั่งเศส
3. สรุปและแนวโน้ม
ในปี 2550* สถานการณ์การผลิตเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงใน 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ดัชนีผลผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก และดัชนีผล
ผลิตรองเท้าลดลงร้อยละ 15.02 และ 6.04 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศลดลง อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมัน และต้นทุนการ
ผลิตสูงขึ้น แต่การนำเข้าหนังดิบ มาผลิตเป็นหนังฟอกเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหนังฟอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 สำหรับการนำ
เข้ารองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 ส่วนกระเป๋าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดีจากประเทศอิตาลี ตามกระแสแฟชั่นและสินค้าราคาถูกจากจีน
สำหรับในปี 2551 คาดว่าการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
จีน และการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ต้องการสินค้าเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำ กระเป๋าฯและรองเท้าหนัง คาดว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่ม
ขึ้นเนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบตรงตามต้องการของตลาดและมีคุณภาพ ยกเว้นรองเท้ากีฬาที่คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการค้าเสรีที่
การแข่งขันสูงที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะ จีน และเวียดนาม ความผันผวนจากราคาน้ำมัน และตลาดส่งออกหลัก
ของไทยมีภาวะเศรษฐกิจซบเซา ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวในทุกกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะมีปัจจัยเสริมจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และแนวโน้ม
ของการเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคีที่มุ่งปรับลดอัตราภาษีนำเข้า
ตารางที่ 1: ดัชนีอุตสาหกรรม
รายการ 2547 2548 2549 2550* % การเปลี่ยนแปลง
ISIC:1911 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก
-ผลผลิต 98.85 93.69 87.14 74.05 -15.02
-การส่งสินค้า 56.97 53.01 49.72 42.01 -15.5
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 224.55 279.19 187.26 154.47 -17.51
ISIC:1912 การผลิตกระเป๋าเดินทางกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก
-ผลผลิต 71.39 63.53 52.18 61.95 18.72
-การส่งสินค้า 71.43 60.32 49.7 75.91 52.76
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 138.33 110.33 268.79 316.05 17.58
ISIC:1920 การผลิตรองเท้า
-ผลผลิต 109.1 108.39 111.87 105.11 -6.04
-การส่งสินค้า 108.54 107.09 110.3 103.34 -6.31
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 99.67 74.03 63.3 88.07 39.12
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
ตารางที่ 2: โครงสร้างสินค้าส่งออก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ชื่อสินค้า 2547 2548 2549 2550* %การเปลี่ยนแปลง
รองเท้าและชิ้นส่วน 764.2 898.6 926.1 971.11 4.9
1. รองเท้ากีฬา 422.1 542 544.3 490.96 -9.8
2. รองเท้าแตะ 88.2 86.4 78.4 87.3 11.4
3. รองเท้าหนัง 189.9 196.8 226.5 287.3 26.9
4. รองเท้าอื่นๆ 49.5 58.6 62.7 86.36 37.8
5. ส่วนประกอบของรองเท้า 14.5 14.7 14.3 19.18 34.3
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 226.3 209.3 201.8 228.04 13
1. กระเป๋าเดินทาง 106.1 80.7 74.4 74.5 0.1
2. กระเป๋าถือ 39.9 39.8 39 45.28 16
3. กระเป๋าใส่เศษสตางค์ 17.5 22.3 21.3 19.68 -7.8
4. เครื่องเดินทางอื่น ๆ 62.8 66.5 67 88.58 32.3
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 464.1 457.1 451 533.21 18.2
1. หนังโคกระบือฟอก 67.1 137.7 155.9 185.93 19.2
2. ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง 41.8 31.7 30.5 14.95 -51.1
3. ถุงมือหนัง 48 48 53.6 47.07 -12.2
4. เครื่องแต่งกายและเข็มขัด 4.7 4.3 4.2 4.55 8.1
5. หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ 302.5 235.3 206.7 280.71 35.8
รวม 1,454.60 1,564.90 1,578.90 1,732.40 9.7
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 3: โครงสร้างสินค้านำเข้า
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ชื่อสินค้า 2547 2548 2549 2550* % การเปลี่ยนแปลง
หนังดิบและหนังฟอก 471.7 499.7 478.9 572.8 19.6
รองเท้า 69.4 75.3 111.6 153.3 37.3
1.รองเท้ากีฬา 10.8 14.5 19.2 18 -6.4
2.รองเท้าหนัง 14.5 17.1 18.3 23.9 30.5
3.รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติก 9.6 12.1 17.5 26.4 50.6
4.รองเท้าอื่น ๆ 34.5 31.5 56.7 85.1 50
กระเป๋า 51.8 65 79.7 105.1 31.9
1.กระเป๋าเดินทาง 15.3 18.7 22.9 30.4 32.7
2.กระเป๋าถือและกระเป๋าอื่น ๆ 36.4 46.3 56.7 74.8 31.8
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในปี 2550 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (รวบรวมข้อมูล มกราคม 2550) มีประมาณ
1,187 โรง มีการจ้างงาน 128,029 คน สามารถแยกได้ดังนี้
อุตสาหกรรมฟอกย้อมแต่งสำเร็จหนัง 192 โรง มีแรงงาน 6,879 คน
อุตสาหกรรมรองเท้า 612 โรง มีแรงงาน 92,219 คน
อุตสาหกรรมเผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 383 โรง มีแรงงาน 28,931 คน
ในปี 2550* ดัชนีอุตสาหกรรมของรองเท้าและเครื่องหนังมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- การฟอกหนังและการตกแต่งหนังฟอก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.99 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อย
ละ 15.50 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 17.51
- การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.72 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 52.76 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.58
- การผลิตรองเท้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 6.04 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 6.31 และดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.12
2. การตลาด
การส่งออก
การส่งออกสินค้ารองเท้าและเครื่องหนังในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 9.7 สินค้าที่มีอัตราการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ รองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ขยายตัวร้อยละ 4.9, 13.0 และ 18.2
รองเท้าและชิ้นส่วน ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 4.9 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ รองเท้า
แตะ รองเท้าหนัง รองเท้าอื่น ๆ และส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4, 26.9, 37.8 และ 34.3 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลดลง คือ
รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ 9.28 สำหรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค. 50) ได้แก่ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิ
เรตส์ ขยายตัวร้อยละ 48.79, 15.79 และ 8.84
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ก่อนร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
คือ กระเป๋าเดินทาง, กระเป๋าถือ และ เครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1, 16.0 และ 32.3 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลดลง คือ กระเป๋าใส่เศษ
สตางค์ ลดลงร้อยละ 7.8 ตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค. 50) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.45, 20.47 และ 8.19 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ในปี 2550* คาดว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 18.2 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก, เครื่องแต่งกายและเข็มขัด, หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2, 8.1 และ 35.8 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวลด
ลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยงและถุงมือหนัง ขยายตัวลดลงร้อยละ 51.1 และ 12.2 ตลาดส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ต.ค.50) ได้แก่
ฮ่องกง จีน และ เวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.10, 78.40 และ 25.78
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 19.6ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย และ อาร์เจนตินา
รองเท้า ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 สินค้าที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนัง รองเท้ายางหรือพลาสติก และ
รองเท้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5, 50.6 และ 50.0 ตามลำดับ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
กระเป๋า ในปี 2550* มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 สินค้าที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือกระเป๋าอื่น ๆ
และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 และ 31.8 ตามลำดับ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน อิตาลีและฝรั่งเศส
3. สรุปและแนวโน้ม
ในปี 2550* สถานการณ์การผลิตเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงใน 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ดัชนีผลผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก และดัชนีผล
ผลิตรองเท้าลดลงร้อยละ 15.02 และ 6.04 เนื่องจากการผลิตภายในประเทศลดลง อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมัน และต้นทุนการ
ผลิตสูงขึ้น แต่การนำเข้าหนังดิบ มาผลิตเป็นหนังฟอกเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหนังฟอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 สำหรับการนำ
เข้ารองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 ส่วนกระเป๋าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดีจากประเทศอิตาลี ตามกระแสแฟชั่นและสินค้าราคาถูกจากจีน
สำหรับในปี 2551 คาดว่าการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
จีน และการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ต้องการสินค้าเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำ กระเป๋าฯและรองเท้าหนัง คาดว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่ม
ขึ้นเนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบตรงตามต้องการของตลาดและมีคุณภาพ ยกเว้นรองเท้ากีฬาที่คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการค้าเสรีที่
การแข่งขันสูงที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะ จีน และเวียดนาม ความผันผวนจากราคาน้ำมัน และตลาดส่งออกหลัก
ของไทยมีภาวะเศรษฐกิจซบเซา ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวในทุกกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะมีปัจจัยเสริมจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และแนวโน้ม
ของการเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคีที่มุ่งปรับลดอัตราภาษีนำเข้า
ตารางที่ 1: ดัชนีอุตสาหกรรม
รายการ 2547 2548 2549 2550* % การเปลี่ยนแปลง
ISIC:1911 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก
-ผลผลิต 98.85 93.69 87.14 74.05 -15.02
-การส่งสินค้า 56.97 53.01 49.72 42.01 -15.5
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 224.55 279.19 187.26 154.47 -17.51
ISIC:1912 การผลิตกระเป๋าเดินทางกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก
-ผลผลิต 71.39 63.53 52.18 61.95 18.72
-การส่งสินค้า 71.43 60.32 49.7 75.91 52.76
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 138.33 110.33 268.79 316.05 17.58
ISIC:1920 การผลิตรองเท้า
-ผลผลิต 109.1 108.39 111.87 105.11 -6.04
-การส่งสินค้า 108.54 107.09 110.3 103.34 -6.31
-สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 99.67 74.03 63.3 88.07 39.12
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
ตารางที่ 2: โครงสร้างสินค้าส่งออก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ชื่อสินค้า 2547 2548 2549 2550* %การเปลี่ยนแปลง
รองเท้าและชิ้นส่วน 764.2 898.6 926.1 971.11 4.9
1. รองเท้ากีฬา 422.1 542 544.3 490.96 -9.8
2. รองเท้าแตะ 88.2 86.4 78.4 87.3 11.4
3. รองเท้าหนัง 189.9 196.8 226.5 287.3 26.9
4. รองเท้าอื่นๆ 49.5 58.6 62.7 86.36 37.8
5. ส่วนประกอบของรองเท้า 14.5 14.7 14.3 19.18 34.3
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 226.3 209.3 201.8 228.04 13
1. กระเป๋าเดินทาง 106.1 80.7 74.4 74.5 0.1
2. กระเป๋าถือ 39.9 39.8 39 45.28 16
3. กระเป๋าใส่เศษสตางค์ 17.5 22.3 21.3 19.68 -7.8
4. เครื่องเดินทางอื่น ๆ 62.8 66.5 67 88.58 32.3
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 464.1 457.1 451 533.21 18.2
1. หนังโคกระบือฟอก 67.1 137.7 155.9 185.93 19.2
2. ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง 41.8 31.7 30.5 14.95 -51.1
3. ถุงมือหนัง 48 48 53.6 47.07 -12.2
4. เครื่องแต่งกายและเข็มขัด 4.7 4.3 4.2 4.55 8.1
5. หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ 302.5 235.3 206.7 280.71 35.8
รวม 1,454.60 1,564.90 1,578.90 1,732.40 9.7
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 3: โครงสร้างสินค้านำเข้า
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ชื่อสินค้า 2547 2548 2549 2550* % การเปลี่ยนแปลง
หนังดิบและหนังฟอก 471.7 499.7 478.9 572.8 19.6
รองเท้า 69.4 75.3 111.6 153.3 37.3
1.รองเท้ากีฬา 10.8 14.5 19.2 18 -6.4
2.รองเท้าหนัง 14.5 17.1 18.3 23.9 30.5
3.รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติก 9.6 12.1 17.5 26.4 50.6
4.รองเท้าอื่น ๆ 34.5 31.5 56.7 85.1 50
กระเป๋า 51.8 65 79.7 105.1 31.9
1.กระเป๋าเดินทาง 15.3 18.7 22.9 30.4 32.7
2.กระเป๋าถือและกระเป๋าอื่น ๆ 36.4 46.3 56.7 74.8 31.8
หมายเหตุ : * ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-