สถานการณ์ทั่วไป
ในปี 2550 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงอยู่ใน 10 อันดับแรกของมูลค่าสินค้าส่งออกของ
ไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ตั้งแต่การทำเหมือง การเจียระไน การออกแบบ การทำและประกอบตัว
เรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง 1.3 ล้านคน
มีโรงงานที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 718 โรง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นอุตสาหกรรมหลัก
ประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิต
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 ดัชนีผลผลิต เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) จะอยู่ที่ 75.47
เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 7.74 เนื่องจากเป็นไปตามมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนกันยายน ตุลาคม และคาดว่ามูลค่าการส่ง
ออกจะมีมูลค่าประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีกสองเดือนที่เหลือ ดัชนีส่งสินค้า (ดัชนีการจำหน่าย) อยู่ที่ 79.72 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น
ร้อยละ 10.11 ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง เพิ่มขึ้นจากปี 2549 เล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ
2.64
การตลาด
การส่งออก
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะมีมูลค่าการส่งออก (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) คิดเป็นมูลค่า 5,084.4
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ขยายตัวจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 38.60 ซึ่งปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3,668.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป คาดว่าจะมีมูลค่า 1,430.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 181.40 อันดับสอง คือ การส่งออกเครื่อง
ประดับแท้ที่ทำด้วยทองมีมูลค่า 1,089.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 3.40 อันดับถัดมา ได้แก่ เพชรมีมูลค่า 947.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.97 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินมีมูลค่า 751.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.02 และพลอยมีมูลค่า 376.56
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 40.48 เป็นต้น
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.91, 16.83, 11.77 และ 10.98 ตามลำดับ โดยมีการขยายตัวของตลาดสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุดถึงร้อยละ
219.58 สินค้าที่สำคัญในตลาดนี้ คือ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ซึ่งเป็นไปตามภาวะราคาทองคำโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่เกือบ 800 เหรียญสหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วน
สาเหตุที่ตลาดสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดหลักเพราะแม้สินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี
โดยอัตราภาษีของสินค้าพิกัดนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 แต่คู่แข่ง เช่น จีน และอินเดีย มีการเสียภาษีในอัตรานี้เช่นกัน
และเนื่องจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ตลาดสหรัฐอเมริกาจึงหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไทยสามารถทำตลาด
ฮ่องกงด้วยสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง ในช่วงเดือนกันยายน และตุลาคมได้ เพิ่มขึ้นอย่างมาก
การนำเข้า
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 ไทยจะมีการนำเข้าสินค้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) คิดเป็น
มูลค่า 4,197.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 7.89 ซึ่งมีมูลค่า 3,890.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าทองคำมีมูลค่า
1,689.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.96 การนำเข้าเพชรมีมูลค่า 1,436.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.61 อันดับถัดมา
ได้แก่ เงิน พลอย และโลหะมีค่า และโลหะอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่นำเข้านับเป็นสินค้าวัตถุดิบ
แหล่งนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์
ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล จีน ฮ่องกง และเบลเยี่ยม ทั้งนี้การนำเข้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ไทยนำเข้าวัตถุดิบจาก
ต่างประเทศ
สรุปและแนวโน้ม
โดยสรุปคาดว่าภาพรวมการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.74 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และจากการประมาณการมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในปี 2550 พบว่าไทยมีสัดส่วนมูลค่า
การส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า เมื่อคิดเป็นอัตราการขยายตัวแล้วการส่งออกจะมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.60
นับว่าขยายตัวสูงมากในรอบหลายปี โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ทั้งนี้การส่ง
ออกไปสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจาก GSP ด้านการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.89 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ สวิตเซอร์แลนด์
ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล จีน ฮ่องกง และเบลเยี่ยม ซึ่งสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ60
สำหรับแนวโน้มการผลิต ในปี 2551 คาดว่าจะสอดคล้องตามมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7 - 10
สำหรับแนวโน้มด้านการส่งออกคาดว่าจะได้รับผลดีจาก JTEPA ซึ่งสินค้าที่สำคัญในตลาดญี่ปุ่น คือ เครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยทองและทำ
ด้วยเงิน อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐอเมริกาหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่ไทยจะส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกายังดี
อยู่ และไทยยังสามารถทำตลาดฮ่องกงด้วยสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง คาดว่า มูลค่าการส่งออกโดยรวมจะขยายตัวแต่ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา
โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 10 -15 ส่วนประเด็นค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) และราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำ
สถิติสูงสุดในรอบหลายปีจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก
ด้านการนำเข้า จากปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นโอกาสดีในการเพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามต้องสัมพันธ์กับ
ปริมาณการผลิต และการส่งออกด้วย ด้านปัจจัยราคาน้ำมันจะทำให้ราคาวัตถุดิบที่นำเข้าเพิ่มสูงขึ้นได้ จึงคาดว่า การนำเข้าจะขยายตัวไม่มาก โดย
อัตราการเติบโตจะอยู่ในระดับที่ทรงตัวและใกล้เคียงปีก่อน คือ ประมาณร้อยละ 7 — 10
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2546 2547 2548 2549 2550* %D
(ISIC 3691) ปี50 เทียบ ปี49
ผลผลิต 74.69 78.59 68.46 70.05 75.47 7.74
ส่งสินค้า 84.52 85.28 72.9 72.4 79.72 10.11
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 108.12 86.18 96.22 92.36 94.8 2.64
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
* เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2546 2547 2548 2549 2550* % ปี50
เทียบ ปี49
อัญมณีและเครื่องประดับ 2,514.46 2,645.61 3,232.66 3,668.28 5,084.40 38.6
1 อัญมณี 839.14 998.31 1,115.46 1,145.20 1,337.04 16.75
(1) เพชร 638.17 763.16 862.84 861.47 947.4 9.97
(2) พลอย 188.8 224.35 230.89 268.05 376.56 40.48
(3) ไข่มุก 12.17 10.8 21.73 15.68 13.08 -16.58
2 เครื่องประดับแท้ 1,105.33 1,275.33 1,691.00 1,738.55 1,943.28 11.78
(1) ทำด้วยเงิน 386.85 461.45 505.74 569.56 751.92 32.02
(2) ทำด้วยทอง 703.26 797.44 1,140.16 1,127.42 1,089.12 -3.4
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 15.22 16.44 45.1 41.57 102.24 146
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 87.52 119.25 119.74 159.99 180.72 12.96
4 อัญมณีสังเคราะห์ 11.96 18.11 17.19 41.99 64.2 52.89
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 402.32 145.22 224.76 508.27 1,430.28 181.4
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 68.19 89.39 64.51 74.28 128.88 73.51
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
* เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2546 2547 2548 2549 2550* % ปี50
เทียบ ปี49
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 2,076.75 2,863.48 3,924.65 3,890.83 4,197.72 7.89
1 เพชร 953.6 1,137.84 1,303.13 1,275.73 1,436.64 12.61
2 พลอย 100.09 133.91 145.32 168.84 237.72 40.8
3 อัญมณีสังเคราะห์ 26.46 37.55 38.99 36.43 59.28 62.72
4 ไข่มุก 29.25 23.75 25.38 15.32 19.56 27.68
5 ทองคำ 698.72 1,146.07 1,970.18 1,876.54 1,689.60 -9.96
6 เงิน 196.29 286.07 332.03 375.29 494.4 31.74
7 แพลทินัม 17.86 19.35 23.38 23.73 24.12 1.64
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 54.47 78.95 86.25 118.95 236.28 98.64
เครื่องประดับอัญมณี 151.18 170.68 199.42 224.14 238.92 6.59
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 142.59 159.67 186.4 206.45 217.44 5.32
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 8.6 11.02 13.02 17.69 21.48 21.42
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
* เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในปี 2550 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงอยู่ใน 10 อันดับแรกของมูลค่าสินค้าส่งออกของ
ไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ตั้งแต่การทำเหมือง การเจียระไน การออกแบบ การทำและประกอบตัว
เรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง 1.3 ล้านคน
มีโรงงานที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 718 โรง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นอุตสาหกรรมหลัก
ประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิต
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 ดัชนีผลผลิต เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) จะอยู่ที่ 75.47
เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 7.74 เนื่องจากเป็นไปตามมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนกันยายน ตุลาคม และคาดว่ามูลค่าการส่ง
ออกจะมีมูลค่าประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีกสองเดือนที่เหลือ ดัชนีส่งสินค้า (ดัชนีการจำหน่าย) อยู่ที่ 79.72 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น
ร้อยละ 10.11 ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง เพิ่มขึ้นจากปี 2549 เล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ
2.64
การตลาด
การส่งออก
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะมีมูลค่าการส่งออก (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) คิดเป็นมูลค่า 5,084.4
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ขยายตัวจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 38.60 ซึ่งปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3,668.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป คาดว่าจะมีมูลค่า 1,430.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 181.40 อันดับสอง คือ การส่งออกเครื่อง
ประดับแท้ที่ทำด้วยทองมีมูลค่า 1,089.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 3.40 อันดับถัดมา ได้แก่ เพชรมีมูลค่า 947.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.97 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินมีมูลค่า 751.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.02 และพลอยมีมูลค่า 376.56
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 40.48 เป็นต้น
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.91, 16.83, 11.77 และ 10.98 ตามลำดับ โดยมีการขยายตัวของตลาดสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุดถึงร้อยละ
219.58 สินค้าที่สำคัญในตลาดนี้ คือ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ซึ่งเป็นไปตามภาวะราคาทองคำโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่เกือบ 800 เหรียญสหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วน
สาเหตุที่ตลาดสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดหลักเพราะแม้สินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี
โดยอัตราภาษีของสินค้าพิกัดนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 5.5 แต่คู่แข่ง เช่น จีน และอินเดีย มีการเสียภาษีในอัตรานี้เช่นกัน
และเนื่องจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ตลาดสหรัฐอเมริกาจึงหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไทยสามารถทำตลาด
ฮ่องกงด้วยสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง ในช่วงเดือนกันยายน และตุลาคมได้ เพิ่มขึ้นอย่างมาก
การนำเข้า
คาดว่าภาพรวมในปี 2550 ไทยจะมีการนำเข้าสินค้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) คิดเป็น
มูลค่า 4,197.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 7.89 ซึ่งมีมูลค่า 3,890.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าทองคำมีมูลค่า
1,689.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.96 การนำเข้าเพชรมีมูลค่า 1,436.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.61 อันดับถัดมา
ได้แก่ เงิน พลอย และโลหะมีค่า และโลหะอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่นำเข้านับเป็นสินค้าวัตถุดิบ
แหล่งนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์
ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล จีน ฮ่องกง และเบลเยี่ยม ทั้งนี้การนำเข้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ไทยนำเข้าวัตถุดิบจาก
ต่างประเทศ
สรุปและแนวโน้ม
โดยสรุปคาดว่าภาพรวมการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.74 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และจากการประมาณการมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในปี 2550 พบว่าไทยมีสัดส่วนมูลค่า
การส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า เมื่อคิดเป็นอัตราการขยายตัวแล้วการส่งออกจะมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.60
นับว่าขยายตัวสูงมากในรอบหลายปี โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ทั้งนี้การส่ง
ออกไปสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจาก GSP ด้านการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.89 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ สวิตเซอร์แลนด์
ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล จีน ฮ่องกง และเบลเยี่ยม ซึ่งสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ60
สำหรับแนวโน้มการผลิต ในปี 2551 คาดว่าจะสอดคล้องตามมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7 - 10
สำหรับแนวโน้มด้านการส่งออกคาดว่าจะได้รับผลดีจาก JTEPA ซึ่งสินค้าที่สำคัญในตลาดญี่ปุ่น คือ เครื่องประดับแท้ ทั้งที่ทำด้วยทองและทำ
ด้วยเงิน อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐอเมริกาหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่ไทยจะส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกายังดี
อยู่ และไทยยังสามารถทำตลาดฮ่องกงด้วยสินค้าเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง คาดว่า มูลค่าการส่งออกโดยรวมจะขยายตัวแต่ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา
โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 10 -15 ส่วนประเด็นค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) และราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำ
สถิติสูงสุดในรอบหลายปีจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก
ด้านการนำเข้า จากปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นโอกาสดีในการเพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามต้องสัมพันธ์กับ
ปริมาณการผลิต และการส่งออกด้วย ด้านปัจจัยราคาน้ำมันจะทำให้ราคาวัตถุดิบที่นำเข้าเพิ่มสูงขึ้นได้ จึงคาดว่า การนำเข้าจะขยายตัวไม่มาก โดย
อัตราการเติบโตจะอยู่ในระดับที่ทรงตัวและใกล้เคียงปีก่อน คือ ประมาณร้อยละ 7 — 10
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2546 2547 2548 2549 2550* %D
(ISIC 3691) ปี50 เทียบ ปี49
ผลผลิต 74.69 78.59 68.46 70.05 75.47 7.74
ส่งสินค้า 84.52 85.28 72.9 72.4 79.72 10.11
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 108.12 86.18 96.22 92.36 94.8 2.64
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
* เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2546 2547 2548 2549 2550* % ปี50
เทียบ ปี49
อัญมณีและเครื่องประดับ 2,514.46 2,645.61 3,232.66 3,668.28 5,084.40 38.6
1 อัญมณี 839.14 998.31 1,115.46 1,145.20 1,337.04 16.75
(1) เพชร 638.17 763.16 862.84 861.47 947.4 9.97
(2) พลอย 188.8 224.35 230.89 268.05 376.56 40.48
(3) ไข่มุก 12.17 10.8 21.73 15.68 13.08 -16.58
2 เครื่องประดับแท้ 1,105.33 1,275.33 1,691.00 1,738.55 1,943.28 11.78
(1) ทำด้วยเงิน 386.85 461.45 505.74 569.56 751.92 32.02
(2) ทำด้วยทอง 703.26 797.44 1,140.16 1,127.42 1,089.12 -3.4
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 15.22 16.44 45.1 41.57 102.24 146
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 87.52 119.25 119.74 159.99 180.72 12.96
4 อัญมณีสังเคราะห์ 11.96 18.11 17.19 41.99 64.2 52.89
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 402.32 145.22 224.76 508.27 1,430.28 181.4
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 68.19 89.39 64.51 74.28 128.88 73.51
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
* เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2546 2547 2548 2549 2550* % ปี50
เทียบ ปี49
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 2,076.75 2,863.48 3,924.65 3,890.83 4,197.72 7.89
1 เพชร 953.6 1,137.84 1,303.13 1,275.73 1,436.64 12.61
2 พลอย 100.09 133.91 145.32 168.84 237.72 40.8
3 อัญมณีสังเคราะห์ 26.46 37.55 38.99 36.43 59.28 62.72
4 ไข่มุก 29.25 23.75 25.38 15.32 19.56 27.68
5 ทองคำ 698.72 1,146.07 1,970.18 1,876.54 1,689.60 -9.96
6 เงิน 196.29 286.07 332.03 375.29 494.4 31.74
7 แพลทินัม 17.86 19.35 23.38 23.73 24.12 1.64
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 54.47 78.95 86.25 118.95 236.28 98.64
เครื่องประดับอัญมณี 151.18 170.68 199.42 224.14 238.92 6.59
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 142.59 159.67 186.4 206.45 217.44 5.32
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 8.6 11.02 13.02 17.69 21.48 21.42
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
* เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-