1. การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2550 คาดการณ์ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 9.3 น้อยกว่าการขยายตัวของ
ปีก่อนที่ร้อยละ 17.0 โดยสินค้าสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวม คือ น้ำตาล ปศุสัตว์ และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 20 18.2
และ 19.9 ตามลำดับ แม้ว่าในภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศของไทยจะยังคงชะลอตัวตามความไม่แน่นอนและความกังวล
ในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้นำเข้าหลักชะลอตัว และระดับราคาน้ำมันในตลาด
โลกปรับตัวสูงเป็นประวัติการณ์ กดดันให้ความต้องการในตลาดโลกมีความผันผวน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงิน
ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามจากภาวะโลกร้อนได้ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรคที่เป็นอันตรายต่อทั้งผลิตผลทางการเกษตรและคน ทำให้
ปริมาณและราคาวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารผันผวน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารหลายสินค้าหลายประเภทในตลาดโลกสูงขึ้น ในส่วนประเทศ
ไทยได้รับผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบ
โดยในด้านบวก คือ ภาพรวมของการผลิตยังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ และประมง ส่งผลให้ความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น
ด้วย ขณะเดียวกันผลด้านลบ เกิดขึ้นกับสินค้าที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ธัญพืช (ข้าวโพด) และผลิตภัณฑ์นม เนื่อง
จากผลผลิตขาดแคลนทำให้ราคาเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามปริมาณความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
- กลุ่มปศุสัตว์ สินค้าสำคัญ คือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูป ภาพรวมปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อย
ละ 18.2 เป็นผลจากการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ และการเปลี่ยนแปลงระบบการนำเข้าเป็น
โควตาของ EU ประกอบกับการขยายตลาดไปยังอาฟริกาและตะวันออกกลางที่เป็นกลุ่มประเทศบริโภคอาหารฮาลาล รับรองคุณภาพการผลิตได้ตามหลัก
ศาสนา
- กลุ่มประมง สินค้าสำคัญ คือ กุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง และผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า ภาพรวมปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตลดลงจากปี
ก่อนร้อยละ 4.0 เนื่องจากการผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่เป็นสินค้าหลักได้ชะลอตัวจากการขาดแคลนวัตถุดิบ นอกจากนี้ปัญหาการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ จะ
เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการผลิตสินค้าประมง ได้แก่ การประกาศมาตรฐานสินค้านำเข้าที่ระบุหลักเกณฑ์ในด้านสารตกค้างและการรับรองการตรวจสอบ
คุณภาพที่ต้องเป็นไปตามระเบียบใหม่ๆ ของประเทศ
ผู้นำเข้า
- กลุ่มผักผลไม้ ภาพรวมของการผลิต ปี 2550 คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 16.9 จากการผลิตที่ลดลงของสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ
สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกเพิ่มขึ้นและ
คาดว่าปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในปี 2551 นอกจากนี้การผลิตสินค้าอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม ที่ตลาดทั้งในประเทศ
และต่างประเทศมีความต้องการสูง ประกอบกับผลไม้สดหลายชนิดสามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แล้ว จากการประกาศอนุญาตให้นำเข้าในช่วงกลาง
ปี สำหรับผักใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ข้าวโพดหวาน มีการผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าคุณภาพของ EU เพิ่มขึ้น
- น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชและแป้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การผลิตในปี 2550 คาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.8 0.2 4.8
และ 0.1 ตามลำดับ จากปัญหาด้านวัตถุดิบเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เมล็ดถั่วเหลือง นม ข้าวและแป้งสาลี ผลผลิตใน
ตลาดโลกลดลง ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะส่งผลดีอยู่บ้าง แต่ผลด้านราคามีมากกว่า ทำให้
ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น นำไปสู่การขอปรับราคาจำหน่าย และเมื่อรวมกับความกังวลของผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้การผลิตและ
จำหน่ายชะลอตัวลงไปด้วย นอกจากนี้ ปาล์มน้ำมัน แม้ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการยังขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าทั้งการบริโภคเป็นอาหารและ
เป็นพลังงานทดแทน ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น ส่วนมันสำปะหลัง เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบจากการแย่งผลผลิตระหว่างโรงงานแป้งมันและโรงงานผลิตเอ
ทานอล กดดันให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น
- น้ำตาล การผลิตในปี 2550 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เนื่องจากผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก และส่วน
หนึ่งนำไปผลิตเอทานอลผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ยังคงพื้นที่ปลูกไว้ในระดับเดียวกันในปีต่อไป
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ภาพรวมการจำหน่ายอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 น้อยกว่าในปี 2549
ที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากความไม่แน่นอนทางการเมือง และระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภค
ในประเทศชะลอการบริโภคในช่วงไตรมาสที่ 2-3 แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประกอบกับเป็นช่วง
วาระการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 พรรษาของพระเจ้าอยู่หัว และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทำให้การจำหน่ายในประเทศจะยังคงขยายตัวได้ดี
โดยเฉพาะในสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ประมง ผลิตภัณฑ์นมและเครื่องปรุงรส ร้อยละ 13.0 10.1 5.4 3.5 และ 3.0 ตามลำดับ
2.2 ตลาดต่างประเทศ
ภาพรวมการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวในเชิงปริมาณ ร้อยละ 18.4 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาท ร้อย
ละ 7.3 และเงินดอลลาร์ ร้อยละ 15.9 โดยสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน EU อาฟริกา และตะวันออกกลาง ยกเว้น
ตลาดสหรัฐฯ
สำหรับภาวะการส่งออกในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
- ปศุสัตว์ ไก่และสัตว์ปีก ในปี 2550 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทขยายตัวร้อยละ 5.3 และเงินดอลลาร์ ร้อยละ 13.8 จากความ
ต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น และ EU และการขยายตลาดตะวันออกกลางที่ยอมรับและรับรองมาตรฐานสินค้าไก่จากไทย
- ประมง ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 1.2 สินค้าเกือบทุกชนิดสามารถส่งออกในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้น เช่น
กุ้ง ร้อยละ 3.6 ปลาและปลาหมึกสด ร้อยละ 9.8 และ 1.1 จากการยอมรับในคุณภาพสินค้าในตลาดยุโรป และญี่ปุ่น ยกเว้นผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าที่ส่ง
ออกลดลงทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเงินบาทร้อยละ 9.2 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ชะลอตัวลงและปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
- ผักผลไม้ ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 0.4 และมูลค่าในรูปเงินดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากการ
ขยายตัวในเชิงปริมาณของการส่งออกผลไม้สดไปยังจีนและสหรัฐฯ แต่หากพิจารณาเป็นรายสินค้า ผักผลไม้แปรรูปและกระป๋องกลับส่งออกลดลงในเชิง
ปริมาณร้อยละ 0.8 และ 5.2 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ มูลค่าในรูปเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และ 8.8 แสดงให้เห็นถึงการปรับตัว
ด้านราคาและความต้องการที่ยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะตลาด EU และรัสเซียมีความต้องการสินค้าสับปะรดกระป๋องและข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้น
- น้ำตาล ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 97.8 และมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ขยายตัวร้อยละ 61.8
และ 74.9 เนื่องจากราคาตลาดโลกปรับตัวลดลง จากปริมาณน้ำตาลล้นตลาด และความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลงจากความกังวลในด้านการ
บริโภคเพื่อสุขภาพ
3. สรุปและแนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.9 มากกว่าการขยายตัวของ
ปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ร้อยละ 9.3 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 จะขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อย
ละ 7.5 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ประมาณร้อยละ 7.7 โดยสินค้าต่างๆ ในแต่ละกลุ่มมีแนวโน้มการผลิตและส่งออกในปี 2551 ดังนี้
- กลุ่มปศุสัตว์ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 13.6 การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวร้อยละ 7.8 ในเชิงมูลค่า ร้อยละ 7.3 เป็น
ผลจากปัจจัยด้านความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย EU ตะวันออกกลาง และการได้รับผลดีจากการทำข้อตกลง JTEPA ประกอบกับการควบคุม
คุณภาพและการปลอดโรคไข้หวัดนก จะทำให้สามารถขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มได้อีก
- กลุ่มประมง คาดว่าการผลิตจะไม่แตกต่างจากปีก่อนนัก การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวร้อยละ 4.3 ในเชิงมูลค่าร้อยละ 5.8 เป็น
การหดตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550
เนื่องจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งจากปัญหาต้นทุนอาหารแพง สวนทางกับราคาขายที่ได้รับ และการเสียเปรียบประเทศเอกวาดอร์ที่ได้รับ
การยกเลิกเก็บ AD ในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามยังมีข่าวดีจากการที่ EU คืนสิทธิ์ GSP ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกทำตลาดได้ดีขึ้น ประกอบกับตลาดญี่ปุ่นยัง
ให้ความสนใจสินค้าไทยมากกว่าอินโดนีเซียและเวียดนามที่มีปัญหาสารตกค้าง ส่วนการแปรรูปปลาทูน่าคาดว่าจะยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและ
ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอยู่ต่อไปอีก
- กลุ่มผักผลไม้ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 0.2 การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ในเชิงมูลค่าร้อยละ
13.6 เป็นการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550 เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสับปะรด ที่มีการขยายพื้นที่
ปลูกจากราคาที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับตลาดยุโรปตะวันออกและรัสเซียยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าผักผลไม้สดจะได้รับผลดีจากการอนุญาตนำ
เข้าของสหรัฐฯ ประกอบกับการทำข้อตกลง JTEPA ทำให้สินค้าผักผลไม้ที่มีคุณภาพของไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น
- น้ำตาล คาดว่าการผลิตจะขยายตัวในอัตราเดียวกันกับปี 2550 ที่ร้อยละ 20 การส่งออกในเชิงปริมาณจะหดตัวลงร้อยละ 20 ในเชิง
มูลค่าร้อยละ 14.4 เนื่องจากแนวโน้มการบริโภคในตลาดโลกในรูปน้ำตาลชะลอตัวลง เห็นได้จากระดับราคาที่ปรับตัวลดลงประกอบกับปริมาณน้ำตาลใน
ตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนการแปรรูปอ้อยเพื่อผลิตเป็นเอทานอลในเชิงพลังงานมีมากกว่าการแปรรูปเป็นน้ำตาลเพื่อการบริโภค
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 10.7 การส่งออกในเชิงปริมาณและมูลค่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 จาก
ความต้องการผลิตภัณฑ์มันเส้นและมันอัดเม็ดของตลาดจีนและยุโรป เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์และพลังงานทดแทน ประกอบกับการทำข้อตกลง JTEPA จะ
ส่งผลดีกับการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
- น้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์นม คาดว่าการผลิตจะไม่แตกต่างจากปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การบริโภคยังมีอัตราการขยายตัวไม่แตกต่างกับ
การขยายตัวของการผลิต และการนำเข้า แต่จะถูกปรับสมดุลด้วยการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้การปรับราคาจำหน่ายของน้ำมันพืช
ส่งผลโดยตรงกับการบริโภคที่ชะลอตัวลง แต่เนื่องจากปาล์มน้ำมันสามารถปรับเปลี่ยนไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนอาจทำให้ช่องทางการ
จำหน่ายและราคาผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คาดว่าการผลิตจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวในปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศมีการ
ขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการปรับราคาจำหน่ายอาจส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคของประชาชนที่มีทางเลือกอื่นทดแทน
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ตัน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี48 ปี 49 ปี 50 p ปี 51 f 49/48 50/49 51/50
ปศุสัตว์ 861,812.80 938,838.70 1,109,488.50 1,259,903.80 8.9 18.2 13.6
ประมง 893,832.50 941,216.30 903,695.70 904,001.70 5.3 -4 0
ผักผลไม้ 847,056.40 1,021,593.50 848,949.20 850,846.10 20.6 -16.9 0.2
น้ำมันพืช 1,268,702.20 1,558,923.20 1,467,905.00 1,467,908.80 22.9 -5.8 0
ผลิตภัณฑ์นม 921,180.60 1,101,439.40 1,099,144.90 1,099,147.60 19.6 -0.2 0
ธัญพืชและแป้ง 1,783,659.10 2,242,102.20 2,134,805.60 2,362,502.30 25.7 -4.8 10.7
อาหารสัตว์ 5,674,148.60 6,282,622.50 6,990,214.90 7,758,660.00 10.7 11.3 11
น้ำตาล 6,585,363.20 7,994,336.40 9,590,331.00 11,573,592.00 21.4 20 20.7
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 171,970.60 166,154.40 165,990.00 163,101.00 -3.4 -0.1 -1.7
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 154,962.50 168,143.90 201,520.40 230,092.20 8.5 19.9 14.2
รวม 19,007,726.00 22,247,226.40 24,310,524.90 27,439,663.40 17 9.3 12.9
รวม 12,422,362.80 14,252,890.00 14,720,193.90 15,866,071.40 14.7 3.3 7.8
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ตัน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี48 ปี 49 ปี 50 p ปี 51 f 49/48 50/49 51/50
ปศุสัตว์ 702,802.40 755,051.50 853,121.40 940,237.50 7.4 13 10.2
ประมง 117,168.60 125,351.40 132,060.40 137,723.30 7 5.4 4.3
ผักผลไม้ 156,479.10 185,102.90 174,482.30 194,556.70 18.3 -5.7 11.5
น้ำมันพืช 999,803.00 1,133,201.30 1,034,382.90 1,034,384.00 13.3 -8.7 0
ผลิตภัณฑ์นม 732,929.60 923,052.00 955,414.00 955,418.10 25.9 3.5 0
ธัญพืชและแป้ง 1,058,014.40 1,244,812.80 1,212,040.40 1,304,356.20 17.7 -2.6 7.6
อาหารสัตว์ 5,221,022.10 5,813,683.30 6,400,721.70 7,087,166.20 11.4 10.1 10.7
น้ำตาล 3,999,105.50 4,025,415.70 5,293,262.50 6,144,259.00 0.7 31.5 16.1
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 131,505.80 138,286.90 139,773.80 144,129.00 5.2 1.1 3.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 190,993.30 194,121.60 199,855.20 204,443.50 1.6 3 2.3
รวม 13,118,830.70 14,343,957.90 16,195,259.40 17,942,229.80 9.3 12.9 10.8
รวม 9,119,725.20 10,318,542.10 10,901,996.90 11,797,970.80 13.1 5.7 8.2
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม
p ตัวเลขเบื้องต้น f ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (ปริมาณส่งออก)
สินค้าส่งออก ปริมาณส่งออก (เมตริกตัน) การเปลี่ยนแปลง(%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 229,016 285,022 313,615 338,117 364,353 7.8 7.8
ผลิตภัณฑ์ประมง 1,288,534 1,364,041 1,477,854 1,494,863 1,558,399 1.2 4.3
กุ้ง 241,799 282,994 346,911 359,500 361,650 3.6 0.6
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 377,518 454,909 501,652 455,396 506,956 -9.2 11.3
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 397,702 353,360 364,709 400,573 388,249 9.8 -3.1
ปลาหมึก 107,957 101,017 95,573 96,645 102,309 1.1 5.9
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 163,558 171,761 169,009 182,749 199,235 8.1 9
ผักและผลไม้ 2,105,623 2,176,162 2,410,829 2,421,230 2,728,217 0.4 12.7
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 790,349 832,731 959,250 908,928 1,076,418 -5.2 18.4
ผักและผลิตภัณฑ์ 496,931 483,225 541,356 537,166 574,042 -0.8 6.9
ผลไม้สด/แห้ง 602,670 634,600 594,313 685,272 738,635 15.3 7.8
น้ำผัก น้ำผลไม้ 215,673 225,606 315,910 289,864 339,122 -8.2 17
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 9,989,731 7,537,342 7,438,571 8,730,086 8,860,064 17.4 1.5
น้ำตาล 4,600,033 3,041,397 2,238,809 4,429,117 3,544,023 97.8 -20
น้ำมันปาล์ม 239,994 175,221 298,314 411,814 470,909 38 14.3
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 5,019,019 3,031,308 4,224,763 5,331,994 6,596,806 26.2 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 1,140,424 1,430,777 1,697,579 1,529,217 1,805,932 -9.9 18.1
แป้งและสตาร์ช 191,924 196,972 273,407 194,943 242,798 -28.7 24.5
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 66,609 65,031 70,958 68,955 76,793 -2.8 11.4
เครื่องปรุงรส 127,206 154,898 153,082 165,422 193,230 8.1 16.8
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 130,183 155,662 201,550 243,078 232,724 20.6 -4.3
อาหารสัตว์เลี้ยง 216,725 199,310 217,883 230,794 257,486 5.9 11.6
อาหารสัตว์ 315,613 484,402 516,175 856,304 1,054,985 65.9 23.2
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 4,487,107 2,961,678 2,725,172 2,279,799 2,885,574 -16.3 26.6
รวมสินค้าอาหาร 30,094,758 23,259,220 24,258,560 28,725,734 30,872,291 18.4 7.5
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
ตารางที่ 4 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (มูลค่าส่งออก)
สินค้าส่งออก มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 27,130 35,011 37,326 39,289 42,164 5.3 7.3
ผลิตภัณฑ์ประมง 149,912 165,366 183,138 178,312 188,605 -2.6 5.8
กุ้ง 67,465 71,605 86,727 84,126 87,352 -3 3.8
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 36,217 45,513 49,091 44,640 49,355 -9.1 10.6
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 16,685 18,305 17,649 18,230 18,153 3.3 -0.4
ปลาหมึก 17,193 16,269 16,096 16,386 17,392 1.8 6.1
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 12,352 13,674 13,575 14,930 16,353 10 9.5
ผักและผลไม้ 58,552 64,896 70,570 70,190 79,723 -0.5 13.6
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 25,255 28,277 30,239 30,427 35,093 0.6 15.3
ผักและผลิตภัณฑ์ 16,063 17,031 19,124 18,333 19,754 -4.1 7.8
ผลไม้สด/แห้ง 9,986 12,055 12,329 13,067 14,990 6 14.7
น้ำผัก น้ำผลไม้ 7,248 7,533 8,878 8,363 9,886 -5.8 18.2
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 108,393 93,548 97,623 111,750 114,235 14.5 2.2
น้ำตาล 32,615 28,326 27,780 44,957 38,483 61.8 -14.4
น้ำมันปาล์ม 5,213 3,786 5,038 9,292 9,770 84.4 5.1
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 15,034 12,778 17,214 21,322 26,369 23.9 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 8,515 9,707 14,006 13,655 15,558 -2.5 13.9
แป้งและสตาร์ช 2,911 3,137 3,631 3,597 4,202 -0.9 16.8
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 3,795 3,711 3,910 4,561 4,360 16.7 -4.4
เครื่องปรุงรส 5,774 6,525 7,287 7,864 8,941 7.9 13.7
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 4,052 4,535 4,815 5,877 6,917 22.1 17.7
อาหารสัตว์เลี้ยง 12,191 13,475 14,588 15,422 17,289 5.7 12.1
อาหารสัตว์ 1,567 2,091 3,519 9,580 10,210 172.2 6.6
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 72,071 72,925 73,467 69,224 84,354 -5.8 21.9
รวมสินค้าอาหาร 507,013 519,816 563,911 604,892 651,250 7.3 7.7
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
ตารางที่ 5 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (มูลค่าส่งออก)
สินค้าส่งออก มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญ) การเปลี่ยนแปลง (%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 678 851.8 1,021.50 1,162.20 1,247.10 13.8 7.3
ผลิตภัณฑ์ประมง 3,747 4,024 5,012 5,275 5,578 5.2 5.8
กุ้ง 1,686.00 1,742.20 2,373.50 2,488.60 2,583.60 4.8 3.8
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 905.1 1,107.40 1,343.50 1,320.50 1,459.80 -1.7 10.5
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 417 445.4 483 539.3 536.9 11.6 -0.4
ปลาหมึก 429.7 395.8 440.5 484.7 514.4 10 6.1
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 308.7 332.7 371.5 441.7 483.7 18.9 9.5
ผักและผลไม้ 1,463 1,579 1,931 2,076 2,358 7.5 13.6
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 631.1 688 827.6 900.1 1,037.90 8.8 15.3
ผักและผลิตภัณฑ์ 401.4 414.4 523.4 542.3 584.3 3.6 7.7
ผลไม้สด/แห้ง 249.6 293.3 337.4 386.5 443.4 14.6 14.7
น้ำผัก น้ำผลไม้ 181.1 183.3 243 247.4 292.4 1.8 18.2
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 2,708.80 2,276.10 2,671.70 3,305.70 3,378.70 23.7 2.2
น้ำตาล 815.1 689.2 760.3 1,329.90 1,138.20 74.9 -14.4
น้ำมันปาล์ม 130.3 92.1 137.9 274.9 289 99.4 5.1
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 375.7 310.9 471.1 630.7 779.9 33.9 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 212.8 236.2 383.3 403.9 460.2 5.4 13.9
แป้งและสตาร์ช 72.7 76.3 99.4 106.4 124.3 7.1 16.8
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 94.8 90.3 107 134.9 129 26.1 -4.4
เครื่องปรุงรส 144.3 158.8 199.4 232.6 264.4 16.6 13.7
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 101.3 110.3 131.8 173.9 204.6 31.9 17.7
อาหารสัตว์เลี้ยง 304.7 327.9 399.2 456.2 511.4 14.3 12.1
อาหารสัตว์ 39.2 50.9 96.3 283.4 302 194.3 6.6
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 1,801.10 1,774.30 2,010.60 2,047.70 2,494.90 1.8 21.8
รวมสินค้าอาหาร 12,670.60 12,647.60 15,432.70 17,893.60 19,262.10 15.9 7.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2550 คาดการณ์ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 9.3 น้อยกว่าการขยายตัวของ
ปีก่อนที่ร้อยละ 17.0 โดยสินค้าสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวม คือ น้ำตาล ปศุสัตว์ และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 20 18.2
และ 19.9 ตามลำดับ แม้ว่าในภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศของไทยจะยังคงชะลอตัวตามความไม่แน่นอนและความกังวล
ในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้นำเข้าหลักชะลอตัว และระดับราคาน้ำมันในตลาด
โลกปรับตัวสูงเป็นประวัติการณ์ กดดันให้ความต้องการในตลาดโลกมีความผันผวน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงิน
ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามจากภาวะโลกร้อนได้ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรคที่เป็นอันตรายต่อทั้งผลิตผลทางการเกษตรและคน ทำให้
ปริมาณและราคาวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารผันผวน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารหลายสินค้าหลายประเภทในตลาดโลกสูงขึ้น ในส่วนประเทศ
ไทยได้รับผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบ
โดยในด้านบวก คือ ภาพรวมของการผลิตยังปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ และประมง ส่งผลให้ความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น
ด้วย ขณะเดียวกันผลด้านลบ เกิดขึ้นกับสินค้าที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ธัญพืช (ข้าวโพด) และผลิตภัณฑ์นม เนื่อง
จากผลผลิตขาดแคลนทำให้ราคาเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามปริมาณความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
- กลุ่มปศุสัตว์ สินค้าสำคัญ คือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูป ภาพรวมปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อย
ละ 18.2 เป็นผลจากการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ และการเปลี่ยนแปลงระบบการนำเข้าเป็น
โควตาของ EU ประกอบกับการขยายตลาดไปยังอาฟริกาและตะวันออกกลางที่เป็นกลุ่มประเทศบริโภคอาหารฮาลาล รับรองคุณภาพการผลิตได้ตามหลัก
ศาสนา
- กลุ่มประมง สินค้าสำคัญ คือ กุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง และผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า ภาพรวมปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตลดลงจากปี
ก่อนร้อยละ 4.0 เนื่องจากการผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่เป็นสินค้าหลักได้ชะลอตัวจากการขาดแคลนวัตถุดิบ นอกจากนี้ปัญหาการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ จะ
เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการผลิตสินค้าประมง ได้แก่ การประกาศมาตรฐานสินค้านำเข้าที่ระบุหลักเกณฑ์ในด้านสารตกค้างและการรับรองการตรวจสอบ
คุณภาพที่ต้องเป็นไปตามระเบียบใหม่ๆ ของประเทศ
ผู้นำเข้า
- กลุ่มผักผลไม้ ภาพรวมของการผลิต ปี 2550 คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 16.9 จากการผลิตที่ลดลงของสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ
สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกเพิ่มขึ้นและ
คาดว่าปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในปี 2551 นอกจากนี้การผลิตสินค้าอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม ที่ตลาดทั้งในประเทศ
และต่างประเทศมีความต้องการสูง ประกอบกับผลไม้สดหลายชนิดสามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แล้ว จากการประกาศอนุญาตให้นำเข้าในช่วงกลาง
ปี สำหรับผักใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ข้าวโพดหวาน มีการผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าคุณภาพของ EU เพิ่มขึ้น
- น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชและแป้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การผลิตในปี 2550 คาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.8 0.2 4.8
และ 0.1 ตามลำดับ จากปัญหาด้านวัตถุดิบเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เมล็ดถั่วเหลือง นม ข้าวและแป้งสาลี ผลผลิตใน
ตลาดโลกลดลง ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะส่งผลดีอยู่บ้าง แต่ผลด้านราคามีมากกว่า ทำให้
ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น นำไปสู่การขอปรับราคาจำหน่าย และเมื่อรวมกับความกังวลของผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้การผลิตและ
จำหน่ายชะลอตัวลงไปด้วย นอกจากนี้ ปาล์มน้ำมัน แม้ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการยังขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าทั้งการบริโภคเป็นอาหารและ
เป็นพลังงานทดแทน ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น ส่วนมันสำปะหลัง เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบจากการแย่งผลผลิตระหว่างโรงงานแป้งมันและโรงงานผลิตเอ
ทานอล กดดันให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น
- น้ำตาล การผลิตในปี 2550 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เนื่องจากผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก และส่วน
หนึ่งนำไปผลิตเอทานอลผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ยังคงพื้นที่ปลูกไว้ในระดับเดียวกันในปีต่อไป
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ภาพรวมการจำหน่ายอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 น้อยกว่าในปี 2549
ที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากความไม่แน่นอนทางการเมือง และระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภค
ในประเทศชะลอการบริโภคในช่วงไตรมาสที่ 2-3 แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประกอบกับเป็นช่วง
วาระการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 พรรษาของพระเจ้าอยู่หัว และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทำให้การจำหน่ายในประเทศจะยังคงขยายตัวได้ดี
โดยเฉพาะในสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ประมง ผลิตภัณฑ์นมและเครื่องปรุงรส ร้อยละ 13.0 10.1 5.4 3.5 และ 3.0 ตามลำดับ
2.2 ตลาดต่างประเทศ
ภาพรวมการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวในเชิงปริมาณ ร้อยละ 18.4 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาท ร้อย
ละ 7.3 และเงินดอลลาร์ ร้อยละ 15.9 โดยสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน EU อาฟริกา และตะวันออกกลาง ยกเว้น
ตลาดสหรัฐฯ
สำหรับภาวะการส่งออกในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
- ปศุสัตว์ ไก่และสัตว์ปีก ในปี 2550 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทขยายตัวร้อยละ 5.3 และเงินดอลลาร์ ร้อยละ 13.8 จากความ
ต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น และ EU และการขยายตลาดตะวันออกกลางที่ยอมรับและรับรองมาตรฐานสินค้าไก่จากไทย
- ประมง ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 1.2 สินค้าเกือบทุกชนิดสามารถส่งออกในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้น เช่น
กุ้ง ร้อยละ 3.6 ปลาและปลาหมึกสด ร้อยละ 9.8 และ 1.1 จากการยอมรับในคุณภาพสินค้าในตลาดยุโรป และญี่ปุ่น ยกเว้นผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าที่ส่ง
ออกลดลงทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเงินบาทร้อยละ 9.2 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ชะลอตัวลงและปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
- ผักผลไม้ ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 0.4 และมูลค่าในรูปเงินดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากการ
ขยายตัวในเชิงปริมาณของการส่งออกผลไม้สดไปยังจีนและสหรัฐฯ แต่หากพิจารณาเป็นรายสินค้า ผักผลไม้แปรรูปและกระป๋องกลับส่งออกลดลงในเชิง
ปริมาณร้อยละ 0.8 และ 5.2 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ มูลค่าในรูปเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และ 8.8 แสดงให้เห็นถึงการปรับตัว
ด้านราคาและความต้องการที่ยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะตลาด EU และรัสเซียมีความต้องการสินค้าสับปะรดกระป๋องและข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้น
- น้ำตาล ภาพรวมการส่งออกมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 97.8 และมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ขยายตัวร้อยละ 61.8
และ 74.9 เนื่องจากราคาตลาดโลกปรับตัวลดลง จากปริมาณน้ำตาลล้นตลาด และความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลงจากความกังวลในด้านการ
บริโภคเพื่อสุขภาพ
3. สรุปและแนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.9 มากกว่าการขยายตัวของ
ปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ร้อยละ 9.3 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 จะขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อย
ละ 7.5 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ประมาณร้อยละ 7.7 โดยสินค้าต่างๆ ในแต่ละกลุ่มมีแนวโน้มการผลิตและส่งออกในปี 2551 ดังนี้
- กลุ่มปศุสัตว์ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 13.6 การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวร้อยละ 7.8 ในเชิงมูลค่า ร้อยละ 7.3 เป็น
ผลจากปัจจัยด้านความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย EU ตะวันออกกลาง และการได้รับผลดีจากการทำข้อตกลง JTEPA ประกอบกับการควบคุม
คุณภาพและการปลอดโรคไข้หวัดนก จะทำให้สามารถขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มได้อีก
- กลุ่มประมง คาดว่าการผลิตจะไม่แตกต่างจากปีก่อนนัก การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวร้อยละ 4.3 ในเชิงมูลค่าร้อยละ 5.8 เป็น
การหดตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550
เนื่องจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งจากปัญหาต้นทุนอาหารแพง สวนทางกับราคาขายที่ได้รับ และการเสียเปรียบประเทศเอกวาดอร์ที่ได้รับ
การยกเลิกเก็บ AD ในตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามยังมีข่าวดีจากการที่ EU คืนสิทธิ์ GSP ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกทำตลาดได้ดีขึ้น ประกอบกับตลาดญี่ปุ่นยัง
ให้ความสนใจสินค้าไทยมากกว่าอินโดนีเซียและเวียดนามที่มีปัญหาสารตกค้าง ส่วนการแปรรูปปลาทูน่าคาดว่าจะยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและ
ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอยู่ต่อไปอีก
- กลุ่มผักผลไม้ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 0.2 การส่งออกในเชิงปริมาณขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ในเชิงมูลค่าร้อยละ
13.6 เป็นการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550 เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสับปะรด ที่มีการขยายพื้นที่
ปลูกจากราคาที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับตลาดยุโรปตะวันออกและรัสเซียยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าผักผลไม้สดจะได้รับผลดีจากการอนุญาตนำ
เข้าของสหรัฐฯ ประกอบกับการทำข้อตกลง JTEPA ทำให้สินค้าผักผลไม้ที่มีคุณภาพของไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น
- น้ำตาล คาดว่าการผลิตจะขยายตัวในอัตราเดียวกันกับปี 2550 ที่ร้อยละ 20 การส่งออกในเชิงปริมาณจะหดตัวลงร้อยละ 20 ในเชิง
มูลค่าร้อยละ 14.4 เนื่องจากแนวโน้มการบริโภคในตลาดโลกในรูปน้ำตาลชะลอตัวลง เห็นได้จากระดับราคาที่ปรับตัวลดลงประกอบกับปริมาณน้ำตาลใน
ตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนการแปรรูปอ้อยเพื่อผลิตเป็นเอทานอลในเชิงพลังงานมีมากกว่าการแปรรูปเป็นน้ำตาลเพื่อการบริโภค
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คาดว่าการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 10.7 การส่งออกในเชิงปริมาณและมูลค่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 จาก
ความต้องการผลิตภัณฑ์มันเส้นและมันอัดเม็ดของตลาดจีนและยุโรป เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์และพลังงานทดแทน ประกอบกับการทำข้อตกลง JTEPA จะ
ส่งผลดีกับการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
- น้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์นม คาดว่าการผลิตจะไม่แตกต่างจากปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การบริโภคยังมีอัตราการขยายตัวไม่แตกต่างกับ
การขยายตัวของการผลิต และการนำเข้า แต่จะถูกปรับสมดุลด้วยการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้การปรับราคาจำหน่ายของน้ำมันพืช
ส่งผลโดยตรงกับการบริโภคที่ชะลอตัวลง แต่เนื่องจากปาล์มน้ำมันสามารถปรับเปลี่ยนไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนอาจทำให้ช่องทางการ
จำหน่ายและราคาผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คาดว่าการผลิตจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวในปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศมีการ
ขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับการปรับราคาจำหน่ายอาจส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคของประชาชนที่มีทางเลือกอื่นทดแทน
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ตัน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี48 ปี 49 ปี 50 p ปี 51 f 49/48 50/49 51/50
ปศุสัตว์ 861,812.80 938,838.70 1,109,488.50 1,259,903.80 8.9 18.2 13.6
ประมง 893,832.50 941,216.30 903,695.70 904,001.70 5.3 -4 0
ผักผลไม้ 847,056.40 1,021,593.50 848,949.20 850,846.10 20.6 -16.9 0.2
น้ำมันพืช 1,268,702.20 1,558,923.20 1,467,905.00 1,467,908.80 22.9 -5.8 0
ผลิตภัณฑ์นม 921,180.60 1,101,439.40 1,099,144.90 1,099,147.60 19.6 -0.2 0
ธัญพืชและแป้ง 1,783,659.10 2,242,102.20 2,134,805.60 2,362,502.30 25.7 -4.8 10.7
อาหารสัตว์ 5,674,148.60 6,282,622.50 6,990,214.90 7,758,660.00 10.7 11.3 11
น้ำตาล 6,585,363.20 7,994,336.40 9,590,331.00 11,573,592.00 21.4 20 20.7
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 171,970.60 166,154.40 165,990.00 163,101.00 -3.4 -0.1 -1.7
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 154,962.50 168,143.90 201,520.40 230,092.20 8.5 19.9 14.2
รวม 19,007,726.00 22,247,226.40 24,310,524.90 27,439,663.40 17 9.3 12.9
รวม 12,422,362.80 14,252,890.00 14,720,193.90 15,866,071.40 14.7 3.3 7.8
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ตัน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี48 ปี 49 ปี 50 p ปี 51 f 49/48 50/49 51/50
ปศุสัตว์ 702,802.40 755,051.50 853,121.40 940,237.50 7.4 13 10.2
ประมง 117,168.60 125,351.40 132,060.40 137,723.30 7 5.4 4.3
ผักผลไม้ 156,479.10 185,102.90 174,482.30 194,556.70 18.3 -5.7 11.5
น้ำมันพืช 999,803.00 1,133,201.30 1,034,382.90 1,034,384.00 13.3 -8.7 0
ผลิตภัณฑ์นม 732,929.60 923,052.00 955,414.00 955,418.10 25.9 3.5 0
ธัญพืชและแป้ง 1,058,014.40 1,244,812.80 1,212,040.40 1,304,356.20 17.7 -2.6 7.6
อาหารสัตว์ 5,221,022.10 5,813,683.30 6,400,721.70 7,087,166.20 11.4 10.1 10.7
น้ำตาล 3,999,105.50 4,025,415.70 5,293,262.50 6,144,259.00 0.7 31.5 16.1
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 131,505.80 138,286.90 139,773.80 144,129.00 5.2 1.1 3.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 190,993.30 194,121.60 199,855.20 204,443.50 1.6 3 2.3
รวม 13,118,830.70 14,343,957.90 16,195,259.40 17,942,229.80 9.3 12.9 10.8
รวม 9,119,725.20 10,318,542.10 10,901,996.90 11,797,970.80 13.1 5.7 8.2
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม
p ตัวเลขเบื้องต้น f ตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (ปริมาณส่งออก)
สินค้าส่งออก ปริมาณส่งออก (เมตริกตัน) การเปลี่ยนแปลง(%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 229,016 285,022 313,615 338,117 364,353 7.8 7.8
ผลิตภัณฑ์ประมง 1,288,534 1,364,041 1,477,854 1,494,863 1,558,399 1.2 4.3
กุ้ง 241,799 282,994 346,911 359,500 361,650 3.6 0.6
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 377,518 454,909 501,652 455,396 506,956 -9.2 11.3
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 397,702 353,360 364,709 400,573 388,249 9.8 -3.1
ปลาหมึก 107,957 101,017 95,573 96,645 102,309 1.1 5.9
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 163,558 171,761 169,009 182,749 199,235 8.1 9
ผักและผลไม้ 2,105,623 2,176,162 2,410,829 2,421,230 2,728,217 0.4 12.7
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 790,349 832,731 959,250 908,928 1,076,418 -5.2 18.4
ผักและผลิตภัณฑ์ 496,931 483,225 541,356 537,166 574,042 -0.8 6.9
ผลไม้สด/แห้ง 602,670 634,600 594,313 685,272 738,635 15.3 7.8
น้ำผัก น้ำผลไม้ 215,673 225,606 315,910 289,864 339,122 -8.2 17
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 9,989,731 7,537,342 7,438,571 8,730,086 8,860,064 17.4 1.5
น้ำตาล 4,600,033 3,041,397 2,238,809 4,429,117 3,544,023 97.8 -20
น้ำมันปาล์ม 239,994 175,221 298,314 411,814 470,909 38 14.3
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 5,019,019 3,031,308 4,224,763 5,331,994 6,596,806 26.2 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 1,140,424 1,430,777 1,697,579 1,529,217 1,805,932 -9.9 18.1
แป้งและสตาร์ช 191,924 196,972 273,407 194,943 242,798 -28.7 24.5
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 66,609 65,031 70,958 68,955 76,793 -2.8 11.4
เครื่องปรุงรส 127,206 154,898 153,082 165,422 193,230 8.1 16.8
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 130,183 155,662 201,550 243,078 232,724 20.6 -4.3
อาหารสัตว์เลี้ยง 216,725 199,310 217,883 230,794 257,486 5.9 11.6
อาหารสัตว์ 315,613 484,402 516,175 856,304 1,054,985 65.9 23.2
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 4,487,107 2,961,678 2,725,172 2,279,799 2,885,574 -16.3 26.6
รวมสินค้าอาหาร 30,094,758 23,259,220 24,258,560 28,725,734 30,872,291 18.4 7.5
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
ตารางที่ 4 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (มูลค่าส่งออก)
สินค้าส่งออก มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 27,130 35,011 37,326 39,289 42,164 5.3 7.3
ผลิตภัณฑ์ประมง 149,912 165,366 183,138 178,312 188,605 -2.6 5.8
กุ้ง 67,465 71,605 86,727 84,126 87,352 -3 3.8
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 36,217 45,513 49,091 44,640 49,355 -9.1 10.6
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 16,685 18,305 17,649 18,230 18,153 3.3 -0.4
ปลาหมึก 17,193 16,269 16,096 16,386 17,392 1.8 6.1
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 12,352 13,674 13,575 14,930 16,353 10 9.5
ผักและผลไม้ 58,552 64,896 70,570 70,190 79,723 -0.5 13.6
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 25,255 28,277 30,239 30,427 35,093 0.6 15.3
ผักและผลิตภัณฑ์ 16,063 17,031 19,124 18,333 19,754 -4.1 7.8
ผลไม้สด/แห้ง 9,986 12,055 12,329 13,067 14,990 6 14.7
น้ำผัก น้ำผลไม้ 7,248 7,533 8,878 8,363 9,886 -5.8 18.2
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 108,393 93,548 97,623 111,750 114,235 14.5 2.2
น้ำตาล 32,615 28,326 27,780 44,957 38,483 61.8 -14.4
น้ำมันปาล์ม 5,213 3,786 5,038 9,292 9,770 84.4 5.1
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 15,034 12,778 17,214 21,322 26,369 23.9 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 8,515 9,707 14,006 13,655 15,558 -2.5 13.9
แป้งและสตาร์ช 2,911 3,137 3,631 3,597 4,202 -0.9 16.8
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 3,795 3,711 3,910 4,561 4,360 16.7 -4.4
เครื่องปรุงรส 5,774 6,525 7,287 7,864 8,941 7.9 13.7
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 4,052 4,535 4,815 5,877 6,917 22.1 17.7
อาหารสัตว์เลี้ยง 12,191 13,475 14,588 15,422 17,289 5.7 12.1
อาหารสัตว์ 1,567 2,091 3,519 9,580 10,210 172.2 6.6
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 72,071 72,925 73,467 69,224 84,354 -5.8 21.9
รวมสินค้าอาหาร 507,013 519,816 563,911 604,892 651,250 7.3 7.7
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
ตารางที่ 5 แสดงประมาณการแนวโน้มส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2551 ณ พ.ย. 2550 (มูลค่าส่งออก)
สินค้าส่งออก มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญ) การเปลี่ยนแปลง (%)
2547 2548 2549 2550f 2551f 2550f 2551f
ปศุสัตว์
ไก่และสัตว์ปีก 678 851.8 1,021.50 1,162.20 1,247.10 13.8 7.3
ผลิตภัณฑ์ประมง 3,747 4,024 5,012 5,275 5,578 5.2 5.8
กุ้ง 1,686.00 1,742.20 2,373.50 2,488.60 2,583.60 4.8 3.8
ทูน่ากระป๋อง/แปรรูป 905.1 1,107.40 1,343.50 1,320.50 1,459.80 -1.7 10.5
ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง 417 445.4 483 539.3 536.9 11.6 -0.4
ปลาหมึก 429.7 395.8 440.5 484.7 514.4 10 6.1
ปลากระป๋อง/ปลาแปรรูปอื่นๆ 308.7 332.7 371.5 441.7 483.7 18.9 9.5
ผักและผลไม้ 1,463 1,579 1,931 2,076 2,358 7.5 13.6
ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป 631.1 688 827.6 900.1 1,037.90 8.8 15.3
ผักและผลิตภัณฑ์ 401.4 414.4 523.4 542.3 584.3 3.6 7.7
ผลไม้สด/แห้ง 249.6 293.3 337.4 386.5 443.4 14.6 14.7
น้ำผัก น้ำผลไม้ 181.1 183.3 243 247.4 292.4 1.8 18.2
สินค้าอาหารอื่นๆ
ข้าว 2,708.80 2,276.10 2,671.70 3,305.70 3,378.70 23.7 2.2
น้ำตาล 815.1 689.2 760.3 1,329.90 1,138.20 74.9 -14.4
น้ำมันปาล์ม 130.3 92.1 137.9 274.9 289 99.4 5.1
มันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น 375.7 310.9 471.1 630.7 779.9 33.9 23.7
แป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง 212.8 236.2 383.3 403.9 460.2 5.4 13.9
แป้งและสตาร์ช 72.7 76.3 99.4 106.4 124.3 7.1 16.8
ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 94.8 90.3 107 134.9 129 26.1 -4.4
เครื่องปรุงรส 144.3 158.8 199.4 232.6 264.4 16.6 13.7
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 101.3 110.3 131.8 173.9 204.6 31.9 17.7
อาหารสัตว์เลี้ยง 304.7 327.9 399.2 456.2 511.4 14.3 12.1
อาหารสัตว์ 39.2 50.9 96.3 283.4 302 194.3 6.6
อาหารอื่นๆที่ไม่ระบุ 1,801.10 1,774.30 2,010.60 2,047.70 2,494.90 1.8 21.8
รวมสินค้าอาหาร 12,670.60 12,647.60 15,432.70 17,893.60 19,262.10 15.9 7.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันอาหาร
หมายเหตุ: f = เป็นตัวเลขคาดการณ์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-