สศอ.จับมือ พันธมิตรลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ขับเคลื่อน แผนแม่บท Productivity หนุนเอกชนแกร่งวางรากฐานอุตฯไทยมั่นคง
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ หรือ Productivity เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพราะการขยายตัวที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาทุนและแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อน แล้วไม่พยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับประสิทธิภาพและผลิตภาพภายในอุตสาหกรรม จะส่งผลให้โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมขาดความสมดุล และขาดภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
“ทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์การพัฒนา โดยใช้การพัฒนา Productivity เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิดให้เอกชนมีบทบาทนำในการพัฒนาด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืน รวมถึงสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ไปสู่การเติบโตบนพื้นฐานการพัฒนาด้านผลิตภาพการผลิต แทนการเติบโตโดยอาศัยปัจจัยทุนและแรงงาน ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป”
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าหลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดทำแผนแม่บท การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ หรือ แผนแม่บท Productivity เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสากรรมไทยในการแข่งขันในเวทีการค้าโลกอย่างมั่นคง โดยเน้นให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยตนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐในลักษณะการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) และในฐานะที่ สศอ. เป็นหน่วยงานหลักในการเบิกจ่ายงบประมาณให้แก่สถาบันอิสระ เพื่อนำไปดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้แผนแม่บท Productivity ดังนั้นจึงควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและร่วมกันดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
“ในปีงบประมาณ 2551 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 จากสำนักงบประมาณ รวม 37 โครงการ วงเงิน 464.2050 ล้านบาท ครอบคลุม 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล ยา พลาสติก รองเท้าและเครื่องหนัง เซรามิก ซอฟแวร์ อู่ต่อเรือและซ่อมเรือ สิ่งพิมพ์ และโครงการบางส่วนที่ครอบคลุมหลายสาขาอุตสาหกรรม (Across Sector) นอกจากนี้ ยังมีโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan — SAL) จากกระทรวงการคลัง อีกจำนวน 2 โครงการ วงเงิน 27 ล้านบาท”
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า สศอ. ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการ
บูรณาการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ ยังได้จัดให้มีการลงนาม MOU เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ หรือ Productivity เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพราะการขยายตัวที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาทุนและแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อน แล้วไม่พยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับประสิทธิภาพและผลิตภาพภายในอุตสาหกรรม จะส่งผลให้โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมขาดความสมดุล และขาดภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
“ทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์การพัฒนา โดยใช้การพัฒนา Productivity เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิดให้เอกชนมีบทบาทนำในการพัฒนาด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืน รวมถึงสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ไปสู่การเติบโตบนพื้นฐานการพัฒนาด้านผลิตภาพการผลิต แทนการเติบโตโดยอาศัยปัจจัยทุนและแรงงาน ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป”
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าหลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดทำแผนแม่บท การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ หรือ แผนแม่บท Productivity เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสากรรมไทยในการแข่งขันในเวทีการค้าโลกอย่างมั่นคง โดยเน้นให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยตนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐในลักษณะการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) และในฐานะที่ สศอ. เป็นหน่วยงานหลักในการเบิกจ่ายงบประมาณให้แก่สถาบันอิสระ เพื่อนำไปดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้แผนแม่บท Productivity ดังนั้นจึงควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและร่วมกันดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
“ในปีงบประมาณ 2551 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 จากสำนักงบประมาณ รวม 37 โครงการ วงเงิน 464.2050 ล้านบาท ครอบคลุม 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล ยา พลาสติก รองเท้าและเครื่องหนัง เซรามิก ซอฟแวร์ อู่ต่อเรือและซ่อมเรือ สิ่งพิมพ์ และโครงการบางส่วนที่ครอบคลุมหลายสาขาอุตสาหกรรม (Across Sector) นอกจากนี้ ยังมีโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan — SAL) จากกระทรวงการคลัง อีกจำนวน 2 โครงการ วงเงิน 27 ล้านบาท”
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า สศอ. ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการ
บูรณาการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ ยังได้จัดให้มีการลงนาม MOU เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-