เผยอุตฯ ไทยพัฒนาไกล เชื่อการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน และสามประสาน รัฐ เอกชน สถานศึกษา สามารถทำให้อุตฯไทยยืนหยัดในเวทีโลก ฝ่ากระแสโลกาภิวัฒน์
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าต้องเน้นความสำคัญ โจทย์ด้านโลกาภิวัตน์คือตัวกำหนดความมั่นคงของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต โดยแบ่งออกเป็นโจทย์ด้านพื้นฐานและโจทย์ด้านตัวแปร ซึ่งด้านพื้นฐานคือขีดความสามารถในการแข่งขัน และด้านผลิตภาพการผลิต และโจทย์ด้านตัวแปรคือประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อาทิ ราคาน้ำมัน และค่าเงิน ฯลฯ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของด้านตัวแปรมาก ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลค่อนข้างรุนแรงและเฉพาะหน้าต่อสภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตของอุตสาหกรรมไทยอยู่ที่ความสามารถในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ปัจจุบันปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันหากไม่มีการพัฒนาอาจจะกัดกร่อนศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย เพราะประเทศคู่แข่งของไทยในเวทีโลกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แนะเอกชน รัฐ และผู้รู้ทำงานร่วมกัน โดยภาคเอกชนจะต้องเป็นหัวหอกและหุ้นส่วนหลักในการพัฒนาพื้นฐานอุตสาหกรรม ส่วนรัฐบาลทำหน้าที่หุ้นส่วนรองในการสนับสนุน หากเอกชนละเลยแล้ว รัฐก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีบทบาทมาก และสำหรับอีกหุ้นส่วนหนึ่งก็คือ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการพัฒนา คิดค้น และจะต้องวางรากฐานความรู้ให้กับสังคมนี้อย่างเร่งด่วน เพราะในอนาคตอุตสาหกรรมไทยจะต้องพัฒนาและแข่งขันได้บนฐานความรู้ อย่างไร ยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาจจะต้องใช้เวลานานที่จะเห็นผล อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจกับหลายๆ ส่วน แต่ประเทศนี้หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องทำหากยังต้องการให้อุตสาหกรรมไทยแข็งขันได้ในเวทีโลกและรุ่งโรจน์ในอนาคต
ความสำเร็จของแนวคิดดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์โลกาภิวัฒน์ว่าด้วยการพัฒนาพื้นฐานของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้นั้น ภาคเอกชน
รัฐ และผู้รู้ร่วมกันคิดจะต้องมีการวางวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเพื่อให้ไทยสามารถขึ้นชั้นในการแข่งขันในเวทีโลก และนำเอาวิสัยทัศน์มาวางยุทธศาสตร์ และแผนปฎิบัติการ เพื่อความชัดเจนในการทำงานร่วมกัน
นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เชื่อว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เดินทางมาทิศทางนี้ไกลพอควรแล้ว และเชื่อว่าอุตสาหกรรมไทยจะสามารถทำได้จากความร่วมมือของทั้งสามฝ่าย
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปี 2551 ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหลายประการ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยสามารถชี้แจงในรายสาขาที่สำคัญ ได้แก่
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อันดับต้นๆ ของโลก การจัดทำวิสัยทัศน์อุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2554 จะมุ่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งนโยบายที่สำคัญที่ได้แก่ นโยบายส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-Car) และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง (Niche) การส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่งจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transport System ITS) เพื่อรองรับการเจริญเติบโตภายในประเทศ การสนับสนุนการใช้สิทธิประโยชน์จากการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำของอาเซียนในการผลิตและส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี 2555 มุ่งเน้นส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยแบ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Electronics Industry มุ่งผลักดันให้เป็น Electronics production-based และสร้าง Value creation ไปสู่อุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ในทศวรรษหน้า กลุ่ม Electrical Appliances มุ่งเพิ่มขีดความสามารถโดยการเร่งสร้างนวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ การรักษาตลาดเดิมและรุกเข้าสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพโดยเน้นการผลิตที่เอื้อต่อ
สิ่งแวดล้อม และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลัง ที่จะผลักดันให้ไทยเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ากำลังที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแข่งขันในตลาดสิ่งทอ โดยสาเหตุหลักเนื่องมาจากการบุกตลาดอย่างหนักหน่วงของสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน จึงทำให้สิ่งทอไทยได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวได้ในทิศทางที่ดี โดยจะพัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางสิ่งทอและแฟชั่นของภูมิภาคอาเซียน” ซึ่งจะมุ่งเน้นให้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทยขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยตลาดที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของไทย คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และอาเซียน และเพิ่มตำแหน่งการแข่งขันมูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มให้อยู่ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 15 ของโลก เป็นต้น
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ไปจะมีแนวนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะ “ผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารไทย (Products From Thailand) ติดอันดับ 1 ใน 3 ของทางเลือกของผู้บริโภคทั่วโลก” ผ่านยุทธศาสตร์ 4 ด้าน
ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารแปรรูปของไทย การส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนพัฒนาปัจจัยที่
เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรูปจากไทยว่าเป็นสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ
อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลอีกหนึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในเชิงโครงสร้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงมีการวางแนวทางพัฒนาเพื่อให้เป็น “ผู้นำในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในภูมิภาคอาเซียน-จีน-เอเชียใต้ และสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆของไทยอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2555” โดยการสร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมพลาสติก เน้นการเพิ่มความสามารถทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและการจัดการ เพื่อส่งต่อให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ บรรจุภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติก 5 % ต่อปี การทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก ให้ได้ 20 % ในปี 25505 และเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ย 10 % ต่อปี เป็นต้น
“ทุกโครงการทุกแผนงานที่วางไว้ถือเป็นแนวทางที่ได้ทำการศึกษาแล้วเป็นอย่างดีและมีหลักวิชาการรองรับ ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ ซึ่งหากได้รับการผลักดันสู่แนวปฏิบัติอย่างแท้จริงก็จะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของไทยเกิดความเข้มแข็ง และสามารถเติบโตอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพและผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้และขยายตัวได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้ สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แม้จะไม่มีสถาบันเฉพาะทางรองรับ สศอ. ก็ได้เข้าไปเป็นตัวช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนงาน ยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป” ดร. อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าต้องเน้นความสำคัญ โจทย์ด้านโลกาภิวัตน์คือตัวกำหนดความมั่นคงของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต โดยแบ่งออกเป็นโจทย์ด้านพื้นฐานและโจทย์ด้านตัวแปร ซึ่งด้านพื้นฐานคือขีดความสามารถในการแข่งขัน และด้านผลิตภาพการผลิต และโจทย์ด้านตัวแปรคือประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อาทิ ราคาน้ำมัน และค่าเงิน ฯลฯ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของด้านตัวแปรมาก ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลค่อนข้างรุนแรงและเฉพาะหน้าต่อสภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตของอุตสาหกรรมไทยอยู่ที่ความสามารถในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ปัจจุบันปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันหากไม่มีการพัฒนาอาจจะกัดกร่อนศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย เพราะประเทศคู่แข่งของไทยในเวทีโลกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แนะเอกชน รัฐ และผู้รู้ทำงานร่วมกัน โดยภาคเอกชนจะต้องเป็นหัวหอกและหุ้นส่วนหลักในการพัฒนาพื้นฐานอุตสาหกรรม ส่วนรัฐบาลทำหน้าที่หุ้นส่วนรองในการสนับสนุน หากเอกชนละเลยแล้ว รัฐก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีบทบาทมาก และสำหรับอีกหุ้นส่วนหนึ่งก็คือ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการพัฒนา คิดค้น และจะต้องวางรากฐานความรู้ให้กับสังคมนี้อย่างเร่งด่วน เพราะในอนาคตอุตสาหกรรมไทยจะต้องพัฒนาและแข่งขันได้บนฐานความรู้ อย่างไร ยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาจจะต้องใช้เวลานานที่จะเห็นผล อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจกับหลายๆ ส่วน แต่ประเทศนี้หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องทำหากยังต้องการให้อุตสาหกรรมไทยแข็งขันได้ในเวทีโลกและรุ่งโรจน์ในอนาคต
ความสำเร็จของแนวคิดดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์โลกาภิวัฒน์ว่าด้วยการพัฒนาพื้นฐานของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้นั้น ภาคเอกชน
รัฐ และผู้รู้ร่วมกันคิดจะต้องมีการวางวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเพื่อให้ไทยสามารถขึ้นชั้นในการแข่งขันในเวทีโลก และนำเอาวิสัยทัศน์มาวางยุทธศาสตร์ และแผนปฎิบัติการ เพื่อความชัดเจนในการทำงานร่วมกัน
นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เชื่อว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เดินทางมาทิศทางนี้ไกลพอควรแล้ว และเชื่อว่าอุตสาหกรรมไทยจะสามารถทำได้จากความร่วมมือของทั้งสามฝ่าย
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปี 2551 ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหลายประการ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยสามารถชี้แจงในรายสาขาที่สำคัญ ได้แก่
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อันดับต้นๆ ของโลก การจัดทำวิสัยทัศน์อุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2554 จะมุ่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งนโยบายที่สำคัญที่ได้แก่ นโยบายส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-Car) และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง (Niche) การส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่งจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transport System ITS) เพื่อรองรับการเจริญเติบโตภายในประเทศ การสนับสนุนการใช้สิทธิประโยชน์จากการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำของอาเซียนในการผลิตและส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี 2555 มุ่งเน้นส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยแบ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Electronics Industry มุ่งผลักดันให้เป็น Electronics production-based และสร้าง Value creation ไปสู่อุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ในทศวรรษหน้า กลุ่ม Electrical Appliances มุ่งเพิ่มขีดความสามารถโดยการเร่งสร้างนวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ การรักษาตลาดเดิมและรุกเข้าสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพโดยเน้นการผลิตที่เอื้อต่อ
สิ่งแวดล้อม และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลัง ที่จะผลักดันให้ไทยเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ากำลังที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแข่งขันในตลาดสิ่งทอ โดยสาเหตุหลักเนื่องมาจากการบุกตลาดอย่างหนักหน่วงของสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน จึงทำให้สิ่งทอไทยได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวได้ในทิศทางที่ดี โดยจะพัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางสิ่งทอและแฟชั่นของภูมิภาคอาเซียน” ซึ่งจะมุ่งเน้นให้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทยขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยตลาดที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของไทย คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และอาเซียน และเพิ่มตำแหน่งการแข่งขันมูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มให้อยู่ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 15 ของโลก เป็นต้น
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ไปจะมีแนวนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะ “ผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารไทย (Products From Thailand) ติดอันดับ 1 ใน 3 ของทางเลือกของผู้บริโภคทั่วโลก” ผ่านยุทธศาสตร์ 4 ด้าน
ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารแปรรูปของไทย การส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนพัฒนาปัจจัยที่
เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรูปจากไทยว่าเป็นสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ
อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลอีกหนึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในเชิงโครงสร้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงมีการวางแนวทางพัฒนาเพื่อให้เป็น “ผู้นำในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในภูมิภาคอาเซียน-จีน-เอเชียใต้ และสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆของไทยอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2555” โดยการสร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมพลาสติก เน้นการเพิ่มความสามารถทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและการจัดการ เพื่อส่งต่อให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ บรรจุภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติก 5 % ต่อปี การทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก ให้ได้ 20 % ในปี 25505 และเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ย 10 % ต่อปี เป็นต้น
“ทุกโครงการทุกแผนงานที่วางไว้ถือเป็นแนวทางที่ได้ทำการศึกษาแล้วเป็นอย่างดีและมีหลักวิชาการรองรับ ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ ซึ่งหากได้รับการผลักดันสู่แนวปฏิบัติอย่างแท้จริงก็จะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของไทยเกิดความเข้มแข็ง และสามารถเติบโตอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพและผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้และขยายตัวได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้ สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แม้จะไม่มีสถาบันเฉพาะทางรองรับ สศอ. ก็ได้เข้าไปเป็นตัวช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนงาน ยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป” ดร. อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-