ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 2561 โดย MPI ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 3.3
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีโดยเป็นการเติบโตเป็นบวกต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน กล่าวคือ ในเดือนตุลาคมมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม 2561 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนตุลาคมร้อยละ 2.1 เดือนพฤศจิกายนร้อยละ 0.9 และธันวาคม 2561 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ -1.9 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลปกติที่จะมีการเร่งการผลิตในเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายนเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่
- รถยนต์และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 จากรถกระบะ รถยนต์นั่งขนาดกลาง และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศเป็นหลัก เป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ผลิต ส่วนการส่งออกลดลงจากเครื่องยนต์ดีเซลและรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
- เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.94 จากฐานต่ำกว่าปกติในปีก่อนที่ผู้ผลิตบางรายหยุดทำการผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง รวมถึงมีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ โดยการขยายตัวของตลาดในประเทศ จากความต้องการเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ส่วนตลาดส่งออกมาจากการขยายตลาดในอิรัก เวียดนาม และอินโดนีเซีย
- น้ำตาลทราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56 จากน้ำตาลทรายดิบ และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากทุกโรงงานต้องเร่งผลิตให้ทันกับปริมาณอ้อยที่เข้าหีบ
- น้ำมันปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59 จากน้ำมันเครื่องบิน แก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันเบนซิน 95 ตามการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัว
- ยา เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.51 จากการเร่งผลิตยาบางตัว อาทิ ยาธาตุน้ำขาว ยาแก้ไอ ยาลดไข้สำหรับเด็ก เพื่อรักษาระดับสต๊อกของผู้ผลิต
ในปี 2562 คาดการณ์ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม จะขยายตัวเป็นบวกอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งจากผู้บริโภคและนักลงทุน แรงขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐจากความคืบหน้าของโครงการลงทุนสำคัญและการดำเนินงานภายใต้แผนงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนมกราคม 2562
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมกราคม 2562
- การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 1,589.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากการนำเข้าเครื่องกังหัน ไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ บางรายการยังคงขยายตัว เช่น เครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว และเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เป็นต้น
+ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 7,972.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย กระดาษและผลิตภัณฑ์การดาษ ยาง รวมทั้งเศษยาง เป็นต้น
- จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 287 โรงงาน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2561 ร้อยละ 15.1 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.6 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่ารวม 29,591 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2561 ร้อยละ 79.8 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 93.4 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (21 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (15 โรงงาน)"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2562 คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จำนวนเงินทุน 12,246 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 6,130 ล้านบาท"
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมกราคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 136 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2561 ร้อยละ 40.2 (%MoM) แต่ลงลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.4 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่ารวม 2,909.3 ล้านบาท ลงลงจากเดือนธันวาคม 2561 ร้อยละ 5.8 (%MoM) และลงลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.0 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (15 โรงงาน) รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (11 โรงงาน)
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมกราคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำอุปกรณ์ติดตั้ง หรือเต้าเสียบหลอดไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้า มูลค่าเงินลงทุน 651 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารที่ทำจากโลหะ มูลค่าเงินลงทุน 346 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมกราคม 2562
+ การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนธันวาคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 (%YoY) แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ ทูน่ากระป๋อง กุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง และ ไก่แปรรูป ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.4 8.2 และ 1.0 ตามลำดับ (%YoY) จากความต้องการของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการผลิตน้ำตาลทราย ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.6 (%YoY) เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าหีบจำนวนมาก และโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดอ้อยได้ดีขึ้น
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ นมพร้อมดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ดัชนีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7 4.6 และ 2.8 ตามลำดับ (%YoY) เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนมกราคม 2562 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.1 (%YoY) เนื่องจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวอย่างมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 500 บาท/คน ในช่วงปลายปี 2561 หมดลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงยังเป็นปัจจัยที่กดดันรายได้ครัวเรือนเกษตร
- ตลาดส่งออก ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนมกราคม 2562 ปรับตัวลดลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 1.5 (%YoY) ในสินค้าสำคัญ เช่น มันเส้น น้ำตาลทรายขาว สับปะรดกระป๋อง น้ำตาลทรายดิบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง และข้าวหอมมะลิ โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 59.3 45.1 27.3 15.6 9.7 3.3 และ 2.3 ตามลำดับ (%YoY) เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มโตเต็มศักยภาพและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็เริ่มชะลอลง และยังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาบางส่วน แม้สินค้าสำคัญ อาทิ ข้าวขาว แป้งมันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ซาร์ดีนกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง สิ่งปรุงรส ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าของตลาดโลก
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าการผลิตและมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีแนวโน้มดีขึ้นจาก อุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และประเทศ คู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจัยบวกจากEU ปลดล็อคใบเหลือง IUU Fishing หนุนภาพลักษณ์ประมงไทย และการเลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ไปอีก 90 วัน ของสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา และจีน
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 96.7 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลมตามบ้าน เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และคอมเพรสเซอร์ โดยลดลงร้อยละ 42.6, 30.7, 19.3, 8.3, 5.9, 4.7, 3.8, 3.8 และ 2.3 ตามลำดับ โดยสายไฟฟ้าซึ่งมีตัวเลขลดลงมากเนื่องจากฐานการคำนวณในปีที่ผ่านมาสูงกว่าปกติเนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ให้นำสายไฟฟ้าลงดิน ส่วนพัดลมตามบ้าน กระติกน้ำร้อน และหม้อแปลงไฟฟ้ามีการผลิตที่ลดลงจากตลาดในประเทศ ส่วนสินค้าตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ และเครื่องซักผ้ามีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากตลาดต่างประเทศและมีการนำสินค้าคงคลังมาจำหน่าย อย่างไรก็ตามสินค้าปรับตัวที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต หม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0, 23.1, 16.6 และ 9.2 ตามลำดับ ทั้งนี้สินค้าเครื่องปรับอากาศมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากความต้องการของทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาและอินเดีย
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,904.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียนและจีน โดยสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 422.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.5 โดยลดลงในตลาดญี่ปุ่นและเวียดนามร้อยละ 58.4 และ 26.5 ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 127.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9 ในขณะที่แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 151.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบมีมูลค่า 135.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 141.7 เนื่องจากมาตรการ Safeguard สินค้าเครื่องซักผ้าที่สหรัฐอเมริกามีต่อไทยเริ่มมีผลเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว ทั้งนี้เครื่องซักผ้าบางรุ่นยังคงส่งออกไปสหรัฐอเมริกาได้ ทำให้เทียบกับฐานการส่งออกปีที่แล้วมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
"คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อจากอาเซียนเพิ่มขึ้น"
- การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 86.9 ลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, PCBA, IC และ Printer โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8, 8.0, 3.8 และ 2.8 ตามลำดับ โดย IC ปรับตัวลดลงเนื่องจากคำสั่งซื้อจากประเทศฮ่องกงและจีนที่ลดลง ส่วน HDD ปรับตัวลดลงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี SSD ที่เข้ามาแทนที่ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและราคาที่ลดลง ใกล้เคียงกับ HDD มากขึ้น ในขณะที่ PWB (Printed Wiring Board) และ Semiconductor devices transistor เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 0.6 ตามลำดับ โดยเติบโตตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,814.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,425.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.1 HDD มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 17.3 ลดลงในตลาดจีนร้อยละ 39.4 และสหรัฐอเมริการ้อยละ 21.7 ในขณะที่แผงวงจรไฟฟ้า (IC) มีมูลค่าส่งออก 634.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 โดยลดลงในตลาดฮ่องกง จีนและสหรัฐอเมริการ้อยละ 14.1, 5.5 และ 14.4 ตามลำดับ เนื่องจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกของไทย
"คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ชะลอตัว โดย HDD ชะลอตัวลดลงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี SSD ที่เข้ามาแทนที่ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประกอบกับราคาที่ลดลง แต่ HDD ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในตลาด Data Center และระบบ Cloud จากการพัฒนาเพิ่มความจุข้อมูล อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีสัญญาณผ่อนคลายลง"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
+ การผลิตรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 179,595 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 6.05 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.06 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
+ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 78,061 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 31.27 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.31 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV เนื่องจากการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน
- การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 81,583 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 14.49 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.59 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในประเทศแถบโอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรปและอเมริกากลางและใต้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ"
+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 166,699 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 12.04 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.52 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
+ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 148,917 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 8.46 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.98 (%YoY)จากการปรับลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดน้อยกว่า 50 ซีซี, 51-110 ซีซี และ 111-125 ซีซี
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 28,213 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 26.38 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.87 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 จะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 4.54 ตามปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง และคำสั่งซื้อจากจีนที่ปรับลดลงร้อยละ 27.94 เนื่องจากมีปริมาณยางในสต็อกค่อนข้างสูง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.50 จากการชะลอตัวต่อเนื่องของตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.96 ตามการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 3.71 ตามความต้องการใช้ที่ลดลงจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดยางล้อในประเทศ
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.48 ตามการหดตัวของตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของถุงมือตรวจโรคและถุงมือสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 15.09 เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยสั่งซื้อยางจากไทยลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเป็นช่วงที่จีนใกล้เข้าสู่เทศกาลตรุษจีน
+ ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 14.46
+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น ตามลำดับ
การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับลดลงตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางที่ลดลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูปิดกรีด สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะทรงตัวหรือปรับลดลงเล็กน้อยตามการชะลอตัวของตลาด Replacement และผลกระทบจากการประกาศมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางล้อ เลขที่ มอก.2718-2720 (2560) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ในผู้ผลิตบางรายที่ไม่สามารถขอการรับรองได้ทัน ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะขยายตัวได้ดีตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงเนื่องจากจีนมีวันหยุดยาวตั้งแต่ 4-10 กุมภาพันธ์ 2562 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่การส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
- ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2562 ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 4.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งค่าดัชนีผลผลิตลดลงเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ยกเว้นกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ (ขวด กล่อง ลัง) โดยดัชนีผลผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่นลดลงมากที่สุด คือ ร้อยละ 20.87 เนื่องจากการปรับลดการผลิตเพื่อรักษาระดับสต๊อกให้เหมาะสม
+ ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2562 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงโดยค่าดัชนีส่งสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.01 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27
+ การส่งออก เดือนมกราคม ปี 2562 มีมูลค่า 336.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้าเดิม เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และตลาดใหม่ เช่น ASEAN อินเดีย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้นและผนัง (3918) และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ เทป แถบ และรูปทรงแบนอื่น ๆ (3919) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 20.88 และ 15.09 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณการส่งออกที่มีประมาณ 93,595 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้นและผนัง (3918) มีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.28
+ การนำเข้าเดือนมกราคม ปี 2562 มีมูลค่า 452.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบอาคาร (3925) กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้นและผนัง (3918) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (3924) โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.69 40.60 และ 31.74 ตามลำดับ ซึ่งมีทิศทางเดียวกับปริมาณการนำเข้าที่มีประมาณ 85,310 ตัน หรือเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 19.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปริมาณการนำเข้าหลัก ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่มนี้เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.31 36.89 และ 33.18 ตามลำดับ คาดว่าเป็นการนำเข้าเพื่อรองรับการก่อสร้างและการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกุมภาพันธ์ 2562 คาดการณ์ว่าการผลิตและการตลาดจะทรงตัว เนื่องจากตลาด คู่ค้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่สูงนัก ประกอบกับความผันแปรของราคาน้ำมันและค่าเงินบาททีอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิต
- ดัชนีผลผลิต ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีค่า 90.26 ลดลงร้อยละ 3.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตมีการลดลงทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานลดลงร้อยละ 1.77 และกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายลดลงร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศที่สูงขึ้น
- การจำหน่าย เดือนมกราคม ปี 2562 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า 89.23 ลดลงร้อยละ 5.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 6.80 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย เครื่องสำอาง และสารลดแรงตึงผิว ลดลงร้อยละ 32.77, 4.25 และ 2.46 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
+ การส่งออก เดือนมกราคมปี 2562 มีมูลค่ารวมประมาณ 707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 425 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ตามลำดับ ตลาดหลักที่ส่งออก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่ารวม 283 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสำอาง ปุ๋ย และสารลดแรงตึงผิว ตามลำดับ และตลาดหลักในการส่งออกเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน
+ การนำเข้า ในช่วงเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่ารวม 1,359 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่ารวม 923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ตามลำดับ ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่ารวม 434 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปุ๋ย เครื่องสำอาง และสารลดแรงตึงผิว ตามลำดับ โดยตลาดหลักที่นำเข้าเคมีภัณฑ์ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และตลาด CLMV ซึ่งขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง
- ดัชนีผลผลิต ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีค่า 110.05 ลดลงร้อยละ 1.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุปาบึกในช่วงต้นเดือนมกราคม ทำให้มีวัตถุดิบในการผลิตลดลง
การผลิตปิโตรเคมีขั้นต้นที่สำคัญ ได้แก่ เอทีลีน (Ethylene) ดัชนีผลผลิตมีค่า 109.01 ลดลงร้อยละ 3.72 ส่วนโพรพิลีน (Propylene) มีค่า 116.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายที่สำคัญ ได้แก่ Polyethylene resin (PE) ดัชนีผลผลิตมีค่า 108.47 เพิ่มขี้นร้อยละ 3.17 และ Polypropylene resin (PP) มีค่า 117.97 ลดลงร้อยละ 2.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การจำหน่าย ในเดือนมกราคม ปี 2562 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 107.30 ลดลงร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากลูกค้าบางส่วนชะลอการรับสินค้าลง
ราคาเอทิลีนและโพรพิลีนในตลาดเอเชียเดือนมกราคม ปี 2562 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25.71 และ 27.77 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าราคาเอทิลีนและโพรพิลีนปรับตัวลดลงจากราคา 41.49 และ 31.06 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CFR) ของ LDPE, LLDPE, HDPE และ PP ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 33.09, 32.80, 34.55 และ 35.54 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน พบว่าราคาเฉลี่ยของ PE ได้แก่ LDPE LLDPE HDPE และ PP ปรับตัวลดลงจากระดับราคา 40.02, 38.78, 42.13 และ 39.38 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
- การส่งออก ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีปริมาณ 707.662 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกที่ลดลงของเม็ดพลาสติกประเภท PC ที่ส่งออกลดลง 2,593 เมตริกตัน จากตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย และ PET สำหรับผลิตขวดพลาสติก ที่ส่งออกลดลง 1,112 เมตริกตัน จากตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
- ดัชนีผลผลิต ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีค่า 98.1 ลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561-มกราคม 2562 และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับลดลงทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 94.3 ลดลงร้อยละ 12.6 เป็นผลมาจากการลดลงของการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 38.0 (เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยประเทศหลักที่นำเข้า เช่น จีน และเกาหลีใต้) ลดลง 10 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนเมษายน 2561-มกราคม 2562 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลงร้อยละ 27.1 และ 11.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 99.7 ลดลงร้อยละ 2.5 จากการผลิตเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลงร้อยละ 15.0 ลดลง 3 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561-มกราคม 2562 รองลงมา คือ ลวดเหล็ก และเหล็กลวด ลดลงร้อยละ 4.4 และ 3.7 ตามลำดับ
+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนมกราคมปี 2562 มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากการจำหน่ายเหล็กลวด และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ รีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และ 6.7 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 0.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.9 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 13.3 รองลงมา คือ เหล็ก แผ่นบางรีดร้อน และเหล็ก แผ่นบางรีดเย็น ลดลงร้อยละ 9.9 และ 0.5 ตามลำดับ
+ การนำเข้า ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีปริมาณ 1.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.4 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ประเภท Carbon Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 145.3 จากประเทศจีน และตุรกี รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Alloy Steel และ Carbon Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 132.5 และ 37.0 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 4.1 จากการนำเข้าท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลงร้อยละ 47.0 (ประเทศหลักที่นำเข้าลดลง คือ เวียดนาม และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบาง รีดร้อน ประเภท Alloy Steel และ Stainless Steel ลดลงร้อยละ 43.0 และ 20.2 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 คาดการณ์ว่า การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับการการประกาศใช้มาตรการคุ้มครองแบบแน่นอน (Definitive Safeguard Measure) ของสหภาพยุโรปกับสินค้าเหล็ก 28 รายการ โดยจะเก็บภาษีศุลกากรร้อยละ 25 สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าเกินปริมาณการนำเข้าปกติ สำหรับสินค้าเหล็กของประเทศไทย ได้รับยกเว้นการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองกับสินค้า 27 รายการ ยกเว้นสินค้าในหมวด Stainless Cold Rolled Sheets and Strips จะถูกเก็บภาษีเพิ่มหากมีการส่งออกเกินโควตาที่ได้รับ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ลดลง ร้อยละ 5.12 และ 3.52 (%YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ตุรกี บังคลาเทศ และเกาหลีใต้ เพื่อนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มลดลง
+ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.71 (%YoY) จากการผลิตเสื้อผ้าบุรุษและสตรีเพื่อส่งออกให้แบรนด์ต่างประเทศ
- เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 3.57 และ 1.98 (%YoY) เนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาใช้แทนวัตถุดิบในประเทศ และความนิยมเสื้อผ้านำเข้าจากต่างประเทศทั้งกลุ่มเสื้อผ้าแบรนด์ดัง และกลุ่มเสื้อผ้าราคาถูก
+ ผ้าผืน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.86 (%YoY) เนื่องจากมีการนำเข้าผ้าผืนบางส่วนมาใช้เพื่อผลิตเสื้อผ้าส่งออกให้แบรนด์ต่างประเทศ
- กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 5.13 และ 3.56 (%YoY) โดยการส่งออกสินค้าประเภทด้ายฝ้ายและด้ายเส้นใยสังเคราะห์ (ในกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ) ไปยังตลาดสำคัญลดลง ได้แก่ ตุรกี บังคลาเทศ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ในส่วนตลาดผ้าผืนที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม และเมียนมา มีมูลค่าลดลงเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความวุ่นวายทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้การลงทุนในตลาดดังกล่าวชะลอตัวจึงสั่งซื้อวัตถุดิบจากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม เส้นใยอะคริลิค ซึ่งเป็นเส้นใยสมบัติพิเศษยังสามารถขยายตัวได้ในตลาดผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย โดยเป็นการจำหน่ายสินค้าในสต๊อก
+ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.95 จากการที่ไทยได้รับความไว้วางใจในการผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ต่างประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นรูปแบบการรับจ้างออกแบบและผลิต (ODM)
ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะชะลอตัวตามแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้การค้า การลงทุนในตลาดดังกล่าวชะลอตัว มีผลต่อผู้ผลิตซึ่งจะทำให้มีความต้องการวัตถุดิบจากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มที่ยกระดับไปรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ต่างประเทศ
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 6.70 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 5.01 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.47 (%YoY)
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศในเดือนมกราคม ปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 2.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 6.43 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.70 (%YoY)
+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 1.04 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 23.78 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.95 (%YoY) เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากจากการส่งออกไปตลาดฟิลิปปินส์ โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 190.14
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 จะสามารถขยายตัวได้อีกเล็กน้อย
- การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 3.19 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 5.46 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.26 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ภายในประเทศในเดือนมกราคม ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 6.81 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 0.55 (%YoY)
+ การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2562 มีจำนวน 0.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2561 ร้อยละ 37.36 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.45 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักที่มีการผลิตในประเทศแล้วมีการปรับลดคำสั่งซื้อลง ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา ร้อยละ 35.67 10.24 และ 5.00 ตามลำดับ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยได้มีการออกไปลงทุนผลิตในตลาดหลักเดิมดังกล่าว
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีก
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม