สศอ. มองอุตฯ รายสาขา ปี 51 ยังมีกำแพงกั้น แต่คาดยังฝ่าได้ ลุยเช็คความพร้อมผู้ประกอบการ เจาะลึกทิศทาง อัญมณี-อาหาร-กระดาษ-สิ่งทอฯ สู่การขยายตัว
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2551 ยังมีทิศทางขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะดีขึ้น แม้วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกายังส่อเค้ายืดเยื้อ แต่ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งคาดว่าจะแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันใกล้ สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของไทยก็มีการกระจายความเสี่ยงไว้บ้างแล้ว โดยเฉพาะมีการทยอยลดสัดส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ลง และหันไปเพิ่มสัดส่วนในตลาดใหม่มากขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ.ได้วิเคราะห์แนวโน้มการขยายตัว 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ คือ อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและสิ่งพิมพ์ และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเพื่อรับทราบทิศทางการขยายตัว รวมทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือที่สำคัญโดยสรุปดังนี้
อุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่สำคัญ ไก่แช่เย็น-แช่แข็ง ในปี 2551 ภาวะการผลิตคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ16 จากปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 การส่งออก คาดว่าจะส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่รวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-10 จากปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 4.5 โดยคาดว่าในปี 2551 จะมีปัจจัยบวกจากการที่สินค้าได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและความปลอดภัย รวมทั้งผลจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จึงสามารถทำตลาดได้ดีขึ้น โดยผู้ประกอบการเสนอมาตรการให้รัฐบาลรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้เคลื่อนไหวรุนแรง การลดต้นทุนด้าน logistics และควรนำเอกชนไปร่วมพบปะกับภาครัฐและเอกชนของต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงตลาดทำได้โดยตรง
อัญมณีและเครื่องประดับ ในปี 2551 สินค้าสำคัญในหมวด การผลิตเพชร คาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 1 จากปี 2550 เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกในตลาด อิสราเอล เบลเยี่ยม ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนการผลิตเครื่องประดับแท้ประกอบด้วยทอง เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2-3 เนื่องจากยอดการสั่งซื้อเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองลดลง เพราะราคาทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินอาจถูกใช้เป็นตัวแทนได้ ภาวะการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-12 ซึ่งขยายตัวได้น้อยเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550 เนื่องจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐฯ ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย และที่สำคัญสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักในการส่งออกที่สำคัญของไทยทำให้มีผลกระทบต่อการขยายตัว อย่างไรก็ตามการหาตลาดใหม่ และผลจาก JTEPA จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 10 -12 ได้ โดยจะมีปัญหาค่าเงินบาทแข็ง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบ
กลุ่มสินค้ากระดาษและสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2550 เนื่องจากแนวนโยบายที่จะผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็น Hub การพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน การส่งออกกระดาษ ปี 2551 มูลค่าการส่งออกคาดว่า จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2550 เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งพิมพ์ ปี 2551 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19 เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน และการมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร ประกอบกับคุณภาพงานพิมพ์ของไทยอยู่ในระดับสากล ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย ด้านมาตรการสนับสนุนการขยายตัวผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ของไทยในศักยภาพการผลิต และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรเพื่อเพิ่มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปี 2550 เนื่องจากไทยได้บรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยคึกคักมากขึ้น โดย อุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำและกลางน้ำ ได้แก่ กลุ่มเส้นใยฯ เส้นด้าย และผ้าผืน คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.8 การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มหรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในปี 2551 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.5 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 และจะพัฒนาการส่งออกขึ้นไปอยู่อันดับที่ 15 ของโลก ภายในปี 2555 โดยตลาดที่จะขับเคลื่อนการเติบโต คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และอาเซียน ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังต้องการให้มีการเพิ่มตลาดใหม่ในอาเซียนเข้ามาชดเชยตลาดสหรัฐอเมริกาที่ถดถอย และต้องการให้พัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ 186.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 จาก 163.29 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 จาก164.83 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 185.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.41 จาก 168.00 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ176.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.78 จาก 139.43 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 จาก 112.74 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 145.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.11 จากระดับ 138.43 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 166.58 ลดลงร้อยละ 2.68 จาก 171.16 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.99
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2551 ยังมีทิศทางขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะดีขึ้น แม้วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกายังส่อเค้ายืดเยื้อ แต่ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งคาดว่าจะแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันใกล้ สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของไทยก็มีการกระจายความเสี่ยงไว้บ้างแล้ว โดยเฉพาะมีการทยอยลดสัดส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ลง และหันไปเพิ่มสัดส่วนในตลาดใหม่มากขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ.ได้วิเคราะห์แนวโน้มการขยายตัว 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ คือ อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและสิ่งพิมพ์ และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเพื่อรับทราบทิศทางการขยายตัว รวมทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือที่สำคัญโดยสรุปดังนี้
อุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่สำคัญ ไก่แช่เย็น-แช่แข็ง ในปี 2551 ภาวะการผลิตคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ16 จากปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 การส่งออก คาดว่าจะส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่รวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-10 จากปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 4.5 โดยคาดว่าในปี 2551 จะมีปัจจัยบวกจากการที่สินค้าได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและความปลอดภัย รวมทั้งผลจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จึงสามารถทำตลาดได้ดีขึ้น โดยผู้ประกอบการเสนอมาตรการให้รัฐบาลรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้เคลื่อนไหวรุนแรง การลดต้นทุนด้าน logistics และควรนำเอกชนไปร่วมพบปะกับภาครัฐและเอกชนของต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงตลาดทำได้โดยตรง
อัญมณีและเครื่องประดับ ในปี 2551 สินค้าสำคัญในหมวด การผลิตเพชร คาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 1 จากปี 2550 เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกในตลาด อิสราเอล เบลเยี่ยม ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนการผลิตเครื่องประดับแท้ประกอบด้วยทอง เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2-3 เนื่องจากยอดการสั่งซื้อเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองลดลง เพราะราคาทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินอาจถูกใช้เป็นตัวแทนได้ ภาวะการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-12 ซึ่งขยายตัวได้น้อยเมื่อเทียบกับการขยายตัวของปี 2550 เนื่องจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐฯ ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย และที่สำคัญสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักในการส่งออกที่สำคัญของไทยทำให้มีผลกระทบต่อการขยายตัว อย่างไรก็ตามการหาตลาดใหม่ และผลจาก JTEPA จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 10 -12 ได้ โดยจะมีปัญหาค่าเงินบาทแข็ง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบ
กลุ่มสินค้ากระดาษและสิ่งพิมพ์ ในปี 2551 คาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2550 เนื่องจากแนวนโยบายที่จะผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็น Hub การพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน การส่งออกกระดาษ ปี 2551 มูลค่าการส่งออกคาดว่า จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2550 เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งพิมพ์ ปี 2551 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19 เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน และการมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร ประกอบกับคุณภาพงานพิมพ์ของไทยอยู่ในระดับสากล ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย ด้านมาตรการสนับสนุนการขยายตัวผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ของไทยในศักยภาพการผลิต และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรเพื่อเพิ่มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปี 2550 เนื่องจากไทยได้บรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยคึกคักมากขึ้น โดย อุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำและกลางน้ำ ได้แก่ กลุ่มเส้นใยฯ เส้นด้าย และผ้าผืน คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.8 การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มหรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในปี 2551 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.5 ส่วนการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 และจะพัฒนาการส่งออกขึ้นไปอยู่อันดับที่ 15 ของโลก ภายในปี 2555 โดยตลาดที่จะขับเคลื่อนการเติบโต คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และอาเซียน ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังต้องการให้มีการเพิ่มตลาดใหม่ในอาเซียนเข้ามาชดเชยตลาดสหรัฐอเมริกาที่ถดถอย และต้องการให้พัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ 186.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 จาก 163.29 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 จาก164.83 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 185.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.41 จาก 168.00 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ176.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.78 จาก 139.43 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 จาก 112.74 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 145.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.11 จากระดับ 138.43 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 166.58 ลดลงร้อยละ 2.68 จาก 171.16 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.99
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-