บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2/2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.6 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2562 อาทิ การผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากปีนี้ปิดหีบการผลิตเร็วกว่าปีก่อน จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตอ้อย ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ ลดลงจากสินค้ายางแท่งและยางแผ่น เนื่องจากรัฐออกมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพาราเป็นระยะเวลา 4 เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง จากสินค้า Hard Disk Drive (HDD) ที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลสู่เทคโนโลยี SSD (Solid State Drive) สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและโน้ตบุ๊กรวมถึงการแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ ประกอบกับการพัฒนา Hard Disk Drive ให้มีความจุสูงเพิ่มขึ้นส่งผลต่อปริมาณการผลิตที่ลดลง สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2562 อาทิ เครื่องปรับอากาศ การผลิตเพื่อขายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีก่อน รวมถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเครื่องปรับอากาศประเภทอินเวอร์เตอร์ที่มีจุดขายด้านการประหยัดพลังงาน ในขณะที่คำสั่งซื้อจากต่างประเทศได้รับผลดีจากสภาพอากาศเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในตลาดหลักจากกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังมีลูกค้าใหม่จากประเทศอินเดีย และลูกค้าเก่าจากกลุ่มยูโรโซนที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น น้ำมันปาล์ม ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากน้ำมันปาล์มดิบ เป็นหลัก จากมาตรการรัฐที่แก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา (นำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน) เพื่อลดสต็อกน้ำมันปาล์ม และช่วยดึงราคาปาล์มให้สูงขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าการผลิตปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ไฟฟ้า คาดว่า จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลต่อการส่งออกของไทย
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 3.1 และ 7.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการ HDD และความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว
รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 520,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55
รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 480,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่าการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์จะทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ตามทิศทางการตลาดและความต้องการใช้ของผู้มีคำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกเว้นกลุ่มบรรจุภัณฑ์กระดาษ คาดว่า จะขยายตัวได้ต่อเนื่องถึงสิ้นปี สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไตรมาสที่ 3 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นไปยังประเทศจีน และตลาดอาเซียน
เซรามิก การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 3 ของปี 2562 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย ส่วนปริมาณการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นเล็กน้อยจากความสนใจเข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของผู้ประกอบการจากประเทศจีน เนื่องจากผลพวงจากสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย ตามทิศทางตลาดส่งออกและความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัว ในส่วนการส่งออกคาดว่าเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะลดลงเนื่องจากสถานการณ์ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะ จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะยังขยายตัวได้จากความสามารถในการรับจ้างออกแบบและผลิตเสื้อผ้าบุรุษและสตรีให้กับแบรนด์ต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย
ไม้และเครื่องเรือน การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศเป็นหลัก ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะยังคงมีปริมาณลดลง ตามแนวโน้มการส่งออกไม้แปรรูปไปยังจีนที่คาดว่าจะยังคงมีปริมาณลดลง
ยา การผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.47 และ 2.08 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.21 และ 2.18 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.60 ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางธรรมชาติที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นและแนวโน้มคำสั่งซื้อของจีนที่คาดว่าจะขยายตัว
รองเท้าและเครื่องหนัง การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 3 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตชะลอตัว เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ของตัวเองหันไปจ้างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ผลิตแทน อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเพื่อส่งออกตามความต้องการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศ CLMV ความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ทำให้การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อาหาร คาดว่าดัชนีการผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7 และ 3.8 ตามลำดับ จากปัจจัยบวกอย่างความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศของสินค้าสำคัญ อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป แป้งมันสำปะหลัง สิ่งปรุงรส และเครื่องดื่ม อีกทั้งน่าจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ แม้ฐานการผลิตและการส่งออกที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน ประกอบกับปัจจัยลบอย่างภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลง รวมทั้งทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2562
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.07 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (109.83) ร้อยละ 8.89 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (102.79) ร้อยละ 2.64
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 102.70 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (105.50) ร้อยละ 2.66 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (104.19) ร้อยละ 1.44
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตน้ำตาล และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 132.47 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (137.63) ร้อยละ 3.75 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (118.78) ร้อยละ 11.53
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 65.58 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 71.26) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (ร้อยละ 68.16)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 95.13 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (95.23) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (90.33) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 102.03 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (102.17)
ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 มาจากการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ สะท้อนจากการใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาในช่วงเปิดภาคเรียนและยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านขยายตัวต่อเนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อน รวมทั้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่องในการสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทยอยใช้งานได้ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับความชัดเจนทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล ปัญหาภัยแล้งในภูมิภาคต่าง ๆ และการค้าโลกที่ชะลอตัวจากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ยังยึดเยื้อ
"มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ในภาพรวมหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และอุปสงค์กลุ่มประเทศคู่ค้าหลักชะลอตัวลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ยังคงเกินดุล 1,936.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ"
สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่าทั้งสิ้น 120,029.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 60,982.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการนำเข้า 59,046.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 เกินดุล 1,936.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 60,982.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 5,681.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.3 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,720.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.7 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 48,316.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.4 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,264.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.8
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ที่หดตัวลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 6,614.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.9) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,496.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.5) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 2,677.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.1) อย่างไรก็ดี สินค้าบางรายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่าการส่งออก 4,078.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.6) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 3,167.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.9)
ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 25.8 11.8 11.6 9.7 และ 9.6 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลัก คิดเป็นร้อยละ 68.6 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.3 ขณะที่การส่งออกไปยัง จีน สหภาพยุโรป(27) อาเซียน(9) และ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 9.1 6.3 5.9 และ 2.3 ตามลำดับ
การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 59,046.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 9,996.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 3.4 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 14,971.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.2 สินค้าวัตถุดิบ และกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 23,719.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.0 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 6,733.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.4 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมีมูลค่าการนำเข้า 3,498.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.1 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 127.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.3
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ)และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 21.1 19.1 13.8 8.4 และ 6.3 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าไปยังตลาดสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 68.7 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.3 ของการนำเข้าทั้งหมด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า สหรัฐอเมริกามีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 7.6 ถัดมาเป็นตลาดอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 0.8 ขณะที่การนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ญี่ปุ่น และ จีน หดตัวลงร้อยละ 12.9 6.9 และ 2.0 ตามลำดับ
"เศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราที่ชะลอลง ตามวัฏจักรเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี"
ภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักชะลอตัวลง อันเป็นผลจากความตึงเครียดต่อสงครามการค้าเป็นสำคัญ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อภาคการผลิต การส่งออก และการนำเข้าไม่น้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25-2.50% โดยมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ลงอีก เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงเดิม
สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกชะลอการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีมติขยายเวลาลดปริมาณการผลิตน้ำมันออกไปถึงประมาณปลายปี 2562 โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 2 ปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 67.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ลดราคาลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 72.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 54.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องติดตาม อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน สหภาพยุโรป และความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2562 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 3/2562
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 จากการผลิตเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน แต่การผลิตเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น
การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 101.3 ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.8 (%YoY) (ลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 8.0 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 49.6 ลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกัน เนื่องจาก การบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกในประเทศลดลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ ผลไม้กระป๋อง รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 15.6 และ 8.4 ตามลำดับ แต่การผลิตเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เพิ่มขึ้น 2 ไตรมาสติดต่อกัน รองลงมา คือ เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 และ 9.5 ตามลำดับ เนื่องจาก การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างของภาครัฐ
การจำหน่าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 4,972,807 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.2 (%YoY) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 12.7 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบ HDG และ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 และ 5.8 ตามลำดับ การจำหน่ายเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น คือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
การนำเข้าไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.1 (%YoY) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 11.4 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 4.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง คือ เหล็กโครงสร้าง รีดร้อน ประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 49.2 (ประเทศหลักที่นำเข้า คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Stainless Steel และเหล็กลวด ประเภท Stainless Steel ลดลงร้อยละ 33.6 และ 26.6 ตามลำดับ การนำเข้าเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 1.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง คือ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลงร้อยละ 51.1 (ประเทศหลักที่นำเข้า คือ เวียดนาม และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบ EG และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel ลดลงร้อยละ 16.1 และ 13.8 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ปี 2562 คาดการณ์ว่าการผลิตปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนจาก การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม ในขณะที่สินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์ ส่วนการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอาเซียน
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 3,944.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 1.8 (%QoQ) ในขณะที่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.4 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 15.6 ในขณะที่เครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 106.8 เพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 2.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9, 9.4 และ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 25.5, 22.6, 20.3, 16.4, 12.6, 9.9, 2.7 และ 0.2 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2562 สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น พัดลม และมอเตอร์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2, 27.1, 23.9, 21.9 และ 4.8 ตามลำดับ ในขณะที่สายไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน คอมเพรสเซอร์ หม้อหุงข้าว และเครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 20.2, 12.1, 11.8, 11.0 และ 5.8 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2562 มีมูลค่าการส่งออก 6,114.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 0.6 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.3 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4, 9.9 และ 1.1 โดยสินค้าเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 9.8 และ 6.6 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าเครื่องซักผ้าและเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบปรับตัวลดลง ร้อยละ 23.0 และ 6.0
อุตสาหกรรมไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่า จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลต่อการส่งออกของไทย
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ลดลงและผลกระทบมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อห่วงโซ่การส่งออกของไทย รวมถึงเทคโนโลยี SSD เข้ามาแทนที่ตลาด HDD มากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistors, HDD, IC และ PWB การส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวลดลง
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่าการนำเข้า 8,664.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 1.2 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.7 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 10.0 วงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.9 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 91.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 2.4 (%QoQ) แต่ลดลงร้อยละ 8.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistors, HDD, IC และ PWB ลดลงร้อยละ 22.1, 15.0, 5.8 และ 1.6 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกลดลง รวมถึงสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกของไทย
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่าการส่งออก 8,765.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.4 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.0 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.8, 11.3, 7.6, 7.0 และ 4.4ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 9.9 โดย HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1 เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกลดลงและ supply ของ SSD ส่วนเกินทำให้ราคาลดลงและแย่งตลาด HDD มากขึ้น ส่วน IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.8 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 3.1 และ 7.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการ HDD และตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวลง และการจำหน่ายในประเทศที่เริ่มชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว
ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 520,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 504,458 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 10.16 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 2.40 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 41 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 57 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 260,221 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 1.26 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.25 (%YoY) แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 40 รถกระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ ร้อยละ 43 รถ PPV ร้อยละ 13 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 4
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 260,020 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 13.28 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.52 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 56 และรถ PPV ร้อยละ 9
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 2,326.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 2.08 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.23 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 2,811.30 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 4.09 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.42 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2ปี 2562มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกมีการขยายตัว ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 480,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 463,589 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 9.42 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 7.99 (%YoY)
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 431,797 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 6.55 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.05 (%YoY)
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 218,128 คัน (เป็นการส่งออก CBU 97,836 คัน และ CKD 120,292 ชุด) ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 20.74 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.02 (%YoY)
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 185.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 9.44 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.11 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิล และอินโดนีเซีย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 145.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 14.02 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.77 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม
มูลค่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2562ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ5.47 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.19 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่ม ได้แก่ เครื่องสำอาง ส่วนมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2562 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ลดลงร้อยละ 7.50 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์พื้นฐาน ซึ่งมาจากความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของไทย
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงร้อยละ 4.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตของกลุ่มเคมีขั้นปลายที่ส่งผลให้ลดลงในไตรมาสนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์มีการผลิตลดลง ได้แก่ ปุ๋ย และเคมีทำความสะอาด
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 2,253 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 5.47 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.19 (%YoY) จากเคมีภัณฑ์ขั้นปลายซึ่งมีมูลค่า 1,177 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสำอาง
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 4,064 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 3.01 (%QoQ) และลดลงร้อยละ 7.50 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน 2,406 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.39 และเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 1,658 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสำอาง
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงประมาณร้อยละ 5.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.91 และ 8.51 ตามลำดับ โดยของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923) และพลาสติกแผ่นบาง ฟิล์ม ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (3920) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับภาพรวมการส่งออก ประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในขณะที่ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มีคำสั่งซื้อลดลง
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงร้อยละ 3.45 (%QoQ) จากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 และลดลงร้อยละ 1.52 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีผลผลิตที่ลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ลดลงร้อยละ 12.91
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงร้อยละ 5.03 (%QoQ) จากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 และลดลงร้อยละ 1.68 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่ลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ลดลงร้อยละ 17.43
ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 301,755 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 5.43 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.91 (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (3923) รองลงมา คือ แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์(3920)
ปริมาณการนำเข้าไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 227,787 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 6.33 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.51 (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (3920) รองลงมา คือ พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรม (3926)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 คาดว่ามีปริมาณการส่งออกประมาณ 298,447 ตัน ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.47 และมีปริมาณการนำเข้า 228,061 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.41 อย่างไรก็ตาม จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ปัญหาสงครามการค้าของจีน-สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้การตลาดและการจำหน่ายมีการเปลี่ยนแปลงได้
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ราคาแนฟทาของตลาดเอเชีย ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 16.38 ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย และความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และ อินเดีย เป็นต้น
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตที่ส่งผลให้ลดลงใน ไตรมาสนี้ของปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene Ethylene ส่วน ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS Resin, SAN resin และ PP resin เป็นต้นดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีส่งสินค้าที่ส่งผลให้ลดลงในไตรมาสนี้ของปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene, Propylene และ Ethylene ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS Resin, SAN resin และ PS resin เป็นต้น
ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 2.578 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 จากไตรมาส 1 (%QoQ) หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ทั้งนี้ในภาพรวมมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน (38.74%) อินโดนีเซีย (10.02%) เวียดนาม (8.78 %) อินเดีย (8.43%) และ ญี่ปุ่น (6.62%) เป็นต้น ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชีย
- ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่มีการส่งออกเพิ่ม ได้แก่ Diethyl Ether (87.97%) Ethylene Glycol (77.76%) และ ButaDiene ( 14.28%)
- ปิโตรเคมีขั้นปลายที่มีการส่งออกเพิ่ม ได้แก่ Nylon resin (23.93%) PP resin (20.60%) PVC resin (7.81%) และ PE resin (4.90%)ปริมาณการนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 0.971 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.94 จากไตรมาส 1 ปี 2562 (%QoQ) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ทั้งนี้ในภาพรวมมีนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ (13.43%) สิงคโปร์ (12.88%) จีน (11.80%) อินโดนีเซีย (10.57%) และมาเลเซีย (10.49%) เป็นต้น
- ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ Vinyl Chloride (24.99%) Ethylene (7.88%) Ethylene Glycol (7.15%) และ Acetic Acid (3.35%)
- ปิโตรเคมีขั้นปลายที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ BR Rubber (20.34%) PET resin (19.16%) PE resin (14.66%) และ Nylon resin (2.76%)
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 3 ปี 2562 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกประมาณ 2.694 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ร้อยละ 4.53 เนื่องจากมีการขยายความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน และช่วงที่ผ่านมาตลาดส่งออกที่สำคัญมีการขยายตัว ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น สำหรับปริมาณการนำเข้าคาดว่าจะมีประมาณ 1.025 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ร้อยละ 5.57 เนื่องจากคาดว่าจะมีการนำเข้าสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
การผลิตเยื่อและกระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตฯ เพิ่มขึ้น (%QOQ) ในกลุ่มเยื่อกระดาษ และกระดาษคราฟต์ ซึ่งมีทิศทางเดียวกับการส่งออก มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มพิมพ์เขียน กระดาษคราฟต์ กระดาษแข็ง กระดาษชำระ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ โดยเฉพาะตลาดจีน และอาเซียนที่เป็นตลาดส่งออกหลัก ในส่วนการนำเข้า ลดลงค่อนข้างมากทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
คาดว่า การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์จะทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ตามทิศทางการตลาดและความต้องการใช้ของผู้มีคำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกเว้นกลุ่มบรรจุภัณฑ์กระดาษ คาดว่า จะขยายตัวได้ต่อเนื่องถึงสิ้นปี สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไตรมาสที่ 3 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นไปยังประเทศจีน และตลาดอาเซียน สำหรับการนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ คาดว่า จะเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศสำหรับการค้าในระบบออนไลน์
การผลิตเยื่อและกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) เพิ่มขึ้นในกลุ่มเยื่อกระดาษ และกระดาษคราฟต์ ร้อยละ 8.14 และ 5.92 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษคราฟต์ และกล่องกระดาษลูกฟูก ร้อยละ 3.21 และ 1.17 ตามลำดับ ซึ่งยังตอบสนองตลาดได้ดีตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงความต้องการบรรจุภัณฑ์กระดาษเพื่อการบรรจุและการขนส่งสำหรับการค้าในระบบออนไลน์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาส ที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 514.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.58 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) จากกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษคราฟต์ กระดาษแข็ง กระดาษชำระ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ จากการส่งออกไปเวียดนาม มาเลเซีย และจีน เป็นต้น แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.11 ซึ่งลดลงทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ จากการชะลอจากผู้นำเข้าหลักอย่างจีน และตลาดในอาเซียน
การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 685.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.45 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ในกลุ่มเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ลดลงร้อยละ 14.51 และกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ลดลง ร้อยละ 3.31 และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.68 ในกลุ่มจากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์นำเข้าเพิ่มขึ้นทั้ง (%QoQ) และ (%YoY) ร้อยละ 3.38 และ 2.32 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเพื่อกำกับดูแลสินค้าและบริการในบัญชีควบคุมปี 2562 รวมถึงสินค้าและบริการ โดยกระดาษพิมพ์และเขียน ต้องแจ้งราคาและปริมาณเป็นประจำทุกเดือน กระดาษทำลูกฟูก กระดาษเหนียว ต้องแจ้งราคา รายละเอียดสินค้า หากเปลี่ยนราคาต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน สำหรับกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ให้แจ้งราคา รายละเอียดสินค้า และหากเปลี่ยนราคาต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน สำหรับสินค้าอื่น ๆ จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันตามที่ระบุไว้ในประกาศฯ
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ขยายตัวจากการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในภาพรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและเมียนมา ซึ่งตลาดหลักยังคงเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และ สปป.ลาว
การผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 37.03 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 4.33 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.62 (%YoY) จากการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.82 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.95 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.22
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 43.11 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.40 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.38 (%YoY) จากความต้องการที่อยู่อาศัยแนวสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ในขณะที่ เครื่องสุขภัณฑ์มีจำนวน 0.95 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 8.79 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.17
การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่า 22.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 4.43 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.75 จากการลดคำสั่งซื้อของสปป.ลาว กัมพูชา และญี่ปุ่น ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 48.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก ไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.50 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับ ปีก่อน ร้อยละ 8.29 จากการชะลอคำสั่งซื้อของสหรัฐอเมริกาและจีน
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 3 ของปี 2562 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการนำเข้า คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจากประเทศจีน
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ การส่งออกมีมูลค่าสูงขึ้นจากการส่งออกไปตลาดหลักซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น การนำเข้ายังคงมีมูลค่า เพิ่มขึ้นจาก สปป.ลาว
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 10.10 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 4.19 (%QoQ) เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงเตาของผู้ผลิตบางราย แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.32 (%YoY) เพื่อรองรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐต่างๆ ที่มีความคืบหน้าตามลำดับ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 8.55 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 7.17 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 2.97 (%YoY)
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่าจากการส่งออก 89.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.39 (%QoQ ) เมื่อเทียบกับ ไตรมาส ที่ 1 ปี 2562 และเพิ่มขึ้น ร้อยละ12.94 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน จากการส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไปยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.01
ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 20.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 4.68 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.34 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจาก สปป.ลาว ร้อยละ 18.79
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ส่วนปริมาณการจำหน่าย คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นเล็กน้อยจากความสนใจเข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของผู้ประกอบการจากประเทศจีน เนื่องจากผลพวงจากสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา
ไตรมาสที่ 2 ปี 2562การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ชะลอตัวตามคำสั่งซื้อจากประเทศผู้ผลิตที่ลดลงจากสถานการณ์ทางการเมืองและการค้าของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ
เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 8.75 8.03 และ 1.91 (YoY) ส่วนดัชนีการจำหน่ายในประเทศ ลดลงในส่วนของ เส้นใยประดิษฐ์ผ้าผืน และ เสื้อผ้าเครื่อง แต่งกาย ร้อยละ 4.33 9.23 และ 2.29 (YoY) ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อวัตถุดิบจากประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ จีน ตุรกี และเวียดนาม เพื่อนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาบริโภค อย่างไรก็ตาม การผลิตเสื้อผ้าบุรุษและสตรีในรูปแบบการรับจ้างออกแบบและผลิต เพื่อส่งออกให้แบรนด์ต่างประเทศยังขยายตัว
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มูลค่า 1,692.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.12 (YoY) ซึ่งหากพิจารณา กลุ่มสิ่งทอ พบว่า ลดลง ร้อยละ 8.46 โดยตลาดส่งออกเส้นใยสิ่งทอสำคัญที่หดตัว ได้แก่ จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้คำสั่งซื้อวัตถุดิบของไทยไปยังจีนและผู้ประกอบการรายใหญ่ของจีนในเวียดนามเพื่อนำไปผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกไปยังตลาดโลกชะลอตัว สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีการส่งออกขยายตัว ร้อยละ 1.30 ในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปบุรุษและสตรี ที่ไทยได้รับพิจารณาจากแบรนด์ต่างประเทศให้เป็นแหล่งผลิตในรูปแบบการรับจ้างออกแบบและผลิต โดยตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,351.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.18 (YoY) โดยเป็นการนำเข้าผ้าผืนราคาถูกจากจีน และเวียดนาม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออก และมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งเสื้อผ้าราคาถูกจากจีน และเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่มีสาขาในประเทศไทย
การผลิต คาดว่า จะลดลงเล็กน้อย ตามทิศทางตลาดส่งออกและความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัว ในส่วนการส่งออก คาดว่า เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะลดลงเนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะ จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะยังขยายตัวได้จากความสามารถในการรับจ้างออกแบบและผลิตเสื้อผ้าบุรุษและสตรีให้กับแบรนด์ต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย (S-curve) ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มควรใช้โอกาสนี้เร่งพัฒนาในส่วนอุตสาหกรรมต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยวิจัยพัฒนาเส้นใยสมบัติพิเศษให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลายสูง เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ ได้แก่ Meditech, Protech และ Mobitech เป็นต้น
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ปรับลดลงจากการชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มีปริมาณลดลง โดยเฉพาะการส่งออกไม้แปรรูปไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 2.35 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 4.47 และ 3.29 ตามลำดับ โดยเป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 0.39 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.14 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 2.63 ในภาพรวมการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศเริ่มมีการขยายตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ตามสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 824.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.83 และ 8.80 ตามลำดับ แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 220.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.61 และ 5.65 ตามลำดับ มูลค่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ 35.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.62 และ 10.13 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ 568.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.65 และ 9.88 ตามลำดับ ในภาพรวมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ยังมีปริมาณลดลง โดยเฉพาะการส่งออกไม้แปรรูปไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน
การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศเป็นหลัก ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะยังคงมีปริมาณลดลง ตามแนวโน้มการส่งออกไม้แปรรูปไปยังจีนที่คาดว่าจะยังคงมีปริมาณลดลง
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัวระบบการรับรองการจัดการป่าไม้ของไทย (TFCS) ที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานสากลอย่าง PEFC (Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme) และพร้อมที่จะให้บริการออกใบรับรองตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์จากไม้ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TFCS เป็นที่ยอมรับของตลาดในต่างประเทศ และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ ไตรมาสที่ 2ปี 2562เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการขยายตัวที่ดีของตลาดยาทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา
การผลิตยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 16,656.00 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.71 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด และยาผงเนื่องจากผู้ผลิตยารายใหญ่บางรายมีการขยายกำลังการผลิต และตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาดเวียดนามมีการขยายตัวที่ดี
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 15,662.68 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.15 โดยเป็นการขยายตัวของการจำหน่ายยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด และยาผงตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
การส่งออกยาไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 105.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.76 ในภาพรวมการส่งออกยามีการขยายตัวที่ดีจากการขยายตัวของตลาดเวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา โดยเฉพาะตลาดเวียดนามที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นการขยายตัวถึงร้อยละ 72.51 สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 410.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.74 โดยเป็นการนำเข้ายาจากเยอรมนี เปอร์โตริโก สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ลดลง
สำหรับการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.47 และ 2.08 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการในประเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการการยอมรับร่วมของข้อมูลตามมาตรฐาน OECD GLP ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปี 2562 โดยเมื่อมีการยอมรับร่วมของข้อมูลแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาของไทยจะไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำที่ประเทศปลายทางอีก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาได้สะดวกมากขึ้น
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของตลาดส่งออก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางลดลงจากการขาดแคลนวัตถุดิบน้ำยางสดและการชะลอตัวของตลาดในประเทศ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงตามปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 0.37 ล้านตัน 18.12 ล้านเส้น และ 5,035.49 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงร้อยละ 19.62 ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางธรรมชาติที่ลดลง การผลิตยางรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางลดลงร้อยละ 1.62 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบน้ำยางสดและตลาดในประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีจำนวน 0.09 ล้านตัน 10.85 ล้านเส้น และ 749.63 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้น ยางรถยนต์ และถุงมือยางในประเทศมีปริมาณลดลงร้อยละ 9.05 5.65 และ 1.62 ตามลำดับ ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดที่ลดลงของยางธรรมชาติ การหดตัวของตลาด Replacement และการปรับแผนการตลาดของผู้ผลิตรายใหญ่บางราย
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 1,164.45 1,456.66 และ 300.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.62 18.42 และ 5.61 ตามลำดับ จากการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน
การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.21 และ 2.18 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.60 ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางธรรมชาติที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นและแนวโน้มคำสั่งซื้อของจีนที่คาดว่าจะขยายตัว
ไตรมาส 2 ปี 2562 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีการผลิตลดลง ร้อยละ 14.32 จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2561 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า มีการผลิตลดลง ร้อยละ 6.71 เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากต่างประเทศทดแทนการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง* มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.51 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ
การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 14.32 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2561 เช่นเดียวกับการผลิตรองเท้า มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 6.71 เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากต่างประเทศทดแทนการผลิตเพิ่มขึ้น
กระเป๋าเดินทาง* มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.51 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ
การส่งออกมีมูลค่ารวม 503.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.92 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด และเครื่องใช้สำหรับเดินทางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.64 และ 60.27 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของตลาด CLMV เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
การนำเข้ามีมูลค่ารวม 572.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.91 โดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.10 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น สำหรับสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่ กระเป๋า และรองเท้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.28 และ 29.91 ตามลำดับ จากการที่ผู้บริโภคปรับตัวตามพฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรู ทำให้ความต้องการสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว
การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 3 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาส ที่ 3 ปี 2561 อยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตชะลอตัว เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ของตัวเองหันไปจ้างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ผลิตแทน อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเพื่อส่งออกตามความต้องการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศ CLMV ความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ทำให้การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
การผลิตและการจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2562 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการเน้นจำหน่ายสินค้าในสต๊อกแทนการผลิตใหม่ ประกอบกับคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่วนมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ลดลงเช่นกัน จากไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้บริโภคลดการซื้อเครื่องประดับแท้ ซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
การผลิตและจำหน่าย อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2562 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (%QoQ) ร้อยละ 28.52 และ 28.76 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำสต็อกออกจำหน่ายแทนการผลิตสินค้าใหม่ ประกอบกับคำสั่งซื้อที่ลดลง และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) พบว่า ลดลง ร้อยละ 26.90 และ 26.45 ตามลำดับ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยัง ฟื้นตัวไม่ชัดเจน
การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 2 ปี 2562 ลดลง ร้อยละ 3.47 จากไตรมาสที่ผ่านมา (%QoQ) เนื่องจากผู้บริโภคลดการซื้อเครื่องประดับแท้ ซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.72 จากพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง ทั้งนี้ หากพิจารณาในภาพรวม พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.77 (%QoQ) และ 32.68 (%YoY) ตามการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำในตลาดโลกที่มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น
ไตรมาส 3 ปี 2562 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ จะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าที่นำออกจำหน่ายในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การจำหน่ายมีแนวโน้มลดลง จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและโมเดลธุรกิจของผู้ประกอบการ สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) มีแนวโน้มหดตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่วนการส่งออกในภาพรวม คาดว่า จะขยายตัว ตามราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลก ที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้จะมีทิศทางปรับตัวลดลงก็ตาม
ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองหลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งปี 2560 เป็นผลจากวัตถุดิบที่ลดลงและฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน อาทิ น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ไก่สด และทูน่ากระป๋อง ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง และตลาดต่างประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก แม้ดัชนีการผลิตปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์นม แป้งมันสำปะหลัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งเครื่องดื่ม ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเฉพาะตลาด ญี่ปุ่น อาเซียน และแอฟริกาใต้ จากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ เช่น ข้าว มันเส้น แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดัชนีการผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 อยู่ที่ระดับ 99.1 ลดลงจาก ไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 27.1 (%QoQ) ปัจจัยหลักจากการเข้าสู่ปลายฤดูกาลออกผลผลิตของสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.3 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบที่ลดลงและฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน เช่น น้ำตาลเร่งปิดหีบเร็วกว่าปีก่อนกว่าหนึ่งเดือน สับปะรดกระป๋องลดลงจากการลดพื้นที่ปลูกและได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง กุ้งแช่แข็งลดพื้นที่เพาะเลี้ยงจากระดับราคาที่ปรับลดลง ไก่สดลดลงเนื่องจากการปรับปริมาณการเลี้ยงให้เข้าสู่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน และทูน่ากระป๋องลดการผลิตจากผู้นำเข้าชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอดูระดับราคา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง แม้ดัชนีการผลิตปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์นม แป้งมันสำปะหลัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งเครื่องดื่ม ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การจำหน่ายอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีปริมาณ 62,924,688.5 พันตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 4.7 (%QoQ) และปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1 (%YoY) จากการจำหน่าย ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำตาลทรายดิบ และการผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับ ปศุสัตว์ จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง ด้วยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ จากราคาพืชผลทางการเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะกระทบต่อรายได้ อีกทั้งสถานการณ์การเมืองที่มีความไม่แน่นอนและขาดเสถียรภาพ
การส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 7,823.2 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 5.1 (%QoQ) จากการส่งออกสินค้าสำคัญที่ลดลง อาทิ น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ซาร์ดีนกระป๋อง และทุเรียน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.7 (%YoY) โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น อาเซียน และแอฟริกาใต้ จากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว มันเส้น แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง ด้วยปัจจัยลบอย่างเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าปีก่อน การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 มีมูลค่า 3,614.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ร้อยละ 0.6 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง อาทิ เมล็ดพืชน้ำมัน นมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับการขยายตัวของการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในประเทศและต่างประเทศ
คาดว่าดัชนีการผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7 และ 3.8 ตามลำดับ จากปัจจัยบวกอย่างความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศของสินค้าสำคัญ อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป แป้งมันสำปะหลัง สิ่งปรุงรส และเครื่องดื่ม อีกทั้งน่าจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ แม้ฐานการผลิตและการส่งออกที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน ประกอบกับปัจจัยลบอย่างภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลง รวมทั้งทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม