สศอ. จับมือ พันธมิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือ ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความพร้อมทางด้านวิชาการ หวังพัฒนาอุตฯ ต่อเรือและซ่อมเรือไทย ยกระดับผู้ประกอบการ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียน
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ โดยนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานและสักขีพยานในพิธีดังกล่าว โดยมีสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทยเข้าร่วมลงนามในครั้งนี้
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญในมิติทางเศรษฐกิจ โดยอุตสาหกรรมนี้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจการการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะการส่งออกต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำ และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล จากตัวเลขการขนส่งของประเทศไทยในปี 2548 มีมูลค่ากว่า 6,120,901 ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจึงมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2549 มีการต่อเรือ คิดเป็นรายได้ 3,811 ล้านบาท ส่วนตลาดการซ่อมเรือไทยมีจำนวนค่อนข้างคงที่ ซึ่งในปี 2549 ทำรายได้ถึง 2,013 ล้านบาท ด้วยเหตุผลดังกล่าว การยกระดับศักยภาพความพร้อม เพื่อรองรับขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทย จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนจำเป็นต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลที่มีการศึกษาครอบคลุมในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยให้มีขีดความสามารถแข่งขันที่สูงขึ้น และพัฒนาไปสู่การเป็นในศูนย์กลางอาเซียนต่อไป
“อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และสอดคล้องกับนโยบายด้าน
โลจิสติกส์ที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นประโยชน์ในแก่ผู้ประกอบการ ในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ ” ดร. อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ โดยนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานและสักขีพยานในพิธีดังกล่าว โดยมีสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทยเข้าร่วมลงนามในครั้งนี้
ดร. อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือ โอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญในมิติทางเศรษฐกิจ โดยอุตสาหกรรมนี้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจการการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะการส่งออกต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำ และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล จากตัวเลขการขนส่งของประเทศไทยในปี 2548 มีมูลค่ากว่า 6,120,901 ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจึงมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2549 มีการต่อเรือ คิดเป็นรายได้ 3,811 ล้านบาท ส่วนตลาดการซ่อมเรือไทยมีจำนวนค่อนข้างคงที่ ซึ่งในปี 2549 ทำรายได้ถึง 2,013 ล้านบาท ด้วยเหตุผลดังกล่าว การยกระดับศักยภาพความพร้อม เพื่อรองรับขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทย จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนจำเป็นต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลที่มีการศึกษาครอบคลุมในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยให้มีขีดความสามารถแข่งขันที่สูงขึ้น และพัฒนาไปสู่การเป็นในศูนย์กลางอาเซียนต่อไป
“อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และสอดคล้องกับนโยบายด้าน
โลจิสติกส์ที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นประโยชน์ในแก่ผู้ประกอบการ ในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ ” ดร. อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-