จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งการส่งออกยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะเริ่มชะลอตัว
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อุตสาหกรรม วัตถุดิบ และอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี สำหรับในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0 โดยอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น
สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน และเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 (ม.ค.-ธ.ค.50) เมื่อเทียบกับปี 2549 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยเพิ่มขึ้นในยอดการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ สำหรับการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าผู้บริโภคธุรกิจ และผู้ประกอบการจะยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงถึงสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาน้ำมันไม่สูงไปกว่านี้มากนัก และค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เป็นต้น
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 184.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (174.7) ร้อยละ 5.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (163.1) ร้อยละ 12.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 172.3 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (159.3) ร้อยละ 8.1 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 186.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (177.2) ร้อยละ 5.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (166.7) ร้อยละ 11.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 173.2 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (162.3) ร้อยละ 6.7 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 180.2 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (186.4) ร้อยละ 3.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (177.9) ร้อยละ 1.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีค่า 181.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (175.8) ร้อยละ 3.4 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้ตัวกำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (66.9) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (66.4)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ในปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 66.1 ลดลงจากปี 2549 (67.7) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 76.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (75.8) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (83.0) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนีได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม และดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกกับผู้บริโภค และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในอนาคต หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่แพงเกินกว่านี้มากนัก อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่างๆอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่ชัดเจนทางการเมืองยังคงมีอยู่แม้ว่าการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม ประกอบกับการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 68.6, 69.3 และ 70.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 69.8, 70.3 และ 71.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 88.1, 89.1 และ 90.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
ในปี 2550 ทั้ง 3 ดัชนีดังกล่าว ปรับตัวลดลงจากปี 2549 เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ในปี 2550 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน ต้นทุนการประกอบการ และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 81.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (76.6) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (90.7) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยในเดือนธันวาคม 2550 ดัชนีมีค่า 79.8 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 (82.3) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (85.9) เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมปรับตัวลดลง โดยได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก อาหาร พลาสติก เนื่องจากผู้ประกอบการวิตกเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ผลประกอบการปรับตัวลดลงเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ลดลงประกอบกับต้นทุนการประกอบการที่ยังคงสูงอยู่
ในปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 80.9 ต่ำกว่าปี 2549 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 93.8 เนื่องจากในปี 2550 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในช่วงเทศกาลปีใหม่ สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจน เงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 114.3 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.7 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยว มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 115.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 116.3
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 116.7 ลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 117.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 117.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 116.9
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 127.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (125.6) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (124.2) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่
ในปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับในครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ซึ่งมีการเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม ลดลงจากปี 2549 โดยเป็นการลดลงของเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี เครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาในหมวดอื่นๆที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 (ข้อมูลเดือนธันวาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.81 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.43 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.32 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.8)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 (ข้อมูลเดือนธันวาคม) มีจำนวน 5.29 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.13 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยโดยในไตรมาสที่ 4 นี้ การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 80,376.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นมูลค่าส่งออกเท่ากับ 42,502.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 37,873.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.4 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 4,629.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่า เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าส่งออกถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 14,720.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
-โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 119,145.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.1) สินค้าเกษตรกรรม 15,179.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.0) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 9,501.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.2) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 7,513.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.9) และสินค้าอื่นๆ 1,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.8)
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการส่งออกของสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 19.2 และ 19.1 ตามลำดับ รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 9.0 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ได้แก่ สินค้าอื่นๆ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงถึงร้อยละ -31.3
สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 17,305.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 12,040.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 8,053.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 5,640.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 5,382.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 5,214.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็กและเหล็กกล้า 4,596.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4,366.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 4,097.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 3,922.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 70,618.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 46.31 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
-ตลาดส่งออก
ในปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป โดยมีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.6 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาดหลัก ได้แก่ ตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนตลาดที่ไทยมีการส่งออกลดลงได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกลดลงร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปโดยมีมูลค่าการเข้าสูงสุด คือ60,034.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.9) รองลงมาเป็นสินค้าทุน 36,740.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อย 26.2) สินค้าเชื้อเพลิง 25,895.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.5) สินค้าอุปโภคบริโภค 11,763.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.4) สินค้าหมวดยานพาหนะ 4,405.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2) และสินค้าอื่นๆ 1,172.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.8)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเกือบทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.7 รองลงมาเป็น สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าหมวดยานพาหนะ สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุน โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 , 12.3 , 2.2 และ 0.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง คือ สินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ -14.5
- แหล่งนำเข้า
สำหรับแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญของไทยในปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนนำเข้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 53.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวสูงสุดโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 รองลงมาเป็นสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9 กลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ส่วนสหรัฐอเมริกามีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -0.8
- แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกร่วมกับภาคเอกชน และสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ โดยพิจารณาทั้งรายสินค้าและรายประเทศจากภาวะเศรษฐกิจและภาวะการค้าโลก ในเบื้องต้นคาดว่าการส่งออกปี 2551 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ประมาณร้อยละ 10.0-12.5 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 165,000-169,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยบวกที่สนับสนุน เช่น การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกโดย IMF ที่ระบุเศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 และการค้าโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 ราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงดีอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการบุกขยายตลาดใหม่ที่มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น เสถียรภาพค่าเงินบาท และราคาน้ำมันที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย และมาตรฐานด้านอื่น ๆ ที่อาจจะเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดต่อไป
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม 46,203.9 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 20,235.41 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 25,968.49 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 33,079.39 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 11,573.84 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 6,097.62 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 5,819.40 ล้านบาท สาขาอสังหาริมทรัพย์เป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 9,162.77 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 20,974.08 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์มีเงินลงทุนสุทธิ 8,065.67 ล้านบาท และ 5,021.16 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 325 โครงการ ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 207,900 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.52 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 125 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 84,300 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 99 โครงการ เป็นเงินลงทุน 93,700 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 79,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 47,500 ล้านบาท และหมวดเคมี กระดาษและพลาสติกมีเงินลงทุน 32,300 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 86 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 70,573 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 10 โครงการ 37,709 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์จำนวน 24 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,653 ล้านบาท ประเทศจีน 7 โครงการ เป็นเงินลงทุน 10,826 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 อุตสาหกรรม วัตถุดิบ และอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 โดยที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปี สำหรับในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0 โดยอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น
สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน และเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 (ม.ค.-ธ.ค.50) เมื่อเทียบกับปี 2549 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยเพิ่มขึ้นในยอดการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ สำหรับการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าผู้บริโภคธุรกิจ และผู้ประกอบการจะยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงถึงสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาน้ำมันไม่สูงไปกว่านี้มากนัก และค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เป็นต้น
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 184.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (174.7) ร้อยละ 5.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (163.1) ร้อยละ 12.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 172.3 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (159.3) ร้อยละ 8.1 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 186.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (177.2) ร้อยละ 5.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (166.7) ร้อยละ 11.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 173.2 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (162.3) ร้อยละ 6.7 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 180.2 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (186.4) ร้อยละ 3.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (177.9) ร้อยละ 1.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
ในปี 2550 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีค่า 181.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 (175.8) ร้อยละ 3.4 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้ตัวกำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (66.9) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (66.4)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ในปี 2550 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 66.1 ลดลงจากปี 2549 (67.7) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 76.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (75.8) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (83.0) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนีได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม และดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกกับผู้บริโภค และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในอนาคต หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่แพงเกินกว่านี้มากนัก อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่างๆอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่ชัดเจนทางการเมืองยังคงมีอยู่แม้ว่าการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม ประกอบกับการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 68.6, 69.3 และ 70.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 69.8, 70.3 และ 71.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 88.1, 89.1 และ 90.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
ในปี 2550 ทั้ง 3 ดัชนีดังกล่าว ปรับตัวลดลงจากปี 2549 เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ในปี 2550 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน ต้นทุนการประกอบการ และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 81.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (76.6) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (90.7) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยในเดือนธันวาคม 2550 ดัชนีมีค่า 79.8 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 (82.3) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (85.9) เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมปรับตัวลดลง โดยได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก อาหาร พลาสติก เนื่องจากผู้ประกอบการวิตกเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน 2550 ผลประกอบการปรับตัวลดลงเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ลดลงประกอบกับต้นทุนการประกอบการที่ยังคงสูงอยู่
ในปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 80.9 ต่ำกว่าปี 2549 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 93.8 เนื่องจากในปี 2550 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในช่วงเทศกาลปีใหม่ สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจน เงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 114.3 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.7 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยว มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 115.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 116.3
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ระดับ 116.7 ลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 117.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่าเฉลี่ย 117.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 116.9
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีค่า 127.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (125.6) และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (124.2) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่
ในปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ยอดจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับในครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ซึ่งมีการเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการนำเข้าสินค้าทุน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม ลดลงจากปี 2549 โดยเป็นการลดลงของเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี เครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาในหมวดอื่นๆที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2549 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549
ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 (ข้อมูลเดือนธันวาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.81 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.43 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.32 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.8)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 (ข้อมูลเดือนธันวาคม) มีจำนวน 5.29 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.13 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยโดยในไตรมาสที่ 4 นี้ การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 80,376.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นมูลค่าส่งออกเท่ากับ 42,502.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 37,873.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.4 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 4,629.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่า เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าส่งออกถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 14,720.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
-โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 119,145.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.1) สินค้าเกษตรกรรม 15,179.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.0) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 9,501.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.2) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 7,513.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.9) และสินค้าอื่นๆ 1,137.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.8)
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการส่งออกของสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 19.2 และ 19.1 ตามลำดับ รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 9.0 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ได้แก่ สินค้าอื่นๆ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงถึงร้อยละ -31.3
สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักของปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 17,305.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 12,040.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 8,053.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 5,640.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 5,382.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 5,214.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็กและเหล็กกล้า 4,596.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4,366.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 4,097.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 3,922.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 70,618.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 46.31 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
-ตลาดส่งออก
ในปี 2550 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป โดยมีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.6 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาดหลัก ได้แก่ ตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนตลาดที่ไทยมีการส่งออกลดลงได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกลดลงร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในปี 2550 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปโดยมีมูลค่าการเข้าสูงสุด คือ60,034.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.9) รองลงมาเป็นสินค้าทุน 36,740.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อย 26.2) สินค้าเชื้อเพลิง 25,895.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.5) สินค้าอุปโภคบริโภค 11,763.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.4) สินค้าหมวดยานพาหนะ 4,405.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2) และสินค้าอื่นๆ 1,172.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.8)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเกือบทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.7 รองลงมาเป็น สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าหมวดยานพาหนะ สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุน โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 , 12.3 , 2.2 และ 0.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง คือ สินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ -14.5
- แหล่งนำเข้า
สำหรับแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญของไทยในปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนนำเข้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 53.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2549 พบว่าการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวสูงสุดโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 รองลงมาเป็นสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9 กลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ส่วนสหรัฐอเมริกามีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -0.8
- แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกร่วมกับภาคเอกชน และสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ โดยพิจารณาทั้งรายสินค้าและรายประเทศจากภาวะเศรษฐกิจและภาวะการค้าโลก ในเบื้องต้นคาดว่าการส่งออกปี 2551 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ประมาณร้อยละ 10.0-12.5 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 165,000-169,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยบวกที่สนับสนุน เช่น การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกโดย IMF ที่ระบุเศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 และการค้าโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 ราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงดีอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการบุกขยายตลาดใหม่ที่มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น เสถียรภาพค่าเงินบาท และราคาน้ำมันที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย และมาตรฐานด้านอื่น ๆ ที่อาจจะเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดต่อไป
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม 46,203.9 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 20,235.41 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 25,968.49 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 33,079.39 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 11,573.84 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 6,097.62 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 5,819.40 ล้านบาท สาขาอสังหาริมทรัพย์เป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 9,162.77 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 20,974.08 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์มีเงินลงทุนสุทธิ 8,065.67 ล้านบาท และ 5,021.16 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 325 โครงการ ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 207,900 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.52 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 125 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 84,300 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 99 โครงการ เป็นเงินลงทุน 93,700 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 79,300 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 47,500 ล้านบาท และหมวดเคมี กระดาษและพลาสติกมีเงินลงทุน 32,300 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 86 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 70,573 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 10 โครงการ 37,709 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์จำนวน 24 โครงการ เป็นเงินลงทุน 14,653 ล้านบาท ประเทศจีน 7 โครงการ เป็นเงินลงทุน 10,826 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-