ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ไม่รวมทองคำหดตัวถึงร้อยละ 8.7 เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาค
อุตสาหกรรมมีแนวโน้มชะลอตัวลง กล่าวคือ ในเดือนมีนาคม 2562 มีการผลิตลดลงร้อยละ 2.7 เดือนเมษายนขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.5 และเดือนพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 3.1
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเดือนเมษายน 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.5 เดือนเมษายนลดลงร้อยละ 17.4 และเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลปกติที่ในเดือนเดือนเมษายน การผลิต จะชะลอตัวลงเนื่องจากมีวันทำงานน้อย
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2562 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
- รถยนต์ และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 8.3 ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและการกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ยางล้อ ลดลงร้อยละ 23.4 จากยางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก จากสภาพอากาศร้อนจัดส่งผลให้มีวัตถุดิบ (น้ำยาง) ออกสู่ตลาดน้อยกว่าปีก่อน
- น้ำมันปิโตรเลียม ลดลงร้อยละ 7.1 จากโรงกลั่นบางโรงหยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงโรงกลั่น บางหน่วยกลั่น โดยเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนจนถึงปลายเดือนกรกฎาคมเพื่อตรวจซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ตามวาระ (Major Turnaround)
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2562 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- น้ำมันปาล์ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ที่ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพิ่มขึ้น
- เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 จากตลาดในประเทศเนื่องจากสภาพอากาศร้อน รวมถึงตลาดส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศเวียดนาม สหรัฐและญี่ปุ่น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2562
- การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่า 1,370.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากการนำเข้าเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ และเครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เป็นต้น
- การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่า 7,152.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้าหดตัว ได้แก่ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ อะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 242 โรงงาน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2562 ร้อยละ 19.9 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 36.5 (%YoY)
- มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่ารวม 9,881 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2562 ร้อยละ 2.0 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 66.5 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 13 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวน 12 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2562 คือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น จำนวนเงินทุน 911 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรม ผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมหม้อไอน้ำ(Boiler) จำนวนเงินทุน 902 ล้านบาท"
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 87 ราย ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2562 ร้อยละ 43.5 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 44.9 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่ารวม 4,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2562 ร้อยละ 20.1 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.0 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรม การดูดทรายจำนวน 6 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมิถุนายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ มูลค่าเงินลงทุน 1,803 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยาง จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มูลค่าเงินลงทุน 930 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2562
- การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 (%YoY) แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ (1) กลุ่มน้ำตาล อาทิ น้ำตาลทรายดิบ ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 100 (%YoY) เนื่องจากการเร่งปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน และน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.5 (%YoY) เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวในประเทศเมียนมาและซูดาน (2) สับปะรดกระป๋อง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 48.2 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบลดลงจากภัยแล้ง และฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน ด้วยผลผลิตที่ล้นตลาด ทำให้ในปีนี้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกลง ประกอบกับตลาดต่างประเทศยังคงหดตัวต่อเนื่อง (3) ทูน่ากระป๋อง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 8.0 (%YoY) เนื่องจากผู้นำเข้าชะลำคำสั่งซื้อเพื่อรอดูระดับราคาที่ปรับตัวลงตามราคาวัตถุดิบ (4) แป้งมันสำปะหลัง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.4 (%YoY) จากตลาดจีน และไต้หวัน (5) ไก่แปรรูป ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 10.0 (%YoY) จากตลาดญี่ปุ่น และ (6) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.4 (%YoY) จากตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ ดัชนีการผลิต ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.5 (%YoY) เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัว
- การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศ เดือนมิถุนายน 2562 ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.7 (%YoY)
- ตลาดส่งออก ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนมิถุนายน 2562 หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ร้อยละ 11.7 (%YoY) จากสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาลทรายขาว ข้าว แป้งมันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป และทุเรียน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 37.1 33.1 20.3 15.7 13.6 8.8 8.4 2.7 และ 52.3 ตามลำดับ ด้วยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน แม้ความต้องการบริโภคมีอย่างต่อเนื่องในสินค้าสำคัญ อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ซาร์ดีนกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ และสิ่งปรุงรส รวมทั้งผลไม้ (มังคุด และลำไย)
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีการผลิตและมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคม น่าจะหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างผลผลิตทางการเกษตรปรับตัวลดลงจากภัยแล้งและความต้องการชะลอตัว อาทิ กุ้ง และสับปะรด การชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์ ราคาวัตถุดิบปลาทูน่า การส่งออกข้าวไทยที่ชะลอตัวจากการเปลี่ยนไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและกัมพูชา ด้วยต้นทุนที่สูงและเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า ประกอบกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 103.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมตามบ้าน คอมเพรสเซอร์ และมอเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2, 6.4, 5.4, 2.4 และ 0.2 ตามลำดับ โดยเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และมอเตอร์ไฟฟ้ามีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนพัดลมมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนคอมเพรสเซอร์มีการผลิตเพื่อทดแทนสินค้า คงคลังที่นำออกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว หม้อแปลงไฟฟ้า และเตาไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 30.6, 29.8, 23.2, 20.9, 19.6 และ 15.6 ตามลำดับ โดยเครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ส่วนหม้อแปลงไฟฟ้ามีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลง
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,068.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องซักผ้ามีมูลค่า 81.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.8 โดยลดลงในตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 87.0 ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 459.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 34.0 เวียดนามร้อยละ 22.0 ออสเตรเลียร้อยละ 23.8 ส่วนตู้เย็นมีมูลค่าส่งออก 142.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 โดยเพิ่มในตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 17.6 และตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 285.4 ส่วนแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 153.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
"คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2562 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นมีคำสั่งซื้อจากอาเซียนและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น"
- การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 98.8 ลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistor, HDD, และ IC โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 27.3, 16.9 และ 5.3 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวลดลง และความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,174.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักปรับตัวลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน โดยวงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 635.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.8 เนื่องจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกของไทย ส่วนสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 1,195.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.8 HDD มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.6 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
"คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2562 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวลดลงและความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
- การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 172,878 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 4.67 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.52 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
- การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 86,048 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 2.33 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.06 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มชะลอตัว
+ การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 97,575 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 2.35 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.40 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย และยุโรป
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2561 เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มหดตัว"
- การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 158,382 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 6.74 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.57 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 150,401 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 6.58 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.22 (%YoY)จากการปรับลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี 111-125 ซีซี 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
+ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 38,853 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 14.64 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.52 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2561 เนื่องจากการหดตัวของตลาดในประเทศ"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 28.92 ตามปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง เนื่องจากฝนตกชุกช่วงต้นเดือนทำให้ไม่สามารถกรีดยางได้
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 3.30 ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 จากการปรับตัวดีขึ้นของตลาดในประเทศ ซึ่งถึงแม้จะยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็มีอัตราการหดตัวที่ลดลง
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 17.67 เนื่องจากมีปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 8.72 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาด Replacement
- ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 9.00 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของไทยบางรายปรับแผนการตลาดไปส่งออกมากขึ้น
+ ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.83 เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยสั่งซื้อยางจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.73
+ ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.76 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา
- ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.76 จากการหดตัวลงของตลาดเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น
การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวจากเดือนก่อนตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นฤดูที่ปกติจะมีน้ำยางออกสู่ตลาดจำนวนมาก สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะยังคงชะลอตัวจากการที่ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายปรับแผนการตลาดไปเป็นส่งออกมากขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากจีนมีแนวโน้มความต้องการใช้ยางจากไทยเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
- ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 4.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าดัชนีผลผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 15.61 รองลงมา คือ พลาสติกแผ่น ร้อยละ 10.51
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน 2562 ดัชนีการส่งสินค้ามีทิศทางเดียวกันกับดัชนีผลผลิต คือ ลดลงร้อยละ 4.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าดัชนีส่งสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 22.27 รองลงมา คือ พลาสติกแผ่น ร้อยละ 6.70 การตลาด
- การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่า 348.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 6.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีผลทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงหลัก ๆ คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (3920) กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ (3923) และกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก (3926) โดยลดลงร้อยละ 10.15 6.98 และ 6.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน และในกลุ่ม ASEAN เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนิเซีย มีคำสั่งซื้อลดลง
- การนำเข้าเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่า 375.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 4.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ (3923) กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (3920) และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ (3919) โดยลดลงร้อยละ 14.19 15.24 และ 9.91 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกรกฎาคม 2562 คาดว่า การผลิตและการตลาดจะยังทรงตัวต่อเนื่อง จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้าทั้ง สหรัฐอเมริกา-จีน และญี่ปุ่นเกาหลีใต้ ที่อาจส่งผลลบต่อตลาด รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทั้งความผันผวนของราคาน้ำมันและค่าเงินบาท
- ดัชนีผลผลิต ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีค่า 111.96 ลดลงร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ลดลงร้อยละ 6.10 และกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายลดลงร้อยละ 4.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ โซดาไฟ และปุ๋ย
- การจำหน่าย เดือนมิถุนายน ปี 2562 ดัชนีการส่งสินค้า ลดลงร้อยละ 7.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน ลดลง ร้อยละ 6.69 และ เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ลดลงร้อยละ 8.06 ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ โซดาไฟ ปุ๋ยเคมี และ ผงซักฟอก
- การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่ารวม 674 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 336 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ซึ่งมีการส่งออกไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในกลุ่มอาเซียน
- การนำเข้า ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่ารวม 1,278 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 14.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้ารวม 518 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ ปุ๋ย ซึ่งมีการนำเข้าจากประเทศซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย และจีน และสารลดแรงตึงผิว นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนกรกฎาคม ปี 2562 คาดว่าการส่งออกและนำเข้าอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะยังคงหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จากปัจจัยความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกเคมีภัณฑ์ของไทย
- ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2562 ลดลงร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีพื้นฐานที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ Benzene และ Toluene ลดลงร้อยละ 19.14 และ 5.72 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin, ABS resin และ Polypropylene resin (PP) ลดลงร้อยละ 18.78 15.31 และ 12.33 ตามลำดับ โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์ทั่วไป
- การจำหน่าย ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพื้นฐานที่มีการจำหน่ายลดลง ได้แก่ Toluene และ Benzene ลดลงร้อยละ 11.74 และ 10.78 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ Expandable polystyrene (EPS) และ ABS resin ลดลง ร้อยละ 22.18 และ 18.02 ตามลำดับ
- การส่งออก ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่า 900.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพื้นฐานที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงส่วนมากนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์และตัวทำละลาย ได้แก่ Terephthalic Acid และ Methyloxirane (Propylene Oxide) ลดลงร้อยละ 8.54 และ 16.51 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย จะอยู่ในกลุ่มเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ PE resin, PP resin, PC resin และ PET resin เป็นต้น ลดลงร้อยละ 11.38 9.80 38.93 และ 23.55 ตามลำดับ ทั้งนี้ในภาพรวมมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น
- การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีมูลค่า 455.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยนำเข้าลดลงในกลุ่มผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ ได้แก่ BR rubber, SR rubber ลดลงร้อยละ 13.99 และ 8.70 ตามลำดับ ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ Nylon resin, PES resin และ PMMA resin ลดลงร้อยละ 8.37 11.35 และ 9.53 ตามลำดับ นำไปใช้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น ทั้งนี้ในภาพรวมมีนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน สิงคโปร์ และสหรัฐฯ เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนกรกฎาคม ปี 2562 คาดว่าจะลดลงจากระดับเดิม เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกปิโตรเคมีของไทย รวมถึงผลกระทบจากนโยบายปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยคาดว่าจะชะลอตัว เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย เป็นต้น
- ดัชนีผลผลิต ในเดือนมิถุนายนปี 2562 มีค่า104.9 ลดลงขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับลดลงในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดย ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 106.5 ลดลงร้อยละ 10.8 จากการลดลงของการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 48.1 โดยลดลง 15 เดือน ติดต่อกันตั้งแต่เดือนเมษายน 2561-มิถุนายน 2562 เนื่องจากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ในประเทศลดลง โดยลดลงร้อยละ 30.7 และ 10.3 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 26.3 และ 15.1 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 102.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากการผลิตเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 รองลงมา คือ เหล็ก โครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น และเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.0 และ 7.9 ตามลำดับ จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ
+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนมิถุนายนปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 1.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (ทั้งแบบ HDG และ EG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และ 10.5 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.9 จากการจำหน่ายเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ลดลงร้อยละ 16.3
+ การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีปริมาณนำเข้า 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.3 (ประเทศหลักที่นำเข้า คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดเย็นและเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.2 และ 70.0 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 21.4 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 67.7 (ประเทศหลักที่นำเข้าลดลง คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Stainless Steel และประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 51.9 และ 42.3 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2562 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 5.31 0.06 และ 1.41 (%YoY) เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าลดลง ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลกจะชะลอตัว นอกจากนี้ความต้องการบริโภคในประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบ ต้นน้ำเพื่อเป็นสต๊อกสินค้าลง การจำหน่ายในประเทศ
- ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 22.28 19.79 และ 9.62 (%YoY) เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าทั้งเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศลดลง ประกอบกับมีการนำเข้าทั้งกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูกจากจีน และเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่มีสาขาในประเทศไทย
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 27.25 5.15 และ 2.31 (%YoY) โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีน ซึ่งสั่งซื้อเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืนจากไทยลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาลดลง
ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะชะลอตัวตามแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้การค้า การลงทุน ในตลาดดังกล่าวชะลอตัวมีผลต่อภาคการผลิตซึ่งจะทำให้มีความต้องการวัตถุดิบจากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวได้ในกลุ่มที่สามารถยกระดับไปรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างประเทศ
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 6.79 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 5.56 (%MoM) เป็นผลจากการที่มีผู้ผลิตบางรายปิดซ่อมบำรุงเตาและลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.83 (%YoY)
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 2.99 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 3.26 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.48 (%YoY)
+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 1.39 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 24.20 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32(%YoY) เนื่องจากตลาดส่งออกหลักมีการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจากกัมพูชาร้อยละ 60.15 เนื่องจากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในประเทศ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนกรกฎาคม ปี 2562 หดตัวลงเล็กน้อย
+ การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 3.42 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 3.94 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.97 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ภายในประเทศในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.98 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 3.57 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.15 (%YoY)
+ การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีจำนวน 0.52 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ร้อยละ 10.19 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.49 (%YoY) ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่ม คำสั่งซื้อจากกัมพูชา ร้อยละ 60.14
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2562 คาดว่าจะมีการหดตัว
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม